# อาทิตย์ 9 ก.ค. 2017
หลังจากที่ตอนที่แล้วชมพิพิธภัณฑ์ในส่วนจัดแสดงพิเศษตุนหวงเสร็จไป https://phyblas.hinaboshi.com/20170807
เราเหลือเวลาเพียงชั่วโมงนิดๆก่อนที่พิพิธภัณฑ์ปิดจึงรีบมาดูในส่วนต่อไป นั่นคือส่วนของโถงวัฒนธรรมมนุษย์ เป็นส่วนที่ตั้งอยู่ตรงกลาง หรือก็คือทางมุมตะวันตกเฉียงใต้ของอาคารหลัก
เมื่อมาถึง สิ่งที่ตั้งอยู่โดดเด่นที่สุดตรงนี้ก็คือ หอลูกทรงกลมท้องฟ้าพลังน้ำ (水運儀象台, 水运仪象台, สุ่ยยวิ่นอี๋เซี่ยงไถ)
เกี่ยวกับเครื่องมือนี้มีพูดถึงไปแล้วในบันทึกเรื่องหอดูดาวโบราณปักกิ่ง https://phyblas.hinaboshi.com/20170204
มีการจำลองเครื่องมีนี้หลายอันอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ แต่นี่เป็นอันเดียวที่มีการจำลองขึ้นมาในขนาดเท่าของจริง คือสูง ๑๒ เมตร กว้าง ๗ เมตร
ตรงนี้อธิบายแนะนำเกี่ยวกับเครื่องมือนี้คร่าวๆ
เนื่องจากสูง ดูแค่ชั้นล่างไม่อาจดูทั่วถึง แต่เขาออกแบบสถานที่มาอย่างดีให้สามารถขึ้นมาดูด้านบนไปด้วยได้ โดยมีมุมที่จัดไว้สำหรับให้ดู
กลับลงมาชั้นล่าง ตรงนี้มีส่วนจัดแสดงอยู่ ๓ ส่วน คือ
- วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจีน (中國的科學與技術, 中国的科学与技术)
- การแพทย์จีน (中國醫藥, 中国医药)
- นิเวศวิทยาเกษตรกรรม (農業生態, 农业生态)
พวกเราดูกันแค่สองส่วนแรก ส่วนเรื่องการเกษตรนั้นไม่มีเวลาดู
เริ่มจากส่วนแรก แผ่นป้ายยาวๆนี้แสดงถึงสิ่งประดิษฐ์ของจีนในยุคต่างๆ
นี่เป็นโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างซึ่งมีชื่อเรียกว่าโต๋วก่ง (斗栱) เอาไว้ใช้ค้ำยันส่วนด้านบนที่กว้างกว่าฐานข้างล่าง มักใช้ในสิ่งก่อสร้างตั้งแต่สมัยโบราณของจีน
นี่คือแบบจำลองของแผนที่ดาวสลักหินซูโจว (蘇州時刻天文圖, 苏州石刻天文图) เป็นแผนที่ดาวที่โดดเด่นมากที่สุดของจีน สลักขึ้นเมื่อปี 1247 มีสลักดาวไว้ ๑๔๓๔ ดวง ของจริงเก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แผ่นป้ายแกะสลักซูโจว
แบบจำลองม้าลากรถ ขนาด 1/2
เครื่องทอผ้า
สะพานอานจี้ (安濟橋, 安济桥) หรือสะพานเจ้าโจว (趙州橋, 赵州桥) ที่มณฑลเหอเป่ย์ เป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นในยุคราชวงศ์สุย (隋朝, ปี 581-619) สร้างขึ้นในปี 610 ปัจจุบันยังคงอยู่ในสภาพดี
นี่เป็นพวกเครื่องปั้นดินเผาที่ถูกใช้ฝังพร้อมศพคนตาย ถูกทำเป็นรูปอาคาร
อุปกรณ์ดาราศาสตร์ เจี่ยนอี๋ (簡儀, 简仪) วงล้อทรงกลมท้องฟ้าอย่างง่าย สร้างโดยกัวโส่วจิ้ง (郭守敬) นักดาราศาสตร์ชื่อดังของจีน
ซากเรือเก่าแก่ที่ถูกสร้างตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 ถูกพบในปี 1974 ที่เมืองเฉวียนโจว (泉州) ของจริงยาว ๓๔ เมตร กว้าง ๑๑ เมตร นี่เป็นแบบจำลองขนาด 1/10
เรือจีนแบบโบราณที่เรียกว่าฉวานซา (沙船) แปลว่า "เรือทราย" ที่เรียกแบบนี้เพราะใช้แล่นในบริเวณที่มีน้ำตื้นได้ดี
เครื่องวัดแผ่นดินไหวแบบโบราณซึ่งถูกประดิษฐ์โดนจางเหิง (張衡, 张衡, ปี 78-139) ในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
นาฬิกาแดดโบราณยุคราชวงศ์ฮั่น
อุปกรณ์คิดเลขสมัยราชวงศ์ฮั่น
รถลากที่เรียกว่าจื่อหนานเชอ (指南車, 指南车) แปลว่า "รถชี้ใต้" ถูกใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ
ส่วนตรงนี้แสดงพัฒนาการของเครื่องปั้นเครื่องเคลือบดินเผา
ตรงนี้เป็นพวกเครื่องเขิน
เครื่องสำริด
ระฆังหมู่ เป็นเครื่องดนตรีสมัยโบราณ
ต่อมาเข้าชมห้องที่จัดแสดงเรื่องการแพทย์จีน
ถงเหรินถาง (同仁堂) ร้านยาเก่าแก่ของจีน ก่อตั้งที่ปักกิ่งตั้งแน่ปี 1669
เรื่องของการฝังเข็ม
รูปสัตว์ แสดงจุดต่างๆที่สำคัญ
และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่งไม่มีเวลาดูอย่างละเอียด
ส่วนตรงนี้เป็นส่วนของเกษตรกรรม ซึ่งเราไม่มีเวลาดูเช่นกัน
ต่อมาขึ้นไปชั้น ๒ เริ่มแรกลองออกมาเดินที่ระเบียงสักหน่อย
ตรงนี้มองลงไปเป็นลานกว้างที่อยู่ตรงกลางตึกซึ่งมีลักษณะเป็นวงแหวนรี
จากนั้นมาดูส่วนจัดแสดง ซึ่งประกอบไปด้วย ๓ ส่วน
- คนจีนสมัยโบราณ (古代的中國人, 古代的中国人)
- ชีวิตจิตวิญญาณของชาวฮั่น (漢人的心靈生活, 汉人的心灵生活)
- ชนเผ่าออสโตรนีเซียในไต้หวัน (台灣南島語族, 台湾南岛语族)
เริ่มจากหัวข้อคนจีนสมัยโบราณ ตรงส่วนนี้เริ่มต้นจากอธิบายแผนที่ผืนแผ่นดินจีนในแง่ต่างๆ
ข้อน่าสังเกตอย่างหนึ่งก็คือ แผนที่นี้รวมดินแดนส่วนที่เป็นมองโกเลียในปัจจุบันไว้ด้วย เพราะรัฐบาลสาธารณรัฐจีนของไต้หวันถือว่าดินแดนมองโกลเป็นของจีนมาตั้งแต่โบรารและไม่ยอมรับว่ามองโกเลียเป็นประเทศเอกราช
กระโหลกของมนุษย์โบราณในจีน
ต่อมาเข้ามาด้านในจะมืดๆ จำลองบรรยากาศเหมือนถ้ำ
อุปกรณ์เครื่องใช้ของมนุษย์ยุคหินที่ขุดเจอ
จำลองการใช้ชีวิต
จำลองหมู่บ้านป้านพัว (半坡) มณฑลส่านซี แหล่งอารยธรรมเก่าแก่ประมาณ 5000-3000 ปีก่อน ค.ศ.
จำลองหมู่บ้านเหอหมู่ตู้ (河姆渡) ในมณฑลเจ้อเจียง แหล่งอารยธรรมเก่าแก่ประมาณ 5000-4000 ปีก่อน ค.ศ.
ยิ่งเดินถัดไปก็เป็นยุคถัดไปเรื่อยๆ
วัฒนธรรมหลงซาน (龍山文化, 龙山文化) 3000-2000 ปีก่อน ค.ศ.
บ้านที่มีโครงสร้างดูคล่้ายกับจะเป็นวังในยุคแรก พบร่องรอยที่เอ้อร์หลี่โถว (二里頭, 二里头) ยุคราชวงศ์เซี่ย (夏朝, 21 - 17 ศตวรรษก่อน ค.ศ.)
สุสานกษัตริย์ราชวงศ์ซาง (商朝, 17 - 11 ศตวรรษก่อน ค.ศ.)
เครื่องสำริดในยุคราชวงศ์ซาง
เนื้อหาจัดแสดงจบอยู่ตรงที่สิ้นสุดราชวงศ์ซางแค่นี้
ต่อมาดูส่วนของชีวิตจิตวิญญาณชาวจีน
ในบริเวณปกคลุมด้วยหลังคาใหญ่ที่เป็นศิลปะแบบจีน มีความสวยงามโดดเด่นมาก
ภายในบริเวณแสดงเกี่ยวกับวัฒนธรรมต่างๆของชาวจีนฮั่นที่มีมาแต่โบราณ
การสร้างปฏิทินคำนวณฤดูมีมาแต่โบราณ การรู้ฤดูมีความสำคัญเพราะสังคมจีนเป็นสังคมเกษตร พึ่งพาการเพาะปลูก ดังนั้นดาราศาสตร์จึงถูกพัฒนาขึ้นมา
นี่คือแบบจำลองของหอดูดาวเติงเฟิง (登封觀象台, 登封观象台) กุบไลข่านสั่งให้กัวโส่วจิ้งสร้างมาในปี 1276 เป็นหอดูดาวที่เก่าแก่ที่สุดในจีนที่ยังเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน
จากนั้นก็เหลือเพียงส่วนสุดท้าย คือเรื่องของชนเผ่าออสโตรนีเซียในไต้หวัน ซึ่งเล่าถึงในตอนถัดไป https://phyblas.hinaboshi.com/20170811