φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ความน่าจะเป็นเบื้องต้นสำหรับเขียนโปรแกรม บทที่ ๒: มองความน่าจะเป็นว่าเป็นเหมือนการแบ่งพื้นที่
เขียนเมื่อ 2020/07/25 19:06
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42

ต่อจาก บทที่ ๑

ในบทนี้จะแนะนำพื้นฐานของเรื่องความน่าจะเป็น โดยอาศัยวาดภาพแสดงเปรียบเทียบความน่าจะเป็นว่าเป็นพื้นที่เพื่อให้เห็นภาพ




มองภาพโดยรวมของความน่าจะเป็นจากการโยนเหรียญและทอยลูกเต๋า

เมื่อพูดถึงความน่าจะเป็นแล้วสิ่งที่มักจะนึกถึงเป็นตัวอย่างที่เห็นภาพง่ายๆก็คือเช่นการโยนเหรียญหรือทอยลูกเต๋า

เวลาโยนเหรียญขึ้นไปแล้วดูว่าจะหงายหน้าไหนขึ้น สำหรับเหรียญธรรมดาทั่วไปถ้าไม่ได้ใส่ลูกเล่นพิสดารอะไรลงไป ความน่าจะเป็นที่จะหงายหน้าหัวหรือก้อยก็ควรจะเท่ากัน นั่นคือครึ่งๆ



ในศาสตร์ความน่าจะเป็นโดยทั่วไปแล้วจะถือว่าความน่าจะเป็นของแต่ละเหตุการณ์ที่เป็นไปได้เป็นจำนวนบวกที่มีค่าไม่เกิน 1 และทุกเหตุการณ์รวมกันเป็น 1

ดังนั้นเมื่อบอกว่าโยนเหรียญโอกาสออกหัวก้อยครึ่งๆ หมายความว่าความน่าจะเป็นคือ 1/2 ทั้งคู่

โดยทั่วไปเพื่อให้นึกภาพได้ มักเปรียบเทียบเป็นเหมือนกับการแบ่งพื้นที่ โดยพื้นที่รวมทั้งหมดคือ 1



ในทางคณิตศาสตร์มักเขียนแสดงความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ต่างๆในลักษณะนี้


วิธีเขียนเป็น P(เงื่อนไข) = ค่าความน่าจะเป็น แบบนี้เป็นหลักสากลที่ใช้กันทั่วไป บางที่อาจเขียน p() ตัวพิมพ์เล็ก หรือเขียนเป็น Pr() หรือ Prob() ก็มี แต่ส่วนใหญ่จะเขียนเป็น P() แบบนี้ ในบทความนี้เองก็จะเขียนแบบนี้ตลอดด้วย

ส่วนกรณีของการทอยลูกเต๋าซึ่งโดยทั่วไปมี 6 หน้า



โอกาสออกแต่ละหน้าเท่ากันก็ควรจะเป็นแบบนี้


ถ้าวาดเป็นการแบ่งพื้นที่ดูก็อาจจะเป็นแบบนี้



นอกจากนี้ยังอาจพิจารณาเหตุการณ์ต่างๆที่รวมถึงหลายหน้าพร้อมกันเช่น
  • ได้เลขคี่: คือได้ 1,3,5
  • ได้มากกว่า 3: คือได้ 4,5,6
  • ได้ 2 ขึ้นไป: คือได้ 2,3,4,5,6

อาจเขียนสมาชิกของเหตุการณ์ในรูปของเซ็ต เช่น {1,3,5}, {4,5,6}, {2,3,4,5,6} แบบนี้

ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เหล่านี้ก็จะเป็น


ยิ่งไปกว่านั้น บางทีโลกนี้ก็อาจไม่ได้เรียบง่ายแบบนั้น เช่นถ้ามีใครใช้วิธีการอะไรบางอย่างทำให้หน้าเหรียญหน้าหนึ่งมีโอกาสออกมากกว่าอีกหน้า เช่นโอกาสออกหัวเหลือแค่ 2/5 ออกก้อย 3/5



ลูกเต๋าเองก็อาจมีการเล่นตุกติกให้บางหน้ามีโอกาสออกมากว่าหน้าอื่น เช่นความน่าจะเป็นกลายเป็นแบบนี้




ถ้าเป็นแบบนี้ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เหล่านี้ก็ต้องเปลี่ยนไป โดยรวมจากพื้นที่ที่แบ่งแบบใหม่นี้


จะเห็นได้ว่าเมื่อเทียบความน่าจะเป็นเป็นการแบ่งพื้นที่แล้วจะช่วยให้นึกภาพได้เข้าใจได้ง่ายขึ้น




ทดลองสุ่มด้วยไพธอน

เพื่อให้เห็นภาพการสุ่ม ลองจำลองการทอยลูกเต๋าได้โดยเขียนโปรแกรม ซึ่งในภาษาไพธอนมีมอดูล random ใช้สำหรับสุ่มค่าตัวเลข
import random
n = 100 # จำนวนลูกเต๋าที่จะโยน
natao = [] # ลิสต์สำหรับเก็บค่าหน้าเต๋าที่ได้
for i in range(n):
    natao += [random.randint(1,6)] # ทำการสุ่มแล้วเก็บค่าที่ได้ลงลิสต์
print(natao) # แสดงค่า

จะได้ตัวเลขออกมาแบบสุ่มในลักษณะประมาณนี้
[1, 5, 2, 5, 4, 6, 2, 4, 1, 1, 1, 4, 5, 1, 2, 2, 4, 3, 2, 2, 1, 5, 4, 2, 5, 6, 4, 5, 4, 3, 6, 6, 2, 2, 1, 3, 3, 4, 3, 4, 1, 1, 5, 1, 3, 6, 3, 6, 3, 5, 3, 3, 6, 1, 5, 6, 3, 4, 6, 6, 6, 1, 5, 2, 2, 2, 3, 2, 4, 3, 2, 1, 4, 1, 4, 6, 1, 4, 6, 4, 2, 6, 3, 2, 5, 5, 6, 5, 3, 3, 2, 5, 5, 1, 5, 3, 3, 2, 3, 4]

ในการนับจำนวนของแต่ละตัวภายในลิสต์อาจใช้ฟังก์ชัน Counter จากมอดูล collections ซึ่งจะได้จำนวนของแต่ละค่าออกมาโดยเรียงตามลำดับ (สำหรับรายละเอียดวิธีใช้ Counter มีเขียนไว้ใน https://phyblas.hinaboshi.com/20200413 ดูเพิ่มเติมได้)

from collections import Counter
print(Counter(natao))

ได้
Counter({3: 19, 2: 18, 1: 16, 5: 16, 4: 16, 6: 15})

ต่อไปลองดูกรณีที่ความน่าจะเป็นของแต่ละตัวเลขไม่เท่ากัน แบบนี้อาจใช้ฟังก์ชัน choice() โดยใส่ลิสต์ของค่าที่ต้องการไปตามสัดส่วนจำนวนที่มีโอกาสออก


import random
from collections import Counter
p = [1,2,2,2,2,3,4,5,5,6] # ลิสต์ที่ใส่เลขเป็นจำนวนตามความน่าจะเป็นที่จะออก
n = 100
natao = []
for i in range(n):
    natao += [random.choice(p)] # สุ่มตัวเลขจากในลิสต์
print(natao) # ดูผลที่ได้
print(Counter(natao)) # นับจำนวน

จะได้ตัวเลขสุ่มออกมาประมาณนี้
[1, 5, 6, 2, 6, 5, 2, 3, 5, 4, 1, 3, 1, 5, 4, 2, 5, 2, 3, 2, 6, 2, 5, 2, 5, 1, 3, 2, 3, 2, 6, 1, 2, 2, 2, 2, 3, 2, 2, 2, 3, 2, 4, 4, 2, 2, 4, 5, 6, 6, 4, 2, 6, 6, 2, 2, 5, 2, 2, 2, 2, 4, 2, 2, 1, 5, 2, 5, 5, 2, 3, 5, 5, 2, 5, 1, 2, 2, 6, 5, 1, 2, 2, 6, 5, 2, 3, 2, 5, 2, 3, 6, 2, 2, 4, 4, 2, 2, 5, 1]
Counter({2: 42, 5: 19, 6: 11, 3: 10, 1: 9, 4: 9})

นี่เป็นผลที่ได้จากการลองครั้งหนึ่ง ถ้าลองซ้ำๆหลายครั้งดูผลที่ได้ก็จะได้ต่างกันออกไปไม่เหมือนกัน




ความน่าจะเป็นร่วม

ต่อมาลองพิจารณาความสัมพันธ์ของ 2​ เหตุการณ์ขึ้นไปที่อาจเกิดพร้อมกัน

ปกติเมื่อเขียน P(เหตุการณ์ ก., เหตุการณ์ ข.) แบบนี้ จะหมายถึงความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์ ก. พร้อมกับเหตุการณ์ ข.

เช่น สำหรับลูกเต๋าธรรมดาที่มีโอกาสออกทุกหน้าเท่ากัน ความน่าจะเป็นที่จะทอยลูกเต๋าได้มากกว่า 2 แต่น้อยกว่า 5 (ซึ่งก็คือ 3, 4) อาจเขียนได้เป็น


ความน่าจะเป็นที่จะเกิด 2 เหตุการณ์ขึ้นไปพร้อมกันแบบนี้เรียกว่าความน่าจะเป็นร่วม (联合概率, joint probability)

อาจวาดเป็นภาพได้ในลักษณะนี้



โดยความน่าจะเป็นร่วมก็คือพื้นที่ส่วนที่ซ้อนทับกันนั่นเอง



ถ้ามองว่าเหตุการณ์เป็นเหมือนเซ็ต ก็คือการนำเซ็ตมาอินเทอร์เซ็กต์ (相交, intersect) กัน ซึ่งมักเขียนโดยใช้ตัวดำเนินการ ∩ คั่น


ความน่าจะเป็นร่วมจะไม่มากไปกว่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์หนึ่งๆแยกกัน เพราะมีเงื่อนไขมากขึ้น ความน่าจะเป็นก็ต้องลดลง หรืออย่างมากก็เท่าเดิม


เหตุการณ์บางอย่างไม่อาจเกิดขึ้นพร้อมกันได้ เรียกว่าเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เกิดร่วมกัน (互斥, mutually exclusive) แบบนี้ความน่าจะเป็นร่วมก็จะเป็น 0 เช่น





ความเป็นอิสระจากกันของเหตุการณ์

หากเหตุการณ์อย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้ทำให้ความน่าจะเป็นของอีกเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงไปเลย แบบนี้เรียกว่าเป็นอิสระต่อกัน (独立, independent)

ในกรณีนีแบบนี้ ความน่าจะเป็นร่วมของทั้ง 2 เหตุการณ์จะเท่ากับความน่าจะเป็นของทั้ง 2 เหตุการณ์คูณกัน

นั่นคือ ถ้า A และ B เป็นเหตุการณ์ที่เป็นอิสระต่อกัน จะได้ว่า


ตัวอย่างเช่นโยนเหรียญไปด้วย ทอยลูกเต๋าไปด้วย อย่างละอัน ความน่าจะเป็นที่จะได้เหรียญออกหัวกับความน่าจะเป็นที่ทอยลูกเต๋าได้มากกว่า 4 ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกัน

ดังนั้น


อาจเขียนภาพเป็นการแบ่งพื้นที่แสดงได้ในลักษณะนี้



ดูแล้วช่วยให้พอเห็นภาพว่าเหตุการณ์ที่เป็นอิสระจากกันก็เหมือนกับพื้นที่ที่ต่างคนต่างแบ่งอยู่คนละแกนแบบนี้ ในที่นี้แกนตั้งเป็นการโยนเหรียญ แกนนอนเป็นหน้าลูกเต๋า จะเห็นว่าสัดส่วนพื้นที่ที่เหลือได้จากการเอามาคูณกันแบบนั้นเลย

ถ้ามีกี่เหตุการณ์ที่เป็นอิสระต่อกันก็คูณกันไปเท่านั้น เช่นโยนเหรียญ 3 ครั้ง


แต่ถ้าทั้ง 2 เหตุการณ์ไม่ได้เป็นอิสระต่อกันจะไม่สามารถนำมาคูณกันได้แบบนี้ ดังนั้นการคูณนี้จะทำได้ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าเหตุการณ์เป็นอิสระต่อกันเท่านั้น

ถ้าหากพบว่า


แบบนี้ก็แสดงว่าเหตุการณ์ A และ B ไม่เป็นอิสระต่อกัน

เช่น พิจารณาความน่าจะเป็นที่ลูกเต๋าจะได้มากกว่า 3 และลูกเต๋าลูกเดียวกันนี้จะได้เลขคู่







ความน่าจะเป็นแบบมีเงื่อนไข

หากต้องการหาความน่าจะเป็นที่จะเกิดเหตุการณ์หนึ่ง ในขณะที่เกิดอีกเหตุการณ์หนึ่งไปด้วย แบบนี้เรียกว่าความน่าจะเป็นแบบมีเงื่อนไข (条件概率, conditional probability)

ปกติความน่าจะเป็นแบบมีเงื่อนไขจะเขียนในรูปแบบนี้


โดยใช้เครื่องหมาย "|" กั้นแบบนี้ ซึ่งต่างจากกรณีของความน่าจะเป็นร่วมที่จะใช้จุลภาค "," กั้น วิธีการเขียนแบบนี้ใช้เป็นสากล ควรจะทำความเข้าใจความแตกต่างเมื่อเห็นสัญลักษณ์วิธีการเขียน

ความน่าจะเป็นแบบมีเงื่อนไขสามารถคำนวณได้จากความน่าจะเป็นร่วมได้โดย


ถ้าอธิบายเป็นคำพูดก็คือ โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ A เมื่อเกิดเหตุ B เท่ากับโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ A และ B พร้อมกัน หารด้วยโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ B

ยกตัวอย่างเช่น ดูความน่าจะเป็นของการที่ลูกเต๋าที่มีค่าน้อยกว่า 4 จะเป็นเลขคี่ และความน่าจะเป็นที่ลูกเต๋าที่มีค่าน้อยกว่า 4 จะเป็นเลขคู่



ดูจากขนาดของพื้นที่แล้วก็จะเห็นว่า


ความน่าจะเป็นแบบมีเงื่อนไขได้จากการหารค่าความจะเป็นที่เป็นเงื่อนไข ดังนั้นค่าจึงไม่น้อยไปกว่าความน่าจะเป็นร่วม และความน่าจะเป็นร่วมก็จะไม่มากไปกว่าความน่าจะเป็นของแต่ละเหตุการณ์ ดังนั้นความน่าจะเป็นแบบมีเงื่อนไขก็จะไม่มากไปกว่า 1


ความน่าจะเป็นแบบมีเงื่อนไขอาจจะมีค่ามากขึ้นหรือน้อยลงจากความน่าจะเป็นของเหตุการณ์นั้นเดี่ยวๆโดยไม่มีเงื่อนไขก็ได้ คือ P(A|B) อาจมากหรือน้อยกว่า P(A) และอาจมากหรือน้อยกว่า P(B)

ซึ่งนั่นหมายความว่าการมีเงื่อนไขอาจทำให้ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ แล้วแต่เงื่อนไขที่เข้ามา

เช่นนึกถึงเหตุการณ์ที่ว่าเราทอยลูกเต๋าแล้วดูความน่าจะเป็นที่จะได้เลขคู่หรือเลขคี่ แบบนี้ถ้าไม่รู้อะไรเลย ความน่าจะเป็นคือ 1/2 ทั้งคู่

แต่ถ้าก่อนที่จะดูผลที่ออกจริงๆมีคนมาบอกเราว่าหน้าลูกเต๋าได้น้อยกว่า 4 แบบนั้นความน่าจะเป็นที่จะเป็นเลขคี่ก็จะกลายเป็น 2/3 ซึ่งเพิ่มขึ้น และความน่าจะเป็นที่จะเป็นเลขคู่ก็ลดลงกลายเป็น 1/3

สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่อาจเกิดพร้อมกันได้ ความน่าจะเป็นร่วมก็เป็น 0 ดังนั้นความน่าจะเป็นแบบมีเงื่อนไขก็จะเป็น 0 ไปด้วย





ความน่าจะเป็นแบบมีเงื่อนไขเมื่อเหตุการณ์เป็นอิสระต่อกัน

ถ้าเหตุการณ์ A และ B เป็นอิสระต่อกัน แบบนั้นแล้วจะได้ว่า


นั่นคือไม่ว่าเหตุการณ์ B จะเกิดขึ้นหรือเปล่าก็ไม่มีผลต่อความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ A เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เป็นอิสระจากกัน

ยกตัวอย่างเช่นการโยนเหรียญกับทอยลูกเต๋าอย่างละอัน




คือลูกเต๋าจะออกหน้าไหนก็ไม่สน ยังไงโอกาสที่เหรียญจะได้หัวก็เป็น 1/2 อยู่ดี นี่คือตัวอย่างของเหตุการณ์ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอีกเหตุการณ์



บทถัดไป >> บทที่ ๓



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คณิตศาสตร์ >> ความน่าจะเป็น
-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文