φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



มัสยิดหนิวเจีย สถาปัตยกรรมแบบจีนผสมผสานกับอิสลาม
เขียนเมื่อ 2015/05/17 00:16
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#อาทิตย์ 26 เม.ษ. 2015

ในปักกิ่งมีวัดเก่าแก่อยู่หลายแห่งมาก ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นวัดพุทธ วัดขงจื๊อ หรือวัดเต๋า

แต่นอกจากนี้แล้วก็ยังมีวัดอยู่แห่งหนึ่งที่เป็นวัดอิสลาม หรือก็คือมัสยิดนั่นเอง แต่หากพูดถึงมัสยิดแล้วคนทั่วไปคงจะนึกถึงสิ่งก่อสร้างที่ออกแนวอินเดียหรือตะวันออกกลาง

แต่มีมัสยิดอยู่แห่งหนึ่งหน้าตาดูไม่ต่างจากวัดพุทธที่พบทั่วไปในจีนเลย นั่นคือมัสยิดหนิวเจีย (牛街礼拜寺, หนิวเจียหลี่ไป้ซื่อ) ซึ่งอยู่ใกล้ใจกลางเมืองปักกิ่ง

มัสยิดหนิวเจียถูกสร้างขึ้นในปี 996 ยุคราชวงศ์เหลียว (辽朝, ปี 916 - 1125) เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมผสานกับอิสลาม โครงสร้างของบริเวณมัสยิดเป็นลักษณะสมมาตรเหนือใต้



มัสยิดหนิวเจียตั้งอยู่บนถนนหนิวเจีย (牛街) สามารถเดินทางมาได้โดยนั่งรถไฟฟ้าลงสถานีกว่างอานเหมินเน่ย์ (广安门内站) ซึ่งอยู่บนสาย 7 แต่ก็ยังต้องเดินไกล ถ้าอยากจะให้ใกล้กว่าก็สามารถนั่งรถเมล์มาลงที่ป้ายมัสยิดหนิวเจีย มีหลายสายสามารถมาได้

ความจริงแล้วที่นี่อยู่ใกล้กับวัดฝ่าหยวน (法源寺) ซึ่งได้แวะมาเที่ยวก่อนหน้านี้ แต่ตอนนั้นไม่ได้เตรียมแผนมาดี ไม่รู้ว่ามันอยู่ใกล้ๆกันก็เลยไม่ได้แวะมาถึงที่นี่ด้วย

เมื่อลงจากรถเมล์มาก็พบว่าบริเวณนี้มีอาคารหลายหลังที่มีอักษรอาหรับเขียนอยู่ นั่นเพราะบริเวณถนนหนิวเจียนี้เป็นย่านชุมชนอิสลามแห่งหนึ่งของปักกิ่ง





ประตูด้านหน้ามัสยิด ดูแล้วก็เหมือนว่าไม่ต่างอะไร หอที่เป็นประตูหน้าโบสถ์นี้เรียกว่าว่างเยวี่ยโหลว (望月楼) แปลว่าหอชมจันทร์ ถูกสร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิคางซี (康熙, ปี 1662 - 1722)



แต่ว่าทางเข้านี้ถูกปิด ไม่ใช่ทางเข้าที่ให้เข้าได้จริงๆ ทางเข้าจริงๆอยู่ทางขวา



เขาติดป้ายไว้ชัดว่าถ้าหากสวมกางเกนขาสั้นหรือหรือกระโปรงไม่อนุญาตให้เข้า



แผนที่ในบริเวณนี้ จะเห็นว่าส่วนใจกลางมีลักษณะสมมาตร



ตารางเวลาละหมาดต่างๆ



เดินเข้ามา มีป้ายบอกทางเข้า



อาคารนี้คือที่ชำระล้าง (涤虑处) และเป็นห้องน้ำด้วย



ตรงนี้เป็นทางเข้าไปยังลานตรงกลาง



ข้างในมีศาลาแผ่นหินอยู่ ๒ หลัง สร้างในปี 1496 นี่เป็นศาลาฝั่งใต้



นี่เป็นศาลาฝั่งเหนือ



แผ่นหินด้านใน



ตรงกลางระหว่างศาลาแผ่นหินทั้ง ๒ มีอาครปางเค่อโหลว (邦克楼) เป็นหอคอยสุเหร่า ไว้สำหรับให้อิหม่ามขึ้นไปตะโกนเรียกก่อนทำการละหมาด



ภายใน



ที่นี่มีสองชั้น แต่ชั้นบนเขาไม่ได้เปิดให้ขึ้นไปได้



แผ่นหินอธิบายประวัติคร่าวๆของที่นี่



หม้อทำจากทองแดงผสมดีบุก ใช้สำหรับเตรียมข้าวต้มเนื้อในเทศการสำคัญต่างๆ



ส่วนี่คือหอสวดหลัก เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของที่นี่



แต่เขาไม่ให้คนที่ไม่ใช่มุสลิมเข้าไป ดังนั้นเราก็ได้แต่มองจากด้านนอก



มองเข้าไปด้านใน แม้เขาจะไม่ให้เข้า แต่ก็ไม่ได้ห้ามถ่ายภาพจากด้านนอก



ออกจากลานตรงกลางแล้วไปทางตะวันออก



ถัดไปมีอาคารจัดแสดง แต่ปิดอยู่ไม่ได้เปิด



ที่ฝังศพของหมอสอนศาสนาจากต่างแดน ๒ คนซึ่งเสียชีวิตในปี 1280 และ 1283



ทางตรงนี้เชื่อมไปบริเวณส่วนด้านตะวันตก



นี่เป็นด้านหลังของหอสวดหลัก



ดูเงียบๆดี



ตรงนี้จะเห็นว่างเยวี่ยโหลว อาคารที่เป็นประตูหน้าซึ่งเห็นที่หน้าทางเข้า



ที่นี่ไม่กว้างมากนัก เท่าที่ดูก็ไม่มีอะไรมากกว่านี้แล้ว จากนั้นก็เดินกลับออกมาทางเดิม



กำแพงฝั่งตรงข้ามมัสยิดมีรูปคนที่แต่งกายชนเผ่าต่างๆมากมาย



เดินไปตามถนนหนิวเจียต่อ ก็พอจะเห็นอาคารที่มีอักษรอาหรับหรือเกี่ยวข้องกับอิสลามอยู่ประปราย



ร้านอาหารอิสลาม



สุดเขตถนนหนิวเจียแค่ตรงนี้



จากตรงนี้ถ้าเดินไปต่อก็จะเป็นถนนฉางชุน (长椿街) ซึ่งที่นั่นมีสถานที่เที่ยวอีกแห่ง จึงถือโอกาสแวะมาชมด้วยต่อจากที่นี่ นั่นคือพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมเซวียนหนานปักกิ่ง (北京宣南文化博物馆) ซึ่งเขียนถึงในตอนต่อไป https://phyblas.hinaboshi.com/20150519




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง
-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> มัสยิด

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文