φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



เปลี่ยนมาลองใช้ windows7 ภาษาญี่ปุ่น
เขียนเมื่อ 2010/01/21 00:02
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
เนื่องด้วยเมื่อวันก่อนนี้ เครื่องคอมโดนไวรัสเล่นงานจนรันวินโดวส์ไม่ได้ ทำให้ต้องลงเครื่องลงใหม่อีกจนได้ โชคยังดีที่ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์กู้มาได้ทั้งหมด

ทีนี้ตอนแรกตั้งใจไว้ว่าถ้ามีเหตุอันทำให้ต้องลงวินโดวส์ใหม่ละก็ จะลองเปลี่ยนมาใช้วินโดวส์ 7 ดูสักหน่อย ครั้งนี้เลยได้มีโอกาสใช้จนได้

ครั้งนี้นอกจากจะได้ลองใช้วินโดวส์ 7 ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ใหม่แล้ว ยังเป็นครั้งแรกที่มีโอกาสได้ใช้วินโดวส์ญี่ปุ่นอีกด้วย เนื่องจากแผ่นวินโดวส์ที่เพื่อนเอามาให้ลงนั้น เป็นวินโดวส์ญี่ปุ่น




ระบบอะไรๆก็เป็นภาษาญี่ปุ่นหมดเลย ไม่เคยใช้แบบนี้มาก่อน ไม่ชินเลย

แต่ก็ดี ถือโอกาสฝึกภาษาญี่ปุ่นไปในตัว ถ้าอีกหน่อยไปอยู่ญี่ปุ่นก็คงต้องเจอแบบนี้

และอีกอย่างคือถ้าลองดูดีๆแล้ว เกินครึ่งใช้คาตาคานะทับศัพท์เอา ซึ่งก็ทำให้รู้ได้ทันทีว่าหมายถึงอะไร ใช้ไปอีกไม่นานก็คงชิน

การใช้วินโดวส์ญี่ปุ่นมีประโยชน์ตรงที่ทำให้เราจะสามารถเล่นเกมญี่ปุ่นได้สบายโดยไม่ต้องมาตั้งอะไรนี่ล่ะ มันก็สบายหน่อย

แต่จะลำบากเวลาที่เครื่องมีปัญหาแล้วจะเรียกให้ช่างคอมมาช่วย เขาจะอ่านออกมั้ยนะว่าต้องทำอะไรตรงไหน เราอาจต้องช่วยเขาแปลก็ได้นี่สิเป็นห่วงอยู่




(ฉากหลังเน้นสีเข้มเพื่อประหยัดพลังงาน)

หน้าเดสก์ท็อปของวินโดวส์ 7 ตอนนี้

ถ้าเมื่อก่อนที่จะลงใหม่นี้เดสก์ท็อปรกกว่านี้มาก มีไอคอนไม่ต่ำกว่า ๓๐ อันตลอดเวลา แต่ครั้งนี้เนื่องจากเพิ่งลงวินโดวส์ใหม่มา ยังลงโปรแกรมได้ไม่ครบ ขาดอะไรพอนึกได้และมีเวลาก็ค่อยใส่ลงไป ไม่นานก็คงจะกลับมารก

ที่ เห็นนี้มีโฟลเดอร์อันนึงชื่อ 旧デスクトップ ในนี้มันก็คือเดสก์ท็อปอันเก่าก่อนที่จะลงวินโดวส์ใหม่ เก็บเอาไว้ใช้ชั่วคราวในระหว่างที่ยังจัดระเบียบเครื่องไม่เรียบร้อยดี

โปรแกรมบางอันจะเห็นว่าถูกเปลี่ยนชื่อด้วยนะ เช่น メモ帳 ก็คือ notepad นั่นเอง

 

นอกจากนี้การลงวินโดวส์ 7 แล้ว ยังทำให้เห็นอะไรในมุมมองที่แปลกออกไปด้วย อย่างเช่นเวลามองตัวหนังสือที่คนอื่นพิมพ์ตามเว็บต่างๆ หรือในบล็อกต่างๆเอง เช่น



(ขออภัยเจ้าของบล็อกด้วย ที่เอามาใช้เป็นตัวอย่าง พอดีว่าเพิ่งแวะไปอ่านมาพอดี เลยขออนุญาตยกมา)

จะเห็นว่าสระหรือวรรณยุกต์บนที่ไม่มีพยัญชนะมารองรับ เราจะเห็นเป็นซ้อนอยู่บนวงกลมแทน แต่ถ้าเป็นวินโดวส์เก่า จำได้ว่ามันจะมองไม่เห็นสระหรือวรรณยุกต์บนตัวนั้นเลย คือเหมือนพิมพ์ไปแต่ไม่ปรากฏ แต่ตัวมันจริงๆก็ยังถูกบันทึกไว้

ดังนั้นใครที่พิมพ์แล้วเห็นแบบนี้อาจคิดได้ว่าคนคนนั้นน่าจะไม่ได้ใช้วินโดวส์ 7 จึงมองไม่เห็นว่ามีสระซ้อนอยู่

 

นอกจากนี้ก็ได้ลอง nanami thema ด้วย

http://www.youtube.com/watch?v=odxtmKbKFJY

คิดว่าหลายคนคงรู้จักแล้ว คือเป็นการตั้งเสียงของระบบในวินโดวส์ เช่นเวลาเปิด-ปิดโปรแกรม ซิสเต็มแอเรอร์ เมลเข้า ถังขยะถูกลบ ตั้งให้เป็นเสียงพากย์ของตัวละครมาสค็อตชื่อนานามิ (พากย์โดยมิซึกิ นานะ) หมดเลย

เช่นเวลา รันโปรแกรมจะมีเสียงขึ้นมาว่า このまま進めてもいい?

ตอนต่อสายอะไรไม่ติดก็จะพูดว่า うまくつながらないな

ใช้ๆไปแล้วก็รู้สึกแปลกใหม่ดี แต่บางอันก็รู้สึกรำคาญเหมือนกัน อย่างเช่น จิ๊ง จิ๊ง จะจ๊าง ปิโรริน ฯลฯ แต่สามารถเอาออกเสียงส่วนที่ไม่ต้องการได้

 

นอกจากนี้พอใช้วินโดวส์ 7 แล้ว อะไรๆก็ดูลื่นขึ้น อย่างตอนเปิดหรือปิดเครื่องมันรันแป๊บเดียวเอง

แต่หลายคนบอกว่ามันมีข้อเสียเยอะและยังไม่ค่อยเสถียรเหมือนกัน แต่เท่าที่ตัวเองใช้ดูก็ยังไม่เจอปัญหาอะไร

 

ปล. ตั้งแต่พรุ่งนี้จะเริ่มเข้าสู่ช่วงหยุดกีฬามหาวิทยาลัย ก็ทำให้มีเวลาขึ้นมาหน่อย จะได้สะสางงานที่ค้างไว้มากมาย


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- บันทึก
-- ภาษาศาสตร์ >> ภาษาญี่ปุ่น

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文