φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



range และ xrange ใน python 2.x และ 3.x
เขียนเมื่อ 2015/12/18 11:19
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
บทความนี้แตกออกมาจาก https://phyblas.hinaboshi.com/20151217



การเปลี่ยนหน้าที่ของฟังก์ชันและตัวแปรนั้นเป็นความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในไพธอน 3.x เมื่อเทียบกับไพธอน 2.x

หนึ่งในฟังก์ชันที่ถูกเปลี่ยนแปลงไปก็คือฟังก์ชัน range และมีฟังก์ชันหนึ่งที่หายไป นั่นก็คือ xrange นี่เป็นหัวข้อหนึ่งที่น่ายกมาพูดถึงสักหน่อย

ในไพธอน 2 นั้นมีฟังก์ชัน range กับ xrange ทั้ง ๒ ฟังก์ชันนี้ดูเผินๆแล้วคล้ายกันแต่มีความต่างกันเล็กน้อย

กล่าวคือ range เป็นฟังก์ชันสำหรับคืนค่าข้อมูลประเภทลิสต์ของจำนวนเต็มซึ่งมีค่าในช่วงตามที่กำหนดออกมา เช่น
print(range(10))
จะได้

[0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9]

ถ้าลองหาชนิดของข้อมูล
print(type(range(10))
จะได้
<type 'list'>

ในขณะที่ xrange นั้นจะให้สิ่งที่คล้ายกัน คือได้จำนวนเต็มที่มีค่าไล่เรียงในช่วงที่กำหนด อย่างไรก็ตามสิ่งที่ได้นั้นไม่ใช่ข้อมูลประเภทลิสต์ แต่เป็นชนิด xrange ซึ่งเป็นชนิดของมันเอง
print(xrange(10))
จะได้

xrange(10)

พอลองถามหาชนิดของข้อมูล
print(type(xrange(10)))
จะได้

<type 'xrange'>

จะเห็นว่า xrange ไม่ได้ให้ลิสต์ออกมา แต่ให้ข้อมูลที่เป็นชนิดของมันเองโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามหากลอง

print([i for i in xrange(10)])
ก็จะพบว่าได้
[0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9]
ซึ่งเหมือนกับการใช้ range เลย

นั่นหมายความว่า xrange นั้นไม่ได้ให้ข้อมูลที่เป็นลิสต์ แต่เมื่อมันถูกเรียกใช้มันจะทำการสร้างข้อมูลตัวเลขเรียงขึ้นมาใหม่ ผลสุดท้ายจึงทำงานเหมือนเป็นลิสต์

ในการใช้งานนั้น เวลาที่สร้างตัวแปรขึ้นมานั้น xrange จะสร้างได้เร็วกว่าเพราะมันไม่ได้ทำการไล่สร้างลิสต์ขึ้นมาใหม่ในขณะนั้นเลย อีกทั้งยังทำให้ประหยัดหน่วยความจำด้วย

ลอง
import time
t0 = time.time()
a = range(1000000)
print(time.time() - t0)
ได้ผลเป็น
0.0569779872894

แต่พอลอง
import time
t0 = time.time()
a = xrange(1000000)
print(time.time() - t0)
จะได้
3.09944152832e-06
ซึ่งเห็นได้ชัดว่าต่างกันมาก ยิ่งจำนวนที่ทดสอบมีค่ามากความต่างก็จะยิ่งเห็นชัด
(อนึ่ง การทดสอบความเร็วนั้นในแต่ละเครื่องจะได้ผลต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของคอม)

แต่เมื่อใช้งาน xrange จึงจะทำการสร้างจำนวนขึ้นมา ดังนั้นในจังหวะนั้นมันจะทำงานช้ากว่า range เล็กน้อย



ที่ว่ามาข้างต้นนั้นคือเรื่องของไพธอน 2

ในทางกลับกันในไพธอน 3 นั้นได้ยกเลิก range แบบเดิมทิ้ง แล้วให้ range ทำงานในลักษณะเดียวกับ xrange เดิมไปแทน

print(range(10))
print(type(range(10)))
จะได้

range(0, 10)
<class 'range'>

หากลองทดสอบเวลาดู

import time
t0 = time.time()
a = range(1000000)
print(time.time() - t0)
ก็จะได้
6.9141387939453125e-06
ซึ่งก็เร็วเหมือนกับการใช้ xrange ในไพธอน 2

ในขณะที่ฟังก์ชัน xrange นั้นได้หายไปจากไพธอน 3
ถ้าพิมพ์

print(xrange(10))
ก็จะขึ้นมาว่า
NameError: name 'xrange' is not defined
ส่วนฟังก์ชัน range ในรูปแบบเดิมในไพธอน 2 นั้นก็ได้หายไป ไม่สามารถทำได้แล้ว

แต่หากต้องการให้ได้ลิสต์ในลักษณะแบบฟังก์ชัน range เดิมในไพธอน 2 ก็แค่ต้องใช้ฟังก์ชัน list เพื่อเปลี่ยนตอนที่สร้างขึ้นมาทันที

a = list(range(10))
แบบนี้ก็จะได้ข้อมูลออกมาเป็นลิสต์แล้ว

สรุปโดยรวมแล้วก็คือ
หากใครใช้ xrange มาในไพธอน 2 ก็จะต้องเปลี่ยนมาใช้ range แทนในไพธอน 3 ซึ่งความหมายของ range ในไพธอน 3 ก็จะเหมือนกับ xrange ในไพธอน 2

ในขณะที่ หากใครที่ใช้ range มาตั้งแต่ในไพธอน 2 แล้วเปลี่ยนมาใช้ไพธอน 3 ก็ยังสามารถใช้ range ได้เหมือนเดิม เพียงแต่ชนิดข้อมูลที่ได้จะเปลี่ยนไปเท่านั้น การทำงานก็เปลี่ยนไป แต่ผลยังเหมือนเดิม



อ้างอิง


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文