φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



บันทึกว่าด้วยเรื่องภาษาทิเบต
เขียนเมื่อ 2020/01/06 12:26
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
เมื่อปีเดือนสิงหาคมปี 2018 ได้มีโอกาสไปเที่ยวเมืองเซียงเก๋อหลี่ยา (香格里拉) มณฑลยูนนาน ซึ่งเป็นที่อาศัยของชาวทิเบต ทำให้ตอนนั้นได้เริ่มพยายามศึกษาอักษรทิเบตเพื่อจะได้อ่านออกเสียงได้ถูกเพื่อนำมาเขียนชื่อสถานที่หรือสิ่งต่างๆที่เจอมาเป็นภาษาทิเบตได้ถูกต้อง

แต่ว่าตอนนั้นได้แค่ศึกษาข้อมูลในเว็บ เช่นวิกิพีเดีย ซึ่งก็มีอยู่จำกัด ไม่ได้เข้าใจโดยถูกต้องละเอียดนัก และภาษาทิเบตมีความซับซ้อนพอสมควร จึงยังไม่ได้กำหนดหลักทับศัพท์ที่แน่นอน ไม่อาจทำได้โดยง่าย

แต่พอดีเมื่อตอนที่ไปญี่ปุ่นตอนเดือนมีนาคม 2019 มีโอกาสได้เจอหนังสือเรียนภาษาทิเบต ซึ่งเล่าไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20190315



ตอนนั้นก็ได้ซื้อเก็บไว้ แต่ไม่ได้ทีเวลาอ่านจริงจัง ยังไม่สะดวกทำอะไร

แต่ล่าสุดตอนช่วงปีใหม่ 2019-2020 จึงได้ตัดสินใจหยิบหนังสือเล่มนี้มาอ่านอีกครั้ง และทำความเข้าใจภาษาทิเบตให้มากขึ้น



อีกทั้งคราวนี้เปิดเจอบทเรียนภาษาทิเบตของไต้หวันใน youtube ด้วย ก็เอามาดูจนจบ เป็นข้อมูลประกอบไปด้วย https://www.youtube.com/watch?v=rnOKRGUaHVQ

และบวกกับการที่อ่านข้อมูลจากในวิกิพีเดียและเว็บต่างๆเพิ่มเติม สุดท้ายจึงสรุปหลักการอ่านและเขียนทับศัพท์ภาษาทิเบตออกมาได้สำเร็จ

หลักการเขียนได้รวมรวมไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20200105

เพียงแต่ว่าแม้จะพยายามทำความเข้าใจหลักการอ่านแล้ว ก็ยังไม่ใช่ว่าจะทำให้อ่านได้ถูกต้องเสียทีเดียว

อักษรทิเบตถูกสร้างขึ้นมานานเกินกว่าพันปี สะท้อนเสียงอ่านสมัยนั้น แต่ในปัจจุบันเสียงอ่านได้เปลี่ยนแปลงไปมาก มีระบบวรรณยุกต์ที่ยุ่งยากเพิ่มเข้ามา และมีข้อยกเว้นมากมาย

ดังนั้นถ้าไม่ได้ให้เวลาศึกษาคุ้นเคยและมีโอกาสได้ใช้งานจริงๆก็คงไม่อาจมั่นใจได้ว่าจะอ่านได้ถูกต้องตามที่คนทิเบตจริงๆอ่าน

อีกทั้งภาษาทิเบตจริงๆแล้วก็มีหลายสำเนียง แม้จะยึดสำเนียงลาซ่า (拉萨) เป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงก็มีความหลากหลายในตัวสูงอยู่ หลายอย่างเสียงอ่านไม่ได้ตายตัว นักภาษาศาสตร์ก็เห็นไม่ตรงกันเรื่องมาตรฐานภาษาทิเบต

และอักษรทิเบตก็ไม่ได้แค่ถูกใช้เพื่อเขียนภาษาทิเบต แต่ยังมีการใช้เพื่อเขียนภาษาอื่นๆอีกมากมายในกลุ่มเดียวกับภาษาทิเบต เช่นภาษาจงกา (རྫོང་ཁ) หรือที่มักเรียกว่าภาษาภูฏาน ซึ่งเป็นภาษากลางที่ใช้ในประเทศภูฏาน และหลายภาษาของชนกลุ่มน้อยในภูฏาน เนปาล อินเดีย

จึงทำให้อาจได้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับภาษาทิเบตต่างกันออกไปหลากหลายหากเปิดดูตำราคนละเล่ม หรือแหล่งเรียนรู้คนละที่

หลักการถอดเสียงอ่านที่ใช้เขียนในนี้จึงทำในลักษณะที่เหมาะกับการเรียนรู้ของคนไทยมากที่สุด มองข้ามข้อยกเว้นจุกจิกบางอย่างที่ไม่สำคัญ เลี่ยงความยุ่งยากหลายจุด แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังคงยุ่งยากอยู่ดี

แม้ตัวอักษรจะทำความเข้าใจยากพอสมควร แต่ก็เป็นอักษรที่สวยงาม จึงรู้สึกน่าสนใจศึกษาเรียนรู้

อักษรทิเบตวิวัฒนาการมาจากอักษรทางฝั่งอินเดียว เช่นเดียวกับอักษรของภาษาต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง ไทย ลาว เขมร พม่า แต่เทียบกันแล้วมีรูปร่างที่ดูงดงามน่าดึงดูดมากกว่า แต่ก็ยุ่งยากซับซ้อนกว่า

ภาษาทิเบตเป็นภาษากลุ่มใกล้เคียงกับภาษาพม่า จึงมีอะไรๆใกล้เคียงกัน แต่ก็มีความซับซ้อนไปคนละแบบ

ภาษาที่ใช้อักษรในกลุ่มนี้มีอยู่หลากหลาย แต่ละภาษาก็น่าสนใจน่าศึกษามากทีเดียว ถ้ามีโอกาสก็อยากลองเขียนบทความสรุปรวมเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่



บทความที่มีการเขียนภาษาทิเบตไว้ทั้งหมดมีไม่มาก แค่บันทึกเที่ยวเซียงเก๋อหลี่ลา และตอนที่ไปเที่ยวสวนชนเผ่าและพิพิธภัณฑ์ทิเบตในปักกิ่ง

https://phyblas.hinaboshi.com/20150606
https://phyblas.hinaboshi.com/20150608
https://phyblas.hinaboshi.com/20180426
https://phyblas.hinaboshi.com/20180428
https://phyblas.hinaboshi.com/20180430

ทั้งหมดนี้ได้ย้อนไปอ่านและแก้วิธีการเขียนชื่อต่างๆให้เป็นไปตามหลักการที่กำหนดขึ้นมาใหม่แล้ว

นอกจากนี้ก็ขอเรียบเรียงชื่อทั้งหมดไว้ตรงนี้ เพื่อสะดวกต่อการค้น ตอนนี้ยังมีไม่มากเท่าไหร่ แต่หวังว่าจะมีโอกาสได้ไปเที่ยวลาซ่า ซึ่งเป็นใจกลางทิเบตจริงๆ แล้วคงมีอะไรให้เขียนถึงเยอะกว่านี้อีกมาก

ภาษาทิเบตภาษาไทยพินอินทิเบต
{{แถว[0]}} {{แถว[1]}} {{แถว[2]}}


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- บันทึก
-- ภาษาศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文