φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



วัดต้าเจวี๋ย วัดเก่าแก่บนเขาทางตะวันตกเฉียงเหนือของปักกิ่ง
เขียนเมื่อ 2015/05/21 23:39
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#จันทร์ 27 เม.ย. 2015

ปักกิ่งมีวัดเก่าแก่อยู่หลายแห่ง ช่วงนี้ก็มีโอกาสแวะเวียนไปเที่ยวมาหลายแห่งแล้ว สำหรับครั้งนี้ที่จะไปเที่ยวคือวัดต้าเจวี๋ย (大觉寺, ต้าเจวี๋ยซื่อ) ซึ่งอยู่นอกตัวเมืองปักกิ่งห่างออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือในเขตไห่เตี้ยน (海淀区)

วัดต้าเจวี๋ยถูกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยราชวงศ์เหลียว (辽朝, ปี 916 - 1125) ตั้งอยู่บนเขาหยางไถ (阳台山, หยางไถซาน) ในตอนแรกเรียกชื่อว่าชิงสุ่ยย่วน (清水院) ในสมายราชวงศ์จิน (金朝, ปี 1115 - 1234) เปลี่ยนชื่อเป็นวัดหลิงเฉวียน (灵泉寺) พอสมัยราชวงศ์หมิง (明朝, ปี 1368 - 1644) มีการสร้างใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็นวัดต้าเจวี๋ย

ชื่อวัดนี้เขียนด้วยอักษรที่เหมือนกับชื่อวัดไดกากุ (大覚寺, だいかくじ) วัดเก่าแก่ในเมืองเกียวโต เมืองหลวงเก่าของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามที่ชื่อเหมือนกันนี่น่าจะเป็นความบังเอิญ ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกัน

ชื่อ 大覚寺 (จีนตัวย่อเขียนเป็น 大觉寺) นั้นถ้าอ่านแบบญี่ปุ่นก็จะเป็น "ไดกากุจิ" อ่านแบบจีนเป็น "ต้าเจวี๋ยซื่อ"

ในบริเวณวัดมีต้นไม้เก่าแก่อยู่หลายต้น เช่นต้นแป๊ะก๊วย (银杏) และ ดอกยวี่หลาน (玉兰) ถ้ามาถูกฤดูจะสวยงามมาก

ปกติดอกยวี่หลานจะบานตอนต้นเดือนเมษายน แต่ในครั้งนี้เรามาตอนปลายเดือนเมษายนซึ่งมันช้าไปเสียแล้ว ความจริงตอนแรกมีแผนจะมาให้เร็วกว่านี้แต่ก็ไม่สะดวกมา สุดท้ายก็เลยมาเอาป่านนี้ทำให้ไม่ได้เห็น น่าเสียดายอยู่เหมือนกัน



สำหรับการเดินทางมาที่วัดนี้เป็นอะไรที่ไม่ค่อยจะสะดวกสบายนัก ไม่มีรถไฟฟ้าไปถึงเนื่องจากอยู่ไกลจากตัวเมืองพอสมควร สามารถนั่งรถไฟฟ้าไปลงที่สถานีเป่ย์กงเหมิน (北宫门站) ซึ่งเป็นสถานีรองสุดท้ายของสาย 4 จากเป่ย์กงเหมินนั่งรถเมล์ต่อไป

การนั่งรถเมล์ไปนั้นมีอยู่สองทาง ให้เลือกว่าจะนั่งรถเมล์สองต่อแล้วเดินไกลหน่อย หรือนั่งแค่ต่อเดียวแล้วเดินไกลมาก

หากเลือกที่จะนั่งรถเมล์สองต่อเพื่อให้ไม่ต้องเดินไกลเกินไปละก็ ให้นั่งสาย 330 หรือ 346 ไปลงที่ป้ายเวินเฉวียน (温泉) จากนั้นก็เปลี่ยนไปขึ้นสาย 633 เพื่อนั่งต่อไปลงยังป้ายต้าเจวี๋ยซื่อ (大觉寺) อย่างไรก็ตามถึงจะลงที่ป้ายนี้ก็ต้องเดินต่ออีกไกลพอสมควร ประมาณ ๑ ก.ม. แต่ก็ไม่มีป้ายรถเมล์ที่ใกล้กว่านี้แล้ว

ส่วนอีกทางคือนั่งแค่ต่อเดียว คือขึ้นสาย 346 ไปแล้วไปลงที่ป้ายเป่ย์อานเหอ (北安河) จากนั้นก็เดินไกลมาก ๒ ก.ม. ซึ่งเราเลือกทางนี้


นั่งรถไฟฟ้ามาลงที่เป่ย์กงเหมินจากนั้นก็จะเห็นป้ายรถเมล์ที่มีสายรถเมล์ให้ขึ้นมากมาย มี 346 อยู่ด้วย ซึ่งสายนี้มีปลายทางอยู่ที่เฟิ่งหวงหลิ่งซึ่งเราเคยไปเที่ยวมาแล้วเมื่อ ๓ ปีก่อน เล่าถึงไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20120517



รอสักพักสาย 346 ก็มา ครั้งนี้เราจะไปเพื่อลงแค่กลางทางเท่านั้น



ใช้เวลาประมาณ ๔๕ นาที ก็มาถึงป้ายเป่ย์อานเหอ



เป่ย์อานเหอนั้นเป็นชื่อหมู่บ้านเล็กๆแห่งหนึ่ง ไม่มีอะไรมาก



พอเดินเข้าไปในบริเวณที่น่าจะเป็นหมู่บ้านก็พบว่าร้างมาก เหมือนบ้านส่วนใหญ่โดนรื้อออกไปหมด เหลือแค่ไม่กี่หลังแต่ก็ยังเห็นมีคนอาศัยอยู่ ไม่รู้ว่าอยู่กันยังไง



เดินไปเรื่อยๆก็ออกนอกบริเวณหมู่บ้าน (ร้าง)




ออกมาถึงตรงนี้แล้วเจอป้ายรถเมล์ต้าเจวี๋ยซื่อซึ่งถ้านั่งสาย 633 มาก็จะมาลงที่นี่ แต่ถึงยังไงก็ยังต้องเดินต่ออีก



มีป้ายสีน้ำตาลชี้ทางบอกว่าไปวัดต้าเจวี๋ยต้องเดินไปทางนี้




ระหว่างทางก็ดูจะไม่ได้เดินง่ายนักเพราะเป็นทางขึ้นเขา




ป้ายชี้บอกทางสีน้ำตาลซึ่งแสดงสถานที่เที่ยว จะเห็นว่านอกจากวัดต้าเจวี๋ยแล้วก็ยังมีที่อื่นอีก แต่ก็ไม่สำคัญนัก



มีแผนที่สถานที่เที่ยวบริเวณนี้ด้วย



เดินขึ้นต่อไป



มีทางรถไฟตัดผ่านตรงนี้ด้วย เป็นทางรางเดียว




ยังคงเดินขึ้นต่อไปอีก



ในที่สุดก็ถึงจนได้ ตรงนี้เป็นที่ขายตั๋ว ราคาค่าเข้าชมคือ ๒๐ หยวน แต่เป็นนักเรียนก็ลดเหลือ ๑๐ หยวน



ประตูทางเข้าวัด



หน้าวัดมีขายของเต็มไปหมด



เดินเข้าวัด



ที่หน้าวัดมีป้ายเขียนบอกว่าข้างในมีบางส่วนกำลังปรับปรุงอยู่ทำให้ไม่สามารถเข้าได้ แต่ว่าบริเวณส่วนใหญ่ก็ยังเข้าได้อยู่ ไม่เป็นไรเพราะก่อนมาก็มีหาข้อมูลมาก็มีคนพูดถึงเรื่องนี้ คิดว่าไม่ใช่ปัญหาอะไรขนาดนั้นก็เลยยังคงตั้งใจมาอยู่ ยังไงมันก็ยังเปิดอยู่ ดีกว่าบางที่ที่ซ่อมแล้วก็ปิดทั้งหมดไม่สามารถไปเข้าชมได้เลย



ตรงทางเข้าวัดมีอุปกรณ์สำหรับอธิบายเกี่ยวกับสถานที่ให้เช่า ๒๐ หยวน มีอยู่ ๕ ภาษา หรือสามารถจ้างคนแนะนำเกี่ยวกับสถานที่ ๘๐ หยวน แต่มีแต่ภาษาจีน



เข้ามาถึงก็เห็นกำลังก่อสร้างอยู่ทำให้บางบริเวณอาจดูไม่สวยไปบ้างจริงๆ



แผนที่และคำอธิบายแนะนำที่นี่ รวมทั้งแผนที่



อาคารตรงนี้เป็นที่จัดแสดงเกี่ยวกับเทพแห่งท้องฟ้าทั้งยี่สิบ



ภายใน



ที่นี่มีศาลาแผ่นหินอยู่สองหลัง เหนือกับใต้ อันนี้ศาลาฝั่งเหนือ



ภายใน



ตรงนี้เป็นบ่อน้ำ มีปลาว่ายอยู่ด้วย



ข้ามสะพานเดินลึกเข้าไปในวัด



มีขายอาหารปลาด้วย ๕ หยวน



เช่นเดียวกับวัดทั่วไปต้องมีทั้งหอกลอง (鼓楼) และหอระฆัง (钟楼)



ภายในบริเวณมีอยู่หลายจุดที่วางป้ายที่เขียนขออภัยในความไม่สะดวกที่ข้างในมีการก่อสร้างอยู่ ดูเหมือนเขาจะใส่ใจกับเรื่องนี้มากทีเดียว



ตรงนี้คืออาคารเทียนหวางเตี้ยน (天王殿) ข้างในมีพระสกันทะ (韦驮, เหวย์ถัว) และพระเมตไตรย (弥勒佛, หมีเล่อฝัว) และจาตุมหาราชิกา (四大天王, ซื่อต้าเทียนหวาง)



เดินทะลุอาคารนี้เข้าไปก็เจอกับบริเวณที่มีดอกจื่อเถิง (紫藤) ปลูกอยู่



และนี่คืออาคารหลัก ต้าสยงเป่าเตี้ยน (大雄宝殿)



เดินผ่านอาคารนี้มาก็จะเจออาคารอู๋เลี่ยงโซ่วฝัวเตี้ยน (无量寿佛殿) หรืออาคารอมิตาภพุทธะ ซึ่งกำลังซ่อมด้านนอกอยู่ แต่ว่าเข้าไปชมด้านในได้



เดินทะลุผ่านอาคารนี้มาก็จะเจออาคารอีกหลังที่กำลังซ่อมอยู่ แต่ก็เข้าได้เช่นกัน



อาคารนี้คืออาคารต้าเปย์เตี้ยน (大悲殿)



ภายในจัดแสดงข้อมูลเกี่ยวกับวัดนี้



ภาพบริเวณภายในวัดในแต่ละฤดู สีสันเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา ถ้ามาฤดูใบไม้ร่วงก็จะเห็นแป๊ะก๊วยเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสวย ถ้ามาฤดูใบไม้ผลิก็อาจเห็นดอกยวี่หลานบาน



แบบจำลองบริเวณวัด ทำออกมาได้ดูสวยดี



ออกมาจากอาคารแล้วเดินไปทางด้านขวา



มีแผ่นหินบันทึกที่สร้างในปี 1068 สมัยราชวงศ์เหลียว มีบันทึกประวัติช่วงแรกๆของวัดนี้เอาไว้



จากตรงนี้บันไดให้ขึ้นไปอีก



แต่ก็พบว่ามันตันแค่นี้



พอมองขึ้นไปก็เห็นว่ามีอะไรบางอย่างกำลังซ่อมอยู่ นั่นคือเจดีย์ซึ่งอยู่ตรงส่วนยอดของวัดนี้ น่าเสียดายที่กำลังซ่อมแซมอยู่ก็เลยไม่มีโอกาสได้ชม



เมื่อขึ้นไปต่อไม่ได้แล้วเราก็เดินกลับลงมาจนถึงตรงหน้าบริเวณต้าสยงเป่าเตี้ยนซึ่งมีทางแยกให้เลี้ยวซ้ายไป จะเป็นลานฝั่งใต้



บริเวณนี้เป็นร้านชา มีอยู่สองฝั่ง



ฝั่งหนึ่งเป็นในอาคาร บรรยากาศดูน่านั่งดี



ส่วนอีกฝั่งเป็นลาน



ภายในลานตรงนี้มีต้นยวี่หลานอายุเก่าแก่ แต่ว่ามันหมดช่วงที่บานไปแล้วก็เลยเหลือแต่ใบเขียวธรรมดา



จากนั้นเดินย้อนกลับมาแล้วไปทางฝั่งตรงข้ามก็มีลานฝั่งเหนือ



ตรงนี้มีต้นแป๊ะก๊วยขนาดใหญ่ ถ้าหากถึงฤดูใบไม้ร่วงคงจะเหลืองสวยงามมาก



ตรงนี้ก็มีทางให้เดินขึ้น



แต่ก็มาตันตรงนี้เขาปิดก่อสร้างอยู่



เท่านี้ก็เดินจนทั่วบริเวณที่สามารถเดินได้แล้ว เหลือแค่บริเวณที่ปิดอยู่อีกเล็กน้อยที่ไม่สามารถเดินได้ แต่แค่นี้ก็เพียงพอ

จากนั้นก็เดินออกไปยังลานหน้าวัดเพื่อถามคนแถวนั้นว่าพอจะหารถรับจ้างเพื่อกลับไปยังป้ายรถเมล์เป่ย์อานเหอได้หรือเปล่า คนขายก็กลับแนะนำว่าไม่มีหรอก ให้เดินไปขึ้นที่ป้ายต้าเจวี๋ยซื่อซึ่งอยู่ใกล้กว่าดีกว่า ขึ้นรถเมล์จากตรงนั้นแม้ว่าจะต้องนั่งสองต่อแต่ก็ไม่ได้ยุ่งยากมาก



เราก็คิดว่าคงต้องอย่างนั้นแล้วล่ะ ที่จริงตอนแรกตัดสินใจนั่ง 346 มาก็เพราะไม่อยากนั่งสองต่อ แต่มันก็ทำให้ต้องเดินไกลมาก คราวนี้ขากลับไม่อยากเดินไกลก็เปลี่ยนมานั่งสองต่อละกัน คิดเช่นนั้นแล้วเราก็เดินย้อนกลับมา ขากลับนั้นเป็นการเดินลงเขาซึ่งสบายกว่าตอนมาซึ่งเดินขึ้นเขา เรารีบวิ่งลงไปตามทางลาดอย่างรวดเร็วแป๊บเดียวก็มาถึงตรงป้ายรถเมล์ต้าเจวี๋ยซื่อ



ตรงนี้มีแค่สาย 633 เท่านั้น จะกลับไปยังตัวเมืองต้องนั่งไปลงที่ป้ายเวินเฉวียน รอไม่นานรถเมล์ก็มา เรานั่งมาลงที่ป้ายเวินเฉวียน



เวินเฉวียนเป็นชื่อตำบลหนึ่งในเขตไห่เตี้ยน คำว่าเวินเฉวียนแปลว่าบ่อน้ำร้อน หรือก็คือที่ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "อนเซง" นั่นเอง (คนมักเรียกผิดเป็น "ออนเซน")

ที่เวินเฉวียนนี้มีรถเมล์หลายสายผ่าน เช่น 330 และ 346 ที่เรานั่งไปตอนแรก นอกจากนี้ก็มี 651 ซึ่งสามารถนั่งกลับเมืองได้เหมือนกันเพียงแต่มันไม่ได้ไปจอดที่สถานีเป่ย์กงย่วน แต่ไปจอดที่สถานีมหาวิทยาลัยเหรินหมิน (人民大学站)



ปรากฏว่า 651 มาก่อน ดังนั้นครั้งนี้เราจึงนั่งสายนี้กลับไปขึ้นรถไฟฟ้าที่สถานีมหาวิทยาลัยเหรินหมินเพื่อเดินทางกลับอีกที



ใช้เวลาประมาณ ๕๐ นาทีก็มาถึง แวะทานมื้อเที่ยงที่นี่ก่อนกลับ วันนี้เที่ยวแค่นี้ไม่ได้ไปไหนต่อเพราะยิ่งเข้าช่วงบ่ายอากาศก็ยิ่งร้อน เริ่มจะหมดฤดูที่สามารถเที่ยวได้อย่างสบายๆแล้ว



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ท่องเที่ยว >> ศาสนสถาน >> วัด
-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文