φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



สอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น ระดับ 1 (6 ธันวาคม 2009)
เขียนเมื่อ 2009/12/06 00:35
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
今日はランシットのタンマサート大学の試験場に日本語能力試験の一級を受けに行って来ちゃった。帰ったのは時間が非常にかかったので八時に家に着いたばかり。前年とは違い、今年は一人で帰ったので大変になっちゃった。バスにいたのは二時間くらいも超えた。

一昨年は三級で、去年は二級。そして今年一級。そういうパターンなの。でも来年もまた一級を受けるつもりだ。今回の一級はどうせ不合格だと分かっているから。

さて、試験のことというと今回は一級だから思った通りすごく難しかった。二級の去年と比べたら、間隔(難しさの違い)がとても大きいだと思う。

文法の分は読んでいたおかげで思ったよりできたが、読解の分は本当にまだまだだと思う。読みの時間は長すぎて分かりぬけなかったから。

漢字の分は一番よくやった分だと思う。そして語彙の分も思ったより易しいので、半分を超えられたかもしれない。

聴解の分はとても楽しかったの。兄と妹がRPGをしているシーンもあったんだ。かなり面白かった問題なので多分聞けるかと思いきや、やっぱり聞けなかったので残念だったね。でも一番楽しかったのは最後の問題。それはドラマの宇宙船のシーンだった。試験にとってはかなりおかしかった問題で笑った人もたくさんあったんだし。

今年の試験はどうでもいい。試験を受けてみたいため受けたので。でも来年は絶対に合格すると希望を持っている。




วันนี้ไปสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นระดับหนึ่งที่ธรรมศาสตร์รังสิตมาเรียบร้อยแล้ว

เพิ่งกลับมาถึงประมาณตอนสองทุ่มเอง ถือว่าเป็นการเดินทางที่ยาวนาน นี่เป็นครั้งแรกที่ไปคนเดียว เพราะปีก่อนๆตอนที่สอบระดับสามกับสองก็มีเพื่อนไปด้วย แต่ครั้งนี้มันสอบรอบบ่ายด้วยเลยไม่มีเพื่อนเลย

เพิ่งรู้ว่ารถเมล์สาย 29 สามารถเดินทางได้ไกลจากรังสิตจนถึงหัวลำโพงได้ ค่าโดยสารแค่ ๘ บาทเท่านั้น นับเป็นการเดินทางที่คุ้มที่สุดเท่าที่เคยเจอมา ถึงอย่างนั้นก็ใช้เวลาไปกว่า ๒ ชั่วโมงทีเดียว จากต้นสายถึงปลายสาย

 

กลับมาที่เรื่องการสอบ วันนี้ที่ไปสอบมาก็เป็นไปตามคาดคือทำไม่ค่อยได้ แต่ก็ไม่ได้เลวร้าย อย่างน้อยที่อ่านไปก็ช่วยนะ จากที่เมื่อวานพยายามอ่าน "กุญแจสู่ 500 รูปประโยค" ไปจนจบเป็นรอบที่ไม่รู้ว่าเท่าไหร่

เรื่องไวยากรณ์นี่เท่าที่อ่านไปก็ถึงแม้จะจำได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่พอไปเจอในข้อสอบจริงๆมันกลับนึกออกขึ้นมาได้ทันทีทั้งที่จำมาแบบคลุมเครือ เพราะงั้นส่วนนี้ก็เลยทำได้ดีกว่าที่คิด

ในส่วนของการอ่านนั้น มาทำหลังจากทำไวยากรณ์เสร็จ ก็ทำไม่ทันจริงๆ แถมบางบทความอ่านเสร็จไปก็ไม่แน่ใจว่าจะตอบข้อไหนอยู่ดี รู้สึกว่าทักษะการอ่านยังต้องปรับปรุงอีกมาก เพราะยังอ่านช้าและจับใจความได้น้อยอยู่

ทางด้านคันจิ ดูเหมือนจะเป็นตัวทำคะแนนอีกเช่นเคย เพราะทำได้ซะส่วนใหญ่เลย ข้อสอบคันจิมีทั้งหมด ๔๐ ข้อ คันจิ ๓๕ ข้อแรกนั้นถือว่าง่ายๆเลย แต่พอเจอข้อ ๓๖-๔๐ นี่ถึงกับอึ้งไปเลย เพราะเป็นข้อสอบที่โหดร้ายที่สุดเท่าที่เคยเจอ

ข้อสอบมันให้ประโยคนึงมา และขีดเส้นใต้คำศัพท์นึงซึ่งเขียนด้วยฮิรางานะเอาไว้ แล้วให้หาว่าในชอยส์มีคำไหนที่ใช้คันจิตัวเดียวกันบ้าง

อย่างเช่นมีข้อแรก (จำประโยคโดยรวมไม่ได้เหมือนกัน) ให้คำว่า かんれい มา เจออันนี้ก็ยอมแพ้ทันที เพราะจำไม่ได้เลยว่ามันควรจะมาจากคันจิตัวไหน และก็ไม่อาจเดาได้ด้วย ขนาดพอกลับบ้านมาเปิดดิคดูก็พบว่ามันคือ 慣例 นั่นเอง ดูเหมือนจะแปลว่าจารีตประเพณี ซึ่งก็เป็นคำศัพท์ที่ไม่รู้จักไม่เคยเจออยู่ดี ก็สมควรที่จะไม่ได้จริงๆ

อีกข้อ ให้คำว่า ぶんかざい มา ตอนเจอคำนี้ทีแรก เราก็นึกถึง 文化祭(งานวัฒนธรรม) แม้จะเอะใจว่าที่จริงมันควรจะอ่านว่า ぶんかさい นี่นา แต่ก็นึกคำอื่นไม่ออก ส่วนในชอยส์ก็มีแต่คำที่อ่านว่า ざい ทั้งนั้นด้วย เลยยิ่งมึน

สุดท้ายพอกลับมาบ้านเช็คคำตอบก็พบว่าพลาดจริงด้วย มันคือ 文化財(สมบัติทางวัฒนธรรม) นั่นเองเพิ่งเคยเห็นคำนี้เป็นครั้งแรก

สุดท้าย ๕ ข้อนี้ก็มั่วหมดเลย ดังนั้นสำหรับส่วนแรกนี้ ถ้าจะมียากจริงๆก็คือ ๕ ข้อนี้แหละ

ในส่วนของคำศัพท์นั้นถือว่าไม่ยากเลย แม้ว่าจะไม่ง่ายเท่าคันจิแต่ก็คิดว่าน่าจะทำได้มากกว่าครึ่ง ถึงไม่รู้ก็พอจะเดาได้อยู่ดี บางคำศัพท์มันก็คุ้นๆอยู่แล้ว

สุดท้ายก็ส่วนของการฟัง ส่วนนี้ปกติแล้วก็เป็นส่วนที่ปราบเซียนอยู่แล้ว สำหรับใครๆหลายคน แน่นอนว่าทำไม่ค่อยได้ ฟังไม่ค่อยออกจริงๆ ทั้งที่ดูอนิเมะมาเยอะ แต่ดูเหมือนจะยังไม่ทำให้ถึงขั้นฟังข้อสอบระดับนี้ออก

การฟังของระดับหนึ่ง เท่าที่เห็นดูจะยากกว่าระดับสองพอสมควร เพราะเป็นการอธิบายลักษณะหรือขั้นตอนของอะไรต่างๆอย่างละเอียด ซึ่งมันก็ไม่ใช่ง่ายๆเลยจริงๆ

ข้อสอบส่วนนี้มีข้อที่น่าจดจำอยู่สองข้อ...

http://chuymaster.exteen.com/20091206/jlpt เนื่องจากเพื่อไม่ให้เสียเวลาเล่าซ้ำ อ่านได้ที่บล็อกของชุย

ยอมรับว่าข้อเกม rpg นี่ก็ทำไม่ได้อยู่ดี ถึงจะออกแนวโอตาคุหน่อยก็ตาม(ตั้งหน้าตั้งตารอเป็นพิเศษแท้ๆ ข้อนี้) ส่วนข้อในยานอวกาศเนี่ย มันค่อนข้างชัดเลยทำได้ ก็ถือว่าเป็นข้อสอบการฟังที่สนุกดีนะ

 

โดยสรุปแล้ว ครั้งนี้ก็หวังว่าจะได้คะแนนไม่น้อยเกินไป คิดว่าอยากได้สักครึ่งหนึ่ง คือ ๒๐๐ คะแนน เอาไว้ปลอบใจว่าถ้าครั้งหน้าจะเอาให้ผ่านได้ก็คงไม่เป็นการปีนบันไดที่สูงเกินไป ครั้งนี้เป็นการสอบลองสนาม แต่ว่าครั้งหน้าคือของจริงล่ะ

 

--- เกี่ยวกับการสอบระดับสองปีที่แล้ว อ่านได้ที่ https://phyblas.hinaboshi.com/20081214


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- บันทึก

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文