φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



บ้านเก่าของเฉินฉือหงแห่งตระกูลหวั่งหลีในซัวเถา
เขียนเมื่อ 2018/02/17 22:51
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42

#เสาร์ 3 ก.พ. 2018

วันสุดท้ายในการเที่ยวซัวเถา หลังจากที่วันก่อนเที่ยวในตัวเมืองซัวเถามา https://phyblas.hinaboshi.com/20180213

จริงๆแล้ววันสุดท้ายนี้ตอนแรกกะให้เป็นวันเผื่อเวลา ไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้าว่าจะไปไหนดี ญาติก็เลยให้เพื่อนเขาช่วยแนะนำสถานที่เที่ยวที่น่าสนใจให้เพิ่มเติม

แล้วเขาก็พาไปแนะนำสถานที่ที่เรียกว่าบ้านเก่าของเฉินฉือหง (陈慈黉故居) อยู่ที่หมู่บ้านโจ่ยบ้วย (前美, เฉียนเหม่ย์) ตำบลหล่งโตว (隆都, หลงตู) เขตเถ่งไฮ่ (澄海, เฉิงไห่) ของซัวเถา (แต่สมัยก่อนจัดอยู่ในอำเภอเหยี่ยวเพ้ง (饶平, เหราผิง) เพิ่งย้ายมาสังกัดเถ่งไฮ่ตอนหลัง)



เฉินฉือหง (陈慈黉, แต้จิ๋วเรียก ตั่งฉื่อฮ้วง) เกิดปี 1843 เป็นคนจีนแต้จิ๋วที่อพยพไปอยู่ไทยแล้วประสบความสำเร็จสร้างตัวจนร่ำรวย

เขาเป็นผู้ก่อตั้งตระกูลหงลี่ (黉利) หรือเรียกในสำเนียงแต้จิ๋วเป็น "ห่วงหลี" แต่ปกติเขียนชื่อในภาษาไทยเป็น "หวั่งหลี"

พ่อของเฉินฉือหงชื่อเฉินฮว่านหรง (陈焕荣) ถือเป็นต้นตระกูลรุ่นแรกที่เริ่มประสบความสำเร็จสร้างเนื้อสร้างตัวได้จากกิจการเดินเรือ เขาได้มีการริเริ่มสร้างบ้านไว้ที่นี่ตั้งแต่ปี 1865 แล้ว

แต่เฉินฉือหงเป็นคนที่เริ่มอพยพมายังไทยแล้วก่อตั้งบริษัทหวั่งหลี (黉利行) ขึ้นมาในปี 1871 ที่กรุงเทพฯ ชื่อบริษัทนี้ต่อมาได้กลายเป็นที่มาของชื่อตระกูล

เขายังได้สร้างคฤหาสน์ขึ้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในปี 1881 เป็นที่อยู่อาศัยของตระกูลในระยะแรกๆ เป็นอาคารที่สร้างแบบซานเหอย่วน (三合院) แบบจีนที่อนุรักษ์มาจนถึงปัจจุบัน และได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของสถานที่เที่ยว "ล้ง 1919" ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อปลายปี 2017

แต่ตัวคฤหาสน์เองไม่ได้เปิดให้เข้าชม ส่วนประกอบหลักจริงๆของล้ง 1919 คือโกดังและท่าเรือ ซึ่งอยู่ข้างๆคฤหาสน์ ซึ่งซื้อต่อมาจากพระยาพิศาลศุภผลในปี 1919 โดยทายาทรุ่นต่อมาคือ เฉินลี่เหมย์ (陈立梅, หรือเรียกในสำเนียงแต้จิ๋วว่า ตั่งหลิบบ๊วย ชื่อไทยมักเรียกว่า ตันลิบบ๊วย) ลูกชายคนรองของเฉินฉือหง

ส่วนคฤหาสน์ของเฉินฉือหงในซัวเถาหลังที่กำลังจะเล่าถึงนี้นั้นเริ่มสร้างขึ้นในปี 1910 ใช้เวลาสร้างเป็นสิบปี นอกจากสร้างคฤหาสน์ของตัวเองแล้วเขายังได้บริจาคเงินพัฒนาชุมชนหมู่บ้านตัวเองด้วย เช่นสร้างโรงเรียนและทำถนน

ไม่ว่าจะบ้านหวั่งหลีที่กรุงเทพฯหรือที่ซัวเถาก็ถูกสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบจีนสมัยก่อน เป็นสิ่งก่อสร้างเก่าแก่ที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้



ด้านหน้าทางเข้าบ้านเก่าของเฉินฉือหง




ภาพบริเวณรอบๆหน้าทางเข้า




เมื่อเข้ามาก็เริ่มเห็นหมู่อาคารเก่า แต่ว่าตรงนี้ไม่ใช่ส่วนที่เปิดให้เข้าไปชม ได้แค่ถ่ายจากด้านนอก



เมื่อเข้ามาถึงด้านในก็พบตัวอาคารที่สร้างเรียงรายล้อมสามด้านของบ่อน้ำรูปสี่เหลี่ยม




ส่วนด้านที่ไม่มีอาคารอยู่คือลานกว้างที่เป็นที่จอดรถ



สามารถเดินวนรอบบ่อน้ำอาคารเก่าๆริมน้ำได้ เพียงแต่ว่าส่วนนี้ไม่สามารถเข้าไปได้








ส่วนที่เข้าชมได้คือส่วนตรงนี้ ต้องซื้อตั๋วเข้าชมด้านในด้วย แต่ว่าคนที่พามาเขารู้จักกับคนที่นี่เลยช่วยขอให้ไม่ต้องซื้อ




ภายในเป็นลานกว้างที่ล้อมรอบด้วยอาคาร







นี่คือภาพถ่ายบ้านหวั่งหลีที่กรุงเทพฯในช่วงทศวรรษ 193X (ปัจจุบันถ้าไปเที่ยวล้ง 1919 ก็สามารถมองเห็นผ่านประตูรั้วได้ สภาพไม่ได้เปลี่ยนไปจากภาพนี้เลย)



จากนั้นทีทางเข้าไปในตัวอาคาร




นี่ห้องน้ำ



ขึ้นไปดูด้านบนได้ ระหว่างทางลองมองดูบันไดก็มีตกแต่งสวยงาม



ขึ้นมาชั้น ๒ มีระเบียงทางเดินแต่ยังไม่สูงไปกว่าหลังคา ไม่สามารถมองเห็นรอบๆได้



ต่อมาขึ้นมาถึงชั้น ๓ จากตรงนี้สามารถเห็นบริเวณรอบๆได้ มองไปเห็นลานตรงกลางทั้งหมด





บ้านเมืองรอบๆ



รั้วระเบียงตรงนี้




ส่วนหลังคา



กลับลงมาชั้น ๒​ แล้วเดินบนนี้ต่อไปยังห้องด้านใน










ตามห้องต่างๆจะมีจัดแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องอยู่ประปราย แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้ดูอย่างละเอียด







ตรงนี้มีรูปและประวัติย่อของเฉินฉือหงด้วย



มีทั้งทางเดินในอาคารและระเบียงโยงไปทั่วซับซ้อนพอสมควร เดินไม่ดีก็หลงได้



ตรงนี้ดูเหมือนจะเป็นห้องรับแขกที่วางเครื่องเรือนไว้ในแบบเดิม



ทางเดินชั้นสองดูจะสุดทางแค่นี้ ต่อจากตรงนี้เป็นประตูที่ปิดอยู่และไม่มีลูกบิด



จากนั้นก็ลงไปต่อที่ชั้นล่าง





เดินดูบริเวณห้องต่างๆ มีเยอะพอสมควร






ตรงนี้เป็นร้านขายของที่ระลึก แล้วก็มีที่ให้แวะนั่งพักดื่มน้ำด้วย



ของภายในร้าน





แล้วมาทางนี้เจออีกหลายร้าน







แล้วก็บริเวณต่างๆอีกมากมาย







ตรงนี้ห้องเจ้าสาว มีเกี้ยวที่ใช้ในพิธีแต่งงานด้วย



ตรงนี้เจอป้ายที่มีข้อความภาษาไทยด้วย



เป็นพวกตราสัญลักษณ์ของบริษัทหวั่งหลีที่ไทย





ก็หมดเท่านี้ สำหรับการชมบ้านหวั่งหลีในซัวเถาแห่งนี้ รู้สึกขอบคุณเพื่อนของญาติที่แนะนำและพามา เลยได้มารู้จักกับสถานที่ที่มีประวัติศาสตร์น่าสนใจเช่นนี้

ชมที่นี่เสร็จเขาก็พาพวกเราไปเที่ยวในตัวเมืองซัวเถาต่อ https://phyblas.hinaboshi.com/20180218




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> กวางตุ้ง >> แต้จิ๋ว

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文