φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



[python] การสกัดข้อมูลจากหน้าเว็บด้วย beautifulsoup
เขียนเมื่อ 2018/03/23 00:05
แก้ไขล่าสุด 2024/02/22 09:47
ในตอนที่แล้วได้แนะนำการดึงข้อมูลจากหน้าเว็บมาแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20180320

หน้าเว็บถูกเขียนด้วย html จำเป็นต้องนำมาสกัดแยกเพื่อหาข้อมูลจากในนั้นที่เราต้องการอีกที วิธีการหนึ่งที่นิยมใช้ก็คือทำด้วยมอดูล beautifulsoup

การติดตั้งทำได้ง่ายด้วย pip
pip install beautifulsoup4

หรือ conda
conda install beautifulsoup4

เวลาจะเรียกใช้ก็ให้ import ชื่อ bs4 ปกติจะใช้อยู่แค่ออบเจ็กต์ BeautifulSoup ตัวเดียว
from bs4 import BeautifulSoup


เริ่มสกัดซุปจากเว็บ
ขอยกตัวอย่างโดยใช้หน้าเว็บที่ได้เตรียมไว้สำหรับทดสอบโดยเฉพาะ (เห็นว่าเนื้อหาเกี่ยวกับซุปก็เลยใช้หัวข้อเป็นเรื่องอาหาร)

>> https://hinaboshi.com/súpđẹp.html

โค้ด html ของหน้าเว็บนี้เป็นดังนี้
<html>
<head><meta charset="UTF-8"><title>~หน้าทดสอบซุปสวย~</title></head>
<body>
<div class="klongyai">
    <div id="huakho"><img src="https://phyblas.hinaboshi.com/rup/thema/qb.png" width="180"><br>
    <h3>ว่าด้วยเรื่องของอาหย่อย</h3></div><br><br>
    <div class="klonglek" id="wali1">
        <a href="walidet/946641382021300"><img src="rup/rupprakopwalidet/946641382021300.jpg"></a>
        <h4 class="khokhwam">"ของอร่อยแบบนี้ไม่ว่าจะฤดูไหนมันก็อร่อยอยู่ดีแหละ"</h4>
        <span class="chue kirin">#โมริโนะ คิริง</span>
    </div>
    <br><br><div id="qb">/人◕ ‿‿ ◕人\</div><br><br>
    <div class="klonglek" id="wali2">
         <a href="walidet/1793364814015615"><img src="rup/rupprakopwalidet/1793364814015615.jpg"><h4 class="khokhwam">"ต่อให้เป็นของที่อร่อยแค่ไหนหากกินทุกวันก็ต้องเบื่"</h4><span  class="chue kazuma">#อาซึมะ คาซึมะ</span></a>
    </div>
</div>
<p align="center"><a href="https://hinaboshi.com">&lt;&lt;-- รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น --&gt;&gt;</a></p>
</body>
<style>#huakho,#qb {text-align:center}
.klongyai {width:800px;; background:#F8E290; margin:50px; padding:20px}
.chue {color: #12B6A6; font-weight:bold}
h4 {font-weight:100}</style>
</html>


เริ่มจากทำการอ่านเอาเนื้อความ html โดยใช้ requests จากนั้นก็สกัดซุปออกมาจาก html
import requests
url_naweb = 'https://hinaboshi.com/súpđẹp.html'
r = requests.get(url_naweb)
r.encoding = 'utf-8' # กำหนด encoding กันปัญหาการถอดรหัสผิดแบบ
sup = BeautifulSoup(r.text,'lxml')


จะได้ sup เป็นออบเจ็กต์ชนิด bs4.BeautifulSoup ซึ่งเก็บเอาเนื้อหาโค้ด html ในหน้าเว็บนั้นทั้งหมดไว้เพื่อใช้ในการสกัดข้อมูลข้างในอีกที

lxml ในที่นี้คือชื่อชนิดของตัวถอดข้อความ ปกติที่ใช้อ่าน html ธรรมดาคือ lxml, html.parser โดยที่ lxml จะใช้งานได้ดีกว่า แต่ต้องลงมอดูล lxml เสริมจึงจะใช้ได้ หากใครยังไม่ได้ลงไว้ก็ใช้ pip ลงได้ทันที
pip install lxml

อนึ่ง sup นั้นหาก print ออกมาแล้วจะได้เป็นข้อความเหมือนกับเป็นสายอักขระ แต่ตัวมันเองก็ไม่ใช่สายอักขระธรรมดา แต่เป็นชนิดออบเจ็กต์ในคลาส bs4.BeautifulSoup ซึ่งมีความสามารถทำอะไรได้มากมาย
type(sup) # ได้ bs4.BeautifulSoup


เข้าใจโครงสร้างแท็กของ html
ขออธิบายถึงโครงสร้าง html คร่าวๆพอให้ไปต่อได้ แต่จะไม่ลงลึกเพราะไม่ได้อยู่ในขอบเขตเนื้อหา

โครงสร้างโดยทั่วไปของ html นั้นประกอบไปด้วยแท็ก (tag) ต่างๆซึ่งก็คือกรอบที่ล้อมด้วย < > โดยภายในกรอบนี้จะเริ่มจากชนิดของแท็ก เช่น a, div, h3, img เป็นต้น

แล้วก็ตามด้วยส่วนระบุค่าแอตทริบิวต์ของแท็กซึ่งจะตามด้วย = แล้วตามด้วยค่า เช่น id="huakho", class="chue", src="qb.png", href="https://hinaboshi.com" เป็นต้น

แท็กบางชนิดเป็นแบบเดี่ยว เช่นแท็ก <img>, <br> เป็นต้น แต่แท็กส่วนใหญ่จะต้องมีแท็กเปิดและแท็กปิด โดยที่แท็กปิดจะขึ้นต้นด้วยสแลช / เช่น <a></a>, <div></div>, <h3></h3> แบบนี้

ระหว่างแท็กเปิดและแท็กปิดจะมีเนื้อหาใส่อยู่ด้านใน โดยเนื้อหานั้นอาจจะประกอบไปด้วยแท็กย่อยอีกที

เช่น
<head><meta charset="UTF-8"><title>"หน้าทดสอบซุปสวย"</title></head>

แบบนี้คือในแท็ก head มีเนื้อหาเป็น
<meta charset="UTF-8"><title>หน้าทดสอบซุปสวย</title>

ส่วน
<meta charset="UTF-8">

เป็นแท็กแบบเดี่ยว ส่วน
<title>"หน้าทดสอบซุปสวย"</title>

เป็นแท็กที่มีเนื้อหาภายในคือ
"หน้าทดสอบซุปสวย"

เพื่อที่จะเห็นโครงสร้างแท็กอย่างเป็นระเบียบชัดเจนอาจใช้เมธอด .prettify()
print(sup.prettify())


จะได้อะไรแบบนี้ออกมา แท็กยิ่งอยู่ย่อยด้านในก็จะร่นไปทีละช่อง ดูแล้วเข้าใจง่าย
<html>
 <head>
  <meta charset="utf-8"/>
  <title>
   ~หน้าทดสอบซุปสวย~
  </title>
 </head>
 <body>
  <div class="klongyai">
   <div id="huakho">
    <img src="https://phyblas.hinaboshi.com/rup/thema/qb.png" width="180"/>
    <br/>
    <h3>
     ว่าด้วยเรื่องของอาหย่อย
    </h3>
   </div>
   <br/>
   <br/>
   <div class="klonglek" id="wali1">
    <a href="walidet/946641382021300">
     <img src="rup/rupprakopwalidet/946641382021300.jpg"/>
    </a>
    <h4 class="khokhwam">
     "ของอร่อยแบบนี้ไม่ว่าจะฤดูไหนมันก็อร่อยอยู่ดีแหละ"
    </h4>
    <span class="chue kirin">
     #โมริโนะ คิริง
    </span>
   </div>
   <br/>
   <br/>
   <div id="qb">
    /人◕ ‿‿ ◕人\
   </div>
   <br/>
   <br/>
   <div class="klonglek" id="wali2">
    <a href="walidet/1793364814015615">
     <img src="rup/rupprakopwalidet/1793364814015615.jpg"/>
     <h4 class="khokhwam">
      "ต่อให้เป็นของที่อร่อยแค่ไหนหากกินทุกวันก็ต้องเบื่อ"
     </h4>
     <span class="chue kazuma">
      #อาซึมะ คาซึมะ
     </span>
    </a>
   </div>
  </div>
  <p align="center">
   <a href="https://hinaboshi.com">
    &lt;&lt;-- รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น --&gt;&gt;
   </a>
  </p>
 </body>
 <style>
  #huakho,#qb {text-align:center}
.klongyai {width:800px;; background:#F8E290; margin:50px; padding:20px}
.chue {color: #12B6A6; font-weight:bold}
h4 {font-weight:100}
 </style>
</html>


ในที่นี้แท็กเดี่ยวทั้งหมดจะถูกใส่ / เพิ่มต่อท้ายก่อน > แม้ว่าเวลาเขียนโดยทั่วไปจะไม่ได้จำเป็นต้องใส่ แต่พอใส่แบบนี้ก็จะแยกแยะได้ชัดเจนว่านี่เป็นแท็กเดี่ยวที่ไม่ต้องการคู่มาเป็นตัวปิด

แท็กใหญ่สุดจะเป็น <html> เสมอ และแท็กย่อยลงมาก็มักจะประกอบด้วย <head> และ <body> แล้วข้างในก็มีแท็กย่อยลงไปอีกเรื่อยๆ



ค้นหาแท็กที่ต้องการ
เมื่อเข้าใจโครงสร้างโดยภาพรวมแล้วต่อไปก็ทำการสกัดเอาข้อมูลภายใน คำสั่งที่น่าจะถูกใช้บ่อยที่สุดก็คือ .find_all() ซึ่งใช้สำหรับหาแท็กที่ต้องการจากเนื้อหาข้างในทั้งหมด ได้ออกมาเป็นลิสต์

เช่นลองหาแท็ก img ซึ่งเป็นแท็กรูปภาพ จะได้รูปทั้งหมด
print(sup.find_all('img'))
# ได้ [<img src="https://phyblas.hinaboshi.com/rup/thema/qb.png"  width="180"/>, <img  src="rup/rupprakopwalidet/946641382021300.jpg"/>, <img  src="rup/rupprakopwalidet/1793364814015615.jpg"/>]

แต่มีวิธีเขียนที่สะดวกกว่านั้น .find_all สามารถแทนด้วยการแค่ใส่วงเล็บเรียกโดยตรงได้ เช่นแบบนี้จะมีค่าเท่าเดิม
print(sup('img'))

ดังนั้นแค่ตัด .find_all ทิ้งไป ผลที่ได้ก็เหมือนเดิม

ถ้าลองหาแท็กที่เป็นแบบมีคู่ ก็จะได้เนื้อหาที่อยู่ข้างในติดมาทั้งหมด
print(sup('h4'))
# ได้ [<h4 class="khokhwam">"ของอร่อยแบบนี้ไม่ว่าจะฤดูไหนมันก็อร่อยอยู่ดีแหละ"</h4>,  <h4  class="khokhwam">"ต่อให้เป็นของที่อร่อยแค่ไหนหากกินทุกวันก็ต้องเบื่อ"</h4>]

หากรู้ว่าแท็กที่ต้องการหานั้นมีอันเดียว หรือต้องการให้หาแค่อันเดียวก็อาจเมธอด .find จะเป็นการค้นเอาเฉพาะแท็กนั้นอันแรกที่หาเจอ เช่น
print(sup.find('a'))
#  ได้ <a href="walidet/946641382021300"><img src="rup/rupprakopwalidet/946641382021300.jpg"/></a>

หรือมีวิธีการเขียนที่สะดวกกว่านั้น ก็คือพิมพ์จุด . แล้วต่อด้วยชื่อของแท็กนั้นเลย เช่น
print(sup.a)

แบบนี้จะเหมือนกับการใช้ .find

แท็กที่ได้ออกมานี้จะอยู่ในรูปของออบเจ็กต์ในคลาส bs4.element.Tag ซึ่งคุณสมบัติก็เกือบจะเหมือนกับ bs4.BeautifulSoup คือสามารถนำมาใช้ค้นหาแท็กย่อยภายในต่อไปได้อีก เช่น
print(sup.find_all('div')[2].find('h4'))
# หรือ print(sup('div')[2].h4)
# ได้ <h4 class="khokhwam">"ของอร่อยแบบนี้ไม่ว่าจะฤดูไหนมันก็อร่อยอยู่ดีแหละ"</h4>

หากทำแบบนี้เราก็สามารถค่อยๆไล่ค้นจากแท็กใหญ่ไปแท็กย่อยจนสุดได้ เช่นแบบนี้
print(sup.html.body.div.div.h3)
# ได้ <h3>ว่าด้วยเรื่องของอาหย่อย</h3>



ค้นหาจากแอตทริบิวต์
การค้นหานั้นนอกจากจะค้นจากชนิดแท็กแล้วก็ยังหาจากค่าแอตทริบิวต์ได้ด้วย โดยใส่ชื่อแอตทริบิวต์ที่ต้องการเป็นคีย์เวิร์ดแล้วใส่ค่าที่ต้องการ
print(sup.find(align='center'))
# ได้ <p align="center"><a href="https://hinaboshi.com">&lt;&lt;--  รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น --&gt;&gt;</a></p>

หรืออาจเขียนในรูปแบบดิกใส่ในค่า attrs แบบนี้ก็ได้
print(sup.find(attrs={'align':'center'}))

เพียงแต่ว่ากรณีที่แอตทริบิวต์ที่ต้องการหานั้นเป็น class วิธีแรกจะต้องเขียนเป็น class_ เนื่องจากคำว่า class เฉยๆเป็นคำสงวนของภาษาไพธอน
print(sup.find_all(class_='khokhwam'))
# ได้ [<h4 class="khokhwam">"ของอร่อยแบบนี้ไม่ว่าจะฤดูไหนมันก็อร่อยอยู่ดีแหละ"</h4>,  <h4  class="khokhwam">"ต่อให้เป็นของที่อร่อยแค่ไหนหากกินทุกวันก็ต้องเบื่อ"</h4>]

นอกจากนี้ class ยังมีความพิเศษอีกอย่างคือสามารถมีหลายค่าในเวลาเดียวกัน โดยเมื่อค่า class มีการเว้นวรรคจะถือว่าเป็นคนละตัวแยกกัน กรณีแบบนี้ขอแค่เข้าข่ายสักตัวก็จะค้นหาเจอ เช่น
print(sup.find_all(class_='chue'))
# ได้ [<span class="chue kirin">#โมริโนะ คิริง</span>,  <span class="chue kazuma">#อาซึมะ คาซึมะ</span>]

หากจะใช้ทั้งชนิดแท็กและค่าแอตทริบิวต์เป็นเงื่อนไขพร้อมกันก็ทำได้

เช่น หาแท็ก h4 ที่เป็น class ชื่อ khokhwam
print(sup.find('h4',class_='khokhwam'))
# ได้ <h4 class="khokhwam">"ของอร่อยแบบนี้ไม่ว่าจะฤดูไหนมันก็อร่อยอยู่ดีแหละ"</h4>


ดูค่าแอตทริบิวต์ของแท็ก
การจะเอาค่าแอตทริบิวต์ต่างๆในแต่ละแท็กนั้นทำได้โดยวิธีการแบบดิกชันนารี คือพิมพ์ ['ชื่อแอตทริบิวต์'] เช่น
img1 = sup.find_all('img')[1]
print(img1)
# ได้ <img src="rup/rupprakopwalidet/946641382021300.jpg"/>
print(img1['src'])
# ได้ rup/rupprakopwalidet/946641382021300.jpg


ดูชนิดของแท็ก
สามารถดูชนิดของแท็กได้โดยพิมพ์ .name ต่อท้าย เช่น
huakho = sup.find(class_='chue')
print(huakho) # ได้ <span class="chue kirin">#โมริโนะ คิริง</span>
print(huakho.name) # ได้ span


เอาเนื้อหาภายในแท็ก
หากต้องการเอาเนื้อหาภายในของแท็กโดยไม่รวมตัวแท็กเองให้ต่อท้ายด้วย .contents
print(sup.h4)
# ได้ <h4 class="khokhwam">"ของอร่อยแบบนี้ไม่ว่าจะฤดูไหนมันก็อร่อยอยู่ดีแหละ"</h4>
print(sup.h4.contents)
# ได้ ['"ของอร่อยแบบนี้ไม่ว่าจะฤดูไหนมันก็อร่อยอยู่ดีแหละ"']


หากต้องการสกัดเอาแค่ข้อความที่อยู่ในแท็กโดยไม่เอาส่วนตัวแท็กมาด้วยให้ต่อท้ายด้วย .text เช่น
print(sup.body.text)

ได้
ว่าด้วยเรื่องของอาหย่อย


"ของอร่อยแบบนี้ไม่ว่าจะฤดูไหนมันก็อร่อยอยู่ดีแหละ"
#โมริโนะ คิริง

/人◕ ‿‿ ◕人\

"ต่อให้เป็นของที่อร่อยแค่ไหนหากกินทุกวันก็ต้องเบื่อ"#อาซึมะ คาซึมะ


<<-- รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น -->>


นอกจากนี้ยังมี .children ซึ่งคล้าย .contents แต่จะออกมาเป็นในรูปแบบของอิเทอเรเตอร์ เหมาะสำหรับใช้ในวังวน for หรือถ้าจะแสดงทั้งหมดทันทีก็แปลงเป็นลิสต์
print(sup.find(id='wali1').children)
# ได้ <list_iterator object at 0x180f38d2e8>
print(list(sup.find(id='wali1').children))
# ได้ ['\n', <a href="walidet/946641382021300"><img  src="rup/rupprakopwalidet/946641382021300.jpg"/></a>, '\n',  <h4  class="khokhwam">"ของอร่อยแบบนี้ไม่ว่าจะฤดูไหนมันก็อร่อยอยู่ดีแหละ"</h4>,  '\n', <span class="chue kirin">#โมริโนะ คิริง</span>, '\n']


แท็กลูกและแท็กพ่อแม่
.contents หรือ .children จะแสดงแค่ส่วนประกอบที่อยู่ด้านในแท็กนั้นโดยตรง แต่ถ้าเป็น .descendants จะแสดงแท็กย่อยทั้งหมดไล่เรียงไปเลย โดยจะอยู่ในรูปของเจเนอเรเตอร์
print(len(list(sup.body.children))) # ได้ 5
print(len(list(sup.body.descendants))) # ได้ 46

a = sup.find(id='wali2').a
print(a)
for d in a.descendants:
    print(d.name)

ได้
<a href="walidet/1793364814015615"><img src="rup/rupprakopwalidet/1793364814015615.jpg"/><h4  class="khokhwam">"ต่อให้เป็นของที่อร่อยแค่ไหนหากกินทุกวันก็ต้องเบื่อ"</h4><span  class="chue kazuma">#อาซึมะ คาซึมะ</span></a>
img
h4
None
span
None

ในทางกลับกันหากต้องการแสดงแท็กพ่อแม่ของแท็กนั้นๆก็ทำได้โดยเติม .parent
print(sup.body.parent.name) # ได้ html
print(sup.html.parent.name) # ได้ [document]

หรือถ้าใช้ .parents จะได้แท็กที่อยู่ขั้นสูงไล่ขึ้นไปเรื่อยๆทั้งหมด
print([p.name for p in sup.find(id='wali1').parents])
# ได้ ['div', 'body', 'html', '[document]']

นอกจากนี้ยังมี .next_sibling, .previous_sibling, .next_siblings, .previous_siblings, .next_element, .previous_element, .next_elements, .previous_elements ที่เอาไว้ดูส่วนประกอบที่อยู่ถัดไปหรือก่อนหน้า

previous_ คือหาตัวก่อนหน้า next_ คือหาตัวที่อยู่ถัดไป กลุ่ม _sibling นั้นจะหาแท็กที่เป็นชนิดเดียวกัน ส่วนกลุ่ม _element จะหาส่วนประกอบใดๆที่อยู่ในระดับชั้นเดียวกัน สำหรับพวกที่มี s ต่อท้ายจะเป็นการหาทั้งหมด ส่วนที่ไม่มี s คือหาตัวเดียว



ใช้เรกูลาร์เอ็กซ์เพรชชัน
การค้นหาภายในนี้สามารถใช้เรกูลาร์เอ็กซ์เพรชชันได้ด้วย โดยใช้คำสั่ง re.compile

เรื่องการเขียนเรกูลาร์เอ็กซ์เพรชชัน มีเขียนถึงไว้แล้ว อ่านรายละเอียดได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20160922

เช่นหาแท็กที่ชื่อชนิดมีตัว h ตามด้วยตัวเลข ได้แก่พวก h3 h4 ก็อาจเขียนแบบนี้
print(sup.find_all(re.compile(r'h\d')))
# ได้ [<h3>ว่าด้วยเรื่องของอาหย่อย</h3>, <h4 class="khokhwam">"ของอร่อยแบบนี้ไม่ว่าจะฤดูไหนมันก็อร่อยอยู่ดีแหละ"</h4>, <h4 class="khokhwam">"ต่อให้เป็นของที่อร่อยแค่ไหนหากกินทุกวันก็ต้องเบื่อ"</h4>]

หรือหาแท็กที่มี id ขึ้นต้นด้วย w
ww = sup.find_all(id=re.compile(r'w.+'))
print([w['id'] for w in ww]) # ได้ ['wali1', 'wali2']


การเขียนทับแก้ไขเนื้อหาข้างใน
ด้วยวิธีต่างๆที่กล่าวมานี้ นอกจากเราจะสามารถสืบค้นเนื้อหาได้แล้ว ยังสามารถแก้ไขเนื้อหาได้โดยตรงอีกด้วย โดยการใช้ = เพื่อป้อนค่าใหม่เข้าไปเลย ค่าที่แก้จะถูกนำไปแทนที่ทันที

แอตทริบิวต์ที่มีอยู่เขียนทับลงไปได้เลย หรือถ้าจะลบก็ใช้ del
print(sup.p)
# ได้ <p align="center"><a href="https://hinaboshi.com">&lt;&lt;-- รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น --&gt;&gt;</a></p>
sup.p['align'] = 'right'
print(sup.p)
# ได้ <p align="right"><a href="https://hinaboshi.com">&lt;&lt;-- รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น --&gt;&gt;</a></p>
del sup.p['align']
print(sup.p)
# ได้ <p><a href="https://hinaboshi.com">&lt;&lt;-- รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น --&gt;&gt;</a></p>


แอตทริบิวต์ที่ไม่มีจะใส่เพิ่มเข้าไปก็ได้
print(sup.a)
# ได้ <a href="walidet/946641382021300"><img src="rup/rupprakopwalidet/946641382021300.jpg"/></a>
sup.a['target'] = '_blank'
print(sup.a)
# ได้ <a href="walidet/946641382021300" target="_blank"><img src="rup/rupprakopwalidet/946641382021300.jpg"/></a>

สำหรับการลบแท็กให้ใช้เมธอด .unwrap() แต่ว่าเนื้อหาข้างในจะยังอยู่
print(sup.p)
# ได้ <p><a href="https://hinaboshi.com">&lt;&lt;-- รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น --&gt;&gt;</a></p>
sup.p.a.unwrap()
print(sup.p)
# ได้ <p>&lt;&lt;-- รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น --&gt;&gt;</p>

ถ้าจะลบเนื้อหาข้างในทั้งหมดก็อาจเข้าไปที่ .contents แล้วใส่ลิสต์ว่างไป ทั้งแท็กย่อยหรือข้อความก็จะหายหมด
sup.p.contents = []
print(sup.p) # ได้ <p></p>

ดังนั้นถ้าทำแบบนี้
sup.head.contents = []
sup.body.contents = []
sup.style.contents = []
print(sup)

แบบนี้หน้าเว็บของเราก็จะเหลือแต่ความว่างเปล่าแบบนี้
<html>
<head></head>
<body></body>
<style></style>
</html>


ตัวอย่างง่ายๆ
การใช้งานที่มักพบบ่อยก็คือใช้เพื่อค้นหา url ของรูปภาพที่ต้องการจากนห้าเว็บแล้วทำการโหลด

เช่นลองทำการโหลดรูปภาพสองรูปที่เป็นรูปประกอบวลีเด็ดอาจทำได้ดังนี้
url_naweb = 'https://hinaboshi.com/súpđẹp.html'
r = requests.get(url_naweb)
r.encoding = 'utf-8'
sup = BeautifulSoup(r.text,'lxml')
for klong in sup(class_='klonglek'):
    src = klong.img['src']
    chue_file = src.split('/')[-1]
    url_file = 'https://hinaboshi.com/'+src
    with open(chue_file,'wb') as f:
        f.write(requests.get(url_file).content)

ที่ควรระวังอย่างหนึ่งคือ url รูปที่อยู่ในเว็บนั้นมักจะเป็น url สัมพัทธ์สำหรับโยงภายในเว็บเพราะรูปมักจะฝากอยู่ในตัวเว็บเอง ดังนั้นต้องเติมชื่อเว็บไปข้างหน้าอีกทีจึงจะเป็น url เต็มจริงๆที่ต้องการเพื่อใช้โหลดรูป



beautifulsoup ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆอีกพอสมควร แต่ในที่นี้แค่ยกตัวอย่างการใช้งานที่ใช้บ่อยเท่านั้น สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมกว่านี้ให้อ่านในเว็บทางการเอาได้

ภาษาอังกฤษ
https://www.crummy.com/software/BeautifulSoup/bs4/doc
ภาษาจีน
http://beautifulsoup.readthedocs.io/zh_CN/stable
ภาษาญี่ปุ่น
http://kondou.com/BS4

แหล่งอ้างอิงอื่นๆ
https://qiita.com/itkr/items/513318a9b5b92bd56185
https://qiita.com/neet-AI/items/d434f3a96223c12fbdd3
https://morvanzhou.github.io/tutorials/data-manipulation/scraping/2-01-beautifulsoup-basic


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文