φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



พิพิธภัณฑ์มังงะอิชิโนโมริ บนเกาะนากาเซะกลางแม่น้ำริมคิตากามิเก่าปากอ่าวอิชิโนมากิ
เขียนเมื่อ 2023/04/14 23:16
# เสาร์ 8 เม.ย. 2023

บันทึกการเที่ยวอิชิโนมากิตอนสุดท้าย ต่อจาก https://phyblas.hinaboshi.com/20230413

เป้าหมายสุดท้ายของการเที่ยวครั้งนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์มังงะอิชิโนโมริ (いし森萬画館もりまんがかん)

ที่นี่เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเกี่ยวกับผลงานของอาจารย์อิชิโนโมริ โชวตาโรว (いしもり 章太郎しょうたろう, ปี 1938-1998) นักวาดมังงะชื่อดังของญี่ปุ่น

เขามีนามสกุลจริงว่าโอโนเดระ (小野寺おのでら) ส่วนนามสกุลอิชิโนโมรินั้นมาจากชื่อบ้านเกิดของเขา คือเมืองอิชิโนโมริ (石森町いしのもりちょう) ซึ่งอยู่ตอนเหนือของจังหวัดมิยางิ แต่ปัจจุบันเมืองนี้ไม่มีอยู่แล้ว เพราะถูกยุบรวมไป ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเมืองโทเมะ (登米市とめし)

เมืองอิชิโนมากินั้นอยู่ไม่ไกลนักจากเมืองอิชิโนโมริซึ่งเป็นบ้านเกิดของเขา และสมัยเด็กเขาก็มักจะมาเข้าชมโรงละครโอกาดะ (岡田劇場おかだげきじょう) ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะนากาเซะ (中瀬なかぜ) ที่เป็นเกาะเล็กๆบนแม่น้ำคิตากามิเก่า (旧北上川きゅうきたかみがわ) ซึ่งไหลแยกทางตรงใกล้ปากอ่าวอิชิโนมากิ เลยทำให้ที่นี่กลายเป็นเหมือนบ้านหลังที่สองของเขา

ด้วยความที่เขามีความผูกพันกับเมืองนี้ โดยเฉพาะเกาะเล็กๆกลางแม่น้ำแห่งนี้ ก็เลยทำให้มีการสร้างพิพิธภัณฑ์มังงะของเขาเอาไว้ที่เกาะนี้ ใกล้กับโรงละครโอกาดะ เพื่อเป็นการระลึกถึงผลงานของเขา หลังการเสียชีวิตของเขาในปี 1998 โดยพิพิธภัณฑ์เปิดในปี 2001

อย่างไรก็ตาม ในปี 2011 เกิดคลื่นสึนามิถล่มเมืองนี้ พิพิธภัณฑ์มังงะแห่งนี้ก็ได้รับความเสียหายหนักจนต้องปิดทำการไปเป็นเวลาปีครึ่ง ส่วนโรงละครโอกาดะนั้นก็ถูกทำลายทิ้งหายไปเลย ปัจจุบันจึงไม่ได้หลงเหลืออยู่แล้ว

การที่มีพิพิธภัณฑ์มังงะตั้งอยู่ที่นี่ก็เลยทำให้นี่กลายเป็นจุดขายของเมืองนีไป ภายในเมืองนี้เลยมีภาพวาดหรือรูปปั้นของตัวละครจากผลงานของเขาอยู่มากมาย กลายเป็นตัวสนับสนุนการท่องเที่ยวของเมืองไป



หลังลงจากเขาฮิโยริมา เราก็เดินต่อไปทางเหนืออีกหน่อย



ข้ามตรงนี้ไปก็จะเป็นบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ



ริมแม่น้ำเป็นทางให้เดินเล่นริมน้ำ และมองข้ามไปก็คือเกาะนากาเซะ ซึ่งเห็นพิพิธภัณฑ์มังงะตั้งเด่นอยู่นั่นเอง



แถวนี้มีพวกร้านอาหาร




แล้วก็มีคนมาจัดแสดงงานฝีมืออยู่ด้วย




ระหว่างที่เดินเลียบริมแม่น้ำไปทางเหนือเรื่อยๆก็มองข้ามไปยังฝั่งโน้น ทิวทัศน์ตัวอาคารนี้ริมแม่น้ำช่างดูลงตัวสวยงาม



ข้ามสะพานที่เชื่อมไปยังเกาะ



แล้วก็มาถึง




ด้านหน้าทางเข้าตัวอาคาร




เข้ามาด้านใน ชั้นแรกเป็นสถานที่ขายของ มีพวกสินค้าต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานของอาจารย์มากมาย เราเดินดูผ่านๆ ไม่ได้ซื้ออะไร







นี่เป็นตู้ขายตั๋วสำหรับเข้าชมส่วนจัดแสดงในชั้น ๒ ซึ่งมีค่าเข้าชม แต่เราไม่ได้ซื้อตั๋วเข้าไป



เดินขึ้นมาตรงชั้นลอย ถ่ายภาพรวมของส่วนขายของที่ชั้น ๑




ที่ตรงนี้แสดงประวัติของอาจารย์



ตรงนี้ให้นั่งถ่ายรูปกับตัวละครได้



ตรงนี้เป็นทางไปยังชั้น ๒



ทางเดินระหว่างขึ้นไป




พอถึงชั้น ๒ ก็มีทางให้เข้าไปยังห้องจัดแสดงที่ต้องซื้อตั๋วเข้า แต่เราไม่ได้เข้า เลยเดินขึ้นต่อมาที่ชั้น ๓



ที่ชั้น ๓ มีห้องสมุดอยู่




ตรงนี้เป็นภาพวาดและลายเซ็นของนักเขียนมังงะท่านต่างๆรวบรวมอยู่



ในนี้ยังมีร้านอาหารด้วย ขายพวกของว่าง



จากนั้นกลับลงมายังชั้น ๒ มีประตูทางออกด้านหลังอยู่



เมื่อออกมาแล้วก็มาโผล่คนละด้านกับที่เข้ามาตอนแรก




มองไปเห็นส่วนทางใต้ของเกาะนี้ซึ่งเป็นสวนสาธารณะ




จากสวนทางทิศใต้ มองกลับมายังอาคารพิพิธภัณฑ์ เห็นดอกซากุระที่กำลังบานอยู่ด้วย



มีมุมให้ถ่ายอาคารคู่กับดอกซากุระได้แบบนี้ก็สวยดี



การเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์มังงะก็จบลงแล้ว จากนั้นก็ได้เวลาเดินทางกลับ โดยขากลับนั้นเราตัดสินใจกลับด้วยรถเมล์ แทนที่จะนั่งรถไฟเหมือนขามา เพราะรถเมล์มีจุดที่ให้ขึ้นได้หลายที่กว่า จะได้ไม่ต้องเดินย้อนกลับไปที่สถานีรถไฟ

ก่อนอื่นเดินข้ามสะพานย้อนกลับจากเกาะ



แล้วก็เดินไปทางตะวันตกเรื่อยๆตามถนนที่มุ่งหน้าไปยังสถานีรถไฟ ระหว่างทางเจอฝาท่อที่มีวาดรูปพิพิธภัณฑ์มังงะวางอยู่หลายฝา




ส่วนตรงนี้มีรูปปั้นคาเมนไรเดอร์ BLACK (仮面かめんライダーBLACK) ตั้งเด่นอยู่



แล้วก็เดินมาจนถึงศูนย์สุขภาพอิชิโนมากิ (石巻健康いしのまきけんこうセンター) ซึ่งเป็นที่ตั้งของป้ายรถเมล์ที่สามารถขึ้นเพื่อเดินทานกลับเซนไดได้



ป้ายรถเมล์ตั้งอยู่ตรงนี้เอง



ดูจากป้ายตารางเวลาแล้วจะเห็นว่าเที่ยวรถมีประมาณชั่วโมงละคัน



แล้วรถเมล์ก็มาตามเวลาคือ 16:35 ได้เวลาเดินทางกลับเซนได



และเนื่องจากรถเมล์สามารถลงได้หลายที่ ไม่จำเป็นต้องลงที่สถานีเซนได ครั้งนี้เราเลยเลือกลงที่สถานีโรกุโจวโนเมะ (六丁ろくちょう目駅めえき) ซึ่งเป็นสถานีรถไฟใต้ดินที่ตั้งอยู่ตอนตะวันออกของเมืองเซนได รถเมล์ต้องผ่านก่อนสถานีเซนได เห็นว่ายังไม่เคยมาก็เลยแวะสักหน่อย โดยตั้งใจจะแวะหาอะไรกินแถวนี้ก่อนแล้วค่อยนั่งรถไฟใต้ดินกลับ แล้วก็มาเจอร้านราเมงเนงิกโกะ (ラーメンねぎっこ)



เราสั่งทสึเกเมง (つけめん) ที่ร้านนีกินก่อนกลับ



กินเสร็จฟ้าก็เริ่มมืดแล้ว



หลังจากนั้นก็เข้าสถานีรถไฟใต้ดินเพื่อเดินทางกลับ



ก็เป็นอันจบสิ้นการเที่ยวในวันหนึ่งที่ยาวนาน ได้ไปเที่ยวหลายแห่งมาก โดยส่วนใหญ่แล้วคือได้ชมซากุระ ถือว่าเป็นการเที่ยวครั้งหนึ่งที่คุ้มค่ามากทีเดียว



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> มิยางิ
-- ท่องเที่ยว >> ดอกซากุระ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文