φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



การทำให้สายอักขระใน dart สามารถแปลงข้อความแบบ sprintf ได้เหมือนใน python หรือ ruby
เขียนเมื่อ 2024/02/16 20:01
แก้ไขล่าสุด 2024/04/08 19:28


ช่วงนี้เพิ่งได้เรียนรู้ภาษาดาร์ต (dart) และก็พบว่าเป็นภาษาที่น่าสนใจดี เขียนแล้วก็สนุกดี มีความสามารถอะไรหลายอย่างที่ช่วยให้สามารถเขียนได้ง่าย

แต่ว่าน่าเสียดายว่าภาษานี้ไม่สามารถใช้ความสามารถ sprintf คือการแปลงข้อมูลสายอักขระโดยใช้%d %f %s แบบในภาษา C หรือไพธอน หรือรูบีได้

ภาษาจาวาสคริปต์เองก็ไม่มีความสามารถตรงนี้ ทำให้เราต้องทำการเขียนใส่เพิ่มเข้ามาใหม่เอง ซึ่งได้เคยเขียนถึงและลงโค้ดเอาไว้

>> การใส่ความสามารถเพิ่มเติมให้สายอักขระใน javascript สามารถใช้ sprintf ได้

ครั้งนี้เราก็เลยขอมาลองทำแบบเดียวกันกับภาษาดาร์ตบ้าง โดยในภาษาดาร์ตเองก็สามารถเพิ่มความสามารถให้กับออบเจ็กต์พื้นฐานที่มีอยู่เดิมได้ เช่นเดียวกับจาวาสคริปต์ อีกทั้งในภาษาดาร์ตเราสามารถนิยามการใช้ตัวดำเนินการของออบเจ็กต์ขึ้นเองได้ ในขณะที่จาวาสคริตป์ทำแบบนั้นไม่ได้

ดังนั้นเราสามารถเพิ่มความสามารถให้กับสายอักขระ ให้เวลาตามด้วย % แล้วจะเกิดการแปลงขึ้นมา

ลองสร้างไฟล์ sprintf.dart ขึ้นมาดังนี้
extension Sprintf on String {
  // เขียนทับการดำเนินการด้วย % ให้กับออบเจ็กต์คลาส String
  String operator %(a) {
    // ถ้าไม่ใช่ลิสต์ก็ให้ทำเป็นลิสต์ไว้
    if (a is! List) {
      a = [a];
    }
    String e;
    int i = -1;
    return this.replaceAllMapped(
      RegExp(r'(%+)(#+)?(\+)?(0)?(\d+|\*)?(\.(\d+))?([bBcdeEfFgGiosuxX])'),
      (Match m) {
        /* คำอธิบายตัวแปร
        m[1]: กลุ่มเครื่องหมาย % ด้านหน้า
        m[2]: กลุ่มเครื่องหมาย # ด้านหน้า ถ้ามี (มีผลกับ b, o, x, X)
        m[3]: เครื่องหมาย + ถ้ามี
        m[4]: ถ้ามีเลข 0 ให้เติมด้วย 0 ถ้าไม่มีให้เติมด้วยช่องว่าง
        m[5]: ส่วนที่บอกว่าจะเติมสายอักขระให้ยาวอย่างต่ำกี่ตัว
        m[6]: ส่วนที่บอกว่าจะเอาเลขทศนิยมกี่ตำแหน่ง
        m[7]: จำนวนตำแหน่งทศนิยม
        m[8]: ตัวกำหนดรูปแบบการเขียน
        */

        // เริ่มจากจัดการกับเครื่องหมาย % ด้านหน้า
        if (m[1]!.length % 2 == 0) {
          // ถ้าจำนวนของ % เป็นเลขคู่ แค่ลดจำนวน % เหลือครึ่ง
          return m[0]!.replaceAll('%%', '%');
        }
        // ถ้าจำนวนของ % เป็นเลขคี่ จึงดำเนินการแทนค่า
        i++;

        // ขึ้นต้นด้วย % ที่นำหน้า ถ้ามี แต่เหลือครึ่งเดียว
        String s = m[1]!.substring(0, (m[1]!.length / 2).toInt());
        String k = '';
        // ใส่เรื่องหมาย + ถ้าระบุ + และค่าเป็นจำนวนบวกและไม่ใช่สายอักขระ
        if (m[3] != null && !'cs'.contains(m[8]!) && a[i] > 0) {
          k = '+';
        }

        // จำนวนที่จะเติม 0 หรือช่องว่าง
        int p = 0;
        // ถ้าใส่เป็น * มาให้ดึงตัวเลขข้างหน้ามาใช้แล้วแปลงค่าตัวถัดไปแทน
        if (m[5] == '*') {
          p = a[i];
          i++; // เลื่อนไปอีกตำแหน่ง
        } // ถ้ามีโดยใส่มาเป็นตัวเลขให้ใช้ตัวเลขนั้น
        else if (m[5] != null) {
          p = int.parse(m[5]!);
        }

        // แปลงข้อมูลตามชนิดที่ใส่มา
        // เลขฐาน 2
        if ('bB'.contains(m[8]!)) {
          // ถ้ามี #
          if (m[2] != null) {
            if (m[8] == 'B')
              k += '0B';
            else
              k += '0b';
          }
          k += a[i].toRadixString(2);
        } // โค้ดตัวหนังสือ
        else if (m[8] == 'c') {
          k += String.fromCharCode((a[i]));
        } // เลขจำนวนเต็ม
        else if ('diu'.contains(m[8]!)) {
          k += a[i].toInt().toString();
        } // เลขทศนิยมในรูป E
        else if ('eE'.contains(m[8]!)) {
          if (m[6] != null) // ถ้าระบุจำนวนตำแหน่งทศนิยม
            e = a[i].toStringAsExponential(int.parse(m[7]!));
          else // ถ้าไม่ระบุจำนวนตำแหน่งทศนิยมก็ให้เป็น 6
            e = a[i].toStringAsExponential(6);
          // กรณีที่เลขหลัง +- มีหลักเดียว เติม 0 อีกตัว
          if ('+-'.contains(e[e.length - 2]))
            e = e.replaceAll('e+', 'e+0').replaceAll('e-', 'e-0');
          if (m[8] == 'E') // กรณี E เป็นตัวพิมพ์ใหญ่
            e = e.replaceAll('e', 'E');
          k += e;
        } // เลขทศนิยม
        else if ('fF'.contains(m[8]!)) {
          if (m[6] != null) // ถ้าระบุจำนวนตำแหน่งทศนิยม
            k += a[i].toStringAsFixed(int.parse((m[7]!)));
          else // ถ้าไม่ระบุจำนวนตำแหน่งทศนิยมก็ให้เป็น 6
            k += a[i].toStringAsFixed(6);
        } // เลขที่ปรับรูปตามสมควร
        else if ('gG'.contains(m[8]!)) {
          if (a[i] >= 0.0001 && a[i] < 1000000) // กรณีเลขไม่มากหรือน้อยเกินไป
            k += a[i].toString();
          else {
            // กรณีเลขมากหรือน้อยจนถึงระดับหนึ่ง
            e = a[i].toStringAsExponential();
            // กรณีที่เลขหลัง +- มีหลักเดียว เติม 0 อีกตัว
            if ('+-'.contains(e[e.length - 2]))
              e = e.replaceAll('e+', 'e+0').replaceAll('e-', 'e-0');
            if (m[8] == 'G') // กรณี G เป็นตัวพิมพ์ใหญ่
              e = e.replaceAll('e', 'E');
            k += e;
          }
        } // เลขฐาน 8
        else if (m[8] == 'o') {
          if (m[2] != null) k += '0o'; // ถ้ามี #
          k += a[i].toRadixString(8);
        } // เลขฐาน 16 โดยใช้ตัวพิมพ์เล็ก
        else if (m[8] == 'x') {
          if (m[2] != null) k += '0x'; // ถ้ามี #
          k += a[i].toRadixString(16);
        } // เลขฐาน 16 โดยใช้ตัวพิมพ์ใหญ่
        else if (m[8] == 'X') {
          if (m[2] != null) k += '0X'; // ถ้ามี #
          k += a[i].toRadixString(16).toUpperCase();
        } // สายอักขระธรรมดา
        else {
          k += a[i].toString();
        }

        // ใส่ 0 หรือช่องว่าง
        String _0 = '';
        if (p != 0) {
          int n0 = p - k.length;
          while (n0 > 0) {
            n0--;
            // ใส่ 0 ถ้าระบุ 0 และไม่ใช่สายอักขระ
            if (!'cs'.contains(m[8]!) != 's' && m[4] == '0')
              _0 += '0';
            // ใส่ช่องว่าง
            else
              _0 += ' ';
          }
        }

        // ถ้าเลือกเติม 0 และมีเครื่องหมาย +- อยู่ให้แทรกไว้หลัง +-
        if ('+-'.contains(k[0]) && _0[0] == '0')
          return s + k[0] + _0 + k.substring(1);
        else // ถ้าไม่มี +- ก็เติม 0 หรือช่องว่างไปเลย
          return s + _0 + k;
      },
    );
  }
}

จากนั้นแล้วก็สามารถหยิบมาใช้ได้โดย import เข้ามา
import 'sprintf.dart';

void main() {
  String ss = '''%+04d
%+4d
%+3d
%%d
%%%%02d
%%%d
%8.3G
%9.3E
%#03o
%#05x
%+07X
%#b
%c
%+7s
%7G
%g
%0*d
%0*.2f''';
  print(ss%[1, 1.1, -2, 3.1, 4.2, 0.0053, 9, 1965, 1965, 61, 100, 'ห', 0.02, 2e-5, 5, 1, 7, 1.11]);
}

ผลที่ได้
+001
  +1
 -2
%d
%%02d
%3
     4.2
5.300E-03
0o11
0x7ad
+0007AD
0b111101
d
      ห
   0.02
2e-05
00001
0001.11

ลองเทียบกับที่เขียนด้วยจาวาสคริปต์แล้วจะเห็นว่าการเขียนคล้ายกันมาก เพราะว่าภาษาดาร์ตได้รับอิทธิพลจากจาวาสคริปต์มามาก และเดิมทีเป็นภาษาที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแทนที่จาวาสคริปต์ จึงดูแล้วน่าใช้กว่าจริงๆ

แต่ความยุ่งยากที่เพิ่มเข้ามาก็คือการที่ต้องมาพะวงเรื่องชนิดข้อมูล จำเป็นต้องประกาศตัวแปรก่อน และต้องระวังว่าค่าไหนเป็น null ได้หรือไม่ ตรงส่วนนี้จึงทำให้โค้ดต่างไปจากจาวาสคริปต์ เขียนยาวขึ้นหน่อย แต่ว่าการที่ระบบภาษาเป็นแบบนี้ก็เป็นอะไรที่สร้างความรัดกุมและทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ยากขึ้น

ที่สำคัญคือการที่สามารถนิยามการทำงานของตัวดำเนินการของออบเจ็กต์แต่ละคลาสได้ตามที่ต้องการ ทำให้เราสามารถเพิ่มความสามารถให้เขียนในลักษณะที่คล้ายกับภาษาไพธอนหรือรูบีได้ แบบนี้ทำอะไรได้คล่องตัวกว่า

ภาษาดาร์ตนั้นยังขาดความสามารถอะไรหลายๆอย่างที่ไพธอนหรือรูบีมีอยู่ ถ้าใครเคยใช้อยู่จนชินแล้วก็อาจต้องการให้มีในดาร์ตด้วย การที่สามารถเพิ่มความสามารถขึ้นมาได้เองนั้นสะดวกดี แน่นอนว่าไม่ใช่ว่าจำเป็นต้องเขียนขึ้นเอง แต่สามารถไปหาแพ็กเกจที่คนทำเอาไว้มาลงได้ด้วย


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> dart

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文