φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



unicode และ ASCII ใน python 2.x และ 3.x
เขียนเมื่อ 2015/12/19 17:51
แก้ไขล่าสุด 2024/01/22 21:33
บทความนี้แตกออกมาจาก https://phyblas.hinaboshi.com/20151217



ในการเปลี่ยนแปลงจากไพธอน 2 ไปสู่ไพธอน 3 นั้นมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปหลายอย่าง บางเรื่องก็เปลี่ยนไปแค่เล็กน้อยเท่านั้น

แต่สำหรับเรื่องของสายอักขระ (string) นั้น ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นมาพอสมควร

ในไพธอน 2 นั้นข้อมูลสายอักขระถูกเก็บในรูป ASCII เป็นหลัก ในขณะที่ในไพธอน 3 ข้อมูลถูกเก็บในรูปยูนิโค้ดชนิด utf-8

แม้ว่าความเปลี่ยนแปลงจะดูเผินๆเหมือนไม่ได้เห็นผลชัดเจน แต่หากทำงานที่ต้องมีการจัดการกับตัวอักษรความต่างนี้ก็อาจทำให้เกิดความผิด พลาดคลาดเคลื่อนได้ จึงมีความสำคัญที่จะต้องกล่าวถึงอยู่



ในไพธอน 3 ชนิดของตัวอักษรที่เก็บอยู่ภายในสายอักขระนั้นทั้งหมดถูกเก็บในรูปแบบของ ยูนิโค้ด (unicode) ซึ่งสามารถเก็บตัวอักษรทั้งหมดทุกชนิดได้ในลักษณะเดียวกัน

แต่ในไพธอน 2 อักษรถูกเก็บในรูปของ ASCII ส่วนอักษรที่ไม่ใช่อักษร ASCII ถูกเก็บในรูปของรหัสยูนิโค้ด utf-8

ลองใช้ฟังก์ชัน len เพื่อหาความยาวของสายอักขระที่มีอักษรที่ไม่ใช่ ASCII ดู เปรียบเทียบกันระหว่างในไพธอน 2 กับ 3

print(len('abcedกขคงจ'))

ในไพธอน 3 จะได้ผลออกมาเป็น

10
ซึ่งก็เป็นไปตามที่เห็น เพราะความยาวของสายอักขระที่ใส่ลงไปเป็น ๑๐ ตัวอักษร

แต่ถ้าเป็นในไพธอน 2 จะได้เป็น
20
ที่เป็นแบบนี้ทั้งๆที่มีอักษรแค่ ๑๐ ตัวเท่านั้นก็ เพราะว่าในไพธอน 2 อักษรถูกเก็บในรูปของ ASCII อักษรที่ไม่ใช่ ASCII จะถูกเก็บในรูปของรหัสยูนิโค้ดซึ่งแต่ละอักษรก็ใช้จำนวนโค้ดแตกต่างกันออกไป

สำหรับอักษรภาษาไทยใช้ยูนิโด้ดยาว ๓ ตัวอักษร
ถ้าเราลองพิมพ์

'abcedกขคงจ'

ลงในเชลโต้ตอบโดยที่ไม่ใส่คำสั่ง print ก็จะได้เห็นรูปโฉมที่แท้จริงของข้อความที่ถูกเก็บ นั่นคือ

'abced\xe0\xb8\x81\xe0\xb8\x82\xe0\xb8\x84\xe0\xb8\x87\xe0\xb8\x88'

จะเห็นว่าอักษร abcde ถูกเก็บตามที่พิมพ์ไป แต่อักษรไทยจะถูกเปลี่ยนเป็นโค้ด เช่น "ก" กลายเป็น \xe0\xb8\x81
โดยที่ \x แล้วตามด้วยโค้ด 2 ตัวจะแทนอักษร ๑ ไบต์ ถือว่าเป็น ๑ ตัว ดังนั้นในที่นี้ถือเป็น ๓ ตัวอักษร ซึ่ง ๓ อักษรนี้จะถูกนำไปถอดรหัส utf-8 เป็นอักษร "ก" อีกที

นี่เป็นความเหลื่อมล้ำระหว่างอักษรที่เป็น ASCII กับไม่ใช่ ASCII ซึ่งเกิดขึ้นในไพธอน 2

อย่างไรก็ตามไพธอน 2 สามารถเลือกเก็บสายอักขระเป็นรูปแบบยูนิโค้ดได้ โดยพิมพ์ u ลงไปหน้าเครื่องหมายคำพูด เช่น

u'abcedกขคงจ'

ลองวัดความยาวดู

print(len(u'abcedกขคงจ'))

ผล ที่ได้ก็จะได้ 10 ตามที่ควรจะเป็น เพราะชนิดของข้อมูลกลายเป็นยูนิโค้ดไปทั้งหมดแล้ว ข้อมูลแบบยูนิโค้ดเมื่อนำมาหาความยาวจะถือว่าหนึ่งอักษรคือหนึ่งตัวเท่า เทียมกันหมด

หากลองถามหาชนิดของข้อมูลก็จะพบว่าที่มี u กับไม่มี u ได้ต่างชนิดกัน

print(type('abcedกขคงจ'))
print(type(u'abcedกขคงจ'))

ผลที่ได้คือ

<type 'str'>
<type 'unicode'>

โดย str ในที่นี้หมายถึงสายอักขระชนิด ASCII และ unicode หมายถึงสายอักขระชนิดยูนิโค้ด

แต่สำหรับในไพธอน 3 นั้นสายอักขระธรรมดาก็ถูกเก็บในรูปยูนิโค้ด โดยที่ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ u นำหน้า ดังนั้นถ้าพิมพ์แบบนี้ในไพธอน 3 ผลที่ได้คือ

<class 'str'>
<class 'str'>

จะเห็นว่าได้เป็น str ทั้งคู่ แต่ว่า str ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงสายอักขระชนิด ASCII แบบในไพธอน 2 แต่หมายถึงสายอักขระชนิดยูนิโค้ดอยู่แล้ว

และข้อมูลชนิด 'unicode' ก็จะไม่มีอีกแล้ว เพราะตัว 'str' นั่นเองที่กลายเป็นยูนิโค้ดไป

ดังนั้นการใส่ u หน้าเครื่องหมายคำพูดในไพธอน 3 นั้นไม่ได้มีความหมายอะไรแล้ว ที่จริงในเวอร์ชัน 3.0 ถึง 3.2 จะไม่สามารถใส่ u นำหน้าได้ แต่ตั้งแต่ 3.3 เป็นต้นมา u ถูกนำกลับมาใหม่ สามารถใส่ได้แม้ว่าจะไม่ได้มีความหมายอะไรแล้วก็ตาม



ปกติเวลาที่นำสายอักขระธรรมดามารวมกับสายอักขระที่เป็นยูนิโค้ดในไพธอน 2 สายอักขระธรรมดาซึ่งเป็น ASCII จะต้องทำการแปลงเป็นยูนิโค้ดโดยทำการถอดรหัส พอรวมแล้วก็จะได้ผลเป็นยูนิโค้ด แต่ถ้าหากในนั้นมีอักษรที่ไม่ใช่ ASCII ปนอยู่จะเกิดขัดข้องขึ้นมา เช่น

print(u'a'+'á')
ได้
UnicodeDecodeError: 'ascii' codec can't decode byte 0xc3 in position 0: ordinal not in range(128)

แต่ u'á'+'a' จะรวมกันได้ไม่มีปัญหา เพราะตัวอักษรที่ไม่ใช่ ASCII นั้นอยู่ในสายอักขระที่เป็นยูนิโค้ดอยู่แล้ว



นอกจากนี้เมธอดบางตัว เช่น upper กับ lower ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนตัวอักษรเป็นพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กยังทำงานแตกต่างกันด้วย

ในไพธอน 2 สายอักขระโดยทั่วไปอักษรที่นอกเหนือจาก ASCII จะไม่ได้รับผลของ upper กับ lower
ตัวอย่าง

print('hämähäkki'.upper())
ได้
HäMäHäKKI

ซึ่งจะเห็นว่าตัว ä ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะไม่ใช่อักษร ASCII

แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นยูนิโค้ดโดยเติม u

print(u'hämähäkki'.upper()
ก็จะสามารถเปลี่ยนได้
HÄMÄHÄKKI

นอกจากนี้ในไพธอน 2 เวลาที่เขียนอักษรที่ไม่ใช่ ASCII ลงในโค้ดจะต้องใส่
# -*- coding: utf-8 -*-
ไว้ที่ด้านบนสุดทุกครั้งเพื่อระบุว่าจะใช้การถอดรหัสแบบ utf-8

แต่ว่าในไพธอน 3 ไม่จำเป็นที่จะต้องใส่เพราะว่าเป็นยูนิโค้ด utf-8 เป็นหลักอยู่แล้ว

อ้างอิง



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文