การแทนปีต่างๆด้วยสัตว์ชนิดต่างๆ ๑๒ ชนิดนั้นเรียกว่า "ปีนักษัตร" เป็นระบบที่มีที่มาจากจีน และถูกใช้ในประเทศรอบๆทั้งในเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรวมถึงไทยด้วย
ในบทความนี้จะพูดถึงชื่อเรียกปีนักษัตรในภาษาต่างๆ โดยเน้นเรื่องทางภาษาศาสตร์และเสียงอ่านในภาษาต่างๆเป็นหลัก ไม่กล่าวถึงรายละเอียดหรือความเชื่อใดๆทั้งนั้น
ปีต่างๆและสัตว์ประจำปีเริ่มแรกขอสรุปชื่อปีนักษัตรทั้ง ๑๒ ว่ามีอะไรบ้างและแทนด้วยอักษรจีนตัวไหน ส่วนเสียงอ่านอักษรแต่ละแบบจะยกไปอธิบายในส่วนหลัง
ลำดับ |
|
ชื่อปี ในภาษาไทย |
สัตว์ |
อักษรจีน ชื่อสัตว์ |
อักษรจีน ชื่อปี |
1 |
🐭 |
ชวด |
หนู |
鼠 |
子 |
2 |
🐮 |
ฉลู |
วัว |
牛 |
丑 |
3 |
🐯 |
ขาล |
เสือ |
虎 |
寅 |
4 |
🐰 |
เถาะ |
กระต่าย |
兔 |
卯 |
5 |
🐲 |
มะโรง |
มังกร (งูใหญ่) |
龍 (龙) |
辰 |
6 |
🐍 |
มะเส็ง |
งู (งูเล็ก) |
蛇 |
巳 |
7 |
🐴 |
มะเมีย |
ม้า |
馬 (马) |
午 |
8 |
🐏 |
มะแม |
แกะ (แพะ) |
羊 |
未 |
9 |
🐵 |
วอก |
ลิง |
猴 |
申 |
10 |
🐔 |
ระกา |
ไก่ |
雞 (鸡) |
酉 |
11 |
🐶 |
จอ |
หมา |
狗 |
戌 |
12 |
🐷 |
กุน |
หมู |
豬 (猪) |
亥 |
ปีมังกรนั้นในไทยบางทีก็ถูกเรียกว่าเป็น "งูใหญ่" ในขณะที่งูถูกเรียกเป็น "งูเล็ก"
ปีแกะนั้นในบางประเทศรวมทั้งไทยถือว่าเป็นแพะ
ที่มาของชื่อจากภาษาเขมร ปีนักษัตรแต่ละปีจะแทนด้วยอักษรจีน ๑ ตัว ชื่อนี้ยังใช้ในภาษาญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม อีกด้วย โดยจะอ่านต่างๆกันออกไป
แต่สำหรับในภาษาไทยนั้นได้มีการเรียกชื่อปีต่างๆทั้ง ๑๒ นี้ตามชื่อสัตว์ในภาษาเขมรโบราณ และปัจจุบันในภาษาเขมรก็ยังเรียกชื่อปีต่างๆตามนั้นอยู่ แต่คำเหล่านี้ไม่ได้ใช้เป็นคำเรียกชื่อสัตว์ในภาษาเขมรปัจจุบันแล้ว
ตารางต่อไปนี้จะแสดงชื่อในภาษาเขมรที่กลายมาเป็นที่มาของชื่อเรียกปีต่างๆในภาษาไทย
|
ชื่อไทย |
ชื่อเขมร |
อักษรเขมร |
ถอดอักษร |
ทับศัพท์ |
IPA |
🐭 |
ชวด |
ជូត |
ชูต |
จูด |
/cuːt/ |
🐮 |
ฉลู |
ឆ្លូវ |
ฉฺลูว |
ชเลิว |
/cʰləw/ |
🐯 |
ขาล |
ខាល |
ขาล |
คาล |
/kʰaːl/ |
🐰 |
เถาะ |
ថោះ |
โถะ |
เทาะห์ |
/tʰɑh/ |
🐲 |
มะโรง |
រោង |
โรง |
โรง |
/roːŋ/ |
🐍 |
มะเส็ง |
ម្សាញ់ |
มฺสาญ่ |
มสาญ |
/msaɲ/ |
🐴 |
มะเมีย |
មមី |
มมี |
โมะมี |
/mɔ.ˈmiː/ |
🐏 |
มะแม |
មមែ |
มแม |
โมะแม |
/mɔ.ˈmɛː/ |
🐵 |
วอก |
វក |
วก |
โวก |
/ʋɔːk/ |
🐔 |
ระกา |
រកា |
รกา |
โระกา |
/rɔ.ˈkaː/ |
🐶 |
จอ |
ច |
จ |
จอ |
/cɑː/ |
🐷 |
กุน |
កុរ |
กุร |
กาว |
/kao/ |
ความสัมพันธ์กับชื่อสัตว์ในภาษาเวียดนาม ดังที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าชื่อเรียกปีนักษัตรในภาษาไทยนั้นมาจากชื่อเรียกปีนักษัตรในภาษาเขมร แต่ที่มาของชื่อนั้นเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับชื่อเรียกสัตว์ในภาษาเวียดนามโบราณ
ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าชื่อเรียกสัตว์ในภาษาเวียดนามในปัจจุบันนั้นดูคล้ายคลึงกับชื่อเรียกปีนักษัตรในภาษาเขมร ซึ่งกลายมาเป็นชื่อเรียกปีในภาษาไทย
อย่างไรก็ตาม ปกติชื่อเรียกปีนักษัตรในภาษาเวียดนามจะใช้ตามภาษาจีน ดังนั้นที่จะดูคล้ายกับชื่อปีในภาษาไทยก็คือชื่อเรียกสัตว์ต่างๆในภาษาเวียดนามที่เป็นคำเรียกโดยทั่วๆไปในชีวิตประจำวัน
ประเด็นนี้ชวนให้สับสนได้ไม่น้อย แต่สรุปคร่าวๆก็คือว่า
ชื่อสัตว์เวียดนาม ≈ ชื่อปีนักษัตรเขมร = ชื่อปีนักษัตรไทย
แต่
ชื่อปีนักษัตรเวียดนาม = ชื่อปีนักษัตรจีน
ชื่อปีที่ไปตรงกับชื่อสัตว์ในภาษาเวียดนามมีอยู่ ๖ อันดังนี้
|
ปีนักษัตร |
ชื่อปีในภาษาเขมร |
ชื่อสัตว์ในภาษาเวียดนาม |
สัตว์ |
อักษรเขมร |
ทับศัพท์ |
อักษรโรมัน |
ทับศัพท์ |
🐭 |
ชวด |
ជូត |
จูด |
chuột |
จวด |
หนู |
🐰 |
เถาะ |
ថោះ |
เทาะห์ |
thỏ |
ท่อ |
กระต่าย |
🐲 |
มะโรง |
រោង |
โรง |
rồng |
หร่ง / ส่ง |
มังกร |
🐍 |
มะเส็ง |
ម្សាញ់ |
มสาญ |
rắn |
รั้น / ซั้น |
งู |
🐔 |
ระกา |
រកា |
โระกา |
gà |
ก่า |
ไก่ |
🐶 |
จอ |
ច |
จอ |
chó |
จ๊อ |
หมา |
ดังนั้นแล้วการรู้ชื่อปีต่างๆเหล่านี้จึงเป็นตัวช่วยจำศัพท์ชื่อสัตว์ในภาษาเวียดนามไปในตัวด้วย
แต่ว่าชื่อเรียก วัว เสือ ม้า แกะ (แพะ) ลิง หมู ในภาษาเวียดนามที่ใช้ทั่วไปปัจจุบันเป็นคำที่มาต่างไปจากนี้ จึงไม่ได้นำมาเทียบในตารางนี้ด้วย
คำอ่านชื่อจีนสำเนียงต่างๆและภาษาอื่นๆ ต่อมามาดูว่าอักษรแต่ละตัวนั้นอ่านว่าอย่างไรในภาษาจีนสำเนียงต่างๆ รวมถึงในภาษาญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม ซึ่งได้เอาชื่อจีนไปใช้ด้วย
1. ชวด
子🐭
|
ทับศัพท์ไทย |
ถอดอักษร |
โรมัน |
อื่นๆ |
จีนกลาง |
จื่อ |
zǐ |
ㄗˇ |
กวางตุ้ง |
จี๋ |
zi2 |
|
ฮกเกี้ยน |
จี้ |
chí |
|
แต้จิ๋ว |
จื้อ |
ze2 |
|
ฮากกา |
จื้อ |
chṳ́ |
|
ฮกจิว |
จวี |
cṳ̄ |
|
ไหหลำ |
จี่ |
zi3 |
|
ญี่ปุ่น |
ชิ |
shi |
し |
เกาหลี |
ชา |
ja |
자 |
เวียดนาม |
ตื้อ |
tử |
|
2. ฉลู
丑🐮
|
ทับศัพท์ไทย |
ถอดอักษร |
โรมัน |
อื่นๆ |
จีนกลาง |
โฉ่ว |
chǒu |
ㄔㄡˇ |
กวางตุ้ง |
เฉา |
cau2 |
|
ฮกเกี้ยน |
ทิ่ว |
thiú |
|
แต้จิ๋ว |
ทิ่ว |
tiu2 |
|
ฮากกา |
ชู่ |
chhú |
|
ฮกจิว |
ทีว |
tiū |
|
ไหหลำ |
สิ่ว |
siu3 |
|
ญี่ปุ่น |
จู |
chū |
ちゅう |
เกาหลี |
ชุก |
chuk |
축 |
เวียดนาม |
ซื่ว |
sửu |
|
3. ขาล
寅🐯
|
ทับศัพท์ไทย |
ถอดอักษร |
โรมัน |
อื่นๆ |
จีนกลาง |
อิ๋น |
yín |
ㄧㄣˊ |
กวางตุ้ง |
หยั่น |
jan4 |
|
ฮกเกี้ยน |
อิ๋น |
în |
|
แต้จิ๋ว |
อิ๊ง |
ing5 |
|
ฮากกา |
อี่ |
yì |
|
ฮกจิว |
อิ้ง |
ìng |
|
ไหหลำ |
อิ่น |
in2 |
|
ญี่ปุ่น |
อิง |
in |
いん |
เกาหลี |
อิน |
in |
인 |
เวียดนาม |
เหยิ่น |
dần |
|
4. เถาะ
卯🐰
|
ทับศัพท์ไทย |
ถอดอักษร |
โรมัน |
อื่นๆ |
จีนกลาง |
เหม่า |
mǎo |
ㄇㄠˇ |
กวางตุ้ง |
หมาว |
maau5 |
|
ฮกเกี้ยน |
เบ้า |
báu |
|
แต้จิ๋ว |
เบ้า |
bhao2 |
|
ฮากกา |
เมา |
mâu |
|
ฮกจิว |
มาว |
māu |
|
ไหหลำ |
เหม่า |
mao3 |
|
ญี่ปุ่น |
โบว |
bō |
ばう |
เกาหลี |
มโย |
myo |
묘 |
เวียดนาม |
หมาว |
mão |
|
5. มะโรง
辰🐲
|
ทับศัพท์ไทย |
ถอดอักษร |
โรมัน |
อื่นๆ |
จีนกลาง |
เฉิน |
chén |
ㄔㄣˊ |
กวางตุ้ง |
สั่น |
san4 |
|
ฮกเกี้ยน |
สิน |
sîn |
|
แต้จิ๋ว |
ซิ้ง |
sing5 |
|
ฮากกา |
สึ่น |
sṳ̀n |
|
ฮกจิว |
ซี่ง |
sìng |
|
ไหหลำ |
ติ่น |
din2 |
|
ญี่ปุ่น |
ชิง |
shin |
しん |
เกาหลี |
ชิน |
jin |
진 |
เวียดนาม |
ถี่น |
thìn |
|
6. มะเส็ง
巳🐍
|
ทับศัพท์ไทย |
ถอดอักษร |
โรมัน |
อื่นๆ |
จีนกลาง |
ซื่อ |
sì |
ㄙˋ |
กวางตุ้ง |
จี่ |
zi6 |
|
ฮกเกี้ยน |
จี |
chī |
|
แต้จิ๋ว |
จี๋ |
zi6 |
|
ฮากกา |
ซื้อ |
sṳ |
|
ฮกจิว |
เส่ย |
sê̤ṳ |
|
ไหหลำ |
แส่ |
se5 |
|
ญี่ปุ่น |
ชิ |
shi |
し |
เกาหลี |
ซา |
sa |
사 |
เวียดนาม |
ติ |
tị |
|
7. มะเมีย
午🐴
|
ทับศัพท์ไทย |
ถอดอักษร |
โรมัน |
อื่นๆ |
จีนกลาง |
อู่ |
wǔ |
ㄨˇ |
กวางตุ้ง |
อึ๋ง |
ng5 |
|
ฮกเกี้ยน |
ง่อ |
ngó͘ |
|
แต้จิ๋ว |
โง่ว |
ngou2 |
|
ฮากกา |
อึ่ง |
ńg |
|
ฮกจิว |
งู |
ngū |
|
ไหหลำ |
หง่อว |
ngou5 |
|
ญี่ปุ่น |
โกะ |
ngo |
ご |
เกาหลี |
โอ |
o |
오 |
เวียดนาม |
เหงาะ |
ngọ |
|
8. มะแม
未🐏
|
ทับศัพท์ไทย |
ถอดอักษร |
โรมัน |
อื่นๆ |
จีนกลาง |
เว่ย์ |
wèi |
ㄨㄟˋ |
กวางตุ้ง |
เหม่ย์ |
mei6 |
|
ฮกเกี้ยน |
บี |
bī |
|
แต้จิ๋ว |
บี่ |
bhi7 |
|
ฮากกา |
วี้ |
vi |
|
ฮกจิว |
หมูย |
muôi |
|
ไหหลำ |
วี |
vi1 |
|
ญี่ปุ่น |
มิ |
mi |
み |
เกาหลี |
มี |
mi |
미 |
เวียดนาม |
หมู่ย |
mùi |
|
9. วอก
申🐵
|
ทับศัพท์ไทย |
ถอดอักษร |
โรมัน |
อื่นๆ |
จีนกลาง |
เซิน |
shēn |
ㄕㄣ |
กวางตุ้ง |
ซั้น |
san1 |
|
ฮกเกี้ยน |
ซิ้น |
sin |
|
แต้จิ๋ว |
ซิง |
sing1 |
|
ฮากกา |
ซึน |
sṳ̂n |
|
ฮกจิว |
ซิ้ง |
sĭng |
|
ไหหลำ |
ติน |
din1 |
|
ญี่ปุ่น |
ชิง |
shin |
しん |
เกาหลี |
ชิน |
sin |
신 |
เวียดนาม |
เทิน |
thân |
|
10. ระกา
酉🐔
|
ทับศัพท์ไทย |
ถอดอักษร |
โรมัน |
อื่นๆ |
จีนกลาง |
โหย่ว |
yǒu |
ㄧㄡˇ |
กวางตุ้ง |
เหยา |
jau5 |
|
ฮกเกี้ยน |
อิ้ว |
iú |
|
แต้จิ๋ว |
อิ้ว |
iu2 |
|
ฮากกา |
ยู |
yû |
|
ฮกจิว |
อี้ว |
iù |
|
ไหหลำ |
อิ่ว |
iu3 |
|
ญี่ปุ่น |
ยู |
yū |
ゆう |
เกาหลี |
ยู |
yu |
유 |
เวียดนาม |
เหยิ่ว |
dậu |
|
11. จอ
戌🐶
|
ทับศัพท์ไทย |
ถอดอักษร |
โรมัน |
อื่นๆ |
จีนกลาง |
ซวี |
xū |
ㄒㄩ |
กวางตุ้ง |
เซิ้ด |
seot1 |
|
ฮกเกี้ยน |
สุด |
sut |
|
แต้จิ๋ว |
สุก |
sug4 |
|
ฮากกา |
สุด |
sut |
|
ฮกจิว |
โสว |
sók |
|
ไหหลำ |
ตุ๊ด |
dud7 |
|
ญี่ปุ่น |
จุตสึ |
jutsu |
じゅつ |
เกาหลี |
ซุล |
sul |
술 |
เวียดนาม |
ต๊วด |
tuất |
|
12. กุน
亥🐷
|
ทับศัพท์ไทย |
ถอดอักษร |
โรมัน |
อื่นๆ |
จีนกลาง |
ไฮ่ |
hài |
ㄏㄞˋ |
กวางตุ้ง |
ห่อย |
hoi6 |
|
ฮกเกี้ยน |
ไฮ |
hāi |
|
แต้จิ๋ว |
ไห |
hai6 |
|
ฮากกา |
ฮ้อย |
hoi |
|
ฮกจิว |
หาย |
hâi |
|
ไหหลำ |
ไห่ |
hhai5 |
|
ญี่ปุ่น |
ไก |
gai |
がい |
เกาหลี |
แฮ |
hae |
해 |
เวียดนาม |
เห่ย |
hợi |
|
ชื่อภาษามองโกล มองโกลก็เป็นอีกชาติหนึ่งที่นำระบบปีนักษัตรไปใช้ และก็ไม่ได้เรียกตามในภาษาจีน แต่เรียกตามชื่อสัตว์นั้นๆในภาษามองโกลเอง
|
ปี |
ชื่อมองโกล |
อักษรมองโกล |
อักษรซีริลลิก |
ทับศัพท์ |
🐭 |
ชวด |
ᠬᠤᠯᠤᠭᠠᠨᠠ |
хулгана |
ฮลกัน |
🐮 |
ฉลู |
ᠦᠬᠡ |
үхэр |
อุเฮร์ |
🐯 |
ขาล |
ᠪᠠᠷᠰ |
бар |
บาร์ |
🐰 |
เถาะ |
ᠲᠠᠤᠯᠠᠢ |
туулай |
โทไล |
🐲 |
มะโรง |
ᠯᠤᠤ |
луу |
โล |
🐍 |
มะเส็ง |
ᠮᠣᠭᠠᠢ |
могой |
มอกอย |
🐴 |
มะเมีย |
ᠮᠣᠷᠢ |
морь |
มอร์ |
🐏 |
มะแม |
ᠬᠣᠨᠢ |
хонь |
ฮ็อน |
🐵 |
วอก |
ᠪᠡᠴᠢᠨ |
бич |
บิช |
🐔 |
ระกา |
ᠲᠠᠬᠢᠶᠠ |
тахиа |
ทาฮิอา |
🐶 |
จอ |
ᠨᠣᠬᠠᠢ |
нохой |
นอฮอย |
🐷 |
กุน |
ᠭᠠᠬᠠᠢ |
гахай |
กาไฮ |