φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



เดินย่านกินเตนโจวแถวสถานีซัชโชโนคุมะซึ่งชื่ออ่านยาก แวะกินราเมงร้านฮากาตะอิบุกิ
เขียนเมื่อ 2024/12/28 22:08
แก้ไขล่าสุด 2024/12/29 06:48
# เสาร์ 28 ธ.ค. 2024

วันนี้ก็ได้ออกไปหาร้านราเมงใหม่ในที่ที่ไม่เคยไปมาอีกแล้ว เป้าหมายคราวนี้อยู่ที่แถวสถานีซัชโชโนคุมะ (雑餉隈駅ざっしょのくまえき) ซึ่งเป็นสถานีของรถไฟสายโอมุตะของนิชิเทตสึ ซึ่งอยู่ระหว่างสถานีอิจิริกับสถานีซากุระนามิกิซึ่งเคยไปมาแล้ว และได้เคยเล่าไว้ก่อนหน้านี้

สถานีนี้มีความน่าสนใจอย่างนึงคือเป็นที่รู้จักในฐานะสถานีที่ชื่ออ่านยาก เพราะอักษร ภายในชื่อนี้ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน แทบจะพบได้แค่ในชื่อนี้เท่านั้น ทำให้คนที่ไม่ใช่คนแถวนี้หรือไม่เคยรู้มาก่อนไม่มีทางเดาได้ว่าอ่านว่าอะไรโดยดูจากแค่คันจิ

ซัชโชโนคุมะนั้นที่จริงแล้วเป็นชื่อเรียกรวมบริเวณตอนใต้ของเขตฮากาตะของเมืองฟุกุโอกะไปจนถึงตอนเหนือของของเมืองโอโนโจว (大野城市おおのじょうし) แต่ว่าสถานีซัชโชโนคุมานั้นอยู่ในส่วนของเขตฮากาตะ ถ้าเดินลงใต้ไปอีกหน่อยก็จะเจอสถานีซากุระนามิกิ แล้วผ่านไปอีกก็เป็นส่วนของเมืองโอโนโจว

สำหรับเรื่องการเดินเที่ยวแถวสถานีซากุระนามิกินั้นเล่าไว้ก่อนหน้านี้ อ่านได้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20241221

ตอนนั้นเราลงรถไฟที่สถานีซากุระนามิกิแล้วเดินไปทางตะวันออกเฉียงเหนือใต้ ไม่ได้ย้อนมาถึงสถานีซัชโชโนคุมะ ส่วนครั้งนี้เรามาเดินในบริเวณที่ครั้งก่อนไม่ได้เดิน

บริเวณทางใต้ของสถานีนี้เป็นย่านร้านค้ากินเตนโจว (銀天町商店街ぎんてんちょうしょうてんがい) ซึ่งก็เป็นย่านร้านค้าแห่งหนึ่งที่ไม่ได้ถึงกับเป็นที่เที่ยวชื่อดังที่เป็นที่รู้จักนัก แต่ก็มีร้านอาหารอยู่หลายร้านให้มาเดินแวะกินได้ นี่จึงเป็นเป้าหมายของครั้งนี้



นั่งรถไฟมาลงที่สถานีซัชโชโนคุมะ



ภายในสถานีนี้ดูแล้วใหม่และหรูกว่าที่คิดมาก ที่จริงแลัวตัวสถานีเพิ่งถูกปรับปรุงเมื่อปี 2022 นี่เองเพื่อให้ตั้งอยู่บนทางยกระดับ จากที่เดิมทีสถานีอยู่บนพื้นดิน ทำให้สถานีนี้ดูแล้วใหม่



ออกมาดูตัวอาคารสถานีจากด้านนอกก็รู้สึกได้ว่าหรูกว่าที่คิดจริงๆ



จากนั้นก็เริ่มเดินเข้าผ่านย่านร้านค้าทางใต้ของสถานี







ร้านราเมงยะโฮวริง (らーめん 鳳凛ほうりん) ดูแล้วก็น่าอร่อย แต่เห็นว่านี่เป็นร้านที่มีสาขาหลายแห่งในฟุกุโอกะ ไม่ได้กินได้แค่ที่นี่ เลยคิดว่าไว้ไปที่อื่นก็อาจมีโอกาสเจออีก เลยขอผ่านไปก่อน



เดินผ่านโดยรวมแล้วถือว่ามีร้านค้าไม่น้อย คับคั่งทีเดียว แม้จะไม่ใช่ที่ที่โดดเด่นจนน่าจะมีนักท่องเที่ยวทั่วไปแวะมา แต่ว่าก็เป็นตัวเลือกนึงสำหรับคนที่ต้องการมาเดินหาอะไรกิน




จากตรงนี้ถ้าข้ามไปฝั่งตรงข้ามก็ไม่ใช่ย่านกินเตนโจวแล้ว แต่ทางซ้ายเป็นย่านโคโตบุกิมาจิ (寿町ことぶきまち) ส่วนทางขวาเป็นย่านมินามิฮมมาจิ (南本町みなみほんまち)




ตรงกลางย่านชุมชนในมินามิฮมมาจิมีบ่อน้ำนากาโอะ (中尾池なかおいけ)



หัวมุมทางโน้นมีร้านยากินิกุ ตรงนั้นเป็นย่านไอโอยมาจิ (相生町あいおいまち)



ส่วนเป้าหมายที่เราจะไปนั้นอยู่ทางซ้ายนี้ อยู่ในบริเวณย่านโคโตบุกิมาจิ




แล้วก็มาถึงร้านราเมงที่เป็นเป้าหมาย คือร้านฮากาตะอิบุกิ (博多一吹はかたいぶき) เป็นแค่ร้านเล็กๆที่อยู่ในชั้น ๑ ของตึกแถว



ดูแล้วชั้นบนเป็นที่อยู่อาศัย ใช้ด้านล่างมาเปิดร้านแบบนี้



ภายในร้าน พื้นที่มีอยู่แค่นี้ ที่นั่งมีแต่แบบเคาน์เตอร์ซึ่งล้อมรอบบริเวณที่เจ้าของร้านยืนทำราเมงอยู่ ดูแล้วเขาทำงานอยู่คนเดียวเลย



เมนู มีทั้งราเมงและข้าว สำหรับราเมงเป็นราเมงกระดูกหมู มีให้เลือก ๓ แบบ



เราสั่งราเมงแบบคุโรทงกตสึ (くろとんこつ) ราคา ๗๕๐​ เยน อร่อยมาก คราวนี้กินหมดแล้วก็ซดน้ำซุปจนเกลี้ยงเลยด้วย โดยรวมแล้วคล้ายกับราเมงร้านฮากาตะซังกิ (博多三氣はかたさんき) ซึ่งเป็นร้านชื่อดังซึ่งเราก็ชอบและเคยไปกินมาบ่อยเหมือนกัน



กินเสร็จก็เดินกลับทางเดิมเพื่อย้อนกลับไปยังสถานี



เส้นทางกลับเลือกเดินต่างจากตอนขาไปนิดหน่อย โดยค่อนไปทางตะวันตก



จากตรงนี้ก็มองเห็นบ่อน้ำนากาโอะจากฝั่งตรงข้ามถนน



ระหว่างทางผ่านศูนย์แลกเปลี่ยนท้องถิ่นฮากาตะมินามิ ซาซันเพียฮากาตะ (博多南地域交流はかたみなみちいきこうりゅうセンター・さざんぴあ博多はかた) เป็นอาคารสำหรับจัดกิจกรรมต่างๆ อยู่ข้างๆสถานี



ส่วนข้างๆนี้ยังมีร้านปาจิงโกะ และทางซ้ายก็คือสถานีซัชโชโนคุมะแล้ว



จากด้านข้างสถานีมีทางเข้าพิเศษสำหรับใช้บัตร IC เข้าเท่านั้น เราก็ใช้บัตร SUGOCA อยู่แล้วก็เลยเข้าทางนี้เลย



ก็เป็นอันจบการเดินเล่นเรื่อยเปื่อยกินราเมงในฟุกุโอกะไปอีกวัน ขอปิดท้ายด้วยป้ายสถานีซึ่งดูแล้วชื่อสถานีนี้ช่างโดดเด่นจริงๆ




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศญี่ปุ่น >> ฟุกุโอกะ
-- ท่องเที่ยว >> ราเมง
-- ท่องเที่ยว >> รถไฟ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文