φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



[python] วิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นแบบหลายตัวแปร
เขียนเมื่อ 2016/12/12 12:57
แก้ไขล่าสุด 2022/07/21 15:29
ต่อจากตอนที่แล้วซึ่งได้อธิบายถึงการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นในมิติเดียว https://phyblas.hinaboshi.com/20161210

คราวนี้จะขยายไปสู่ปัญหาที่เป็นทั่วไปมากขึ้น คือกรณีที่มีมากกว่าหนึ่งมิติ

ในธรรมชาติแล้ว ค่าของอะไรต่างๆมักไม่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรเพียงอย่างเดียว มีสิ่งที่มาเกี่ยวข้องด้วยมากมาย

แบบนี้ค่าผลลัพธ์อาจหาได้จากผลรวมของค่าของตัวแปรตามแต่ละตัวคูณด้วยน้ำหนักของตัวแปรต้นนั้น แล้วบวกด้วยค่าไบแอส
h = x1w1 + x2w2 + ... + xnwn + b


โดย n เป็นจำนวนมิติ (จำนวนตัวแปรต้น) ของปัญหา

ในที่นี้ j เป็นเลขลำดับของตัวแปรต้น แต่ละตัวแปรต้นมีค่าน้ำหนักของตัวเอง ซึ่งเป็นตัวบอกว่าตัวแปรต้นนั้นมีความสำคัญ มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์แค่ไหน

ค่า SSE ยังคงหาได้จากสมการเดิมเหมือนตอนมิติเดียว เพียงแต่ค่า h มีจำนวนพจน์ที่ต้องบวกกันมากขึ้นเท่านั้น


ค่าอนุพันธ์ย่อยสำหรับน้ำหนักแต่ละตัวก็จะเป็นไปตามนี้


และค่าน้ำหนักที่ต้องเปลี่ยนแปลงในแต่ละครั้งของการเรียนรู้ก็จะเป็น




ขอเริ่มจากยกตัวอย่างโจทย์ปัญหาในสองมิติ

สมมุติว่าเล่นเกมเกมหนึ่ง ในนั้นมีให้เลี้ยงอสูรเพื่อไปต่อสู้กัน และพลังโจมตีของอสูรขึ้นกับอาหารที่ทาน

ผู้เล่นคนหนึ่งทดลองเลี้ยงอสูรหลายตัวโดยให้อาหารในปริมาณต่างๆกันแล้วดูว่าสุดท้ายแล้วอสูรมีพลังโจมตีเท่าไหร่

สมมุติว่าอาหารที่ควบคุมให้เป็นตัวแปรต้นนั้นมีอยู่สองชนิดคือผลไม้กับผัก

ผลที่ได้สามารถวาดกราฟออกมาได้ดังนี้



โดยในแกน x และ y คือปริมาณผลไม้และผักที่ให้อสูรทาน แกน z เป็นพลังโจมตี

ในภาพจะเห็นแนวโน้มเป็นเชิงเส้นชัดเจน ยิ่งให้อาหารมากก็ยิ่งพลังโจมตีสูง

เนื่องจากมีสองตัวแปร จึงอาจสมมุติสมการของคำตอบได้เป็น
h = x1w1 + x2w2 + b



โค้ดของภาพนี้เป็นดังนี้
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt

from mpl_toolkits.mplot3d import Axes3D


phonlamai = np.random.uniform(0,10,100) # ปริมาณผลไม้
phak = np.random.uniform(0,10,100) # ปริมาณผัก
chomti = 10+phonlamai*2+phak*3+np.random.randn(100)*3 # คำนวณพลังโจมตี

plt.figure(figsize=[8,8])
ax = plt.axes([0,0,1,1],projection='3d')
ax.set_xlabel(u'ผลไม้',fontname='Tahoma',fontsize=20)
ax.set_ylabel(u'ผัก',fontname='Tahoma',fontsize=20)
ax.set_zlabel(u'พลังโจมตี',fontname='Tahoma',fontsize=20)
# กำหนดสีของเส้นและจุดตามค่า
def si(x):
    x = (x-chomti.min())/(chomti.max()-chomti.min())
    return plt.get_cmap('jet')(x)
# วาดเส้นลากจากพื้นให้กับทุกจุด
for i in range(100):
    ax.plot([phonlamai[i],phonlamai[i]],[phak[i],phak[i]],[0,chomti[i]],color=si(chomti[i]))
# วาดจุด
ax.scatter(phonlamai,phak,chomti,c=si(chomti),edgecolor='k')
plt.show()

จากโค้ดนี้จะเห็นได้ว่าคำตอบคือ w1=2, w2=3, b=10

พจน์ random ที่เพิ่มเข้ามาเป็นความไม่แน่นอนซึ่งเกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่นอาหารชนิดอื่นที่เราไม่ได้ควบคุม หรืออาจเกิดจากค่าสุ่มต่างๆในเกมก็ได้

วิธีการแก้ปัญหาเราจะนำโค้ดจากตอนที่แล้วซึ่งใช้วิธีการเคลื่อนลงตามความชันในหนึ่งมิติมาแก้เล็กน้อยให้ใช้สำหรับปัญหาสองมิติได้

เขียนได้ดังนี้
eta = 0.0001
n_thamsam = 10000
d_yut = 1e-7
w1,w2,b = 0,0,0
h = w1*phonlamai+w2*phak+b
for i in range(n_thamsam):
    dw1 = (2*(chomti-h)*phonlamai).sum()*eta
    dw2 = (2*(chomti-h)*phak).sum()*eta
    db = 2*(chomti-h).sum()*eta
    w1 += dw1
    w2 += dw2
    b += db
    h = w1*phonlamai+w2*phak+b
    if(abs(dw1)and abs(dw2)and abs(db)<d_yut):
        break

ที่เปลี่ยนไปจากเดิมมีแค่แทนที่จะเป็น dw ตัวเดียวก็ใช้เป็น dw1 และ dw2 เวลาที่คำนวณอะไรต่างๆก็ต้องทำทั้ง ๒ อัน

เท่านี้ค่าน้ำหนัก w1, w2 และ b ก็ควรจะเป็นค่าตามที่ต้องการแล้ว

ลองดูผลลัพธ์ด้วยการวาดระนาบของค่าที่ทำนายจากค่าน้ำหนักและไบแอสที่ได้ในท้ายสุด โดยวาดจุดของค่าคำตอบจริงและลากเส้นค่าส่วนต่างเพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความคลาดเคลื่อนด้วย
plt.figure(figsize=[8,8])
ax = plt.axes([0,0,1,1],projection='3d')
ax.set_xlabel(u'ผลไม้',fontname='Tahoma',fontsize=20)
ax.set_ylabel(u'ผัก',fontname='Tahoma',fontsize=20)
ax.set_zlabel(u'พลังโจมตี',fontname='Tahoma',fontsize=20)
# สร้างโครงข่ายพื้นผิวค่าทำนาย
mx,my = np.meshgrid(np.linspace(0,10,11),np.linspace(0,10,11))
# คำนวณค่าทำนายบนพื้นผิวจากค่าน้ำหนักที่ได้
mz = b+mx*w1+my*w2
# วาดพื้นผิว
ax.plot_surface(mx,my,mz,rstride=1,cstride=1,alpha=0.2,color='b',edgecolor='k')
h = phonlamai*w1+phak*w2+b
# วาดเส้นเชื่อมระหว่างจุดของค่าจริงกับระนาบที่ทำนาย
for i in range(100):
    ax.plot([phonlamai[i],phonlamai[i]],[phak[i],phak[i]],[h[i],chomti[i]],'k')
# จุดของค่าจริง
ax.scatter(phonlamai,phak,chomti,c=chomti,edgecolor='k',cmap='jet')
plt.show()
print(b,w1,w2)
# (9.964693266998049, 2.1468002594406337, 2.8872801897811629)



ผลลัพธ์เป็นไปตามที่ควรจะเป็น

แต่ว่าโค้ดนี้จำเพาะสำหรับปัญหาสองมิติ ถ้ามีจำนวนมิติมากกว่านั้นก็ต้องมาคอยแก้โค้ดใหม่เรื่อยๆอาจจะไม่สะดวก เพื่อที่จะให้สามารถใช้แก้ปัญหาในมิติใดๆได้เรายังควรจะปรับปรุงโค้ดอีก

ในกรณีนี้เราจะเปลี่ยนค่าน้ำหนักและไบแอสจากที่เดิมใช้เป็นตัวแปรเป็น w1,w2 และ b เป็นมาเก็บอยู่ในตัวแปรเดียวเป็นอาเรย์คือ w

ส่วนค่าตัวแปรต้นเองก็รวมเป็นอาเรย์สองมิติโดยใช้ np.stack

เขียนออกมาได้ดังนี้
eta = 0.0001
n_sungsut = 10000
d_yut = 1e-7
ahan = np.stack([phonlamai,phak],1)
w = np.zeros(ahan.shape[1]+1)
dw = np.zeros(ahan.shape[1]+1)
h = np.dot(ahan,w[1:])+w[0]
for i in range(n_sungsut):
    dw[1:] = 2*np.dot(chomti-h,ahan)*eta
    dw[0] = 2*(chomti-h).sum()*eta
    w += dw
    h = np.dot(ahan,w[1:])+w[0]
    if(np.all(abs(dw)<d_yut)):
        break # หยุดเฉพาะเมื่อค่าน้ำหนักทุกตัวเปลี่ยนแปลงน้อยกว่า d_yut

plt.figure(figsize=[8,8])
ax = plt.axes([0,0,1,1],projection='3d')
ax.set_xlabel(u'ผลไม้',fontname='Tahoma',fontsize=20)
ax.set_ylabel(u'ผัก',fontname='Tahoma',fontsize=20)
ax.set_zlabel(u'พลังโจมตี',fontname='Tahoma',fontsize=20)
mx,my = np.meshgrid(np.linspace(0,10,11),np.linspace(0,10,11))
mz = w[0]+mx*w[1]+my*w[2]
ax.plot_surface(mx,my,mz,rstride=1,cstride=1,alpha=0.2)
h = phonlamai*w[1]+phak*w[2]+w[0]
for i in range(100):
    ax.plot([phonlamai[i],phonlamai[i]],[phak[i],phak[i]],[h[i],chomti[i]],'k')
ax.scatter(phonlamai,phak,chomti,c=chomti,edgecolor='k',cmap='jet')
plt.show()
print(w)

โค้ดนี้จะให้ผลเหมือนกับอันก่อน แต่การเขียนดูสั้นลงเพราะทั้งค่าน้ำหนักและค่าตัวแปรต้นแต่ละตัวอยู่ในอาเรย์เดียวจึงคำนวณไปพร้อมกัน



ต่อจากนั้น เราสามารถทำให้การคำนวณดูเป็นระบบเรียบร้อยมากขึ้นและสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ง่ายด้วยการสร้างแบบจำลองการถดถอยเชิงเส้นเป็นคลาสขึ้นมา
ลองเขียนคลาสออกมาได้ตามนี้
class ThotthoiChoengsen:
    def __init__(self,eta):
        self.eta = eta
    # เรียนรู้จากข้อมูล X และ z ที่ใส่เข้าไป
    def rianru(self,X,z,d_yut=1e-7,n_thamsam=100000):
        self.w = np.zeros(X.shape[1]+1)
        dw = np.zeros(X.shape[1]+1)
        h = self.thamnai(X)
        self.sse = [self.ha_sse(h,z)] # ลิสต์บันทึกค่า SSE ในแต่ละรอบ
        for i in range(n_thamsam):
            eee = 2*(z-h)*self.eta
            dw[1:] = np.dot(eee,X)
            dw[0] = eee.sum()
            self.w += dw
            h = self.thamnai(X)
            self.sse += [self.ha_sse(h,z)]
            if(np.all(abs(dw)<d_yut)):
                break
    # ทำนายค่าจาก X ที่ใส่เข้าไป
    def thamnai(self,X):
        return np.dot(X,self.w[1:])+self.w[0]
    # หาค่าผลรวมความคลาดเคลื่อนกำลังสอง
    def ha_sse(self,h,z):
        return ((h-z)**2).sum()

การใช้งานจะเริ่มต้นจากสร้างออบเจ็กต์ของคลาสขึ้นมา จากนั้นก็นำข้อมูลที่เตรียมไว้สำหรับเรียนรู้มาทำการเรียนรู้ด้วยเมธอด rianru

พอเรียนรู้เสร็จค่าน้ำหนักที่เก็บอยู่ในแอตทริบิวต์ w ก็จะถูกปรับค่าเรียบร้อย สามารถนำมาใช้คำนวณค่าได้

และเพื่อให้การคำนวณค่าทำได้สะดวกจึงสร้างเมธอด thamnai เอาไว้คำนวณ สามารถดึงมาใช้หาค่าได้ทันที

ตัวอย่างการใช้ ลองเขียนแบบนี้ดูก็จะได้ผลออกมาเหมือนกับตอนแรก
eta = 0.0001
ahan = np.stack([phonlamai,phak],1)
tc = ThotthoiChoengsen(eta) # สร้างออบเจ็กต์
tc.rianru(ahan,chomti) # เริ่มการเรียนรู้

plt.figure(figsize=[8,8])
ax = plt.axes([0,0,1,1],projection='3d')
ax.set_xlabel(u'ผลไม้',fontname='Tahoma',fontsize=20)
ax.set_ylabel(u'ผัก',fontname='Tahoma',fontsize=20)
ax.set_zlabel(u'พลังโจมตี',fontname='Tahoma',fontsize=20)
mx,my = np.meshgrid(np.linspace(0,10,11),np.linspace(0,10,11))
mX = np.stack([mx.ravel(),my.ravel()],1)
mz = tc.thamnai(mX).reshape(11,11)
ax.plot_surface(mx,my,mz,rstride=1,cstride=1,alpha=0.2)
h = tc.thamnai(ahan)
for i in range(100):
    ax.plot([phonlamai[i],phonlamai[i]],[phak[i],phak[i]],[h[i],chomti[i]],'k')
ax.scatter(phonlamai,phak,chomti,c=chomti)
plt.show()
print(tc.w)

นอกจากนี้ค่า SSE ในแต่ละขั้นยังถูกเก็บไว้ในแอตทริบิวต์ sse ด้วย ลองนำมาวาดกราฟดูได้
plt.figure()
plt.axes(yscale='log',xlim=[-len(tc.sse)*0.01,len(tc.sse)*1.01])
plt.plot(tc.sse)
plt.show()



ก็จะเห็นได้ว่า SSE ลดลงเรื่อยๆเมื่อการเรียนรู้เดินหน้าไปจนลู่เข้าค่าหนึ่ง

จะเห็นว่าพอสร้างแบบจำลองเป็นคลาสขึ้นมาแบบนี้แล้วทำให้การใช้ดูสะดวกและเป็นระบบขึ้นมา



สุดท้ายนี้ ลองเปลี่ยนโจทย์ดูบ้าง เพื่อจะทดสอบว่าแบบจำลองที่เขียนขึ้นมานั้นใช้ได้กับกี่มิติก็ได้

สมมุติว่าในเกมเดียวกันนี้เราพบว่าพลังป้องกันของอสูรขึ้นกับค่าอาหารหลายชนิด ได้แก่ ผลไม้ ผัก เนื้อ แป้ง ไขมัน รวมทั้งหมด ๕ อย่าง

เขียนโค้ดสร้างข้อมูลตามนี้
# สร้างอาเรย์ ๕ หลักเท่ากับจำนวนชนิดของอาหาร
ahan = np.random.uniform(0,10,[100,5])
# คำนวณพลังป้องกันจากอาหารทั้ง ๕ ชนิด พร้อมใส่ค่าสุ่มไปด้วย
pongkan = 1.2+ahan[:,0]*0.5+ahan[:,1]*0.3+ahan[:,2]*0.2+ahan[:,3]*0.7+ahan[:,4]*0.1+np.random.randn(100)*0.1

แค่ดูโค้ดก็คงพอรู้คำตอบอยู่แล้วว่า w ของอาหารแต่ละชนิดเป็นเท่าไหร่ อาหารชนิดไหนมีความสำคัญมากกว่า

จากนั้นลองมาดูว่าเราจะใช้คลาสที่สร้างขึ้นนี้เพื่อหาคำตอบได้เป็นไปตามนั้นหรือเปล่า

พอมิติสูงขึ้นการจะวาดภาพให้เห็นก็กลายเป็นเรื่องยาก ดังนั้นครั้งนี้ขอแค่วาดกราฟดูผลว่าค่า SSE ลดลงเรื่อยๆ และแสดงค่า w ว่าเป็นไปตามที่ควรจะเป็นจริงๆ
eta = 0.00005
tc = ThotthoiChoengsen(eta)
tc.rianru(ahan,pongkan)

plt.figure()
plt.axes(yscale='log',xlim=[-len(tc.sse)*0.01,len(tc.sse)*1.01])
plt.plot(tc.sse)
plt.show()
print(tc.w)
# [ 1.12368741  0.49667723  0.29609156  0.20440074  0.70637367  0.10687599]



จะเห็นว่าค่า w ได้ใกล้เคียงกับค่าจริงคือ [1.2,0.5,0.3,0.2,0.7,0.1] โดยมีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อยที่เกิดจากค่าสุ่ม



ตอนนี้สามารถสร้างแบบจำลองการถดถอยเชิงเส้นสำหรับหลายมิติได้แล้ว

การถดถอยเชิงเส้นเป็นพื้นฐานสำคัญที่ต่อยอดไปสู่เทคนิคอื่นๆอีกหลายอย่าง เช่นการถดถอยโลจิสติกซึ่งนำค่าที่ได้จากการคำนวณเชิงเส้นมาใช้ในการตัดแยกกลุ่มข้อมูลตามค่า

อ่านเรื่องการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20161103


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> matplotlib

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文