φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



พิพิธภัณฑ์เขตไห่เตี้ยน
เขียนเมื่อ 2016/12/18 18:11
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#พุธ 10 มิ.ย. 2015

พิพิธภัณฑ์เขตไห่เตี้ยน (海淀区博物馆) หรือเรียกสั้นๆเป็นพิพิธภัณฑ์ไห่เตี้ยน (海淀博物馆) เป็นที่จัดแสดงประวัติศาสตร์และสมบัติทางวัฒนธรรมในเขตไห่เตี้ยน (海淀区) ซึ่งเป็นเขตที่กินพื้นที่ในส่วนของตัวเมืองทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของปักกิ่ง ไปจนถึงส่วนชานเมือง

ไห่เตี้ยนเป็นเขตที่ตั้งของมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในปักกิ่ง ดังนั้นนักเรียนส่วนใหญ่ก็อยู่เขตนี้กันหมด เราเองก็อยู่ในเขตนี้จึงรู้สึกผูกพันอยู่ไม่น้อยก็เลยอยากมาลองชมพิพิธภัณฑ์นี้สักหน่อยอยากเห็นว่ามีอะไรบ้าง

อย่างไรก็ตามตอนช่วงที่เรามาที่นี่ในครั้งนี้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้กำลังจัดแสดงในหัวข้อพิเศษนั่นคือนาฬิกาจากพระราชวังฤดูร้อนอี๋เหอหยวน ซึ่งได้ถูกวางแทนที่หมดก็เลยไม่ได้เห็นประวัติศาสตร์ของเขตไห่เตี้ยน น่าเสียดาย กลายเป็นมาดูพวกนาฬิกาโบราณแทน

เนื่องจากว่าไม่ได้สนใจเรื่องของนาฬิกาสักเท่าไหร่ก็เลยไม่ได้ดูอย่างละเอียด แต่ก็ได้ดูผ่านๆ ถ่ายภาพนาฬิกาที่สวยๆบางส่วนมา



ที่นี่อยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้า สถานีไห่เตี้ยนหวงจวาง (海淀黄庄站) ในย่านจงกวานชุน (中关村) สามารถแวะมาได้ง่าย



ใกล้ๆกันนั้นเป็นโรงละครไห่เตี้ยน (海淀剧院)



ทางเข้าพิพิธภัณฑ์




ตั๋วเข้าชมเอาได้ฟรีไม่เสียค่าเข้า



เข้ามาด้านในส่วนจัดแสดง



ตามผนังมีเขียนถึงสถานที่เที่ยวภายในเขตไห่เตี้ยน เช่นอันนี้คือวัดต้าเจวี๋ย (大觉寺) ซึ่งเล่าไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20150521



และอันนี้คือหอคอยวัดฉือโซ่ว (慈寿寺塔) ซึ่งเล่าไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20150511



แผนที่แสดงสมบัติทางวัฒนธรรมที่สำคัญภายในเขตไห่เตี้ยน



ตรงนี้ป้ายเขียนว่า 與時間對話 เป็นจีนตัวเต็ม แปลว่า "คุยกับเวลา" เป็นหัวข้อจัดแสดงขณะที่ไปนั้น



เริ่มจากตรงนี้จะเป็นป้ายที่เล่าถึงประวัติศาสตร์ของนาฬิกาตั้งแต่สมัยโบราณมาทั้งของฝั่งตะวันตกและของจีนเอง



เชื่อกันว่านาฬิกาแบบตะวันตกเข้ามายังจีนเป็นครั้งแรกโดยหมอสอนศาสนาชาวอิตาลี ชื่อ มิเกเล รุจเจรี (Michele Ruggieri, 1543-1607) หรือชื่อจีนว่าหลัวหมิงเจียน (罗明坚)



ในช่วงสมัยโบราณนั้นนาฬิกาของจีนเป็นแบบโบราณเช่นนาฬิกาแดด (日晷, รื่อกุ่ย) หรือ นาฬิกาน้ำ (漏壶, โล่วหู)



อันนี้เป็นอุปกรณ์ที่เรียกว่าสุ่ยยวิ่นอี๋เซี่ยงไถ (水运仪象台) อุปกรณ์บอกเวลาที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยซูซ่ง (苏颂) ในยุคราชวงศ์ซ่ง (宋朝, ปี 960-1279)



แต่พอปลายยุคราชวงศ์หมิง (明朝, ปี 1368-1644) เริ่มรับนาฬิกาจักรกลแบบยุโรปเข้ามา


ตรงนี้ไล่เลียงเล่าถึงประวัติของนาฬิกาในจีนตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมาก



ส่วนทางมุมนี้จัดแสดงนาฬิกาต่างๆ



นาฬิกาแบบต่างๆ สวยๆ มากมาย









ภายในก็มีอะไรอยู่แค่นี้ ห้องจัดแสดงค่อนข้างเล็กนิดเดียวเท่านั้น



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์
-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文