φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



การบันทึกและอ่านออบเจ็กต์ใน python ด้วย pickle
เขียนเมื่อ 2019/04/21 15:14
แก้ไขล่าสุด 2024/02/22 10:49
ปกติแล้วออบเจ็กต์หรือตัวแปรในไพธอนนั้นพอจบโปรแกรมก็จะถูกลบหายไป ไม่สามารถนำมาใช้ต่อได้ในโปรแกรมอื่น

เพื่อให้ออบเจ็กต์เดิมสามารถนำมาใช้ในโปรแกรมอื่นได้อาจต้องบันทึกข้อมูลในออบเจ็กต์ไว้แล้วดึงมาใช้ในโปรแกรมอื่น

สำหรับในไพธอนมีคำมอดูลที่เตรียมไว้สำหรับบันทึกข้อมูลออบเจ็กต์ลงเครื่องแล้วดึงมาใช้ใหม่ นั่นคือมอดูล pickle

pickle นั้นจริงๆมีความหมายว่าผักดอง ในที่นี้น่าจะหมายถึงว่าการเก็บออบเจ็กต์ในไพธอนไว้ในเครื่องก็เหมือนเป็นการเอาผักไปดองไว้เพื่อจะมากินภายหลัง

ออบเจ็กต์ที่จะบันทึกด้วย pickle นั้นจะเป็นออบเจ็กต์พื้นฐานในไพธอนเช่น list, tuple, dict หรือตัวแปรง่ายๆอย่างพวกจำนวนตัวเลขหรือสายอักขระก็ได้ นอกจากนี้ยังบันทึกออบเจ็กต์จากมอดูลเสริมหรือออบเจ็กต์ที่ผู้เขียนนิยามขึ้นมาเองได้ด้วย

ตัวอย่างเช่น ลองสร้างคลาสอะไรขึ้นมาสักอย่าง เช่นคลาสสำหรับเก็บข้อมูลของตู้เย็นง่ายๆอันนึง บันทึกคลาสใส่ไฟล์ไว้ ตั้งชื่อเป็น tuyen.py
#tuyen.py
class Tuyen:
    def __init__(self,yiho,khong):
        self.yiho = yiho
        self.khong = khong
    
    def __str__(self):
        return 'ตู้เย็นยี่ห้อ %s ใส่%s'%(self.yiho,'กับ'.join(self.khong))


(ภาพประกอบไม่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาแต่อย่างใด แต่เข้ากับอากาศร้อน)

จากนั้น import คลาส Tuyen นั้นมา สร้างออบเจ็กต์ขึ้นแล้วทำการบันทึกใส่ไฟล์โดยใช้คำสั่ง dump ของ pickle
from tuyen import Tuyen
import pickle

tuyen1 = Tuyen('hitachi',['ผักดอง','นมสด','เนื้อบด'])

f = open('tuyen1.pkl','wb')
pickle.dump(tuyen1,f)
f.close()


ขั้นตอนอาจดูแล้วมีความยุ่งยากเล็กน้อย คือต้องใช้คำสั่ง open เพื่อเปิดไฟล์มาด้วยโหมด 'wb' นั่นคือโหมดเขียนไฟล์ไบนารี

จากนั้นก็ใช้คำสั่ง pickle.dump กับไฟล์ที่เปิดขึ้นมา เสร็จแล้วก็ปิดไฟล์ไป

เท่านี้ก็จะได้ไฟล์ไบนารีที่เก็บข้อมูลของออบเจ็กต์มา โดยทั่วไปนิยมใช้สกุลเป็น .pkl หรือ .pickle

เนื่องจากเป็นไฟล์ไบนารี ดังนั้นจึงไม่สามารถเปิดขึ้นมาเพื่ออ่านได้โดยตรง แต่มีข้อดีคือประหยัดเนื้อที่ในการเก็บมากกว่าบันทึกเป็นไฟล์ตัวหนังสือ



จากนั้นในอีกโปรแกรมนึงก็แค่เปิดไฟล์ด้วยโหมด 'rb' คือโหมดอ่านไฟล์ไบนารี แล้วใช้คำสั่ง load เท่านี้ออบเจ็กต์ก็จะถูกดึงมาใช้ในโปรแกรมนี้ได้
import pickle

f = open('tuyen1.pkl','rb')
tuyen2 = pickle.load(f)
f.close()

print(tuyen2) # ได้ ตู้เย็นยี่ห้อ hitachi ใส่ผักดองกับนมสดกับเนื้อบด


เพื่อความสะดวกอาจสร้างเป็นฟังก์ชันไว้ใช้งานให้สั่งทีเดียวอ่านหรือเขียนไฟล์ได้เลย เช่นแบบนี้
def savepickle(obj,chue):
    with open(chue,'wb') as f:
        pickle.dump(obj,f)
        
def loadpickle(chue):
    with open(chue,'rb') as f:
        return pickle.load(f)

savepickle(tuyen1,'tuyen1.pkl') # บันทึก
tuyen3 = loadpickle('tuyen1.pkl') # เปิดอ่าน


นอกจากนี้ยังมีวิธีการเขียนอีกแบบ คือใช้ dumps กับ loads วิธีการคล้ายๆกันกับ dump และ load แต่จะต่างกันเล็กน้อย

หากเขียนฟังก์ชันสำหรับบันทึกและอ่านใหม่โดยใช้ dumps กับ loads อาจเขียนได้แบบนี้
def savepickle(obj,chue):
    with open(chue,'wb') as f:
        f.write(pickle.dumps(obj))
        
def loadpickle(chue):
    with open(chue,'rb') as f:
        return pickle.loads(f.read())


ไฟล์ที่บันทึกด้วย pickle นั้นมีไว้สำหรับใช้เปิดในไพธอนเท่านั้น เพราะเป็นออบเจ็กต์ของไพธอน จะนำไปใช้ในโปรแกรมภาษาอื่นก็ไม่ได้

และถ้าหากเป็นคลาสที่นิยามขึ้นเองภายในโปรแกรมนั้น ข้อมูลของคลาสของออบเจ็กต์นั้นไม่ได้ถูกเก็บลงในไฟล์ด้วย ดังนั้นต้องมีการนิยามคลาสนั้นขึ้นใหม่ก่อนด้วย ไม่เช่นนั้นจะอ่านออบเจ็กต์นั้นไม่ได้

หรือถ้าหากสิ่งที่บันทึกนั้นเป็นคลาสหรือออบเจ็กต์ที่นิยามในโปรแกรมนั้นๆ

เช่นลองนิยามฟังก์ชันขึ้นมาแล้วบันทึก
import pickle

def g(x):
    return x+1

print(g(1)) # ได้ 2

with open('g.pkl','wb') as f:
    pickle.dump(g,f)
จากนั้นลองเปิดไฟล์ขึ้นมาแบบนี้ ก็จะพบว่า error เพราะหา g ที่นิยามขึ้นในโปรแกรมหลักไม่เจอ
import pickle

with open('g.pkl','rb') as f:
    h = pickle.load(f) # ได้ AttributeError: Can't get attribute 'g' on <module '__main__'>
แต่ถ้าหากเรานิยามฟังก์ชั้น g ขึ้นมาใหม่ในโปรแกรมด้วย แม้จะไม่เหมือนเดิมก็ตาม จะกลายเป็นว่าโหลดได้สำเร็จ แต่ออบเจ็กต์ที่ได้มานั้นก็จะเป็นฟังก์ชันใหม่นั้น
import pickle

def g(x):
    return x+10

with open('g.pkl','rb') as f:
    h = pickle.load(f)

print(h(1)) # ได้ 11

ดังนั้น ไม่ควรใช้ pickle เพื่อเก็บคลาสหรือฟังก์ชันที่นิยามภายในโปรแกรมนั้น หรือออบเจ็กต์ของคลาสที่นิยามในโปรแกรมนั้น แต่ให้ใช้กับออบเจ็กต์ของคลาสที่ import เข้ามาจากมอดูลหรือไฟล์อื่น ไฟล์ pickle จะบันทึกไว้ว่าออบเจ็กต์นั้นเป็นออบเจ็กต์ของคลาสไหนในมอดูลไหน ดังนั้นถ้าหากว่าคลาสนั้นถูกนิยามในโปรแกรมหลัก มันก็จะไปหาคลาสชื่อนั้นในโปรแกรมนั้นเอง



อ้างอิง


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文