φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



บันทึกการร่วมงาน APRIM ในไทเป
เขียนเมื่อ 2017/07/16 23:47
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#3-7 ก.ค. 2017

ตั้งแต่วันที่ 3-7 ก.ค. 2017 มีงานประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก หรือที่เรียกย่อๆว่า APRIM

APRIM คืออะไรสามารถทำความรู้จักได้ที่ https://daejeonastronomy.wordpress.com/2014/09/04/aprim2014

งานประชุมนี้จัดขึ้นทุก ๓ ปี โดยเปลี่ยนประเทศที่จัดไปเรื่อยๆเมื่อปี 2011 เคยจัดที่เชียงใหม่มาแล้ว ส่วนครั้งนี้ปี 2017 จัดที่ไทเป

ครั้งนี้เรามาเรียนต่ออยู่ที่ไต้หวันอยู่แล้วพอมีงานนี้ก็เลยมาเข้าร่วมได้ง่าย อาจารย์ที่ปรึกษาเองก็ค่อนข้างแนะนำให้เข้าร่วม เพราะงานใหญ่แบบนี้นานทีมีครั้ง

ส่วนเพื่อนที่ไทยเองก็มีไม่น้อยเลยที่มาร่วมงานนี้ด้วย ดังนั้นก็เลยได้พาเพื่อนเที่ยวแนะนำสถานที่เที่ยวสำคัญในไต้หวัน โดยเน้นที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์เป็นพิเศษ

เนื้อหาเกี่ยวกับงานประชุมครั้งนี้เป็นอะไรที่ค่อนข้างเฉพาะทางมาก ดังนั้นจะไม่กล่าวถึงรายละเอียด แต่จะอธิบายเฉพาะภาพรวม



ตารางกำหนดการ
วันที่ 3 (จ้นทร์)
 16:00-16:30 พิธีเปิด
 16:30-18:00 บรรยายรวม
 18:00 งานเลี้ยงต้อนรับ

วันที่ 4 (อังคาร)
 9:00-10:30 บรรยายรวม
 10:30-11:00 พักดื่มกาแฟ
 11:00-12:30 บรรยายแยก
 14:00-15:30 บรรยายแยก
 15:30-16:00 พักดื่มกาแฟ
 16:00-17:30 บรรยายแยก

วันที่ 5 (พุธ)
 9:00-10:30 บรรยายรวม
 10:30-11:00 พักดื่มกาแฟ
 11:00-12:30 บรรยายแยก
 12:30-17:00 กิจกรรมพาเที่ยว
 18:00-20:00 งานเลี้ยงที่พิพิธภัณฑ์แห่งชาติกู้กง
* กิจกรรมพาเที่ยวและงานเลี้ยงต้องจ่ายเงินเพิ่มสำหรับการเข้าร่วม แต่ไม่ได้บังคับว่าต้องเข้าร่วม

วันที่ 6 (พฤหัส)
 9:00-10:30 บรรยายรวม
 10:30-11:00 พักดื่มกาแฟ
 11:00-12:30 บรรยายแยก
 14:00-15:30 บรรยายแยก
 15:30-16:00 พักดื่มกาแฟ
 16:00-17:30 บรรยายแยก

วันที่ 7 (ศุกร์)
 9:00-10:30 บรรยายรวม
 10:30-11:00 พักดื่มกาแฟ
 11:00-12:30 บรรยายแยก
 12:30-13:00 พิธีปิด



สถานที่จัดงาน
งานนี้จัดขึ้นที่ศูนย์ประชุมนานาชาติไทเป (台北國際會議中心, TICC)

ภาพสถานที่จัดงาน (จากเว็บไซต์หลักของงานนี้ http://www.aprim2017.tw)



สถานที่ตั้งอยู่ใกล้กับตึกไทเป 101 (台北101) สถานท่องเที่ยวสำคัญของไต้หวันที่ใครๆก็รู้จักกันดี

ภาพไทเป 101 ถ่ายในวันที่ 4 ก.ค. ซึ่งท้องฟ้ากำลังสวยตอนเที่ยง ก่อนที่จะฝนตกใหญ่ในตอนบ่าย



การเดินทางมาสามารถมาได้ง่ายโดยนั่งรถไฟสายสีแดงมาลงที่สถานีไทเป 101 / ซื่อเม่า (台北101/世貿站)

ภาพทางเข้าสถานีประตูที่ใกล้กับศูนย์ประชุม



กิจกรรมต่างๆภายในงานจะอยู่แค่บริเวณชั้น ๑ และ ๒



ภาพรวมของงาน
ผู้เข้าร่วมงานอาจแบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ
- มานำเสนอด้วยการบรรยาย
- มานำเสนอด้วยโปสเตอร์
- ไม่ได้มานำเสนอ แค่มาฟังเฉยๆ

การบรรยายในงานนี้จะแบ่งเป็นช่วงบรรยายรวมกับช่วงบรรยายแยก

ช่วงบรรยายรวมนั้นคือจะเป็นการบรรยายที่ทุกคนที่มาร่วมงานร่วมกันฟังในห้องใหญ่

ส่วนช่วงที่บรรยายแยกนั้นจะแบ่งออกเป็น ๕ ห้องตามสาขางานวิจัย ให้เลือกเข้าฟังตามสายที่ตัวเองสนใจ

ส่วนในระหว่างช่วงที่มีการบรรยายนั้น หากเวลาไหนไม่มีการบรรยายที่ตัวเองสนใจก็อาจจะไม่เข้าฟังก็ได้ อาจจะแวะไปเที่ยวที่อื่น หรืออาจมาชมโปสเตอร์



ครั้งนี้เนื่องจากจัดที่ไต้หวันทำให้คนที่เข้าร่วมมีเป็นชาวไต้หวันเยอะที่สุด และรองลงมาก็คือจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี

เมื่อครั้งที่จัดที่เชียงใหม่คนไทยก็เยอะที่สุดเช่นกัน

จำนวนรวมคนที่เข้าร่วมในแต่ละประเทศ
ไต้หวัน 160
จีน 87 (รวมฮ่องกง ไม่รวมไต้หวัน)
ญี่ปุ่น 74
เกาหลี 61
ไทย 21
ออสเตรเลีย 19
อินเดีย 16
อินโดนีเซีย 8
ส่วนประเทศที่เหลือมีแค่ประเทศละแค่ไม่กี่คน

คนไทยที่มาเข้าร่วมส่วนใหญ่จะมาจากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) และก็มีจากมหาวิทยาลัยเช่นมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ส่วนงานในครั้งหน้าใน ๓ ปีข้างหน้าจะจัดขึ้นที่ออสเตรเลีย โดยเมืองที่จัดคือเมืองเพิร์ธ (Perth) ซึ่งมีกล้องโทรทัศน์วิทยุชื่อ ASKAP อยู่

จะสังเกตได้ว่าส่วนใหญ่แล้วงาน APRIM ในแต่ละครั้งจะไม่ค่อยได้จัดในเมืองหลวงของประเทศที่เป็นเจ้าภาพเลย อย่างคราวที่แล้วที่เกาหลีเองก็จัดที่เมืองแทจ็อน แต่ครั้งนี้ที่ไต้หวันจัดที่ไทเปเมืองหลวง



พิธีเปิดและงานเลี้ยงต้อนรับ
วันจันทร์ที่ 3 ก.ค. เวลา 4 โมงเย็น เริ่มพิธีเปิด โดยมีการกล่าวต้อนรับ จากนั้นก็เริ่มรอบบรรยายรวมเรื่องแรก



จากนั้นก็เริ่มงานเลี้ยงต้อนรับ มีอาหารให้กินโดยไปหยิบแล้วเดินคุยกันไปเรื่อยๆ ไม่มีที่นั่ง




ของหวานอันนี้อร่อย ทุกคนต่างชื่นชม



มีชุดของชาวพื้นเมืองบนเขาในไต้หวันให้ลองใส่กันด้วย





การนำเสนอ
สำหรับช่วงที่เป็นบรรยายรวมทุกคนจะไปรวมกันที่ห้องประชุมกลางที่ชั้น ๒ แต่ในช่วงบรรยายแยกจะแยกย้ายไปห้องต่างๆซึ่งมี ๓ ห้องอยู่ที่ชั้น ๒ และมี ๒ ห้องอยู่ชั้น ๑

นี่คือห้องที่ใช้บรรยายเรื่องเกี่ยวกับดาวเคราะห์เป็นหลัก เป็นห้องเล็กๆบนชั้น ๒



ส่วนนี่เป็นห้องที่ชั้น ๑ ใหญ่กว่า กำลังบรรยายเรื่องเกี่ยวกับมวลสารระหว่างดาว




ส่วนห้องที่บรรยายเรื่องเกี่ยวกับดาราจักรและจักรวาลวิทยาจะเป็นห้องเดียวกับห้องบรรยายรวม จึงมีขนาดใหญ่สุด



โดยทั่วไปแล้วการบรรยายแต่ละช่วงจะยาว ชั่วโมงครึ่ง โดยมีคนพูดอย่างมากก็ ๖ คน ใช้เวลาบรรยายรวมกับตอบคำถามทั้งหมดคนละ ๑๕ นาที

และพอหมดช่วงก็จะเป็นช่วงพักกินกาแฟนานครึ่งชั่วโมง โดยจััดขึ้นที่ห้องใหญ่ชั้นหนึ่งซึ่งเป็นที่เดียวกับที่ตั้งโปสเตอร์ ทำให้ระหว่างพักสามารถชมโปสเตอร์ไปได้ด้วย





ไม่มีช่วงที่ถูกแบ่งสำหรับให้เข้าชมโปสเตอร์โดยเฉพาะ ดังนั้นโดยส่วนใหญ่จึงอาศัยช่วงพักเอา

นอกจากโปสเตอร์แล้วห้องนั้นยังมีพวกเคาน์เตอร์แนะนำหน่วยงานต่างๆ



ของไทยเองก็มีสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ NARIT มาร่วม โดยคนที่เฝ้าคือคนที่ทำงานอยู่ฝ่ายวิเทศ (= ฝ่ายติดต่องานต่างประเทศ)





ถือโอกาสเที่ยวระหว่างงาน
งานประชุมทางวิชาการนั้นแม้จะมีจุดประสงค์หลักที่การแลกเปลี่ยนความรู้ แต่อีกวัตถุประสงค์หนึ่งก็คือการได้เที่ยวชม ได้ทำความรู้จักกับประเทศที่จัดงาน

ไต้หวันมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์ น่าแวะเข้าชม

สำหรับงานนี้มีทั้งอาจารย์ ทั้งเพื่อน และรุ่นพี่รุ่นน้องที่รู้จักจาก NARIT มาหลายคน จึงได้มีโอกาสพากันไปเที่ยวเมื่อมีเวลา และช่วงกลางวันของบางวันก็ได้ไปทานข้าวด้วยกัน

คนที่มาทีทั้งนักวิจัย ผู้ทำงานบริการวิชาการ แล้วก็ฝ่ายวิเทศ

การพาเที่ยวครั้งนี้ได้เลือกเน้นสถานที่เกี่ยวกับดาราศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์เป็นหลัก แต่ก็มีแนวอื่นปนอยู่ด้วย

เพื่อนคนหนึ่งที่ได้มาเข้าร่วมงานนี้ก็คือหนุ่มแทจ็อน ผู้เขียนบล็อก https://daejeonastronomy.wordpress.com

ช่วงเช้าวันที่ 3 ก่อนงานจะเริ่มไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์แห่งชาติกู้กง (国立故宮博物院) เป็นที่แรก หลังจากนั้นก็ได้แวะไปยัง

บันทึกการเดินทางเที่ยวเหล่านี้คือเนื้อหาที่จะเขียนถึงในตอนต่อๆไป



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน >> ไทเป

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文