φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



[python] วิเคราะห์แบ่งกลุ่มข้อมูลด้วยวิธีการเพื่อนบ้านใกล้สุด k ตัว (KNN)
เขียนเมื่อ 2017/10/28 19:56
แก้ไขล่าสุด 2022/07/21 14:56
ที่ผ่านมาก่อนหน้านี้ได้เขียนบทความที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์แบ่งกลุ่มด้วยวิธีการถดถอยโลจิสติกและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องไปหลายตอนด้วยกัน

ที่จริงแล้วเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องนั้นยังมีวิธีอื่นอีกหลายอย่าง ดังนั้นคราวนี้จึงอยากแนะนำเทคนิคที่เรียกว่า วิธีการเพื่อนบ้านใกล้สุด k ตัว (K-近邻算法, k-nearest neighbor, มักย่อเป็น KNN) ซึ่งเป็นวิธีที่อาจถือได้ว่าเข้าใจง่ายที่สุด

หลักการของวิธีการเพื่อนบ้านใกล้สุดนี้ใช้ความคล้ายคลึงหรือใกล้ชิดเป็นตัวตัดสินการแบ่งกลุ่ม

ความคล้ายคลึงใกล้ชิดในที่นี้คืออะไร เพื่อให้เห็นภาพชัดขอเริ่มจากการยกตัวอย่างจะเข้าใจได้ง่ายกว่า

เริ่มจาก สมมุติว่ามีฝูงมด ๓ ชนิดยืนอยู่ตามแหน่งนี้



โดยสีแสดงถึงชนิดของมด โดยแบ่งออกเป็น ๓ สายพันธุ์ มดเขียว มดเหลือง มดม่วง

ข้อมูลและภาพนี้สามารถสร้างได้ด้วยการเขียนโค้ดตามนี้ (ข้อมูลกลุ่มก้อนสร้างโดยใช้คำสั่ง make_blobs รายละเอียด https://phyblas.hinaboshi.com/20161127)
import numpy as np
from sklearn import datasets
import matplotlib.pyplot as plt
np.random.seed(10)
n_klum = 3
tamnaeng,klum = datasets.make_blobs(n_samples=120,n_features=2,centers=9,cluster_std=0.8)
klum %= n_klum
plt.figure(figsize=[6,6])
plt.axes(aspect=1)
plt.scatter(tamnaeng[:,0],tamnaeng[:,1],c=klum,edgecolor='k',cmap='viridis')
plt.show()
จะเห็นว่าสีเดียวกันจะจับกลุ่มกันอยู่อย่างแน่นอนในระดับหนึ่ง เหมือนมดกำลังแบ่งอาณาเขตกันชัดเจน

ทีนี้หากเราสุ่มตำแหน่งขึ้นมาสักที่ เราจะรู้ได้ยังไงว่าตำแหน่งตรงนั้นเป็นเขตของมดชนิดไหน?

โจทย์ข้อนี้หากใช้การถดถอยโลจิสติกย่อมไม่มีทางหาคำตอบได้ เพราะจุดอ่อนของวิธีนั้นก็คือแบ่งได้เป็นเส้นตรงเท่านั้น แต่หากการกระจายตัวเป็นไปอย่างซับซ้อนแบบนี้ย่อมทำไม่ได้

แต่วิธีการเพื่อนบ้านใกล้สุด k ตัวเป็นวิธีที่สามารถแบ่งกลุ่มได้ไม่ว่าเส้นแบ่งจะซับซ้อนแค่ไหนก็ตาม

วิธีการก็คือ ดูว่าตรงไหนที่อยู่ใกล้ชนิดไหนมากก็แสดงว่าเป็นอาณาเขตของมดชนิดนั้นเลย

การวัดระยะก็ทำได้ง่าย กรณีเป็นพื้นที่สองมิติอย่างในตัวอย่างนี้ก็ (x**2+y**2)**0.5 คำนวณระยะระหว่างตำแหน่งที่เราพิจารณาอยู่กับจุดทุกจุดแล้วหาว่าจุดไหนใกล้สุด จุดนั้นเป็นสีอะไร เท่านี้ก็ได้คำตอบ

ว่าแล้วก็เริ่มจากลองดูตัวอย่างง่ายๆ
X = np.array([-1.5,6]) # สร้างจุดขึ้นมาจุดหนึ่ง
raya2 = ((tamnaeng-X)**2).sum(1) # คำนวณระยะสู่แต่ละจุดกำลังสอง (ไม่จำเป็นต้องถอดรากเพราะแค่จะใช้เปรียบเทียบ)
i = raya2.argmin() # ดัชนีของจุดที่ระยะน้อยที่สุด
print(klum[i]) # คำตอบ 0

เพียงแต่ว่าหากใช้ค่าเดียวแบบนี้ออกจะดูหยาบไปหน่อย เพราะบางทีอาจจะแค่บังเอิญไปใกล้จุดนี้ แต่ที่ใกล้เป็นอันดับ ๒ ๓ ๔ กลับเป็นอีกกลุ่มหนึ่งหมดเลย แบบนั้นก็เป็นไปได้

จำนวนที่นิยมใช้กันมากที่สุดก็คือ ๕ ตัว คือตัดสินว่า ๕ ตัวที่ใกล้ที่สุดเป็นกลุ่มไหนอยู่กี่ตัว กลุ่มไหนมากที่สุดคำตอบก็คือกลุ่มนั้น

การหาจุดที่ใกล้สุดเป็นอันดับต้นๆอาจใช้คำสั่ง argsort
nk = 5 # จำนวนจุดที่จะพิจารณา
raya2 = ((tamnaeng-X)**2).sum(1)
an_thi_klai = raya2.argsort() # หาดัชนีของจุดที่มีค่าใกล้สุดไล่มาเรื่อยๆ
klum_thi_klai = klum[an_thi_klai] # ดูว่าดัชนีที่ว่านี้คือกลุ่มไหนบ้าง
n_nai_klum = np.array([(klum_thi_klai[:nk]==k).sum() for k in range(n_klum)]) # ดูว่า ๕ อันแรกที่ใกล้สุดมีกลุ่มไหนอยู่กี่ตัว
mi_maksut = n_nai_klum.max() # จำนวนมากที่สุดมีเท่าไหร่
maksutmai = n_nai_klum==mi_maksut # ดูว่ากลุ่มนี้มากสุดหรือไม่
for j in range(nk):
    k = klum_thi_klai[j]
    if(maksutmai[k]):
        z = k # ถ้ามากสุดก็ได้คำตอบเป็นกลุ่มนี้
        break
print(u'5 กลุ่มใกล้สุด %s\nคำตอบ %d'%(klum_thi_klai[:5],z))

ได้
5 กลุ่มใกล้สุด [0 1 1 0 1]
คำตอบ 1

ต่อมาลองสุ่มจุดในบริเวณนี้มาสัก ๑๕ จุด แล้วหากลุ่มของแต่ละจุด
n = 15
x = np.random.uniform(tamnaeng[:,0].min(),tamnaeng[:,0].max(),n)
y = np.random.uniform(tamnaeng[:,1].min(),tamnaeng[:,1].max(),n)
X = np.stack([x,y],1)

เพื่อความรวดเร็วควรทำให้สามารถป้อนค่าตำแหน่งหลายจุดเป็นอาเรย์คำนวณพร้อมกันได้ เขียนใหม่ได้ดังนี้
nk = 5
raya2 = ((X[None]-tamnaeng[:,None])**2).sum(2)
klum_thi_klai = klum[raya2.argsort(0)]
n_nai_klum = np.stack([(klum_thi_klai[:nk]==k).sum(0) for k in range(n_klum)])
mi_maksut = n_nai_klum.max(0)
maksutmai = (n_nai_klum==mi_maksut)
z = np.empty(n,dtype=int)
for i in range(n):
    for j in range(nk):
        k = klum_thi_klai[j,i]
        if(maksutmai[k,i]):
            z[i] = k
            break

นำมาวาดภาพ โดยจุดที่ทำนายกลุ่มให้เป็นสี่เหลี่ยมขอบแดง ถูกแบ่งกลุ่มตรงกับจุดกลมที่อยู่ใกล้
plt.figure(figsize=[6,6])
plt.axes(aspect=1)
plt.scatter(tamnaeng[:,0],tamnaeng[:,1],c=klum,edgecolor='k',cmap='viridis')
plt.scatter(x,y,60,c=z,marker='s',edgecolor='r')
plt.show()




เพื่อความเป็นระเบียบใช้งานสะดวก ต่อไปจะลองทำให้อยู่ในรูปแบบของคลาส เป็นแบบนี้
class Phueanban:
    def __init__(self,nk):
        self.nk = nk # จำนวนเพื่อนบ้านที่จะพิจารณา

    def rianru(self,X,z):
        self.X = X # เก็บข้อมูลตำแหน่ง
        self.z = z # เก็บข้อมูลการแบ่งกลุ่ม
        self.n_klum = z.max()+1 # จำนวนกลุ่ม

    def thamnai(self,X):
        n = len(X) # จำนวนข้อมูลที่จะคำนวณหา
        raya2 = ((X[None]-self.X[:,None])**2).sum(2)
        klum_thi_klai = self.z[raya2.argsort(0)]
        n_nai_klum = np.stack([(klum_thi_klai[:self.nk]==k).sum(0) for k in range(self.n_klum)])
        mi_maksut = n_nai_klum.max(0)
        maksutmai = (n_nai_klum==mi_maksut)
        z = np.empty(n,dtype=int)
        for i in range(n):
            for j in range(self.nk):
                k = klum_thi_klai[j,i]
                if(maksutmai[k,i]):
                    z[i] = k
                    break
        return z

ในที่นี้เขียนในลักษณะคล้ายกับคลาสของการถดถอยโลจิสติกที่แนะนำไปแล้ว (ดูได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20171006)

เพียงแต่จะเห็นว่าเมธอดที่เป็นการเรียนรู้นั้นจะเป็นแค่การรับข้อมูลมาเก็บไว้เท่านั้น แต่ที่จะหนักจริงๆคือตอนคำนวณทำนายค่าคำตอบ

จากลักษณะตรงนี้จะเห็นว่าวิธีนี้ต่างจากการถดถอยโลจิสติกมาก เพราะการถดถอยโลจิสติกนั้นพอได้รับข้อมูลมาจะเอาไปคำนวณพารามิเตอร์ค่าน้ำหนัก จากนั้นเวลาจะทำนายค่าก็แค่เอาค่ำน้ำหนักนั้นมาคำนวณ ส่วนค่าข้อมูลที่ใช้เรียนรู้จะทิ้งไปก็ได้ ประมาณว่าเรียนเสร็จความรู้อยู่ในหัวแล้วก็เผาตำราได้เลย

แต่วิธีการเพื่อนบ้านใกล้สุด k ตัวจะต้องเก็บข้อมูลที่ป้อนเข้ามาเอาไว้เป็นตัวเปรียบเทียบตำแหน่งเพื่อใช้คำนวณระยะทางแล้วหาว่าอันไหนใกล้สุดเพื่อจะทำนาย ดังนั้นจะทิ้งข้อมูลไม่ได้

มีชื่อเรียกแบ่งประเภทการเรียนรู้แบบนี้ว่าเป็น นอนพาราเมทริก (nonparametric) คือไม่ใช้พารามิเตอร์ แต่การถดถอยโลจิสติกเป็นแบบพาราเมทริก (parametric)

การถดถอยโลจิสติกเป็นตัวอย่างของอัลกอริธึมในรูปแบบที่ต้องมีการป้อนข้อมูลเรียนรู้เพื่อให้โปรแกรมทำการคำนวณซ้ำๆเพื่อปรับค่าพารามิเตอร์ความชันไปเรื่อย

แต่วิธีการเพื่อนบ้านใกล้สุด k ตัวต่างไปจากการถดถอยโลจิสติกโดยสิ้นเชิง เนื่องจากว่าไม่ต้องมีการสร้างพารามิเตอร์อะไรขึ้นมา

ในโค้ดยังมีส่วนที่น่าขยายความถึงอีกคือตรงส่วนก้อน ((Xn[None]-self.X[:,None])**2).sum(2) ตรงนี้เป็นเทคนิคที่ทำให้สร้างอาเรย์สามมิติซึ่งทำให้คำนวณได้เร็ว แต่มีข้อควรระวังว่าถ้าหากอาเรย์ใหญ่เกินไปจะกลับทำให้ช้าลงได้ ดังนั้นไม่เหมาะจะใช้กับข้อมูลขนาดใหญ่



ลองนำมาใช้ดู โดยคราวนี้สร้างข้อมูลเป็น ๔ กลุ่ม สุ่มหาค่าของจุดในบริเวณดูสัก ๒๐ จุด แล้วก็ลองทำการระบายสีพื้นที่เพื่อให้เห็นอาณาเขตชัดเจนไปด้วย
n_klum = 4
np.random.seed(10)
tamnaeng,klum = datasets.make_blobs(n_samples=200,n_features=2,centers=12,cluster_std=1.4)
klum %= n_klum
plt.figure(figsize=[8,8])
plt.axes(aspect=1)
plt.scatter(tamnaeng[:,0],tamnaeng[:,1],c=klum,edgecolor='k',cmap='viridis')
nk = 5 # จำนวนเพื่อนบ้าน
pb = Phueanban(nk)
pb.rianru(tamnaeng,klum)

# จุดข้อมูลทดสอบ
n = 20
x = np.random.uniform(tamnaeng[:,0].min(),tamnaeng[:,0].max(),n)
y = np.random.uniform(tamnaeng[:,1].min(),tamnaeng[:,1].max(),n)
X = np.stack([x,y],1)
z = pb.thamnai(X)
plt.scatter(x,y,60,c=z,marker='s',edgecolor='#ff6666')

# ระบายสีพื้น
nmesh = 200
mx,my = np.meshgrid(np.linspace(-15,15,nmesh),np.linspace(-15,15,nmesh))
mX = np.stack([mx.ravel(),my.ravel()],1)
mz = pb.thamnai(mX).reshape(nmesh,nmesh)
plt.pcolormesh(mx,my,mz,alpha=0.1,cmap='viridis')
plt.contour(mx,my,mz,alpha=0.3,colors='#6666ff')
plt.show()


น่าสังเกตว่ามีบางส่วนที่ถูกแบ่งผิดเนื่องจากไปอยู่ท่ามกลางดงของกลุ่มอื่น คือจุดสีเหลืองและน้ำเงินทางขวา เนื่องจากบริเวณนั้นมีการปนซ้อนทับกัน

แต่หากเปลี่ยนจำนวนเพื่อนบ้านเป็น 1 (nk = 1) แล้วดูใหม่จะเป็นแบบนี้



จะเห็นว่าเส้นขีดแบ่งลัดเลาะไปมาแบบดูจงใจกว่าเดิมมาก และตรงจุดที่เป็นตัวข้อมูลฝึกจะไม่มีการถูกแบ่งผิด เพราะที่ใกล้ตัวจุดนั้นเองที่สุดก็คือตัวมันเองอยู่แล้ว

แต่พอเพื่อนบ้านมี 3 ขึ้นไป หากจุดอื่นที่เหลือที่อยู่ใกล้เป็นกลุ่มอื่นก็เท่ากับว่าจุดนั้นโดยจัดไปอยู่กลุ่มอื่นทันที

ดังนั้นเห็นได้ว่าค่าจำนวนเพื่อนบ้านที่พิจารณานั้นมีผลต่อผลลัพธ์

บางทีการที่มีสมาชิกเดียวของกลุ่มหนึ่งอยู่ท่ามกลางดงของกลุ่มอื่นนั้นอาจแค่เพราะจุดนั้นเป็นข้อยกเว้นพิเศษหรือมีปัจจัยบางอย่างที่ไม่คาดคิดก็เป็นได้ ดังนั้นจะให้ใช้จุดนั้นจุดเดียวเป็นตัวพิจารณาก็อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดี อาจทำให้เกิดการเรียนรู้เกิน (over-learning) ได้ง่าย




แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเลือกจำนวนเพื่อนบ้านเยอะแล้วจะดี ยังไงก็ควรเลือกให้เหมาะสมตามกรณี



โดยรวมแล้วก็จะเห็นได้ว่าวิธีการนี้โดยหลักการแล้วดูเข้าใจได้ง่ายดี แค่พิจารณาระยะห่าง

แต่ก็มีข้อควรระวังอยู่เล็กน้อย ที่สำคัญที่สุดก็คือ "ระยะห่าง" ในที่นี้หมายถึงอะไร

จากตัวอย่างข้างต้นนั้นเพื่อให้เห็นภาพชัดจึงให้ระยะทางในที่นี้เป็นระยะทางบนพื้นที่จับต้องได้จริงๆ

แต่ในการคำนวณทั่วไประยะทางที่ว่านี้คือค่าตัวแปรต่างๆที่อาจเป็นอะไรก็ได้

เช่นสมมุติว่าทำนายการงอกของต้นไม้ชนิดหนึ่งโดยดูจากตัวแปรที่นำมาใช้คิดก็อาจเป็นอุณหภูมิและความชื้น

หรือจะแบ่งกลุ่มคนจากคุณสมบัติเช่นส่วนสูงและน้ำหนัก

ปริมาณที่เป็นคนละหน่วยกันแบบนั้นไม่น่าจะเอามาเปรียบเทียบกันได้

ไม่เช่นนั้นคนสูง 1.6 ม. หนัก 50 กก. จะดูใกล้เคียงกับคนสูง 1.8 ม. หนัก 50 กก. พอๆกับคนสูง 1.6 ม. หนัก 50.2 กก. เพราะหากคิดระยะห่างแล้วก็คือ 0.2 เท่ากัน ?? แน่นอนว่าคงจะดูแปลก

กรณีแบบนี้จึงควรมีการทำข้อมูลให้เป็นมาตรฐาน เช่นเดียวกับที่ทำในการถดถอยโลจิสติก แม้ว่าจะเนื่องมาจากคนละเหตุผลกันก็ตาม

เกี่ยวกับเรื่องนี้ได้เขียนถึงไว้แล้วใน https://phyblas.hinaboshi.com/20161124

สามารถเอามาประยุกต์ใช้กับวิธีการเพื่อนบ้านใกล้สุด k ตัวได้เช่นกัน

การทำข้อมูลให้เป็นมาตรฐานจะทำให้ความสำคัญของตัวแปรต่างๆเป็นไปตามการกระจายของข้อมูล ช่วยให้เกณฑ์การหาระยะเป็นไปอย่างเหมาะสมขึ้น

เช่นถ้ากลุ่มคนที่พิจารณามีส่วนสูง 1.4~1.8 หนัก 40~80 แบบนี้ก็จะเท่ากับว่าความต่างส่วนสูง 0.4 สำคัญพอๆกับความต่างน้ำหนัก 40 เวลานำมาคิดระยะห่างก็จะได้ผลออกมาเป็นธรรมชาติมากกว่า

เพื่อให้เห็นภาพ ขอยกตัวอย่าง เช่น มีสัตว์ชนิดหนึ่ง ตัวผู้กับตัวเมียดูเผินๆหน้าตาเหมือนกันมากแยกไม่ออก แต่ว่าน้ำหนักและส่วนสูงมีแนวโน้มต่างกันอยู่เล็กน้อย เมื่อลองนำมาชั่งและวัดดูก็พบการกระจายตามนี้
np.random.seed(0)
sung = np.hstack([np.random.normal(70,2.1,200),np.random.normal(67,1.8,200)])
nak = np.hstack([np.random.normal(6.9,0.2,200),np.random.normal(7.3,0.1,200)])
z = np.hstack([np.zeros(200),np.ones(200)]).astype(int)
plt.figure(figsize=[7,7])
plt.scatter(sung,nak,c=z,edgecolor='k',cmap='PiYG_r')
plt.show()


ลองเอามาแบ่งกลุ่มดู หาขอบเขตแบ่งระหว่างตัวผู้กับตัวเมียในปริภูมิของน้ำหนักและส่วนสูง โดยเปรียบเทียบระหว่างทำให้เป็นมาตรฐานแล้วกับยังไม่ได้ทำ
X = np.stack([sung,nak],1)
for i in [0,1]:
    if(i==1): # สำหรับรอบที่ 2 ทำให้เป็นมาตรฐาน
        X = (X-X.mean(0))/X.std(0)
    pb = Phueanban(nk=1)
    pb.rianru(X,z)
    nmesh = 200
    mx,my = np.meshgrid(np.linspace(X[:,0].min(),X[:,0].max(),nmesh),np.linspace(X[:,1].min(),X[:,1].max(),nmesh))
    mX = np.stack([mx.ravel(),my.ravel()],1)
    mz = pb.thamnai(mX).reshape(nmesh,nmesh)
    plt.figure(figsize=[7,7])
    plt.axes(xlim=[X[:,0].min(),X[:,0].max()],ylim=[X[:,1].min(),X[:,1].max()])
    plt.contourf(mx,my,mz,alpha=0.1,cmap='PiYG_r')
    plt.contour(mx,my,mz,alpha=0.3,colors='#6666ff')
    plt.scatter(X[:,0],X[:,1],c=z,edgecolor='k',cmap='PiYG_r')
plt.show()




จะเห็นว่าภาพแรกซึ่งยังไม่ได้ทำให้เป็นมาตรฐานนั้นเส้นแบ่งจะค่อนข้างวางตัวในแนวตั้ง นั่นเพราะส่วนสูงมีผลมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด ส่วนภาพหลังปรับสัดส่วนแล้ว จึงเห็นว่าแบ่งตามระยะที่ดูสมเหตุสมผลดีกว่า



อีกเรื่องที่ต้องคิดก็ยังมีเรื่องของวิธีการคิดระยะทาง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะคิดโดยผลรวมกำลังสอง แต่ในบางกรณีก็อาจใช้หลักการคิดระยะแบบอื่นๆ

อีกคำถามที่น่าคิดก็คือ ถ้ามีจุดจำนวนมากมายเป็นพันๆจะต้องมาคำนวณระยะจุดทั้งหมดนี้เลยหรือ? แบบนั้นเสียเวลาเยอะแน่นอน

ใช่แล้ว ในทางปฏิบัติแล้วที่จริงมีอัลกอริธึมที่ช่วยให้เราไม่ต้องคำนวณระยะทั้งหมด เช่นวิธีที่เรียกว่า KD tree หรือ Ball tree เพียงแต่ว่าค่อนข้างซับซ้อนจึงไม่ขอพูดถึง ในที่นี่แต่ต้องการแนะนำแนวคิดจึงใช้วิธีที่เข้าใจง่าย คือคำนวณทั้งหมด

ในตอนต่อไปจะแนะนำการใช้วิธีนี้ด้วย sklearn ซึ่งช่วยให้สามารถทำได้อย่างง่ายดายขึ้นมาก https://phyblas.hinaboshi.com/20171031



อ้างอิง


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> matplotlib

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文