φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



[python] วิเคราะห์การถดถอยโดยใช้วิธีการเคอร์เนล
เขียนเมื่อ 2018/07/24 22:28
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
วิธีการเคอร์เนล (核方法, kernel method) หรือนิยมเรียกกันว่าลูกเล่นเคอร์เนล (核技巧, kernel trick) เป็นวิธีการที่ใช้อย่างกว้างขวางในเทคนิคการเรียนรู้ของเครื่อง

สำหรับบทความนี้จะมาอธิบายหลักการและการใช้วิธีการเคอร์เนลโดยละเอียด



หลักการ

การวิเคราะห์ปัญหาที่ไม่เป็นเชิงเส้นนั้นมีความซับซ้อน โดยทั่วไปหากสามารถเปลี่ยนปัญหาที่พิจารณาให้เป็นเชิงเส้นได้จะสามารถคิดอะไรๆได้ง่ายขึ้น

เช่นเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ดูแล้วเป็นฟังก์ชันซับซ้อน แต่ถ้าเราใช้วิธีอะไรสักอย่างแปลงข้อมูลเหล่านี้ให้ไปอยู่ในปริภูมิอื่น มันอาจกลายเป็นเชิงเส้นขึ้นมาได้ มิติของปริภูมินั้นอาจสูงกว่า แต่ถ้าเป็นเชิงเส้นก็จะทำให้พิจารณาง่ายขึ้น

ภาพตัวอย่างคร่าวๆ ด้านบนคือปริภูมิเดิมของข้อมูลที่เราพิจารณาอยู่ตอนแรก ส่วนภาพล่างคือจุดข้อมูลเหล่านั้นภายในปริภูมิใหม่ สีเดียวกันกับด้านบนแสดงถึงจุดเดียวกันถูกแปลงมาเป็นจุดนั้นในด้านล่าง



ในการใช้วิธีการเคอร์เนล ปริภูมิใหม่ที่ว่านี้เรียกว่าเป็นปริภูมิของเคอร์เนล ค่าในปริภูมิเคอร์เนลเป็นฟังก์ชันของจุดต่างๆในปริภูมิเดิม

ปริภูมิของเคอร์เนลที่ว่านี้ ถ้าจะพูดโดยละเอียดจริงๆก็คือเป็นปริภูมิชนิดที่เรียกว่า ปริภูมิฮิลแบร์ทเคอร์เนลเกิดซ้ำ (再生核希尔伯特空间, reproducing kernel Hilbert space)

อย่างไรก็ตามเรื่องนี้เป็นคณิตศาสตร์ระดับสูงเข้าใจยากพอสมควร เราไม่จำเป็นต้องลงลึกในรายละเอียดขนาดนั้นก็ได้ ให้เข้าใจว่าเป็นปริภูมิอะไรบางอย่างที่ต่างจากปริภูมิที่เราพิจารณาอยู่เดิม และการคำนวณในปริภูมินั้นทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลสะดวกได้

วิธีการเคอร์เนลมีพื้นฐานมาจากการใช้ฟังก์ชันฐาน (基函数, basis function) ซึ่งเขียนถึงไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20180720

เนื้อหาในนี้จะต่อเนื่องจากพื้นฐานในบทความนั้น สมการต่างๆก็ยกมาจากในนั้นโดยอาจจะไม่ได้อธิบายซ้ำโดยละเอียดนัก ดังนั้นควรอ่านบทความนั้นมาก่อน

ปริภูมิเคอร์เนลได้จากการแปลงต่อมาจากปริภูมิของฟังก์ชันฐานลักษณะเฉพาะ ϕ อีกที

โดยนิยามฟังก์ชันใหม่ K เรียกว่าเป็นฟังก์ชันเคอร์เนล หรืออาจเรียกว่าเคอร์เนลเฉยๆ
..(1)

K เกิดจากผลคูณเวกเตอร์ ϕ ในปริภูมิของ ϕ หรือโดยทั่วไปมักเรียกว่าเป็นผลคูณภายใน (内积, inner product) ของปริภูมิ ϕ บางครั้งก็นิยมเขียนแทนด้วยกรอบลักษณะแบบนี้
..(2)

โดยทั่วไปถ้าปริภูมิ ϕ มีจำนวนมิติจำกัด เช่นมีจำนวนมิติ m มิติ ผลคูณภายในจะได้ว่า
..(3)

แต่ในวิธีการเคอร์เนลเรามักจะให้ ϕ มีจำนวนมิติเป็นอนันต์ ซึ่งผลคูณภายในจะเป็นการหาปริพันธ์แบบนี้
..(4)

มีมิติเป็นจำนวนอนันต์นี่เป็นยังไง คิดว่าอาจจะเป็นเรื่องที่จินตนาการได้ยาก ขอยกตัวอย่างฟังก์ชัน เช่นกรณีที่ฐาน ϕ เป็นฟังก์ชันเกาส์
..(5)

ในที่นี้ ξ จะหมายถึงจุดที่ใช้เป็นศูนย์กลาง ซึ่งตำแหน่งนี้อาจเป็นจุดใดๆบนปริภูมิของตัวแปรต้น x ดังนั้นจึงมีจำนวนเป็นอนันต์ จึงเรียกได้ว่าปริภูมิของ ϕ มีจำนวนมิติเป็นอนันต์

แบบนี้ผลคูณภายในจะกลายเป็น
..(6)

จะเห็นว่าเมื่อใช้ฟังก์ชันฐานเป็นฟังก์ชันเกาส์ ก็จะได้เคอร์เนลออกมาเป็นฟังก์ชันเกาส์ในลักษณะเดิม

เขียนเคอร์เนลเกาส์ใหม่ในรูปทั่วไปได้เป็น
..(7)

โดย
..(8)

โดย σ แสดงถึงขนาดความกว้าง ปกติฟังก์ชันโดยพื้นฐานแล้วจะถูกเขียนในรูป σ เพราะเห็นภาพชัดกว่า แต่เพื่อให้เขียนง่ายในที่นี้ใช้รูป γ

โดยทั่วไปเคอร์เนลเกาส์แบบนี้มักถูกเรียกว่า เคอร์เนลฟังก์ชันฐานแนวรัศมี (径向基函数核, Radial basis function kernel) และนิยมเรียกย่อๆว่า RBF

เพียงแต่ว่ากันในรายละเอียดจริงๆแล้ว RBF หมายถึงฟังก์ชันอะไรก็ได้ที่ใช้ฐานเป็นฟังก์ชันที่มีจุดศูนย์กลางและมีค่าเปลี่ยนแปลงตามระยะห่างจากใจกลาง ดังนั้นอาจไม่ใช่ฟังก์ชันเกาส์ เพียงแต่ปกติฟังก์ชันเกาส์ใช้กันทั่วไปมากที่สุด ดังนั้นพอพูดถึง RBF ก็จะหมายถึงฟังก์ชันเกาส์

นอกจากเคอร์เนลเกาส์แล้ว ยังมีเคอร์เนลชนิดอื่นที่อาจใช้ได้ เช่น เคอร์เนลลาปลาส เคอร์เนลพหุนาม เป็นต้น แต่ในที่นี้จะอธิบายโดยเน้นเคอร์เนลเกาส์เป็นหลัก

ในปัญหาการวิเคราะห์การถดถอยจะคำนวณเคอร์เนล K ระหว่างค่าใหม่ x ที่ต้องการหาค่ากับ x เก่าที่เป็นข้อมูลที่มี แล้วนำมาคำนวณ
..(9)

ในที่นี้เขียนห้อย B หมายถึงข้อมูลกลุ่มใหม่ที่ต้องการหาค่า ห้อย A หมายถึงกลุ่มเก่าซึ่งรู้ค่า z อยู่แล้วและใช้ในการเรียนรู้

ที่ใช้สัญลักษณ์เป็นเวกเตอร์ในที่นี้หมายถึงว่ามีข้อมูล x หลายตัว

อนึ่ง ในบทความนี้จะใช้อักษรตัวหนาแทนปริมาณที่เป็นเมทริกซ์สองมิติ ส่วนที่มีลูกศรด้านบนแทนปริมาณเวกเตอร์ ซึ่งถือเป็นเมทริกซ์หนึ่งมิติด้วย ส่วนอักษรตัวเอียงธรรมดาคือค่าเลขตัวเดียว

ถ้าแจกเป็นเมทริกซ์ให้เห็นภาพชัดจะได้แบบนี้
..(10)

โดย n เป็นจำนวนข้อมูลเก่า n' เป็นจำนวนข้อมูลกลุ่มใหม่

ค่าของแต่ละตัวจะได้เป็น
..(11)

โดย a คือค่าน้ำหนักของเคอร์เนลแต่ละตัว อาจมองว่าคล้ายกับค่าน้ำหนัก w ตอนใช้ฟังก์ชันฐานลักษณะเฉพาะก็ได้ แค่เปลี่ยนจากน้ำหนักของฟังก์ชันฐานมาเป็นน้ำหนักของเคอร์เนล

ค่า a คำนวณจากเคอร์เนลภายในตัวข้อมูลเก่าบวกกับเรกูลาไรซ์
..(12)

โดย λ คือขนาดของการเรกูลาไรซ์

ส่วนที่มาของค่า a ถ้าจะเข้าใจอาจต้องอธิบายย้อนกลับไปนิด

เดิมทีในการใช้ฟังก์ชันฐานลักษณะเฉพาะในการคำนวณนั้น เราจะอธิบายค่าของฟังก์ชัน z ที่เราต้องการหาในรูปของฟังก์ชันฐาน ϕ(x) คูณกับน้ำหนัก w
..(13)

เมื่อมีจุดข้อมูลอยู่หลายค่า ค่า x และ z ก็มีอยู่หลายตัว อาจแสดงได้ในรูปเมทริกซ์ดังนี้
..(14)

โดยในที่นี้ m เป็นจำนวนฐาน และ n เป็นจำนวนจุดข้อมูลที่ใช้

ค่าน้ำหนัก w นี้เป็นค่าที่ต้องคำนวณหาเอาจากข้อมูลค่า x และ z ที่ป้อนเข้าไปเป็นตัวอย่างข้อมูลสำหรับการเรียนรู้

จากเมทริกซ์ข้างต้นนี้จะได้ระบบสมการทั้งหมด n สมการ และมีค่าที่ต้องการหาคือ w ทั้งหมด m ตัว

โดยทั่วไปแล้วเวลาใช้ฟังก์ชันฐานในการคำนวณโดยทั่วไปจำนวนฐาน (m) จะน้อยกว่าจำนวนจุดข้อมูล (n) แสดงว่าจำนวนเงื่อนไขมีมากกว่าตัวแปรที่ต้องการหา กรณีแบบนี้ปกติจะไม่สามารถหา w ที่สอดคล้องกับจุดข้อมูลทั้งหมดได้

ดังนั้นเวลาแก้หาค่า w จะเป็นการหาโดยพิจารณาจากการทำให้ค่าความคลาดเคลื่อนต่ำสุด นั่นคือ
..(15)

แล้วก็จะได้ว่า
..(16)

แต่ในทางกลับกัน คราวนี้เราต้องการพิจารณากรณีที่ใช้ฐานจำนวนมากมาย มากกว่าจำนวนจุดข้อมูลที่มี (มากจนเป็นอนันต์) แบบนี้จะกลายเป็นว่าจำนวนสมการเงื่อนไขมีน้อยกว่าตัวแปรที่ต้องการหา กรณีนี้จะกลายเป็นว่าหาค่า w ได้ไม่จำกัด

ดังนั้นตรงนี้จะกลายมาเป็นปัญหาที่ว่าให้หาค่า w ที่มีขนาดต่ำสุด หรือก็คือผลรวมกำลังสองต่ำที่สุด
..(17)

การแก้หาค่าอาจทำโดยใช้ตัวคูณลากรองจ์ (拉格朗日乘数, Lagrange multipliers) สำหรับวิธีการจะขอละไว้ แต่ผลที่ได้จะออกมาเป็น
..(18)

จะเห็นว่าสมการ (16) กับ (18) อาจดูคล้ายกันแต่ก็ต่างกัน ที่สำคัญคือ ΦΦT จะได้เมทริกซ์ขนาด n×n ในขณะที่ ΦTΦ จะเป็นเมทริกซ์ขนาด m×m

ถ้านำ w ที่ได้จากตรงนี้ไปใช้เพื่อคำนวณหาค่า z ใหม่สำหรับค่า x ใหม่โดยใช้สมการ (14) จะได้ว่า
..(19)

และจะเห็นว่าฟังก์ชันฐานที่ปรากฏในนี้อยู่ในรูปของเวกเตอร์คูณกัน ซึ่งก็คือผลคูณภายใน ผลคูณภายในของฟังก์ชันฐานก็คือเคอร์เนล ดังนิยามในสมการ (1) ดังนั้นจะได้
..(20)

ซึ่งก็กลับไปสู่สมการ (11) แล้วก็จะได้ค่า a ตามสมการ (12)

จะเห็นว่า ϕ ทั้งหมดถูกเขียนในรูปของ K ได้หมด นั่นหมายความว่าเราไม่จำเป็นต้องคำนวณฟังก์ชัน ϕ โดยตรงแต่คำนวณ K ซึ่งเป็นผลคูณภายในของ ϕ

แนวคิดตรงนี้มีประโยชน์มาก เพราะเมื่อมีจำนวนฟังก์ชันฐานเยอะมาก แบบนั้นถ้าเราต้องมาคำนวณ ϕ ออกมาจำนวนขนาดนั้น ปริมาณการคำนวณจะหนักมาก

แต่พอกลายเป็นว่าแค่คำนวณเคอร์เนล K ก็พอแล้ว ไม่ต้องคำนวณ ϕ โดยตรงแล้ว ต่อให้จำนวนฐานมีมากแค่ไหน จำนวนฐานอาจมีมากถึงเป็นอนันต์ ก็ไม่ทำให้ต้องคำนวณหนัก

แค่คำนวณพารามิเตอร์เป็นจำนวนแค่เท่ากับจุดข้อมูลก็เสมือนกับว่าพิจารณาฐานที่มีจำนวนมิติเป็นอนันต์ได้แล้ว แบบนี้ดูแล้วเป็นกลยุทธ์ลูกเช่นที่ทำให้การคำนวณง่ายสบายมาก ก็เลยมักถูกเรียกว่าเป็นลูกเล่นเคอร์เนล

ลองเขียนสรุปลำดับการคำนวณแล้วก็จะออกมาแบบนี้

.*.

แต่ขั้นตอน Φ นั้นถูกละไปไม่ต้องคำนวณโดยตรง จาก x คำนวณ K เลย นี่คือวิธีการของลูกเล่นเคอร์เนล



โปรแกรม

เมื่อเข้าใจหลักการแล้วต่อมาลองเขียนโปรแกรมขึ้นมาดู

การคำนวณก็เป็นไปตามขั้นตอนนี้
1. คำนวณเคอร์เนล (K) ภายในตัวแปรต้นของข้อมูลที่จะเรียนรู้ (x)
2. ใช้ K และตัวแปรตามของข้อมูลที่จะเรียนรู้ (z) คำนวณค่าน้ำหนัก (a)
3. คำนวณเคอร์เนล (K_) ของข้อมูลที่ต้องการหาค่า (x_) และข้อมูลที่เรียนรู้ (x)
3. ใช้ K_ และ a คำนวณตัวแปรตามที่ต้องการหาค่า (z_) ของข้อมูลที่ต้องการหาค่า

ลองเขียนโค้ดได้แบบนี้
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt

def gauss(x1,x2):
    return np.exp(-gamma*(x1-x2)**2)

np.random.seed(3)
n = 30
x = np.random.uniform(0,1,n) # จุดข้อมูลที่ใช้เรียนรู้
z = np.sin(x*9)*np.exp(-2*x)+np.random.normal(0,0.04,n)

gamma = 10 # γ
l = 0.02 # λ
K = gauss(x[:,None],x)
a = np.linalg.solve(K+np.eye(n)*l,z)
x_ = np.linspace(x.min(),x.max(),401) # จุดที่ต้องการหาค่า
K_ = gauss(x_[:,None],x)
z_ = K_.dot(a)

plt.scatter(x,z,c='y',edgecolor='g')
plt.plot(x_,z_,'m')
plt.show()



ต่อมาลองเขียนให้อยู่ในรูปของคลาส
class ThotthoiKernel:
    def __init__(self,gamma=1,l=0.1):
        self.gamma = gamma
        self.l = l

    def rianru(self,x,z):
        self.x = x
        self.K = self.kernel(x[:,None],x)
        self.a = np.linalg.solve(self.K+np.eye(len(z))*self.l,z)

    def thamnai(self,x_):
        K_ = self.kernel(x_[:,None],self.x)
        return K_.dot(self.a)

    def kernel(self,x1,x2):
        return np.exp(-self.gamma*((x1-x2)**2))

ขอทดสอบการใช้ด้วยการลองเปรียบเทียบผลของพารามิเตอร์ γ และ λ ที่มีผลต่อค่าที่ได้
n = 60
x = np.random.uniform(0,10,n)
z = np.sin(x*2)*np.exp(-0.2*x)*np.random.normal(1,0.1,n)
x_ = np.linspace(x.min(),x.max(),501)
plt.figure(figsize=[6.5,7])
for i,l in enumerate([0.01,0.1,1]):
    for j,g in enumerate([0.1,1,10,100]):
        tt = ThotthoiKernel(gamma=g,l=l)
        tt.rianru(x,z)
        z_ = tt.thamnai(x_)
        plt.subplot2grid((4,3),(j,i),xticks=[],yticks=[])
        plt.plot(x_,z_,'m')
        plt.scatter(x,z,s=10,c='y',edgecolor='g')
        plt.title('$\\lambda$=%.1f,$\\gamma$=%.1f'%(l,g),size=8)
plt.tight_layout()
plt.show()


จะเห็นว่าผลที่ได้ต่างกันมาก ดังนั้นการเลือกค่าพารามิเตอร์ให้เหมาะสมจึงมีความสำคัญมาก



กรณีหลายตัวแปร

ในตัวอย่างที่อธิบายผ่านมาเป็นปัญหาที่มีตัวแปรต้นเพียงตัวเดียว (มิติเดียว) คือ x

แต่วิธีการเคอร์เนลสามารถประยุกต์ใช้กับข้อมูลที่มีตัวแปรต้นกี่ตัวก็ได้ ดังนั้นคราวนี้จะลองเปลี่ยนมาพิจารณากรณีหลายตัวแปร

ให้ข้อมูลตัวแปรต้นแทนด้วย
..(21)

ในที่นี้ตัวเลขห้อยมี ๒​ ตัว ตัวแรกแทนว่าเป็นจุดที่เท่าไหร่ ตัวหลังแทนว่าเป็นมิติที่เท่าไหร่ แต่ถ้าห้อยตัวเดียวจะแค่แทนว่าเป็นจุดเท่าไหร่โดยเป็นเวกเตอร์แสดงค่าในทุกมิติของจุดนั้น

การคำนวณ Φ ก็เปลี่ยนเป็นใช้ค่าในแต่ละมิติมาร่วมคำนวณ แล้วเคอร์เนลก็คำนวณจาก Φ เหมือนเดิม
..(22)
..(23)

การคำนวณเคอร์เนลเกาส์จะกลายเป็นแบบนี้
..(24)

ที่เพิ่มเข้ามาคือการคำนวณระยะห่างจะต้องคิดหลายมิติแล้วมาบวกกัน

เขียนโค้ดใหม่ได้ดังนี้
from scipy.spatial.distance import cdist

class ThotthoiKernel:
    def __init__(self,gamma=1,l=0.1):
        self.gamma = gamma
        self.l = l

    def rianru(self,X,z):
        self.X = X
        self.K = self.kernel(X,X)
        self.a = np.linalg.solve(self.K+np.eye(len(z))*self.l,z)

    def thamnai(self,X_):
        K_ = self.kernel(X_,self.X)
        return K_.dot(self.a)

    def kernel(self,X1,X2):
        return np.exp(-self.gamma*(cdist(X1,X2,'sqeuclidean')))

หลักๆคือเปลี่ยนจากเดิมที่เป็นมิติเดียวมาเป็นหลายมิติ

นอกจากนี้ในที่นี้เปลี่ยนมาใช้ cdist ในการคำนวณระยะห่างตอนที่คำนวณเคอร์เนล ฟังก์ชันนี้นอกจากจะเขียนง่ายแล้วก็ยังเร็วด้วย

รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการใช้ฟังก์ชันนี้เขียนไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20180722

ลองนำมาใช้กับข้อมูลสองมิติดู
from mpl_toolkits.mplot3d import Axes3D

n = 200
X = np.random.random([n,2])
x,y = X.T
z = np.sin(x*9)*np.exp(-2*x)+np.random.normal(0,0.1,n)+5*(y-0.5)**2

gamma = 30
l = 0.01
tt = ThotthoiKernel(gamma=gamma,l=l)
tt.rianru(X,z)
mx,my = np.meshgrid(np.linspace(x.min(),x.max(),201),np.linspace(y.min(),y.max(),201))
mX = np.array([mx.ravel(),my.ravel()]).T
mz = tt.thamnai(mX).reshape(201,-1)
ax = plt.figure(figsize=[7,6]).add_axes([0,0,1,1],projection='3d')
c = np.abs(z-tt.thamnai(X))
sc = ax.scatter(x,y,z,c=c,edgecolor='k',cmap='plasma')
ax.plot_surface(mx,my,mz,alpha=0.2,color='g',edgecolor='k')
plt.colorbar(sc,pad=0.01,aspect=50)
plt.show()


พื้นผิวคือค่า z ที่คำนวณได้ที่ x,y ค่าต่างๆ ส่วนจุดคือข้อมูลจริง

สีของจุดแสดงถึงความแตกต่างระหว่างค่า z จริงกับค่า z บนระนาบ



ทั้งหมดนี้เป็นหลักการพื้นฐานของลูกเล่นเคอร์เนล และการใช้ในการวิเคราะห์การถดถอย

แต่จริงๆแล้วแทนที่จะใช้ในการวิเคราะห์การถดถอย คนจำนวนมากทางสายการเรียนรู้ของเครื่องจะรู้จักลูกเล่นเคอร์เนลในฐานะเทคนิคที่ประยุกต์ใช้กับเทคนิคอื่นๆเช่น เครื่องเวกเตอร์ค้ำยัน (支持向量机, support vector machine, SVM) หรือ การวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (主成分分析, principle component Analysis, PCA) มากกว่า

สำหรับ SVM ได้เขียนถึงไปแล้วใน https://phyblas.hinaboshi.com/20180709

ส่วน PCA เขียนไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20180727



อ้างอิง


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> matplotlib

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文