φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



พิพิธภัณฑ์กล่องดนตรีโอตารุและร้านแก้วคิตาอิจิในย่านร้านค้าถนนซาไกมาจิ
เขียนเมื่อ 2023/12/08 20:05
แก้ไขล่าสุด 2023/12/13 22:01
# ศุกร์ 24 พ.ย. 2023

หลังจากที่ตอนที่แล้วได้ไปขึ้นเขาชมทิวทัศน์และหิมะแล้วก็กลับเข้ามยังตัวเมือง https://phyblas.hinaboshi.com/20231207

เราก็กลับมาแวะพิพิธภัณฑ์กล่องดนตรีโอตารุ (小樽おたるオルゴールどう) สถานที่เที่ยวชื่อดังอีกแห่งของเมืองโอตารุ

อนึ่ง ชื่อในภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ใช้คำว่าพิพิธภัณฑ์แต่ใช้คำว่า どう ซึ่งปกติแล้วหมายถึงอาคาร แต่ว่าในเว็บของทางร้านซึ่งมีแปลภาษาไทยใช้ชื่อเรียกแบบนี้ จึงเป็นที่รู้จักทั่วไปในชื่อไทยว่าพิพิธภัณฑ์ว่าพิพิธภัณฑ์กล่องดนตรีโอตารุ ในที่นี่ก็เลยขอเรียกตามนั้นด้วย

เว็บไซต์หน้าภาษาไทยของร้าน https://www.otaru-orgel.co.jp/th

แม้จะเรียกกันว่าพิพิธภัณฑ์แต่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นร้านขายของเป็นหลัก มีส่วนจัดแสดงที่ไม่ใช่ของขายอยู่แค่นิดหน่อย โดยของที่ขายก็คือพวกกล่องดนตรีแบบต่างๆมากมาย ถือเป็นร้านขายของกล่องดนตรีที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น มีกล่องดนตรีสวยๆมากมาย แม้ว่าจะไม่ได้มีความสนใจเกี่ยวกับกล่องดนตรี ไม่ได้คิดจะซื้ออะไรก็ตาม แค่มาเดินดูกล่องดนตรีสวยๆก็ถือว่าคุ้มแล้ว อีกทั้งตัวอาคารก็ตกแต่งสวยงาม เดินชมไปเพลินๆ

ย่านที่อาคารพิพิธภัณฑ์กล่องดนตรีโอตารุตั้งอยู่นี้เรียกว่าย่านร้านค้าถนนซาไกมาจิ (堺町さかいまちどお商店街しようてんがい) ซึ่งเป็นถนนที่เต็มไปด้วยย่านร้านค้า ยาวประมาณ ๙๐๐ เมตร โดยที่นี่มีจุดเริ่มต้นมาจากร้านแก้วคิตาอิจิ (北一硝子きたいちがらす) ซึ่งเป็นผู้ผลิตแก้วชื่อดังของโอตารุ ได้มาตั้งร้านที่นี่ แล้วจากนั้นก็ได้มีร้านอื่นๆมาเปิดตามกันบนถนนสายนี้ รวมถึงพิพิธภัณฑ์กล่องดนตรีด้วย จึงกลายเป็นย่านท่องเที่ยวที่สำคัญขึ้นมา

การมาเที่ยวแถวนี้นอกจากจะชมกล่องดนตรีแล้วก็ยังได้ชมอาคารสวยๆตามถนน แวะดูร้านค้าอื่นซึ่งส่วนใหญ่ขายพวกเครื่องแก้ว



เพื่อที่จะเที่ยวที่นี่ เรามาจอดรถตรงที่จอดรถที่ข้างๆอาคารพิพิธภัณฑ์กล่องดนตรี



จากนั้นก็เดินอ้อมมาด้านหน้าทางเข้าร้าน



ที่หน้าร้านมีนาฬิกาไอน้ำที่ทำขึ้นโดยช่างชาวแคนาดา



เดินเข้าร้านทางประตูหน้า



ภายในร้านเต็มไปด้วยกล่องดนตรีสวยๆวางอยู่มากมาย ดูเพลินๆไปเรื่อยๆ










ภายในร้านมีเขียนข้อความหลายภาษาอยู่บางจุด ซึ่งรวมถึงภาษาไทยด้วย

อย่างตรงนี้มีป้ายเขียนว่าไม่ให้หยิบตุ๊กตาขึ้นมาเวลาถ่ายรูป




ตรงนี้ก็มีป้ายเตือนแบบเดียวกัน แต่มีแค่ภาษาญี่ปุ่น และภาพกล้องถ่ายรูป ถ้าดูแค่นี้แล้วไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นคนคงจะเข้าใจผิดว่าตรงนี้ห้ามถ่ายรูป ทั้งที่จริงๆที่นี่ทั้งร้านสามารถ่ายรูปได้อย่างอิสระอยู่แล้ว



จากตรงนี้มีบันไดขึ้นไปสู่ชั้น ๒



ตรงส่วนนี้ขายพวกของจุกจิก



สามารถมองลงไปเห็นด้านล่างได้




จากนั้นมาตรงส่วนห้องเล็กๆตรงกลาง เป็นที่ห้องจัดแสดงพวกกล่องดนตรีที่ทำโดยช่างชาวฮกไกโด






ส่วนห้องนี้ขายพวกของขนาดใหญ่




และตรงนี้เป็นห้องเล็กๆี่จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของกล่องดนตรี โดยไล่เรื่องราวตามปีและมีแบบจำลองประกอบด้วย





จากนั้นขึ้นไปชั้น ๓




ชั้น ๓ นี้เป็นห้องใต้หลังคามีพื้นที่เล็กนิดเดียว วางขายพวกตุ๊กตา




มีโปเกมอนและโดราเอมอนด้วย



และตรงนี้เป็นพวกตัวละครของสตูดิโอจิบลิ โทโทโร่น่ารักดี





จากนั้นก็ออกมาจากร้าน แล้วก็เดินชมย่านร้านค้าตรงนี้ต่ออีกหน่อย ระหว่างนั้นหิมะก็ยังตกลงอยู่เรื่อยๆ แถมอากาศก็เริ่มเย็นจนทำให้เริ่มจะเห็นหิมะตกตะกอนขายขึ้นมาบ้างแล้ว



ย่านตรงนี้เต็มไปด้วยร้านค้าของร้านแก้วคิตาอิจิ






เราเข้าไปดูในนี้ ซึ่งเป็นอาคารหมายเลขสามของร้านแก้วคิตาอิจิ



ในนี้มีร้านไอศกรีมซึ่งดูเหมือนจะมีชื่อเสียงมาก



ที่เห็นคนต่อแถวคิวยาวนี้ก็เพื่อเข้าไปกินในร้าน



แต่ส่วนสำคัญของอาคารนี้จริงๆไม่ใช่ร้านไอศกรีม แต่แน่นอนว่าเป็นร้านขายแก้ว เราก็เข้ามาชมในนี้สักหน่อย แม้จะไม่ได้สนใจซื้ออะไรเป็นพิเศษ





หลังจากเดินดูแป๊บเดียวก็ออกมา แล้วก็เดินกลับไปตามทางเดิน แต่ระหว่างนั้นหิมะก็ตกลงมาเรื่อยๆและเริ่มทับถมจนขาวอย่างเห็นได้ชัด







เดินกลับมาถึงด้านหน้าพิพิธภัณฑ์กล่องดนตรี ซึ่งก็เริ่มปกคลุมด้วยสีขาวโพลนแล้ว



ถ่ายภาพด้านหน้าทางเข้าประตูข้างของพิพิธภัณฑ์กล่องดนตรี ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นตอนถ่ายจึงเกิดเป็นแสงไฟเหมือนเป็นประกายสวยงามแบบนี้



แล้วก็กลับมายังที่จอดรถ ซึ่งได้จอดรถเอาไว้ รถเองก็ปกคลุมไปด้วยสีขาวเหมือนกัน




จากนั้นก็ออกรถไป ขณะนั้นเป็นเวลาสี่โมงเย็น ฟ้าเริ่มจะมืดแล้ว เราเดินทางไปยังเป้าหมายต่อไปซึ่งเป็นที่สุดท้ายที่จะแวะในวันนี้ https://phyblas.hinaboshi.com/20231209



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> ฮกไกโด
-- ท่องเที่ยว >> พิพิธภัณฑ์
-- ท่องเที่ยว >> หิมะ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文