φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



manim บทที่ ๔: การจัดกลุ่มและวางวัตถุเป็นตาราง
เขียนเมื่อ 2021/03/12 00:04
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42

ต่อจาก บทที่ ๓

ในบทที่แล้วได้แสดงวิธีการสร้างและจัดวางวัตถุในเบื้องต้นไปแล้ว สำหรับบทนี้จะเป็นการนำวัตถุมาจับกลุ่มและวางเป็นตารางอย่างเป็นระบบมากขึ้น




การจัดกลุ่มวัตถุแล้วจัดเรียง

วิธีหนึ่งที่สะดวกในการใช้จัดวางวัตถุก็คือนำวัตถุมาจับกลุ่มกันโดยเป็นออบเจ็กต์ VGroup แล้วใช้เมธอดสำหรับจัดเรียง

เริ่มจากเมธอด .arrange() ใช้สำหรับจัดเรียงโดยเอาวัตถุทั้งหมดในกลุ่มมาเรียงต่อกันตามทิศที่กำหนด

ตัวอย่างการใช้
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text1 = mnm.Text('ซ้าย',color='#aaeeaa',size=3)
        text2 = mnm.Text('ขวา',color='#eeaaaa',size=4)
        vg = mnm.VGroup(text1,text2)
        vg.arrange(mnm.RIGHT)
        self.add(vg)



วัตถุที่จะนำมารวมกลุ่มใน VGroup จะมีกี่ตัวก็ได้ ซึ่งก็จะเรียงไล่ไปตามลำดับที่ใส่

ค่าที่ต้องใส่ใน .arrange() คือทิศทางการเรียง โดยค่าตั้งต้นคือ RIGHT คือจะเรียงจากซ้ายไปขวา

อีกตัวอย่าง คราวนี้ลองเปลี่ยนเป็น UP เรียงตามแนวตั้งโดยวางขึ้นไปด้านบนเรื่อยๆ
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text1 = mnm.Text('ล่าง',color='#aaeeaa',size=2.4)
        text2 = mnm.Text('กลาง',color='#eeaaaa',size=3.6)
        text3 = mnm.Text('บน',color='#aaaaee',size=4.8)
        vg = mnm.VGroup(text1,text2,text3)
        vg.arrange(mnm.UP)
        self.add(vg)






การจัดกลุ่มวัตถุที่จัดกลุ่มแล้ว

ออบเจ็กต์ที่ได้จากการจัดกลุ่มแล้วอาจนำมาจัดกลุ่มอีกรอบได้

เช่นลองจัดกลุ่มเรียงแนวตั้งแล้วค่อยรวมแนวนอน
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text1 = mnm.Text('ขวาล่าง',color='#aaeeaa',size=2.5)
        text2 = mnm.Text('ขวาบน',color='#eeaaaa',size=3.5)
        text3 = mnm.Text('ซ้าย',color='#aaaaee',size=4.5)
        vg1 = mnm.VGroup(text1,text2)
        vg1.arrange(mnm.UP)
        vg2 = mnm.VGroup(vg1,text3)
        vg2.arrange(mnm.LEFT)
        self.add(vg2)



ลองจัดแนวนอนก่อนค่อยรวมแนวตั้ง
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text1 = mnm.Text('ขวาบน',color='#aaeeaa',size=2.5)
        text2 = mnm.Text('ซ้ายบน',color='#eeaaaa',size=3.5)
        text3 = mnm.Text('ล่าง',color='#aaaaee',size=4.5)
        vg1 = mnm.VGroup(text1,text2)
        vg1.arrange(mnm.LEFT)
        vg2 = mnm.VGroup(vg1,text3)
        vg2.arrange(mnm.DOWN)
        self.add(vg2)



จัดในแนวนอน ๒​ แถว แล้วเอามารวมกันในแนวตั้งอีกที
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text1 = mnm.Text('ขวาบน',color='#aaeeaa',size=2)
        text2 = mnm.Text('กลางบน',color='#eeaaaa',size=3)
        text3 = mnm.Text('ซ้ายบน',color='#aaaaee',size=1.5)
        vg1 = mnm.VGroup(text1,text2,text3)
        vg1.arrange(mnm.LEFT)
        
        text4 = mnm.Text('ซ้ายล่าง',color='#eeeeaa',size=3.5)
        text5 = mnm.Text('ขวาล่าง',color='#aaeeee',size=2.5)
        vg2 = mnm.VGroup(text4,text5)
        vg2.arrange(mnm.RIGHT)
        vg3 = mnm.VGroup(vg1,vg2)
        vg3.arrange(mnm.DOWN)
        self.add(vg3)






การกำหนดระยะเว้นห่างในการจัดเรียง

ระยะห่างระหว่างแต่ละตัวที่นำมาจัดเรียงกำหนดได้โดยใส่คีย์เวิร์ด buff ใน .arrange()

ตัวอย่าง
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text1 = mnm.Text('ก',color='#aaeeaa',size=6)
        text2 = mnm.Text('ข',color='#eeaaaa',size=5)
        text3 = mnm.Text('ค',color='#aaaaee',size=7)
        vg = mnm.VGroup(text1,text2,text3)
        vg.arrange(mnm.RIGHT,buff=2)
        self.add(vg)






การจัดเรียงวัตถุเป็นตาราง

หากต้องการนำวัตถุมาจัดเรียงกันเป็นตารางก็ทำได้โดยใช้เมธอด .arrange_in_grid() โดยระบุจำนวนหลักแนวนอนที่คีย์เวิร์ด n_cols

ตัวอย่างเช่น
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        vg = mnm.VGroup(
            mnm.Text('ก',size=2),
            mnm.Text('ข',size=2.3),
            mnm.Text('ค',size=2.6),
            mnm.Text('ง',size=2.9),
            mnm.Text('จ',size=3.2),
            mnm.Text('ช',size=3.5),
            mnm.Text('ญ',size=3.8),
        )
        vg.arrange_in_grid(n_cols=3,buff=0.5)
        self.add(vg)



ในการเรียงนั้นปกติจะเรียงในแนวนอนให้เต็มแถวก่อนแล้วจึงไล่ไปแถวถัดไป แต่ถ้าจะให้เรียงในแนวตั้งก่อนให้ใส่ fill_rows_first=False แล้วกำหนดจำนวนแถวแนวตั้งที่คีย์เวิร์ด n_rows

ตัวอย่าง
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        vg = mnm.VGroup(
            mnm.Text('หนึ่ง',size=3),
            mnm.Text('สอง',size=3.3),
            mnm.Text('สาม',size=3.6),
            mnm.Text('สี่',size=3.9),
            mnm.Text('ห้า',size=4.2),
        )
        vg.arrange_in_grid(n_rows=2,buff=1.1,fill_rows_first=False)
        self.add(vg)



ค่าระยะห่างที่ใส่ในคีย์เวิร์ด buff นั้นเป็นการกำหนดระยะเว้นห่างทั้งในแนวตั้งและแนวนอน แต่หากต้องการให้แนวตั้งและนอนเว้นระยะต่างกันก็กำหนดแยกได้โดยใช้คีย์เวิร์ด h_buff กับ v_buff แทน

เช่น
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        vg = mnm.VGroup(
            mnm.Text('อี',size=3),
            mnm.Text('เอ้อร์',size=3),
            mnm.Text('ซาน',size=3),
            mnm.Text('ซื่อ',size=3),
            mnm.Text('อู่',size=3),
            mnm.Text('ลิ่ว',size=3),
        )
        vg.arrange_in_grid(n_cols=2,h_buff=1.5,v_buff=0.2)
        self.add(vg)






การคัดลอกวัตถุซ้ำๆทำเป็นตาราง

หากมีวัตถุตัวหนึ่งที่ต้องการสร้างให้มีหลายๆอันเอามาไล่เรียงเป็นตารางก็อาจทำได้โดยใช้เมธอด .get_grid()

ตัวอย่างการใช้
import manimlib as mnm

class Manimala(mnm.Scene):
    def construct(self):
        text = mnm.Text('๑๒',color='#aacc55')
        grid = text.get_grid(n_rows=9,n_cols=11,buff=0.5)
        self.add(grid)





อ่านบทถัดไป >> บทที่ ๕





-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> manim

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文