φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ไฟไหม้ในอาคารเรียนรวมที่สองในชิงต้าในวันไหว้พระจันทร์
เขียนเมื่อ 2019/09/18 09:12
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
เมื่อวันศุกร์ที่ 13 กันยายน 2019 ซึ่งเป็นวันหยุดเทศกาลวันไหว้พระจันทร์ (中秋節zhōng qiū jié) เรานั่งทำงานอยู่ในห้องวิจัยที่อาคารเรียนรวมที่สองของมหาวิทยาลัยชิงหัวตามปกติ

แต่ตอนหัวค่ำก็มีสัญญาณเตือนไฟไหม้ดังขึ้น ตอนแรกก็ไม่ได้ตกใจอะไรมาก เพราะที่จริงตึกนี้มีสัญญาณไฟไหม้บ่อยๆอยู่แล้ว โดยแต่ละครั้งก็ได้ยินแป๊บเดียวแล้วก็ดับไป เหมือนจะไม่มีอะไรใหญ่โต

เพราะฉะนั้นคนรอบข้างเองก็ดูจะไม่ได้มีปฏิกิริยาอะไรมากเมื่อได้ยินสัญญาณเตือนไฟไหม้ครั้งนี้

แต่ปรากฏว่าครั้งนี้เสียงสัญญาณเตือนไม่หายไปสักที ผ่านไปสักพักก็มีคนวิ่งเข้ามาในห้องบอกว่าให้รีบไปช่วยยกถังดับเพลิงลงข้างล่าง ถึงตอนนั้นก็เลยได้รู้ว่าครั้งนี้ดูเหมือนจะเป็นหนัก

พอลงมาก็พบว่าไฟไหม้ที่ห้องศิลปะชั้นหนึ่ง ดูเหมือนสาเหตุจะเกิดจากไฟลัดวงจร

ตอนที่ลงมาถึงก็เห็นรถดับเพลงมากมาย ส่วนไฟไหม้ในที่เกิดเหตุก็ดับเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้ลุกลาม




แต่กลิ่นควันไฟหึ่งไปทั่ว และทางพนักงานดับเพลิงก็ต้องขอเข้าไปตรวจที่เกิดเหตุ เขาจึงให้คนที่อยู่ในตึกออกมา ซึ่งโชคดีว่าเป็นวันหยุด คนน้อยอยู่แล้ว

พวกเราขอขึ้นไปเก็บข้าวของเอางานออกมาทำข้างนอกต่อ ระหว่างที่ขึ้นไปที่ห้อง ตอนนี้พบว่ากลิ่นควันเต็มไปหมด ยังไงก็คงไม่น่านั่งอยู่ในตึกนี้ต่อไปอยู่แล้ว

ที่จริงคืนนั้นก็กะจะนั่งห้องวิจัยจนถึงดึก แต่พอเกิดเหตุก็เลยต้องกลับไปพักไป



วันต่อมา วันเสาร์ที่ 14 กันยายน ตอนเช้ากลับมาที่ตึกก็เห็นห้องที่เกิดเหตุที่ชั้น ๑ เก็บข้าวของเรียบ แล้วก็ปิดไม่ให้เข้า ถังดับเพลิงวางอยู่หน้าห้องเต็มเลย



ส่วนผลกระทบอีกอย่างคือ ทำให้ช่วงเสาร์อาทิตย์สัญญาณเตือนไฟจะไม่ทำงานเป็นเวลา ๒ วัน ถ้าบังเอิญมีเหตุไฟไหมเกิดอีกในช่วงนี้ก็จะแย่ ต้องระวังมากขึ้น



สุดท้ายก็ผ่านไป ไม่มีอะไรมาก แต่กลิ่นควันไฟยังคงเหลือในตึกไปอีกหลายวัน แต่ก็ค่อยๆจางลงเรื่อยๆ

ภาพนี้ถ่ายเมื่อวันที่ 17 กันยายน ผ่านไป ๔ วัน ห้องศิลปะดูจะจัดการอะไรเรียบร้อยแล้ว




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文