φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
เมืองโบราณหลงเหมิน บ้านเกิดของซุนกวนแห่งสามก๊ก
เขียนเมื่อ 2012/01/21 09:56
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#ศุกร์ 20 ม.ค. 2012
หลังจากที่วนเวียนเที่ยวแต่ในเมืองหางโจวมาสิบวัน เมื่อวานนี้เราได้ออกไปเที่ยวนอกเมืองมาเป็นครั้งแรก
สถานที่ที่ไปนั้นก็คือเมืองโบราณแห่งหนึ่ง รอบๆเมืองหางโจวนั้นมีเมืองโบราณหลายแห่ง ที่ดังที่สุดคงเป็น
อูเจิ้น (乌镇)
นอกจากนี้ก็ยังมี
ซีถาง (西塘)
และ
หนานสวิน (南浔)
เป็นต้น
แต่ที่เราเลือกไปครั้งนี้คือ
เมืองโบราณหลงเหมิน (龙门古镇, หลงเหมินกู่เจิ้น)
ซึ่งที่เลือกไปที่นี่เพราะอยู่ใกล้ตัวเมืองหางโจวมากกว่าอันอื่น แม้อาจจะไม่ดังเท่าก็ตาม ส่วนที่อื่นก็กะจะไปเหมือนกันถ้ามีโอกาสภายในช่วงที่อยู่หางโจวนี้
หมู่บ้่านโบราณของจีนนั้นถือเป็นสถานที่ที่ดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวได้ไม่น้อย เพราะมีความสวยงาม และยังให้บรรยากาศเหมือนย้อนไปในอดีตได้ในบางส่วน
แม้ว่าความจริงแล้วไม่มีเมืองไหนที่คงสภาพแบบโบราณได้จริงๆหรอก ที่เราไปมาก็สังเกตได้ว่าในเมืองก็มีระบบน้ำประปา มีไฟฟ้าใช้ ทั้งยังมีมอเตอร์ไซค์วิ่งไปมา แถมบางส่วนของเมืองก็ถูกพัฒนาเป็นบ้านแบบสมัยใหม่แล้วด้วย ที่สำคัญมีป้ายภาษาอังกฤษติดอยู่เต็มไปหมดเพื่อนำทางนักท่องเที่ยว
ที่น่าตกใจก็คือการจะเข้าชมเมืองโบราณนั้นต้องเสียเงินค่าผ่านประตูเข้าชมด้วย แถมไม่ใช่ถูกๆ แต่ความจริงแล้วจะเลี่ยงไม่จ่ายก็ไม่น่าจะยาก เพราะจุดที่ต้องซื้อบัตรผ่านเข้านี้ก็มีแค่ด้านหน้า เราสามารถเข้าทางด้านอื่นได้
เพียงแต่หากไม่ถือบัตรเข้าชมก็จะไม่สามารถเดินเข้าไปชมพวกจุดสำคัญบางแห่งได้เท่านั้น เขาจะมีคนคอยตรวจบัตรเข้าชม แต่ที่จริงแล้วถ้าไม่คิดอะไรมากแค่อยากชมบรรยากาศในเมืองแค่นี้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว และคนในเมืองก็ดูจะไม่ได้สนใจมีปฏิสัมพันธ์กับเราเลยถ้าเราไม่เข้าไปพูดด้วยก่อน
บัตรเข้าชมเมืองโบราณหลงเหมินนี้ราคา ๖๘ หยวน ถือว่าถูกกว่าเมืองโบราณแห่งอื่นที่รู้จัก
เมืองโบราณหลงเหมินนี้ตั้งอยู่ในเขตอำเภอ
ฟู่หยาง (富阳)
ซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดของหางโจว การมาถึงที่นี่ถ้ามาจากหางโจวก็คือต้องนั่งรถเมล์สาย 514 มาลงที่เมืองฟู่หยางก่อนแล้วค่อยต่อรถตู้มาลงที่นี่ ทั้งรถเมล์สาย 514 ข้ามเมือง และรถตู้ที่ใช้เดินทางจากฟู่หยางนั้นออกบ่อยทั้งคู่ หารถไม่ยาก
ที่นี่มีความสำคัญคือเป็นบ้านเกิดของบุคคลสำคัญคนหนึ่งในตำนานสามก๊ก นั่นคือซุนกวน ผู้ครองก๊กหนึ่งในสาม่ก๊ก เมืองนี้เป็นที่อยู่ของลูกหลานตระกูลเดียวกับซุนกวน เห็นเขาว่าชาวบ้านที่นี่มี ๗๐๐๐ คน กว่า ๙๐% เป็นแซ่ซุน
ดังนั้นซุนกวนจึงเป็นบุคคลที่สำคัญมากของที่นี่ และเป็นจุดขายในการท่องเที่ยวด้วย ภายในก็จะเจอสถานที่อะไรที่เกี่ยวกับซุนกวนอยู่ประปราย
ซุ้มประตูใหญ่ด้านหน้าทางเข้า
ป้ายเขียนว่าบ้านเกิดของซุนกวน (孙权故里, ซุนเฉวียนกู้หลี่)
ทางเข้า
ต้องซื้อตั๋วก่อนถึงจะเข้าได้ ถ้าไม่อยากต้องยื่นตั๋วก็ไปเข้าทางอื่น
เมื่อผ่านประตูเข้ามาข้างในและเดินไปเรื่อยๆ
ตรงนี้เป็นส่วนที่ต้องมีบัตรชมถึงจะผ่านเข้าไปได้ พอเข้าไปจะเจอคนคอยตรวจบัตรอยู่
แต่ที่จริงข้างในไม่มีอะไรมากเลย ก็แค่เป็นสถานที่เก็บของที่ระลึกอะไรบางส่วนของซุนกวน พื้นที่มีแค่เท่าที่เห็นในรูปนี้เท่านั้นเอง
จากตรงนี้ไปก็เป็นส่วนย่านค้าขาย มีขายของอยู่เต็มทาง
แม้สภาพข้างนอกจะดูเก่า แต่ดูข้างในก็ไม่เก่านะ พวกของที่ขายก็ไม่เก่าด้วย อย่างร้านนี้ขายอุปกรณ์กีฬา มีไม้เทนนิสตั้งอยู่เด่นชัด
แล้วก็มีร้านขายยา สภาพข้างนอกดูเป็นตึกแบบเก่าแต่ข้างในเป็นสมัยใหม่หมดแล้ว เรามีเข้าไปซื้อยาข้างในก็เห็นคนขายใส่ชุดกาวน์ตามปกติเหมือนร้านขายยาทั่วไป
แล้วก็อย่างร้านนี้ ขายบุหรี่ด้วย
เห็นมีคนถือกล้องเหมือนกำลังจะมาถ่ายทำอะไรในนี้ด้วย
ตรงนี้ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ต้องตรวจบัตรเพื่อเข้าไปชม
ด้านในก็ไม่ค่อยกว้างอีกเหมือนกัน ถ้าจำไม่ผิดนี่เป็นพวกแบบจำลองเรือของกองทัพซุนกวน
ภายในตัวเมืองดูคับแคบและแออัดพอควร ระหว่างทางก็เจอพวกตรอกแคบๆที่ดูแล้วไม่ใช่เส้นทางหลักอยู่ประปราย พวกนี้ไม่ใช่ซอยตันๆแต่มันทะลุไปโน่นไปนี่ได้เยอะ ถ้าเข้าไปก็อาจหลงได้
เมื่อเดินผ่านเส้นทางหลักมาเรื่อยๆก็จะออกมาเจอกับลำธารเล็กๆที่ลากผ่านกลางเมือง
ข้ามสะพานไปก็ยังคงเป็นส่วนของตลาดที่ต่อเนื่องกันมา
ตรงนี้จะเจอกับอนุสรณ์สถานของบุคคลตระกูลซุนคนหนึ่ง เป็นบริเวณอีกแห่งที่ต้องใช้บัตรเพื่อเข้าไปดู
เดินไปมาก็กลับมาเจอกับริมฝั่งน้ำอีก
เดินไปอีกสักพักเราพบว่าตัวเองมาโผล่นอกเมืองฝั่งที่หันไปทางท้องทุ่งแล้ว ตรงนี้เขาปลูกผักกัน
แล้วเราก็เริ่มรู้สึกตัวว่าตัวเองหลงออกนอกเส้นทางสายหลักที่เขากำหนดให้นักท่องเที่ยวเดินซะแล้ว เมื่อไม่ใช่เส้นทางหลักมันก็ไม่ค่อยมีอะไรเด่นๆ และไม่ค่อยมีป้ายบอกทางด้วย แต่ระหว่างหลงอยู่ก็พอจะเห็นอะไรน่าสนใจอยู่บ้าง
อย่างตรงนี้เป็นลานกว้างกลางเมือง
สนามเด็กเล่นก็มี
แปลงผักกลางเมือง
พวกบ้านแบบปัจจุบันก็มีพบอยู่ประปราย อย่างแถบนี้ทั้งแถบ
รู้สึกตัวอีกทีเราก็หลงจนออกมาด้านหน้าเมืองแล้ว แล้วเราก็เริ่มรู้ตัวว่าถ้าเราเข้าทางนี้แต่แรกก็ไม่ต้องเสียค่าบัตรเข้าไปแล้วสิ
แล้วเราก็กลับเข้ามาเพื่อวนหาเส้นทางเดิม ในที่สุดก็หาเจอจนได้ กลับมาเดินเที่ยวตามเส้นทางต่อ
ตรงนี้เป็นสระน้ำกลางเมือง เป็นจุดที่คิดว่าสวยที่สุดแล้ว
รอบๆสระน้ำก็ล้อมด้วยอาคารและศาลา
รูปปั้นเด็กที่เอาพู่กันยักษ์จุ่มน้ำและเขียนอักษร
ภายในนี้มีจุดอันตรายที่ห้ามนักท่องเที่ยวเข้าอยู่ประปรายเหมือนกัน ชอบป้ายเตือนอันนี้
แล้วเราก็เริ่มรู้สึกว่าตัวเองหลงออกนอกเส้นทางอีกครั้ง
คราวนี้หลงมาเจอโรงเรียนอนุบาลประจำเมือง
สถานที่อีกแห่งที่สำหรับแวะเข้าไปดูพวกของที่ระลึกต่างๆ
ประตูแห่งความยุติธรรม อี้เหมิน (义门)
แล้วเราก็จบการเดินภายในเมืองอันแออัดแต่เพียงเท่านี้ ที่จริงไม่จำเป็นต้องออกตามทางออกที่เขาชี้ก็ได้ มีทางตรงไหนก็ออกได้หมด แต่ไหนๆก็เข้ามาตามทางแล้วก็ขอออกตามทางละกัน
แต่การเที่ยวที่นี่ยังไม่จบ เพราะเมื่อออกมานอกเมืองบริเวณที่เขาจัดไว้ให้ชมดูก็พบว่าบริเวณรอบก็สวยงามไม่น้อยเหมือนกัน
แม่น้ำด้านหน้าเมือง พอออกมาตรงนี้แล้วรู้สึกโล่งสบายทีเดียว หลังจากที่เดินในเมืองแคบๆมานาน
เดินเล่นบริเวณรอบๆเมือง บางทีรู้สึกว่าสวยกว่าภายในเมืองเสียอีก อย่างน้อยก็รู้สึกโล่งกว้างไม่แออัด
แม่น้ำสายหลักที่ลากผ่านนั้นให้ทิวทัศน์ที่สวยดีมาก
เพิ่งสังเกตตอนออกมาแล้วนี่แหละว่ามีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอยู่ด้วย พอดีตำแหน่งที่รถตู้พาไปส่งนั้นอยู่คงละด้านกับตรงนี้เลย
ป้ายหินบอกบรรยายเกี่ยวกับเมืองโบราณแห่งนี้ มีสี่ภาษา
มีแผนที่ภายในเมืองด้วย หลังจากเดินในเมืองมาจนทั่วแล้วมาดูก็ช่วยให้เข้าใจอะไรขึ้นเยอะทีเดียว
การเดินทางเที่ยวในเมืองโบราณหลงเหมินก็จบลงแต่เพียงเท่านี้ เราใช้เวลาไปราวๆสองชั่วโมงครึ่งในนี้ ส่วนระยะเวลาเดินทางขามารวมต่อรถแล้วก็ราวๆสองชั่วโมง คือออกเดินทางประมาณ ๗ โมงครึ่ง ถึง ๙ โมงครึ่ง และเดินเสร็จตอนเที่ยง ส่วนขากลับเดินทางกลับไปที่เมืองฟู่หยางด้วยรถตู้แบบที่ใช้นั่งมา
กลับมาแล้วก็ถือโอกาสเที่ยวเมืองฟู่หยางไปด้วยก่อนที่จะเดินทางกลับหางโจวตอนเย็น เมืองฟู่หยางเป็นแค่เมืองเล็กๆไม่มีอะไรสำคัญนักแต่ก็มีที่ให้พอเดินเที่ยวเช่นกัน
อ่านต่อ
https://phyblas.hinaboshi.com/20120122
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
เจ้อเจียง
--
ประวัติศาสตร์
>>
ประวัติศาสตร์จีน
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
เดินเล่นริมฝั่งทะเลเบปปุยามเช้า มีหาดทรายนิดหน่อย
ปราสาทคิฟุเนะ จุดชมทิวทัศน์ยุเกมุริ เบปปุทาวเวอร์
เบปปุจิโงกุเมงุริ เที่ยวชมอนเซงบ่อนรกที่มีสีสันสวยงามแปลกตาทั้ง ๗ แห่งในเบปปุ
ขึ้นรถกระเช้าเบปปุไปยังยอดเขาทสึรุมิสูง ๑๓๗๕ เมตร มองเห็นเมืองเบปปุริมฝั่งทะเลจากมุมสูง
เดินไปตามถนนยุโนะทสึโบะ ชมยุฟุอิงฟลอรัลวิลเลจ แวะกินตามข้างทางไปเรื่อย
บทความแนะนำ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2020年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文