φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



ความน่าจะเป็นเบื้องต้นสำหรับเขียนโปรแกรม บทที่ ๑๗: การแจกแจงวิชาร์ตกับเมทริกซ์ความเที่ยงตรงของการแจกแจงแบบปกติหลายตัวแปร
เขียนเมื่อ 2020/09/07 19:41
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
ความน่าจะเป็นเบื้องต้นสำหรับเขียนโปรแกรม บทที่ ๑๗: การแจกแจงวิชาร์ต

ต่อจาก บทที่ ๑๖

ในบทนี้เป็นเรื่องของการแจกแจงวิชาร์ต (威沙特分布, Wishart distribution) ซึ่งเป็นการแจกแจงความน่าจะเป็นของเมทริกซ์ความเที่ยงตรงของการแจกแจงแบบปกติหลายตัวแปร




เมทริกซ์ความเที่ยงตรง

ดังที่เคยเขียนถึงไปในบทที่ ๑๓ และบทที่ ๑๕ สมการการแจกแจงแบบปกติมักเขียนในลักษณะนี้


โดย Σ คือเมทริกซ์ความแปรปรวนร่วมเกี่ยว

แต่ในการคำนวณบางกรณีจะเป็นการสะดวกกว่าถ้าเขียนในรูปของเมทริกซ์ผกผันของ Σ


Λ นี้เรียกว่าเป็นเมทริกซ์ความเที่ยงตรง (精度矩阵, precision matrix) ซึ่งเป็นส่วนกลับของเมทริกซ์ความแปรปรวนร่วมเกี่ยว กล่าวคือ Σ ถ้ายิ่งมีตัวเลขมากยิ่งหมายถึงว่าค่ามีการแจกแจงมาก แต่ถ้า Λ มากจะหมายถึงค่ามีการแจกแจงน้อย ค่ามีความเที่ยงตรงมาก

เมื่อแทนด้วย Λ การแจกแจงแบบปกติหลายตัวแปรจะเขียนเป็นแบบนี้


เวลาเขียนแทนด้วย แบบนี้ปกติค่าตัวที่สองที่ใส่จะต้องเป็นเมทริกซ์ความแปรปรวนร่วมเกี่ยว ดังนั้นในกรณีที่ใช้เป็นเมทริกซ์ความเที่ยงตรงมักจะเขียนในรูปผกผัน Λ-1 แบบนี้ ไม่ใช่ Λ เฉยๆ




การแจกแจงวิชาร์ต

การแจกแจงวิชาร์ตมีรูปทั่วไปเป็นดังนี้


ที่เป็นตัวหนา ได้แก่ V และ Λ เป็นเมทริกซ์ขนาด m×m (โดย m เป็นจำนวนตัวแปร)

ถ้าเมทริกซ์ล้อมด้วย | | เช่น |V| และ |Λ| จะหมายถึงดีเทอร์มิแนนต์

ส่วน tr หมายถึงผลบวกค่าทั้งหมดในแนวทแยงของเมทริกซ์นั้น

พารามิเตอร์มี 2 ตัวคือ

- คือค่า องศาเสรี (自由度, degree of freedom) เทียบเท่าได้กับ ν/2 ในการแจกแจงแกมมา

- คือ เมทริกซ์สเกลปรับสเกล (尺度矩陣, scale matrix) มีขนาดเท่ากับเมทริกซ์ Λ

Γm เป็นฟังก์ชันแกมมาแบบหลายตัวแปร


จะเห็นว่าค่อนข้างยุ่ง แต่ก้อนนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของค่าคงที่ซึ่งมีไว้หารเพื่อให้ผลรวมความน่าจะเป็นทั้งหมดเป็น 1 เท่านั้น ในที่นี้ไม่จำเป็นต้องสนใจก็ได้

ค่าต่างๆที่ไม่ได้เกี่ยวกับ Λ จะดึงมารวมไว้ใน แล้วเขียนใหม่ได้ดังนี้


ถ้า m=1 หมายถึงเป็นมิติเดียว V และ Λ ก็จะกลายเป็นเลขตัวเดียว แล้วหากเปลี่ยน เป็น และให้ค่าตัวเดียวใน V เป็น 1/β การแจกแจงนี้ก็จะกลายมาเป็นการแจกแจงแกมมา

ขอยกการแจกแจงแกมมามาเทียบให้ดูตรงนี้


การแจกแจงวิชาร์ตจึงถือเป็นการแจกแจงแกมมาที่ขยายเพิ่มเป็นหลายมิติเพื่อใช้กับการแจกแจงความน่าจะเป็นแบบปกติหลายตัวแปร

ค่าคาดหมายของการแจกแจงของเมทริกซ์ความเที่ยงตรงของการแจกแจงวิชาร์ตมีค่าเป็น


ค่าของเมทริกซ์ความเที่ยงตรงที่มีความน่าจะเป็นในการแจกแจงสูงสุดคือ





การแจกแจงความน่าจะเป็นของเมทริกซ์ความเที่ยงตรง

ต่อไปจะพิจารณาการแจกแจงความน่าจะเป็นของเมทริกซ์ความเที่ยงตรง Λ เช่นเดียวกับที่ทำกับค่าพารามิเตอร์ความเที่ยงตรง α ในบทที่แล้ว

วิธีการโดยรวมๆแล้วก็จะคล้ายๆกัน แค่ปริมาณต่างๆที่พิจารณานั้นเป็นเมทริกซ์ ไม่ใช่เลขตัวเดียว การคำนวณคูณกันก็ต้องคูณแบบเมทริกซ์

ความน่าจะเป็นก่อนหน้าเมื่อไม่มีข้อมูลก็สามารถให้เริ่มจากค่าคงที่ ซึ่งจะได้จากกรณีที่ และ Λ เป็นเมทริกซ์ที่ค่าข้างในมีค่าเล็กๆเข้าใกล้ 0


ให้ เป็นข้อมูล m มิติ (m ตัวแปร) ที่ได้จากการสุ่มแบบปกติหลายตัวแปร ฟังก์ชันควรจะเป็นก็จะได้เป็น


แล้วก็จะคำนวณความน่าจะเป็นภายหลังได้เป็นการแจกแจงวิชาร์ต


และถ้าหากมีข้อมูล n ตัวก็จะได้การแจกแจงวิชาร์ตดังนี้


กรณีที่มีการแจกแจงก่อนหน้าเป็น และ


การแจกแจงความน่าจะเป็นภายหลังก็จะได้เป็น


ต่อไปเป็นตัวอย่างโค้ด ให้สร้างข้อมูลสองมิติที่ทำการสุ่มแบบปกติหลายตัวแปร แล้วลองหาการแจกแจงความน่าจะเป็น
import numpy as np

ν0 = 5
# เมทริกซ์ความแปรปรวนตั้งต้น
Σ0 = np.array([[0.5,0.1],
               [0.1,0.5]])

# เมทริกซ์ความแปรปรวนจริงๆที่ต้องการหา
Σ = np.array([[5.,1],
              [1,2.]])
μ = np.array([0,0])
x = np.random.multivariate_normal(μ,Σ,3600)
m = len(Σ) # จำนวนมิติ
for i in range(11):
    n = (6*i)**2 # จำนวนจุดข้อมูล
    # คำนวณค่า ν และเมทริกซ์ V ใหม่ในแต่ละรอบ
    ν = ν0+n
    V = np.linalg.inv(np.dot((x[:n]-μ).T,(x[:n]-μ))+Σ0)
    Σ_max = np.linalg.inv((ν-m-1)*V) # จุดที่ความน่าจะเป็นสูงที่สุด
    print(f'ν = {ν}\nV = {V}\nΣ = {Σ_max}')

ผลที่ได้
ν = 5
V = [[ 2.08333333 -0.41666667]
 [-0.41666667  2.08333333]]
Σ = [[0.25 0.05]
 [0.05 0.25]]

ν = 41
V = [[0.0055187  0.00104572]
 [0.00104572 0.01859767]]
Σ = [[ 4.81982819 -0.2710123 ]
 [-0.2710123   1.4302435 ]]

ν = 149
V = [[ 0.00176174 -0.00041632]
 [-0.00041632  0.00410707]]
Σ = [[3.98321883 0.40377066]
 [0.40377066 1.70861973]]

ν = 329
V = [[ 0.00068913 -0.00027996]
 [-0.00027996  0.00172312]]
Σ = [[4.76578006 0.77430338]
 [0.77430338 1.90599849]]

ν = 581
V = [[ 0.00036217 -0.00017873]
 [-0.00017873  0.00095164]]
Σ = [[5.26499485 0.98885953]
 [0.98885953 2.00375218]]

ν = 905
V = [[ 0.00024671 -0.00011678]
 [-0.00011678  0.00061443]]
Σ = [[4.93794367 0.93853582]
 [0.93853582 1.98272111]]

ν = 1301
V = [[ 1.72833326e-04 -7.97935605e-05]
 [-7.97935605e-05  4.19152283e-04]]
Σ = [[4.88708963 0.93034989]
 [0.93034989 2.0151434 ]]

ν = 1769
V = [[ 1.22722015e-04 -5.43669747e-05]
 [-5.43669747e-05  3.06883104e-04]]
Σ = [[5.00706708 0.88704489]
 [0.88704489 2.00231735]]

ν = 2309
V = [[ 9.57755868e-05 -4.67090851e-05]
 [-4.67090851e-05  2.38106922e-04]]
Σ = [[5.00678507 0.98217367]
 [0.98217367 2.01391784]]

ν = 2921
V = [[ 7.47142508e-05 -3.57389306e-05]
 [-3.57389306e-05  1.87296108e-04]]
Σ = [[5.04752753 0.9631446 ]
 [0.9631446  2.01350814]]

ν = 3605
V = [[ 6.11264567e-05 -2.97188289e-05]
 [-2.97188289e-05  1.53627692e-04]]
Σ = [[5.01329716 0.96980772]
 [0.96980772 1.99472562]]

ตัวแปรที่แจกแจงในการแจกแจงวิชาร์ตคือเมทริกซ์ความเที่ยงตรง แต่ในที่นี้เพื่อให้เห็นภาพง่ายจึงแสดงเป็นเมทริกซ์ความแปรปรวนเป็นหลัก เวลาคำนวณก็ใช้ np.linalg.inv เพื่อคำนวณเมทริกซ์ผกผัน

วาดภาพเคลื่อนไหวแสดงการแจกแจงที่เปลี่ยนไปตามเวลาได้แบบนี้



ภาพด้านบนคือค่าความหนาแน่นความน่าจะเป็นที่ค่า ต่างๆที่ สูงสุด โดยสีแดงคือค่าสูงสีม่วงคือค่าน้อย ค่าทั้ง 3 ตัวที่แสดงด้านบนคือค่าที่ตำแหน่งสูงสุด จุดรูปดาวแสดงตำแหน่งที่ค่าสูงสุด

ภาพด้านล่างแสดงการแจกแจงของจุดข้อมูลที่มี ทั้งหมด n จุด

ยิ่งใส่จุดข้อมูลมาก การแจกแจงค่า ที่คำนวณได้ก็จะยิ่งมากองอยู่ใกล้จุด ซึ่งเป็นค่าจริงๆของการแจกแจงนี้



บทถัดไป >> บทที่ ๑๘



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คณิตศาสตร์ >> ความน่าจะเป็น
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文