φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



[python] แยกแยะภาพตัวเลขที่เขียนด้วยลายมือด้วยวิธีการ k เฉลี่ย
เขียนเมื่อ 2017/12/28 21:32
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
ก่อนหน้านี้ได้ลองเขียนถึงการแยกแยะภาพตัวเลขที่เขียนด้วยลายมือในชุดข้อมูล MNIST มาก่อนแล้ว https://phyblas.hinaboshi.com/20170920

ที่ผ่านมาที่ใช้เป็นเทคนิคการเรียนรู้แบบมีผู้สอน ซึ่งก็คือมีการป้อนข้อมูลภาพตัวเลขพร้อมบอกเฉลยว่าภาพนั้นคือตัวเลขอะไร แบบนี้โปรแกรมก็จะเรียนรู้จากคำตอบที่ให้ไปแล้วหาความแตกต่างในแต่กลุ่ม

แต่คราวนี้จะลองมาใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบไม่มีผู้สอนบ้าง นั่นคือจะป้อนแต่ข้อมูลภาพไปโดยไม่บอกว่าภาพนี้เป็นตัวเลขอะไร แล้วให้ลองไปแยกแยะแบ่งภาพเป็นกลุ่มๆเอาเอง

การทำแบบนี้ย่อมยากกว่าแน่นอน เพราะหากให้โปรแกรมแบ่งภาพตัวเลขเอาเองตามธรรมชาติโดยไม่มีมนุษย์ไปกำกับบอกมันจะคิดเองได้หรือว่านี่เป็นเลข 0,1,2,3,... ตามที่เราเข้าใจ

แต่ก็มีค่าพอที่จะลอง น่าสนใจในแง่ที่ว่าธรรมชาติจะสามารถแบ่งแยกแยะตัวเลขที่มนุษย์ใช้ในชีวิตประจำวันจนชินนี้ได้เองหรือเปล่า

วิธีที่จะใช้ในครั้งนี้คือวิธีการ k เฉลี่ย ซึ่งได้อธิบายไปแล้วใน https://phyblas.hinaboshi.com/20171220

โดยจะใช้ sklearn เพื่อความสะดวกในการเขียน https://phyblas.hinaboshi.com/20171224

เราจะลองนำข้อมูลรูปภาพตัวเลขทั้ง 70000 ตัวมาป้อนให้โปรแกรมลองทำการแบ่งกลุ่มดู แล้วดูว่ามันจะแบ่งออกมาเป็นกลุ่มตามตัวเลขได้หรือไม่

หากให้นึกภาพตามก็อาจเหมือนการเอาภาพตัวเลขไปให้เด็กคนหนึ่งที่ยังไม่เคยเรียนว่าตัวเลขไหนเขียนยังไงดู แล้วก็ไม่ได้บอกเขาว่าภาพไหนเรียกว่าเป็นเลขอะไร บอกแต่ว่าให้ลองแยกภาพเหล่านี้ออกเป็น 10 กลุ่มโดยดูตามความคล้ายคลึง



ลองเขียนโค้ดสำหรับใช้วิธีการ k เฉลี่ยเพื่อแบ่งกลุ่มดู เสร็จแล้วลองสร้างเมทริกซ์ความสับสนขึ้นมาโดยเทียบกับคำตอบจริงเพื่อดูว่ามีการจัดเลขไหนไปอยู่ในกลุ่มไหนมากที่สุด (รายละเอียดเกี่ยวกับเมทริกซ์ความสับสนดูที่ https://phyblas.hinaboshi.com/20170926)
import numpy as np
import matplotlib.pyplot as plt
from sklearn.cluster import KMeans
from sklearn import datasets
from sklearn.metrics import confusion_matrix
mnist = datasets.fetch_openml('mnist_784')
X,z = mnist.data,mnist.target

np.random.seed(22)
km = KMeans(10)
km.fit(X)
zk = km.predict(X)
conma = confusion_matrix(z,zk)
print(conma)
ได้
[[ 290 1265    2    9    7 5053   39    4   72  162]
 [   8    7 4293   10   11    0    7 3526    8    7]
 [ 323  246  423 4863   78   57  216  436  201  147]
 [4581  462  449  215   45   24  193   58 1083   31]
 [   0  288  178   29 2173    9 3728  234   17  168]
 [2129 1812  155    7  215   60  432  280 1156   67]
 [  38 2068  190   53    4   71   67   45   14 4326]
 [   6   12  372   53 4399   21 2094  314   18    4]
 [1212  291  335   53  194   36  208  330 4115   51]
 [  87   31  261   19 2849   51 3462   95   87   16]]

ลองวาดระบายสีเพื่อให้เห็นชัดขึ้นได้เป็นแบบนี้



จากตารางนี้ แนวตั้งคือแบ่งคำตอบจริง ซึ่งเรียงตามตัวเลข 0-9 ส่วนแนวนอนคือแบ่งตามกลุ่มที่โปรแกรมแบ่งออกมาให้

แน่นอนว่าเมื่อไม่ได้บอกว่าภาพไหนคือตัวเลขอะไร ทั้ง 10 กลุ่มที่โปรแกรมจะแบ่งออกมาได้ก็จะไม่ได้ติดฉลากว่าเป็นตัวเลขอะไร และจะไม่ได้เรียงตามลำดับด้วย ดังนั้นจึงต้องมาตีความอีกทีว่ากลุ่มที่ได้มาเป็นตัวเลขอะไร

เราจะเห็นได้ว่าแต่ละกลุ่มที่แบ่งได้มีตัวเลขหลายตัวปนอยู่ด้วยกัน แต่ถึงอย่างนั้นก็เห็นได้ว่ามีบางตัวที่อยู่ในกลุ่มนั้นค่อนข้างมากเป็นพิเศษ แสดงให้เห็นว่าการแบ่งไม่ได้สุ่มมั่วแต่อย่างใด ตัวเลขเดียวกันย่อมมีลักษณะบางอย่างที่คล้ายกันจึงถูกจับอยู่กลุ่มเดียวกันได้ง่าย

ลองหาว่าแต่ละกลุ่มมีตัวเลขไหนมากที่สุดได้ดังนี้
print(np.argsort(conma,0)[-1])

จะเห็นว่ากลุ่มที่มีตัวเลข 1 และ 6 นั้นมีอยู่ถึง ๒ กลุ่ม แต่ไม่มีกลุ่มไหนมีเลข 5 และ 9 มากสุดเลย ซึ่งลองดูจากตารางข้างต้นจะเห็นว่าเลข 5 ถูกปนอยู่ในกลุ่มที่เป็นเลข 3 และ 6 ซะมาก ส่วนเลข 9 ปนอยู่กับเลข 4

ผลที่ได้นี้จะต่างกันไปเพราะภายในขั้นตอนของวิธีการ k เฉลี่ยนั้นมีการสุ่มอยู่ในตัว แต่โดยรวมแล้วก็จะไม่ต่างไปจากนี้มาก

จากผลที่ได้เป็นแบบนี้จึงเห็นได้ว่ายากที่จะโปรแกรมจะแบ่งกลุ่มตัวเลขในแบบที่มนุษย์รับรู้ได้เองโดยสมบูรณ์โดยไม่มีการบอกอะไร โดยเฉพาะตัวเลขที่ดูเผินๆแล้วเหมือนจะคล้ายกัน

ลองดูว่าเลข 1 ที่ถูกแบ่งไปยัง ๒ กลุ่มนี้มีความต่างกันยังไง
plt.figure(figsize=[4,8])
for i in range(8):
    plt.subplot(8,2,1+i*2,xticks=[],yticks=[])
    plt.imshow(X[(z==1)&(zk==2)][i].reshape(28,28),cmap='binary')
    plt.subplot(8,2,2+i*2,xticks=[],yticks=[])
    plt.imshow(X[(z==1)&(zk==7)][i].reshape(28,28),cmap='binary')
plt.show()



อย่างนี้นี่เอง กลุ่มแรกตั้งตรง กลุ่มหลังเฉียงๆ ดังนั้นจึงถูกมองว่าเป็นคนละกลุ่มกัน

ลองเทียบเลข 5 กลุ่มที่ถูกจับไปอยู่กับ 3 แล้วก็ที่ถูกไปรวมกับ 6 ดู
plt.figure(figsize=[4,8])
for i in range(8):
    plt.subplot(8,4,1+i*4,xticks=[],yticks=[])
    plt.imshow(X[(z==5)&(zk==0)][i].reshape(28,28),cmap='Reds')
    plt.subplot(8,4,2+i*4,xticks=[],yticks=[])
    plt.imshow(X[(z==3)&(zk==0)][i].reshape(28,28),cmap='Reds')
    plt.subplot(8,4,3+i*4,xticks=[],yticks=[])
    plt.imshow(X[(z==5)&(zk==1)][i].reshape(28,28),cmap='Greens')
    plt.subplot(8,4,4+i*4,xticks=[],yticks=[])
    plt.imshow(X[(z==6)&(zk==1)][i].reshape(28,28),cmap='Greens')
plt.show()



ก็จะเห็นว่า 5 ฝั่งซ้ายคล้ายเลข 3 ส่วนฝั่งขวาดูคล้ายเลข 6



การจะให้แยกตัวเลขทั้ง ๑๐​ เป็น ๑๐ กลุ่มพอดีนั้นดูจะยากไป ลองเปลี่ยนโจทย์ใหม่เป็นแยกระหว่างเลข 0 กับ 1 ดู โดยคัดเอาเฉพาะภาพที่เป็นเลข 0 กับ 1 จากนั้นใช้ k เฉลี่ยเพื่อแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม แล้วก็ลองดูเมทริกซ์ความสับสนอีกที
X01 = X[z<2]
z01 = z[z<2]
np.random.seed(23)
km = KMeans(2)
km.fit(X01)
zk01 = km.predict(X01)
print(confusion_matrix(z01,zk01))

ได้
[[ 126 6777]
 [7871    6]]

ในที่นี้เลข 1 อยู่กลุ่ม 0 แต่เลข 0 อยู่กลุ่ม 1 ถึงจะสลับกันแต่ก็ไม่เกี่ยวเพราะลำดับกลุ่มไม่สำคัญ ที่สำคัญคือจะเห็นได้ว่า ๒ กลุ่มแยกกันชัดเจน

จะเห็นได้ว่าถ้าแค่แบ่ง 0 กับ 1 ออกจากกันละก็ ไม่ต้องมีใครมาบอกว่า 0 กับ 1 ต่างกันยังไง เพราะเป็นเลขที่ต่างกันค่อนข้างชัด

แต่ถ้าลองให้แยกระหว่าง 4 กับ 9 ดู
_49 = (z==4)|(z==9)
X49 = X[_49]
z49 = (z[_49]==4).astype(int)
np.random.seed(24)
km = KMeans(2)
km.fit(X49)
zk49 = km.predict(X49)
print(confusion_matrix(z49,zk49))

ได้
[[4003 2955]
 [3569 3255]]

ผลที่ได้จะปะปนกัน แสดงแสดงว่า 4 กับ 9 นั้นดูแล้วคล้ายกันมาก ธรรมชาติแยกแยะความต่างของรูปร่างเอาเองได้ยาก


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> ปัญญาประดิษฐ์
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> matplotlib

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文