φυβλαςのβλογ
phyblasのブログ



ความน่าจะเป็นเบื้องต้นสำหรับเขียนโปรแกรม บทที่ ๑๕: การแจกแจงความน่าจะเป็นภายหลังของพารามิเตอร์จากความน่าจะเป็นก่อนหน้าสังยุค
เขียนเมื่อ 2020/09/05 20:50
แก้ไขล่าสุด 2024/10/03 19:38

ต่อจาก บทที่ ๑๔

ในบทนี้จะเป็นเรื่องของการหาพารามิเตอร์ของการแจกแจงเช่นเดียวกับในบทที่แล้ว วิธีการต่อยอดจากเรื่องการหาค่าความควรจะเป็น โดยมีการนำทฤษฎีบทของเบส์มาใช้




การแจกแจงความน่าจะเป็นของพารามิเตอร์ของการแจกแจงแบบต่างๆตามทฤษฎีบทของเบส์

ในบทที่ ๓ ได้เริ่มพูดถึงหลักวิธีคิดแบบเบส์และสมการของทฤษฎีบทของเบส์ไว้ว่าความน่าจะเป็นเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปโดยขึ้นกับข้อมูลที่มี

โดยความน่าจะเป็นก่อนจะได้ข้อมูลใหม่มาเรียกว่าเป็น ความน่าจะเป็นก่อนหน้า (先验概率, prior probability) ความน่าจะเป็นหลังจากได้ข้อมูลใหม่มาเรียกว่าเป็น ความน่าจะเป็นภายหลัง (后验概率, posterior probability)

ทฤษฎีบทของเบส์มักอธิบายด้วยสมการนี้


สำหรับในบทนี้เราจะนำทฤษฎีบทของเบส์มาใช้พิจารณาการแจกแจงความน่าจะเป็นของค่าพารามิเตอร์ที่ไม่แน่ใจค่า โดยพิจารณาจากข้อมูลที่มีอยู่ แบบนี้ A ในที่นี้จะแทนค่าพารามิเตอร์ ส่วน B จะแทนข้อมูลที่ได้มาใหม่

ดังที่ได้กล่าวถึงไปในบทที่ ๑๔ เมื่อมีเหตุการณ์บางอย่างซึ่งมีการแจกแจงความน่าจะเป็นที่ไม่แน่ใจว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร และต้องการจะคาดการณ์โดยดูจากข้อมูลที่ทำการทดลอง สามารถทำได้โดยคำนวณฟังก์ชันควรจะเป็น (似然函数, likelihood function)

เพียงแต่ว่าวิธีนั้นเป็นแค่การตัดสินจากข้อมูลที่มีอยู่ตรงหน้าขณะนั้น โดยถือว่าทุกค่ามีความน่าจะเป็นเริ่มต้นเหมือนกันหมด

แต่ในความเป็นจริงแล้ว ถ้าเรามีข้อมูลอะไรบางอย่างมาก่อน เช่นได้มาจากการทำการทดลองก่อนหน้า ทำให้เรามีความน่าจะเป็นก่อนหน้าอยู่ เมื่อใช้หลักวิธีคิดแบบเบส์แล้วเราสามารถเอาผลก่อนหน้ามารวมกับผลที่ได้มาใหม่ เพื่อให้ได้ความน่าจะเป็นภายหลังของค่าของพารามิเตอร์นั้นที่ขึ้นกับความน่าจะเป็นก่อนหน้า

ให้ p เป็นพารามิเตอร์ของการแจกแจงที่กำลังพิจารณา และ x คือข้อมูลที่ได้มา ตามทฤษฎีบทของเบส์จะได้ว่า


โดย P(p) คือความน่าจะเป็นก่อนหน้าของค่าพารามิเตอร์ ซึ่งอาจได้จากข้อมูลที่มีมาก่อนหน้านี้ ส่วน P(x|p) คือค่าควรจะเป็นของการทดลองที่ทำใหม่

ส่วน P(x) คือความน่าจะเป็นที่จะเกิดผลดังที่เป็นอยู่นี้โดยรวมทั้งหมดโดยรวมทุกกรณีไม่ว่า p จะเป็นเท่าใด ในที่นี้เป้าหมายของเราคือหาค่าพารามิเตอร์ p แต่ค่าตัวนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับพารามิเตอร์ p ดังนั้นเรามักจะไม่ต้องคำนวณค่านี้โดยตรง ค่านี้เป็นแค่ตัวหารที่เอาไว้หารแล้วทำให้การแจกแจงความน่าจะเป็นภายหลัง P(p|x) รวมแล้วเป็น 1

เมื่อพิจารณาผลคูณของความน่าจะเป็นก่อนหน้า P(p) และค่าควรจะเป็น P(x|p) ที่ได้มาใหม่ก็จะได้การแจกแจง ก็จะได้ P(p|x) คือการแจกแจงภายหลังของค่าพารามิเตอร์

เพื่อให้เห็นภาพ ต่อไปจะเริ่มยกตัวอย่างโดยใช้วิธีนี้เข้ากับการแจกแจงแบบต่างๆ




การแจกแจงความน่าจะเป็นของพารามิเตอร์ของการแจกแจงทวินาม

ขอเริ่มยกตัวอย่างจากการแจกแจงที่มีรูปแบบง่ายที่สุด คือการแจกแจงทวินาม ซึ่งได้แนะนำไปในบทที่ ๕

ในที่นี้ขอเขียนแทนฟังก์ชันแจกแจงทวินามด้วย แบบนี้


โดย k คือค่าสุ่มที่จะได้จากการแจกแจง p คือพารามิเตอร์ความน่าจะเป็นที่การทดลองจะสำเร็จ ส่วน n คือจำนวนครั้งที่ทำการทดลอง

ในที่นี้จะขอแทน C(n,k) ด้วย ค่าคงที่ครอบจักรวาล (ก็คือตัว C ที่เขียนให้โค้งเว้าสวยกว่าปกติ) ซึ่งจะให้ใช้แทนค่าที่เราไม่จำเป็นต้องสนใจในการคำนวณขณะนั้น อาจเป็นเท่าใดก็ได้ขึ้นอยู่กับแต่ละสมการ


อนึ่ง ที่จริง n (จำนวนครั้งที่ทำการทดลอง) ก็เป็นพารามิเตอร์อีกตัวของการแจกแจงแบบทวินาม แต่ในที่นี้จะสนใจแค่ p โดยถือว่า n มีค่าแน่นอนอยู่แล้ว คือเรารู้ชัดว่าได้ทำการทดลองไปกี่ครั้ง (หากจะมองกรณีที่ n ไม่ทราบค่าก็จะได้การแจกแจงแบบเรขาคณิตดังที่เขียนในบทที่ ๒)

พิจารณาค่า p จากทฤษฎีบทของเบส์


เช่นเดียวกับบทที่แล้ว ในบทนี้ก็จะใช้ (ตัว P ที่เขียนให้ดูสวยขึ้น) เพื่อแทนความหนาแน่นของความน่าจะเป็นของค่าแบบต่อเนื่อง ในกรณีการแจกแจงทวินามนั้น ค่าแจกแจงคือ k เป็นค่าแบบไม่ต่อเนื่อง แต่พารามิเตอร์ p เป็นค่าใดๆตั้งแต่ 0 ถึง 1 ดังนั้นในที่นี้จึงเป็นค่าความหนาแน่นของความน่าจะเป็น ไม่ใช่ตัวค่าความน่าจะเป็น แต่ไม่ว่ากรณีไหนก็ใช้ทฤษฎีบทของเบส์ได้ แค่ต้องอย่าลืมว่าตัวไหนเป็นค่าแบบต่อเนื่องหรือค่าแบบไม่ต่อเนื่อง

P(k) เป็นค่าคงตัวที่ไม่ได้เกี่ยวกับพารามิเตอร์ p ที่พิจารณาอยู่จึงให้เข้าไปอยู่กับค่าคงที่ครอบจักรวาลด้วย


ความน่าจะเป็นก่อนหน้า เมื่อไม่มีข้อมูลใดๆมาก่อน ง่ายที่สุดคือให้เป็นค่าคงที่

ในบทที่ ๑๑ ได้เขียนถึงเรื่องการแจกแจงเบตา และได้พูดถึงว่าพารามิเตอร์ความน่าจะเป็น p ของการแจกแจงความหนาแน่นของความน่าจะเป็นมักจะมีการแจกแจงเป็นแบบเบตา

และการแจกแจงแบบคงตัวเป็นค่า 1 ในช่วง p ϵ (0,1) ก็เป็นการแจกแจงเบตาแบบหนึ่ง

ในที่นี้จะเขียนฟังก์ชันเบตาแทนด้วย แบบนี้


ในการเขียนแบบนี้ตัวที่อยู่ทางซ้ายของ | จะเขียนตัวแปรที่ต้องการแจกแจง ส่วนทางขวาของ | จะใส่พารามิเตอร์ของการแจกแจงนั้น

โดยในที่นี้ตัวแปรที่ต้องการแจกแจงคือ p ซึ่งพารามิเตอร์ความน่าจะเป็นของการแจกแจงทวินาม ส่วน α,β เป็นพารามิเตอร์ของการแจกแจงเบตา

ในการแจกแจงทวินาม p เป็นพารามิเตอร์ แต่ในการแจกแจงเบตานี้ p เป็นตัวแปรที่จะแจกแจง

ส่วน B(α,β) คือฟังก์ชันเบตา ซึ่งเป็นแค่ค่าคงที่ซึ่งไม่เกี่ยวกับค่า p สามารถที่จะไม่ต้องสนใจก็ได้ในที่นี้ ดังนั้นจะขอละไว้แล้วรวมเข้ากับส่วนของค่าคงที่ครอบจักรวาล


เมื่อ α=1,β=1 จะกลายเป็นการแจกแจงแบบคงตัวที่มีค่าเป็น 1 ตลอดตั้งแต่ p เป็น 0 ถึง 1 ในที่นี้จะใช้เป็นการแจกแจงความน่าจะเป็นก่อนหน้า


ให้ k1 และ n1 เป็นจำนวนครั้งที่สำเร็จกับจำนวนครั้งที่ทำทั้งหมดของการทดลองครั้งหนึ่ง ค่าควรจะเป็นของการทดลองนี้จะได้เป็น


ความน่าจะเป็นภายหลังของการทดลองนี้คำนวณได้จากทฤษฎีบทของเบส์ดังนี้


โดยในที่นี้ให้ความน่าจะเป็นก่อนหน้า จะได้ว่า


ในที่นี้เมื่อมองว่า p เป็นตัวแปรที่พิจารณาการแจกแจง ก็จะเห็นว่ารูปแบบการแจกแจงของ p นั้นเป็นการแจกแจงเบตา โดยที่ α=1+k1 และ β=1+n1-k1


ดังนั้นจะเห็นว่าทั้งการแจกแจงก่อนหน้าและภายหลังต่างก็เป็นฟังก์ชันเบตา

จากนั้นถ้ามีข้อมูลเพิ่มเข้ามาอีก ความน่าจะเป็นภายหลัง ก็จะกลายเป็นความน่าจะเป็นก่อนหน้าของการทดลองใหม่นี้


ค่าควรจะเป็นของการทดลองรอบนี้ก็คิดได้เช่นเดียวกับรอบแรก


แล้วก็จะผลการแจกแจงภายหลังได้เป็นฟังก์ชันเบตาเช่นเดียวกัน


ถึงตรงนี้น่าจะมองออกได้แล้วว่าถ้ามีตัวที่ 3 เข้ามาอีกก็จะได้ว่า


และถ้ามีข้อมูลใหม่เข้ามาเรื่อยๆก็จะได้ว่า


ก็จะเห็นได้ว่าสำหรับการแจกแจงทวินามนั้นเมื่อเริ่มการแจกแจงเป็นฟังก์ชันเบตาแล้วพอทำการทดลองซ้ำอีกไม่ว่าจะกี่ครั้งก็จะได้ความน่าจะเป็นภายหลังของพารามิเตอร์ p เป็นการแจกแจงเบตา

ฟังก์ชันการแจกแจงเริ่มต้นอาจจะไม่ใช่ที่ α=1,β=1 แต่ให้เป็นฟังก์ชันเบตาใดๆ โดยเริ่มต้นที่ α00 ซึ่งมากกว่า 1


ในกรณีแบบนี้ เมื่อได้ข้อมูลมาใหม่ก็จะเอามารวมกับ α00 เดิม


เพื่อความเข้าใจ ต่อมาเรามาลองเขียนโปรแกรมจำลองเหตุการณ์ โดยให้ p จริงๆของเหตุการณ์เป็น 0.4 แล้วทำการสุ่มไปเรื่อยๆดูว่าการแจกแจงความน่าจะเป็นของค่า p เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
import random,math

def beta(x,α,β):
    return x**(α-1)*(1-x)**(β-1)/(math.factorial(α-1)*math.factorial(β-1)/math.factorial(α+β-1))

p = 0.4
α0 = 1 # α ตั้งต้น
β0 = 1 # β ตั้งต้น
k = 0 # จำนวนครั้งรวมที่สำเร็จ
n = 0 # จำนวนครั้งรวมที่ทำ
for i in range(21):
    α = k+α0
    β = n-k+β0
    Pp04 = beta(0.4,α,β) # P(p=0.4)
    Pp05 = beta(0.5,α,β) # P(p=0.5)
    print('n=%d, α=%.d, β=%.d, P(p=0.4)=%.3f, P(p=0.5)=%.3f'%(n,α,β,Pp04,Pp05))
        
    n += 10
    for j in range(10):
        # สุ่มดูว่าจะสำเร็จกี่ครั้ง
        if(random.random()<p):
            k += 1

ผลที่ได้
n=0, α=1, β=1, P(p=0.4)=1.000, P(p=0.5)=1.000
n=10, α=5, β=7, P(p=0.4)=2.759, P(p=0.5)=2.256
n=20, α=8, β=14, P(p=0.4)=3.484, P(p=0.5)=1.553
n=30, α=13, β=19, P(p=0.4)=4.569, P(p=0.5)=2.497
n=40, α=19, β=23, P(p=0.4)=4.205, P(p=0.5)=4.228
n=50, α=21, β=31, P(p=0.4)=5.842, P(p=0.5)=2.135
n=60, α=24, β=38, P(p=0.4)=6.212, P(p=0.5)=1.237
n=70, α=27, β=45, P(p=0.4)=6.190, P(p=0.5)=0.672
n=80, α=31, β=51, P(p=0.4)=6.696, P(p=0.5)=0.594
n=90, α=33, β=59, P(p=0.4)=5.474, P(p=0.5)=0.177
n=100, α=34, β=68, P(p=0.4)=3.005, P(p=0.5)=0.023
n=110, α=38, β=74, P(p=0.4)=3.455, P(p=0.5)=0.022
n=120, α=41, β=81, P(p=0.4)=2.994, P(p=0.5)=0.010
n=130, α=47, β=85, P(p=0.4)=5.327, P(p=0.5)=0.034
n=140, α=53, β=89, P(p=0.4)=7.723, P(p=0.5)=0.091
n=150, α=58, β=94, P(p=0.4)=8.920, P(p=0.5)=0.129
n=160, α=63, β=99, P(p=0.4)=9.876, P(p=0.5)=0.175
n=170, α=68, β=104, P(p=0.4)=10.560, P(p=0.5)=0.230
n=180, α=72, β=110, P(p=0.4)=10.869, P(p=0.5)=0.193
n=190, α=74, β=118, P(p=0.4)=10.278, P(p=0.5)=0.066
n=200, α=80, β=122, P(p=0.4)=11.463, P(p=0.5)=0.136

ยิ่งทดลองไปความน่าจะเป็นก็จะมากองกันอยู่ที่ p=0.4 ซึ่งเป็นค่าจริงๆของการทดลองนี้ ทำให้มั่นใจได้มากขึ้น

หากนำมาวาดกราฟทำเป็นภาพเคลื่อนไหวก็จะได้แบบนี้



หากเปลี่ยนค่าเริ่มต้นเป็น α1=10, β1=10 ซึ่งหมายความว่าเริ่มจากการที่คิดว่าโอกาสสำเร็จมีสูงมาก จะได้กราฟออกมามีแนวโน้มไปทางขวาในตอนแรก แต่ยิ่งทดลองไปก็จะค่อยๆลู่เข้ามาจนอยู่ที่ 0.4 ได้ แม้จะช้าสักหน่อย



หลักการของเบส์นั้นให้ความสำคัญกับการแจกแจงเริ่มต้นซึ่งได้จากข้อมูลที่มีมาก่อนหน้า ดังนั้นการแจกแจงเริ่มต้นมีความสำคัญมาก แต่หากยิ่งทำซ้ำไปเรื่อยๆผลของการแจกแจงก่อนหน้าก็จะยิ่งจืดจางลงเรื่อยๆ




การแจกแจงความน่าจะเป็นของพารามิเตอร์ของการแจกแจงแบบปกติ

ตัวอย่างต่อมาคือการแจกแจงแบบปกติ ซึ่งเป็นการแจกแจงแบบต่อเนื่องที่ใช้บ่อยที่สุด

ในที่นี้จะเขียนการแจกแจงแบบปกติด้วย แบบนี้


การแจกแจงแบบปกติมีพารามิเตอร์ 2 ตัวคือจุดกึ่งกลาง μ และความแปรปรวน σ2

ในที่นี้จะขอพิจารณาแค่การแจกแจง μ ก่อน โดยถือว่า σ2 มีค่าที่รู้แน่นอนอยู่แล้ว เมื่อใช้ทฤษฎีบทของเบส์จะเขียนได้เป็น


ในที่นี้ก็แทน เป็นค่าคงที่ครอบจักรวาลอีกเช่นเคย

การแจกแจงความน่าจะเป็นก่อนหน้านั้นเมื่อไม่มีข้อมูลอะไรมาก่อนก็อาจให้เป็นค่าคงที่แบบนี้


μ จะเป็นค่าอะไรก็ได้ตั้งแต่ -∞ ถึง ∞ ดังนั้นค่าคงที่ ในที่นี้ก็คือเป็นค่าเล็กๆเข้าใกล้ 0

หากสุ่มข้อมูลใหม่มาตัวหนึ่ง ได้เป็น x1 ค่าควรจะเป็นของการทดลองนี้คือ


การแจกแจงความน่าจะเป็นภายหลังหลังจากได้ข้อมูล x1 มาจะได้เป็น


ถ้ามองดูแล้วการแจกแจงของ μ ในที่นี้ก็เป็นการแจกแจงแบบปกติเช่นเดียวกับ x อาจเขียนได้เป็น


ในที่นี้ดูเผินๆก็เป็นการแจกแจงแบบปกติเหมือนการแจกแจงของ x แต่ต่างกันตรงที่ในนี้ตัวแปรที่แจกแจงคือ μ ไม่ใช่ x

หากมีข้อมูลใหม่ก็พิจารณาค่าควรจะเป็นของตัวใหม่เพิ่มเข้ามาอีกก็เอาความน่าจะเป็นภายหลังที่ได้นี้มาเป็นความน่าจะเป็นก่อนหน้าแล้วก็คำนวณความน่าจะเป็นภายหลังต่อไปอีก


ซึ่งข้อมูลใหม่นี้ ก็ย่อมเป็นการแจกแจงปกติเหมือนเดิม ค่าควรจะเป็นจึงเป็น


เมื่อนำผลมาต่อกัน ก็จะพบว่าผลที่ได้นั้นยังคงเขียนในรูปของการแจกแจงปกติได้อยู่


และถ้ามีข้อมูลที่ได้จากการทดลอง n ตั้ง ก็จะได้การแจกแจงความน่าจะเป็นของ μ เป็นดังนี้


ในกรณีที่มีการแจกแจงความน่าจะเป็นก่อนหน้าอยู่ตั้งแต่เริ่มต้นแล้ว และการแจกแจงนั้นเป็นการแจกแจงแบบปกติ


ในที่นี้ห้อยตัว μ ไว้หมายถึงเป็นการแจกแจงของ μ โดย μμ และ คือจุดกึ่งกลางและความแปรปรวนของการแจกแจงของค่า μ

ซึ่งจะเห็นว่าถ้า μμ = 0 และ σμ → ∞ แล้ว ดังนั้นกรณีข้างต้นที่กำหนดความน่าจะเป็นก่อนหน้าเป็นค่าคงที่นั่นก็คือเหมือนเป็นการแจกแจงแบบปกติซึ่ง μμ = 0 และ σμ → ∞ นั่นเอง

ในกรณีทั่วไปที่ความน่าจะเป็นก่อนหน้าของ μ เป็นการการแจกแจงแบบปกติอยู่แล้ว เมื่อมีข้อมูล x1 เข้ามา ความน่าจะเป็นภายหลังก็จะคำนวณได้เป็น


ในที่นี้ไม่ได้พิสูจน์ให้ดูเพราะค่อนข้างยุ่ง แต่โดยสรุปแล้วก็คือถ้าเริ่มต้นความน่าจะเป็นก่อนหน้าของ μ ด้วยการแจกแจงแบบปกติ ก็จะได้ความน่าจะเป็นภายหลังของ μ ที่เป็นการแจกแจงแบบปกติ

ถ้ามีข้อมูล n ตัวก็จะได้ว่า




ลองดูตัวอย่างการเขียนโปรแกรมจำลองการสุ่มจริง โดยให้การแจกแจงของ x เป็น μ=12 และ σ=3 โดยมีการแจกแจงความน่าจะเป็นก่อนหน้าของ μ ซึ่ง μμ=20 และ σμ=8
μ = 12 # μ จริงๆของการแจกแจง
σ = 3 # σ จริงๆของการแจกแจง
μ_μ0 = 20 # μ_μ ตั้งต้น
σ_μ0 = 8 # σ_μ ตั้งต้น
x = [] # ลิสต์เก็บค่าที่สุ่มได้ทั้งหมด
n = 0
for i in range(11):
    # คำนวณ σ_μ และ μ_μ ในแต่ละรอบใหม่
    σ_μ = 1/(n/σ**2+1/σ_μ0**2)**0.5
    μ_μ = (sum(x)/σ**2+μ_μ0/σ_μ0**2)*σ_μ**2
    print('n=%d, μ_μ=%.2f, σ_μ=%.2f'%(n,μ_μ,σ_μ))

    n += 10
    for j in range(10):
        # ค่าใหม่สุ่มโดยแจกแจงแบบปกติโดยใช้ μ,σ จริง
        x += [random.gauss(μ,σ)]

ผลที่ได้
n=0, μ_μ=20.00, σ_μ=8.00
n=10, μ_μ=11.90, σ_μ=0.94
n=20, μ_μ=12.29, σ_μ=0.67
n=30, μ_μ=12.27, σ_μ=0.55
n=40, μ_μ=11.85, σ_μ=0.47
n=50, μ_μ=12.04, σ_μ=0.42
n=60, μ_μ=12.22, σ_μ=0.39
n=70, μ_μ=12.08, σ_μ=0.36
n=80, μ_μ=11.95, σ_μ=0.34
n=90, μ_μ=12.04, σ_μ=0.32
n=100, μ_μ=12.11, σ_μ=0.30

ถ้าทำเป็นภาพเคลื่อนไหวก็จะออกมาแบบนี้



เริ่มแรกกำหนดค่าเริ่มต้นไว้ค่อนข้างห่างไกลจากความเป็นจริง แต่พอได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆการแจกแจงความน่าจะเป็นของ μ ก็ค่อยๆลู่เข้าค่าจริงๆคือ μμ=12 ยิ่งข้อมูลมากเข้า σμ ก็ยิ่งลดลง นั่นคือค่าไปกองอยู่ที่ 12 แน่นอนมากขึ้น




การแจกแจงความน่าจะเป็นของพารามิเตอร์ของการแจกแจงแบบปกติหลายตัวแปร

ต่อมาลองพิจารณาการแจกแจงแบบปกติหลายตัวแปร (พื้นฐานเรื่องนี้ได้เขียนถึงไปใน บทที่ ๑๓)

ในที่นี้จะเขียนแทนด้วย เหมือนกับการแจกแจงแบบปกติตัวแปรเดียว เพียงแต่ค่าที่ใส่ข้างในนี้ x และ μ จะเป็นเมทริกซ์ซึ่งแสดงถึงค่าหลายมิติ และ Σ เป็นเมทริกซ์ความแปรปรวนร่วมเกี่ยว


โดย m ในที่นี้คือจำนวนมิติของ x

เช่นเดียวกับกรณีตัวแปรเดียว ความน่าจะเป็นก่อนหน้าอาจเริ่มต้นง่ายสุดจากที่เป็นค่าคงที่


แล้วการแจกแจงความน่าจะเป็นหลายหลังก็จะคำนวณได้เป็น


ผลที่ได้คล้ายกับการแจกแจงปกติตัวแปรเดียว แค่ในที่นี้ค่าแต่ละตัวเป็นเมทริกซ์

ถ้ามีข้อมูล n ตัวก็จะเป็นแบบนี้


กรณีที่มีการแจกแจงก่อนหน้าอยู่แล้วก็เช่นเดียวกัน


จะหาการแจกแจงความน่าจะเป็นภายหลังได้ดังนี้


เมื่อได้ข้อมูล n ตัว การแจกแจงความน่าจะเป็นภายหลังก็จะกลายเป็น


เนื่องจากเมทริกซ์ความแปรปรวนร่วมเกี่ยว Σ อยู่ในรูปผกผันเยอะ ถ้าเขียนใหม่ในรูปของเมทริกซ์ความเที่ยงตรง (精度矩阵, precision matrix) Λ=Σ-1 จะสะดวกในการคำนวณมากกว่า

เขียนใหม่ในรูปของ Λ เป็นดังนี้


ตัวอย่างการเขียนโปรแกรมจำลองการสุ่มข้อมูลซึ่งแจกแจงแบบปกติหลายตัวแปร โดยรู้ Σ อยู่ แล้วต้องการหาการแจกแจงความน่าจะเป็นของ
import numpy as np

μ = np.array([6,4]) # μ จริงๆของการแจกแจง
# Σ จริงๆของการแจกแจง
Σ = np.array([[3,1.5],
              [1.5,2]])
Λ = np.linalg.inv(Σ)
μ_μ0 = np.array([8,2]) # μ_μ ตั้งต้น
# Σ_μ ตั้งต้น
Σ_μ0 = np.array([[8,5],
                 [5,8]])
Λ_μ0 = np.linalg.inv(Σ_μ0)
x = [] # ลิสต์เก็บค่าที่สุ่มได้ทั้งหมด

for n in range(26):
    # คำนวณ Σ_μ และ μ_μ ในแต่ละรอบใหม่
    Λ_μ = n*Λ + Λ_μ0
    Σ_μ = np.linalg.inv(Λ_μ)
    if(n>0):
        μ_μ = np.dot(Σ_μ,np.dot(Λ,np.sum(x,0))+np.dot(Λ_μ0,μ_μ0))
    else:
        μ_μ = μ_μ0
    
    print('n=%d, μ_μ=%s'%(n,μ_μ))
    # สุ่มค่าใหม่
    x += [np.random.multivariate_normal(μ,Σ)]

ผลที่ได้
n=0, μ_μ=[8 2]
n=1, μ_μ=[7.11044694 5.53433436]
n=2, μ_μ=[7.57880249 5.64612489]
n=3, μ_μ=[7.3091354  5.35834777]
n=4, μ_μ=[6.69878049 5.10382264]
n=5, μ_μ=[7.19864577 4.78835383]
n=6, μ_μ=[7.31947603 4.73575751]
n=7, μ_μ=[7.03194893 4.43476543]
n=8, μ_μ=[7.00767772 4.41767809]
n=9, μ_μ=[6.95494665 4.70232738]
n=10, μ_μ=[6.87727517 4.54670139]
n=11, μ_μ=[6.69744769 4.47764178]
n=12, μ_μ=[6.71810945 4.4387861 ]
n=13, μ_μ=[6.54837634 4.35366301]
n=14, μ_μ=[6.46439739 4.26283085]
n=15, μ_μ=[6.47292722 4.09948288]
n=16, μ_μ=[6.46547921 4.17065036]
n=17, μ_μ=[6.395075   4.16725155]
n=18, μ_μ=[6.43901177 4.16337853]
n=19, μ_μ=[6.35743761 4.11290852]
n=20, μ_μ=[6.50691015 4.11421343]
n=21, μ_μ=[6.38746785 4.07422364]
n=22, μ_μ=[6.3124434  4.12962976]
n=23, μ_μ=[6.28712383 4.07894809]
n=24, μ_μ=[6.23349005 4.02458102]
n=25, μ_μ=[6.28488896 3.99196654]

หากวาดเป็นภาพเคลื่อนไหวให้เห็นการเปลี่ยนแปลงก็จะได้ดังนี้



ในที่นี้สีพื้นคอนทัวร์แสดงถึงความน่าจะเป็นของค่า μ ในตำแหน่งนั้น จุดสีแดงคือจุดข้อมูลที่สุ่มขึ้นมา

ยิ่งเพิ่มจุดข้อมูลเข้าไปเรื่อยๆจุดกึ่งกลางการแจกแจงของค่า μ ก็จะเข้าใกล้ 6,4 ซึ่งเป็นค่าจริง และความแปรปรวนก็ยิ่งลดลง




ความน่าจะเป็นก่อนหน้าสังยุค

จะเห็นว่าในการแจกแจงทวินามเมื่อให้การแจกแจงความน่าจะเป็นก่อนหน้าของพารามิเตอร์ p เป็นการแจกแจงเบตา เมื่อได้ข้อมูลจากการทดลองมาเพิ่ม ความน่าจะเป็นภายหลังของ p ก็จะได้เป็นการแจกแจงแบบเบตาอีกเช่นเดิม

ลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างการแจกแจงทวินามกับการแจกแจงเบตาในลักษณะที่กล่าวมาข้างต้นนี้เรียกว่าเป็นความน่าจะเป็นก่อนหน้าสังยุค (共轭先验, conjugate prior)

สำหรับการแจกแจงแบบปกติ เมื่อพิจารณาการแจกแจงก่อนหน้าของ μ ก็จะเห็นว่าถ้าให้ μ แจกแจงแบบปกติก็จะได้การแจกภายหลังเป็นการแจกแจงปกติเช่นกัน ดังนั้นแบบนี้ก็เรียกว่าเป็นความน่าจะเป็นก่อนหน้าสังยุคเช่นกัน เพียงแต่กรณีนี้เป็นการแจกแจงแบบปกติเหมือนกัน

นอกจากนี้แล้วยังมีความสัมพันธ์ในลักษณะนี้อยู่อีกหลายคู่ อาจสรุปได้ดังตารางนี้

การแจกแจงของการทดลอง (ฟังก์ชันควรจะเป็น)พารามิเตอร์ที่พิจารณาการแจกแจงความน่าจะเป็นก่อนหน้าสังยุค
การแจกแจงทวินาม
การแจกแจงแบร์นุลลี
pการแจกแจงเบตา
การแจกแจงทวินามเชิงลบ
การแจกแจงแบบเรขาคณิต
pการแจกแจงเบตา
การแจกแจงอเนกนาม
การแจกแจงแบบหมวดหมู่
pการแจกแจงดีริคเล
การแจกแจงปัวซงλการแจกแจงแกมมา
การแจกแจงแบบเลขชี้กำลังλการแจกแจงแกมมา
การแจกแจงแบบปกติμการแจกแจงแบบปกติ
α (=1/σ2)การแจกแจงแกมมา
การแจกแจงแบบปกติหลายตัวแปรμการแจกแจงแบบปกติหลายตัวแปร
Λ (=Σ-1)การแจกแจงวิชาร์ต

ที่อยู่ในตารางนี้มีทั้งการแจกแจงที่เคยเขียนถึงไปในบทก่อนหน้านี้แล้ว ส่วนที่ยังไม่ได้เขียนถึงก็จะกล่าวถึงในบทถัดๆไป

สำหรับการแจกแจงแบบปกตินั้นมีพารามิเตอร์ที่สำคัญ 2 ตัวคือ μ และ σ ซึ่งการแจกแจงความน่าจะเป็นก่อนหน้าสังยุคจะต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับว่าพิจารณาตัวไหน

เพียงแต่สำหรับ σ นั้นแทนที่จะคิดการแจกแจงของ σ โดยตรงจะพิจารณาการแจกแจงของ α=1/σ2 ซึ่งเรียกว่าพารามิเตอร์ความเที่ยงตรง (精度参数, precision parameter)

เมื่อพิจารณาการแจกแจงของพารามิเตอร์ความเที่ยงตรงก็จะมีความน่าจะเป็นก่อนหน้าสังยุคเป็นการแจกแจงแกมมา

การแจกแจงแกมมายังเป็นการแจกแจงความน่าจะเป็นก่อนหน้าสังยุคของการแจกแจงปัวซงและการแจกแจงแบบเลขชี้กำลังด้วย

เรื่องของการแจกแจงแกมมาจะเขียนถึงในบทถัดไป



บทถัดไป >> บทที่ ๑๖



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คณิตศาสตร์ >> ความน่าจะเป็น
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python >> numpy

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

目次

日本による名言集
モジュール
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
機械学習
-- ニューラル
     ネットワーク
javascript
モンゴル語
言語学
maya
確率論
日本での日記
中国での日記
-- 北京での日記
-- 香港での日記
-- 澳門での日記
台灣での日記
北欧での日記
他の国での日記
qiita
その他の記事

記事の類別



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  記事を検索

  おすすめの記事

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

月別記事

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

もっと前の記事

ไทย

日本語

中文