φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



[python] การใช้ฟังก์ชัน cdist, pdist และ squareform ใน scipy เพื่อหาระยะห่างระหว่างจุดต่างๆ
เขียนเมื่อ 2018/07/22 19:17
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเสริมเนื้อหาการเรียนรู้ของเครื่อง โดยจะแนะนำฟังก์ชันของ scipy ที่เกี่ยวกับการหาระยะห่างระหว่างจุด

ในการเขียนโปรแกรมการเรียนรู้ของเครื่อง การคำนวณระยะห่างระหว่างจุดข้อมูลมีความสำคัญ ถูกใช้บ่อยในหลายเทคนิค เช่น วิธีการเพื่อนบ้านใกล้สุด k ตัว, วิธีการ k เฉลี่ย และเทคนิคที่ต้องคำนวณฟังก์ชันเคอร์เนล

ฟังก์ชันที่จะแนะนำคือ cdist, pdist และ squareform ซึ่งอยู่ในมอดูลย่อย scipy.spatial.distance ของ scipy



pdist

ฟังก์ชัน pdist มีไว้หาระยะห่างระหว่างจุดต่างๆที่อยู่ในอาเรย์

ระยะทางที่เราคุ้นเคยกันทั่วไปนั้นเรียกว่าระยะทางแบบยูคลิด (欧几里得距离, Euclidean distance) คือรากที่สองของผลรวมค่ายกกำลังสอง
..(1)

ค่าที่ใช้คำนวณใน pdist ต้องเป็นอาเรย์สองมิติของตำแหน่งจุด

ผลที่ได้จะเป็นการจับคู่ทุกจุดที่ป้อนเข้าไปแล้วหาระยะห่างทีละคู่ ดังนั้นถ้ามี n ตัวจะได้ออกมาเป็นจำนวน (n*(n-1))/2

เช่นถ้าใส่อาเรย์ [[x1,y1],[x2,y2],[x3,y3]] แล้วผลที่ได้จะเป็น [((x1-x2)**2+(y1-y2)**2)**0.5, ((x1-x3)**2+(y1-y3)**2)**0.5, ((x2-x3)**2+(y2-y3)**2)**0.5]

ตัวอย่าง
import numpy as np
from scipy.spatial.distance import pdist
X = np.array([[0.,0],[0,3],[4,3],[0,6]])
print(pdist(X))
# ได้ [ 3.  5.  6.  4.  3.  5.]


นอกจากจะหาระยะทางแบบยูคลิดแล้วในโลกคณิตศาสตร์มีวิธีในการวัดระยะทางอยู่หลากหลายรูปแบบ

ยกตัวอย่างเช่นระยะทางแมนฮัตตัน (曼哈顿距离, Manhattan distance) เป็นระยะทางที่เกิดจากการเอาระยะทางแต่ละมิติมาบวกกันแบบกำลังหนึ่ง
..(2)

ถ้าจะคำนวณระยะทางแบบอื่นที่ไม่ใช่ยูคลิดธรรมดาให้ใส่ระบุรูปแบบลงไป

เช่นถ้าต้องการระยะทางแมนฮัตตันสามารถคำนวณโดยใส่รูปแบบระยะทางเป็น cityblock
pdist(X,'cityblock')
#ได้ array([ 3.,  7.,  6.,  4.,  3.,  7.])
ระยะทางยูคลิดและแมนฮัตตันเป็นรูปแบบหนึ่งของระยะทางมินคอฟสกี (明氏距离, Minkowski distance)
..(3)

โดย p เป็นเลขชี้กำลัง จะมีค่าเท่าไหร่ก็ได้ ถ้า p=1 จะเป็นแมนฮัตตัน ถ้า p=2 จะเป็นยูคลิด

ถ้าต้องการระยะทางแบบมินคอฟสกีก็ให้ใส่รูปแบบเป็น minkowski และต้องระบุค่า p เป็นเลขยกกำลังที่ต้องการ (ถ้าไม่ระบุจะเป็น p=2 คือเป็นยูคลิด)
print(pdist(X,'minkowski',p=3))
# ได้ array([ 3.        ,  4.49794145,  6.        ,  4.        ,  3.        ,  4.49794145])
นอกจากนี้ยังมี sqeuclidean คือระยะทางยูคลิดยกกำลังสอง หรือก็คือผลรวมกำลังสองที่ไม่มีการถอดราก

ที่จริงจะคำนวณระยะทางยูคลิดแบบธรรมดา (euclidean) แล้วค่อยมายกกำลังสองอีกที pdist(X,'euclidean')**2 แบบนี้ก็ได้ แต่ทำแบบนี้จะใช้เวลามากกว่าการใช้ pdist(X,'sqeuclidean') เล็กน้อย

ดังนั้นหากต้องการระยะทางยูคลิดยกกำลังสองอยู่แล้วใช้ pdist(X,'sqeuclidean') เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

นอกจากนี้ยังมีระยะทางชนิดอื่นๆอีกมากมาย ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นคณิตศาสตร์ระดับสูงขึ้นไป สำหรับใช้เฉพาะทาง

ระยะทางชนิดต่างๆที่สามารถคำนวณได้ด้วย pdist ดูได้จาก
https://docs.scipy.org/doc/scipy/reference/generated/scipy.spatial.distance.pdist.html



squareform

ส่วน squareform จะเป็นตัวแปลงระยะห่างไปอยู่ในรูปแบบของเมทริกซ์สมมาตร

ตัวอย่าง
from scipy.spatial.distance import squareform
print(squareform([1,2,3,4,5,6]))
ได้
[[0 1 2 3]
 [1 0 4 5]
 [2 4 0 6]
 [3 5 6 0]]
ก็คือค่าที่ใส่ไปจะถูกนำไปเรียงที่บนขวาและล่างซ้ายอย่างเป็นลำดับ

เมื่อใช้คู่กับ pdist ก็จะได้ระยะห่างของแต่ละคู่จุดออกมาเป็นเมทริกซ์
X = np.array([[0.,0],[0,3],[4,3],[0,6]])
print(squareform(pdist(X)))
ได้
[[ 0.  3.  5.  6.]
 [ 3.  0.  4.  3.]
 [ 5.  4.  0.  5.]
 [ 6.  3.  5.  0.]]
โดยแต่ละแถวแต่ละหลักจะแสดงถึงระยะห่างระหว่างจุดนั้นๆกับจุดที่เหลือ

นอกจากนี้ squareform ยังสามารถทำในสิ่งตรงข้าม คือแปลงเมทริกซ์สมมาตรกลับมาเป็นอาเรย์ของระยะทาง

ดังนั้น squareform(squareform(X)) จะได้เท่ากับ X

อย่างไรก็ตาม pdist มีไว้หาระยะห่างระหว่างสมาชิกในกลุ่มเดียวกันเท่านั้น ถ้าต้องการหาระยะห่างระหว่างจุดคนละกลุ่มให้ใช้ cdist



cdist

cdist เป็นฟังก์ชันสำหรับหาระยะห่างระหว่างจุดภายในอาเรย์สองชุดที่ป้อนเข้าไป โดยจะจับคู่แล้วแสดงผลออกมาเป็นเมทริกซ์

ถ้าใช้ cdist(X,X) จะกลายเป็นการหาระยะของจุดข้อมูลกลุ่มเดียวกัน จึงจะได้ผลเหมือนกับการใช้ squareform(pdist(X))

ตัวอย่าง
from scipy.spatial.distance import cdist
X1 = np.array([[0.,0],[3,0],[6,0]])
X2 = np.array([[1.,4],[3,4],[6,5],[-1,1]])
print(cdist(X1,X2,'sqeuclidean'))
ผลที่ได้จะเป็นเมทริกซ์ขนาด (len(X1),len(X2))
[[ 17.  25.  61.   2.]
 [ 20.  16.  34.  17.]
 [ 41.  25.  25.  50.]]


การคำนวณแบบเดียวกับที่ cdist ทำนั้น จริงๆแล้วหากให้เขียนฟังก์ชันขึ้นเองอาจเขียนได้เป็น
np.sum([(X2-x)**2 for x in X1],2)
หรือถ้าเข้าใจหลักการของอาเรย์ใน numpy ดี จะรู้ว่าสามารถเขียนแบบนี้ได้ ก็จะเร็วขึ้นกว่า
((X1[:,None]-X2[None])**2).sum(2)
ไม่ว่าแบบไหนก็จะได้ผลเหมือนกับ cdist(X1,X2,'sqeuclidean') เพียงแต่ใช้ cdist จะเร็วกว่ามาก



สรุปโดยรวมแล้ว เมื่อต้องการหาระยะห่างระหว่างจุด ใช้ pdist หรือ cdist แทนที่จะเขียนเอง จะประหยัดเวลาได้มาก


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> scipy

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文