φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



พิพิธภัณฑ์เมืองจิ่นโจว
เขียนเมื่อ 2015/08/07 01:22
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อาทิตย์ 24 พ.ค. 2015

หลังจากตอนที่แล้วที่ชมวัดกว่างจี้เสร็จ https://phyblas.hinaboshi.com/20150805

เราก็ออกมาเพื่อเข้าชมพิพิธภัณฑ์เมืองจิ่นโจว (锦州市博物馆) ซึ่งอยู่ใกล้ๆกัน

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในปี 2001 เป็นสถานที่จัดแสดงประวัติศาสตร์ของจิ่นโจว และวัตถุโบราณต่างๆ ภายในขนาดไม่ใหญ่มากนัก เปิดให้เข้าชมได้โดยไม่เสียตังค์

เวลาเปิดคือเก้าโมงเช้าถึงสี่โมงเย็น โดยปิดวันจันทร์



เนื่องจากว่าเราออกจากวัดกว่างจี้มาก็เป็นเวลาสามโมงครึ่งแล้ว ดังนั้นจึงมีเวลาชมพิพิธภัณฑ์แค่ไม่ถึงครึ่งชั่วโมงเท่านั้น แต่เนื่องจากไม่ใหญ่มากจึงยังพอทำเวลาได้อยู่



เริ่มจากเดินไปยังห้องแรกซึ่งเป็นที่จัดแสดงอธิบายประวัติศาสตร์ของจิ่นโจว จิ่นโจวนั้นมีการขุดพบซากอารยธรรมของมนุษย์ตั้งแต่สมัยยุคหินเก่า (50000 - 10000 ปีก่อน)



รูปนี้คือซากโบราณสถานซิ่งซู่โกว (杏树沟) ในเขตอำเภอหลิงไห่ (凌海) ซึ่งที่นี่มีการขุดพบฟอสซิลและอุปกรณ์ที่ทำจากหินซึ่งเป็นร่องรอยอารยธรรมของยุคหินเก่า



แบบจำลองความเป็นอยู่ของผู้คนในยุคโบราณ



ฟอสซิลฟันหมาป่าในยุคหินเก่าที่ขุดจากหมู่บ้านซ่งเจียโกว (宋家沟) ตำบนเสิ่นเจียไถ (沈家台) อำเภอหลิงไห่



อุปกรณ์หินต่างๆในยุคหินใหม่ (10000 - 4000 ปีก่อน) ที่ขุดพบได้ในอำเภอหลิงไห่



ภาชนะโบราณในยุคหินใหม่ ขุดพบที่หมู่บ้นาซื่อเต้าโกว (四道沟) ตำบลเฉียวเหนี่ยว (巧鸟) อำเภอหลิงไห่



ต่อมาก็เข้าสู่ยุคสำริด (21 - 5 ศตวรรษก่อน ค.ศ.) ของหลายอย่างที่เป็นของยุคสำริดที่ขุดได้ในบริเวณเขตไท่เหอ (太和) เมืองจิ่นโจว



ภาชนะโบราณที่เรียกว่าลี่ (鬲) ทำจากดิน เป็นของยุคสำริด ขุดเจอที่หมู่บ้านสุยโส่วอิ๋งจื่อ (水手营子) ตำบลซงซาน (松山) อำเภอหลิงไห่



ชามดินที่เรียกว่าปัว (钵) ของยุคสำริด ขุดจากหมู่บ้านฟ่านเจียถุน (范家屯) ตำบลโถวเต้าเหอ (头道河) อำเภออี้เซี่ยน



จากนั้นก็เริ่มเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์แล้ว นี่เป็นภาชนะสำริดที่เรียกว่าหย่าน (甗) เป็นของยุคราชวงศ์โจวตะวันตก (西周, 1046 - 771 ปีก่อน ค.ศ.) ถูกขุดพบที่หมู่บ้านฮวาเอ่อร์โหลว (花尔楼) ตำบล (户营子) อำเภออี้เซี่ยน



อาวุธมีดโบราณที่เรียกว่าเกอ (戈) ทำจากสำริดในยุคชุนชิว (春秋, 770 - 476 ปีก่อน ค.ศ.) ขุดพบที่อ่างเก็บน้ำอูจินถาง (乌金塘水库) ในจังหวัดหูหลุเต่า ซึ่งอยู่ข้างๆจังหวัดจิ่นโจว



ต่อมาเข้าสู่ยุคจ้านกั๋ว (战国, 476 - 221 ปีก่อน ค.ศ.) ซึ่งประเทศแตกเป็นแคว้นต่างๆ นี่เป็นแผนที่ในยุคนั้นซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมืองจิ่นโจวอยู่ในอาณาเขตของแคว้นยาน (燕国)



เหยือกในยุคจ้านกั๋ว ขุดพบที่หมู่บ้านซีไหโข่ว (西海口) แขวง (天桥) ในเขตพัฒนาทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีจิ่นโจว



มีการขุดพบกลุ่มสุสานเปลือกหอย (贝壳墓) สมัยราชวงศ์ฮั่น (汉朝, 202 ปีก่อน ค.ศ. - ปี 220) ที่ใจกลางเมืองจิ่นโจว ภายใน



ตำแหน่งที่ขุด และภาพตอนที่เขาขุดกัน



กรวยดินที่ขุดพบที่หมู่บ้านซีฮวา (西花) ตำบลตงฮวา (东花) อำเภอหลิงไห่



ช่วงยุคยุคสิบหกอาณาจักร (十六国, ปี 304 - 439) จิ่นโจวอยู่ในเขตการปกครองของราชวงศ์เฉียนยาน (前燕, ปี 337 - 370) ซึ่งปกครองโดยชาวเซียนเปย์ (鲜卑族)

ม้าดินสีแดง ยุคสิบหกอาณาจักร ขุดจากหมู่บ้าน (前山) ตำบลซินหมิน (新民) เขตไท่เหอ



แผ่นป้ายหลุมศพสมัยยุคสิบหกอาณาจักร ซึ่งมีสลักปีไว้เป็นศักราชหย่งชาง (永昌) ของจักรพรรดิจิ้นหยวนตี้ (晉元帝) แห่งราชวงศ์จิ้นตะวันออก โดยเขียนว่าปีหย่งชางที่ 3 ซึ่งตรงกับปี 324



ในช่วงราชวงศ์เหลียว (辽朝, ปี 907 - 1125) ซึ่งบริเวณจีนทางตอนเหนือปกครองโดยชาวชี่ตาน วัฒนธรรมในแถบนี้ก็พัฒนาอย่างรวดเร็ว ราชวงศ์เหลียวเหลือโบราณสถานสำคัญไว้มากมายซึ่งยังเหลือถึงปัจจุบัน อย่างเช่นวัดเฟิ่งกั๋ว (奉国寺) และหอคอยใหญ่วัดกว่างจี้ (大广济寺塔) ซึ่งเพิ่งไปมา


แบบจำลองการก่อสร้างหอคอย



ของต่อไปนี้หลายอย่างเป็นของยุคราชวงศ์เหลียว หัวลูกศรเก่า ขุดพบที่หมู่บ้านจางกาง (张杠) ตำบลเสิ่นเจียไถ อำเภอหลิงไห่



กระดิ่งเก่า ขุดพบที่หมู่บ้านจางกางเช่นกัน



ไหเก่า นี่ก็ขุดพบที่หมู่บ้านจางกางอีกเช่นกัน



กระจกสำริด ขุดพบที่ตำบลปาเต้าเหา (八道壕) อำเภอเฮย์ซาน (黑山)



หัวพลั่วเหล็ก ขุดพบที่หมู่บ้านซีจวานเฉิงจื่อ (西砖城子) ตำบลโถวเต้าเหอ อำเภออี้เซี่ยน



แม่พิมพ์หล่อชิ้นส่วนคันไถ ขุดพบที่หมู่บ้านตงโกว (东沟) ตำบลต้าซื่อ (大市) อำเภอเป่ย์เจิ้น (北镇)



ต่อไปเข้าสู่ยุคราชวงศ์หมิง ปืนที่ขุดพบที่โบรงานปุ๋ยในอำเภอหลิงไห่ และปืนใหญ่ที่ขุดพบในซากเมืองเก่าจิ่นโจว



หินก้อนกลมที่เอาไว้ดีดจากกำแพงเมืองเพื่อโจมตีข้าศึก เป็นที่นิยมใช้ในยุคราชวงศ์หมิง ขุดเจอที่กำแพงเมืองเก่าของเมืองจิ่นโจว



จากนั้นเป็นยุคราชวงศ์ชิง ปิ่นปักผมทองรูปหัวและคอมังกร พบที่สุดสานของอิ่นจี้ซ่าน (尹继善) ในจิ่นโจว





เดินในห้องแรกซึ่งเรียบเรียงประวัติศาสตร์เสร็จแล้วห้องต่อมาเป็นที่จัดแสดงสมบัติทางวัฒนธรรมอีกจำนวนหนึ่ง





และห้องถัดมาจัดแสดงเกี่ยวกับทัศนียภาพของแถบนี้ ดูแล้วมีหลายแห่งที่สวยดี



อีอูหลวีซาน (医巫闾山) อยู่ห่างจากตัวเมืองเป่ย์เจิ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ๕ กม.



ถ้ำหินว่านฝัวถาง (万佛堂石窟) อยู่ห่างจากตัวเมืองอี้เซี่ยนไปทางตะวันตก ๙ กม. เพิ่งไปมานี่เอง



ชุ่ยหยานซาน (翠岩山) อยู่ห่างจากตัวเมืองจิ่นโจวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ๑๗ กม.



เป๋ย์ผู่ถัวซาน (北普陀山) อยู่ห่างจากตัวเมืองจิ่นโจวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ ๗ กม.



เม่าซาน (帽山) อยู่ห่างจากตัวเมืองจิ่นโจวไปทางเหนือ ๗ กม.



อิงจุ่ยซาน (鹰嘴山) อยู่ห่างจากตัวเมืองจิ่นโจวไปทางตะวันตก ๒๐ กม.



หลงหลัวซาน (红螺山) อยู่ห่างจากตัวเมืองหูหลุเต่าไปทางเหนือ ๓๐ กม.



ปี่เจี้ยซาน (笔架山) อยู่ห่างจากตัวเมืองจิ่นโจวไปทางใต้ ๓๕ กม. ได้ไปมาแล้วเมื่อวาน



พอเดินมาถึงตรงนี้มีคนเข้ามาตามบอกว่าพิพิธภัณฑ์ได้เวลาปิดแล้ว เราดูเสร็จพอดี แม้จะไม่ได้เก็บรายละเอียดมากมาย โดยรวมแล้วคิดว่าคุ้มดีที่ได้เข้าชมที่นี่

หลังจากนั้นก็ออกมาขึ้นรถเมล์ ป้ายหน้าพิพิธภัณฑ์คือป้ายต้ารุ่นฟา (大润发) เห็นชื่อป้ายแล้วนึกถึงโจวรุ่นฟา (周润发) ดาราชาวฮ่องกงที่มีชื่อเสียงก้องโลกเลย จากตรงนี้มีรถเมล์ที่สามารถนั่งกลับไปยังสถานีรถไฟได้ คือสาย 130 และ 134 ป้ายรถเมล์ที่นี่มีแผนที่ให้ดูชัดเจนเลยด้วยสะดวกดียิ่งกว่าที่ปักกิ่งเสียอีก ทำให้รู้ว่ารถเมล์แต่ละคันไปทางไหนบ้าง



สาย 130 มาก่อนเราจึงขึ้นเพื่อเดินทางกลับไปยังสถานีรถไฟเพื่อจะหาอะไรกินและกลับโรงแรม



แต่ว่าการเที่ยวในวันนี้ยังไม่จบลงแค่นี้ ตอนต่อไปจะเป็นการเดินเที่ยวเรื่อยเปื่อยช่วงค่ำ https://phyblas.hinaboshi.com/20150809



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์
-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> เหลียวหนิง
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文