φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



งานคืนสู่เหย้า 5 ก.พ. 2010 กลับไปเยี่ยมโรงเรียน
เขียนเมื่อ 2010/02/07 23:57
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาไปงานคืนสู่เหย้าที่เตรียมอุดมศึกษามา เป็นโอกาสได้ไปเยี่ยมโรงเรียนหลังจากที่ไม่ได้แวะไปนานมาก ทั้งๆที่อยู่ติดจุฬาฯแค่นี้และเดินผ่านทุกวัน แต่ก็ไม่มีธุระให้แวะไป ครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่จะได้แวะเข้าไปเยี่ยมโรงเรียนและเจอเพื่อนเก่า

 

ปรากฏว่าผิดแผนตั้งแต่ต้น เพราะเพื่อนที่เป็นคนนัดว่าจะมาด้วยดันบอกว่าไม่ว่างมาด้วยซะแล้ว เลยต้องไปคนเดียวแล้วค่อยเดินหาเพื่อน แถมพอดีว่าว่างๆก็เลยไปก่อนงานเริ่มเพื่อเดินดูโรงเรียน คือไปราวๆ ๕ โมง แต่เดินเล่นนั่งเล่นข้างในจนถึงเวลาเริ่มงานก็ยังไม่เจอคนที่รู้จักเลย จนเมื่อยขาและเริ่มปวดหัว

จนเพื่อนอีกคนที่นัดไว้ว่าจะมาค่ำๆมาถึงก็ไปเดินกันสองคนต่อ แต่ก็ไม่เจอใครอีกจนกำลังคิดว่าจะกลับ เดินไปเกือบถึงประตูทางออก...

แต่แล้วก็เจอเพื่อนคนอื่นเดินสวนมาพอดี สุดท้ายเลยกลับเข้างานต่อ หลังจากนั้นก็เจอเพื่อนคนอื่นอีกหลายคน แม้จะไม่ถึงกับมากแต่ก็ดีที่ได้พบ

ส่วนใหญ่เป็นเพื่อนที่เรียนอยู่วิศวะจุฬาฯทั้งนั้นเลย ส่วนพวกที่ไปเรียนหมอดูเหมือนจะได้ทุนไปเที่ยวญี่ปุ่นกันก็เลยไม่ได้มา (น่าอิจฉามาก)

ครั้งนี้ไม่ได้ซื้อบัตรเข้างาน เพราะไม่ได้ซื้อแต่แรก มาซื้อหน้างานมันค่อนข้างแพง และเป็นคนทานน้อยด้วย ก็เลยกะยืมบัตรอาหารจากเพื่อนแทน

คืออาหารในงานจะต้องใช้บัตรอาหารที่มาพร้อมบัตรเข้างานแลก ใช้เงินจ่ายไม่ได้ เอาเงินแลกบัตรอาหารโดยเฉพาะก็ไม่ได้ด้วย ซึ่งบัตรเข้างานหนึ่งใบจะมีบัตรอาหารติดมาหกใบ

ก็เลยไปขอเพื่อนคนนึงว่า "ขอบัตรซื้ออะไรทานนิดหน่อย" เพื่อนมันก็ตอบทันทีว่า "นิดหน่อยใช่มั้ย เอ้าเอาไปเลยใบนึง!"

เราก็เลย "............"

คือบัตรหนึ่งใบเนี่ย ถ้าใครที่เคยไปจะรู้ว่ามันใช้ทานอะไรได้น้อยจริงๆ คือได้ประมาณหนึ่งกระทงเล็กๆ ...อืม แต่ที่จริงก็ตั้งใจจะขอใบเดียวอยู่แล้ว เพราะไม่ได้หิวเท่าไหร่

แต่เพื่อนอีกคนเด็ดกว่าก็คือยื่นบัตรมา เหมือนกับว่าจะให้บัตรไปทาน แต่กลายเป็นฝากซื้อข้าวซะงั้น...

สรุปว่าไม่ได้เจอกันนาน พวกเพื่อนเก่ายังอารมณ์ขันกันอย่างเช่นเคย โดยรวมแล้วก็ถือว่าสนุกดี เพียงแต่ว่าคนน้อยไปหน่อยจริงๆเลย นั่งรวมกลุ่มกับเพื่อนสายวิทย์คอมด้วยกัน มีประมาณไม่ถึงสิบคนเอง แต่ที่จริงมาเยอะกว่านั้น แค่แยกกันไปนั่งที่อื่น

 

พูดถึงเรื่องท้องฟ้าในวันนั้นสักหน่อย ช่วงกลางวันฟ้าโล่งมาก แทบไม่เห็นเมฆสักก้อน ทำให้แดดเผาร้อนทรมานมาก แทบแย่อยู่ แต่ก็คิดในใจว่าถ้าเป็นแบบนี้ไปจนถึงกลางคืนก็คงได้ดูดาวสบายเลย

แต่ก็ปรากฏว่าพอเริ่มเข้าสู่ช่วงเย็น เมฆซีร์โรสตราตัสก็ค่อยๆลอยเข้ามาทีละนิด ตามด้วยเมฆชนิดอื่นอีก มีเมฆคิวมูลัสที่เป็นก้อนแถวยาวลอยเข้ามาด้วย สุดท้ายตอนหัวค่ำฟ้าเกือบปิดเลย

แต่สักสองทุ่มพอมองไปอีกทีปรากฏว่าเห็นดาวชัดเจน แสดงว่าเมฆที่พัดเข้ามาได้หายไปอย่างรวดเร็ว ทำให้คืนนั้นได้เห็นดาวพอควร

นี่เป็นโอกาสนานๆทีที่จะได้ดูดาวด้วยมุมมองกว้าง เพราะสถานที่จัดงานคืนสู่เหย้าเป็นกลางสนามโรงเรียนซึ่งกว้างมาก ทำให้ไม่ค่อยมีอะไรบดบัง

ถึงอย่างนั้นด้วยมลพิษทางแสงของที่จัดงานก็ทำให้ไม่ถึงกับเห็นดาวมาก แค่ก็ถือว่าชัดยิ่งกว่าครั้งอื่นที่เห็นในกรุงเทพฯช่วงนี้แล้ว

ครั้งนี้เห็นดาวทางใต้อย่างคาโนปุสด้วย ซึ่งปกติก็ไม่ได้เห็นง่ายนัก (แต่ก็ไม่ยาก เพราะไทยอยู่ใกล้ศูนย์สูตร) เพราะมันจะสูงจากเส้นขอบฟ้าไม่เกิน 20 องศาเท่านั้น โชคดีว่าฟ้าทิศใต้เปิดโล่งมากกว่าทิศอื่น

นอกจากนี้ก็เห็นสามเหลี่ยมหน้าหนาวซึ่งประกอบด้วย ซิริอุส, โพรคิออน, เบเทลกิวส์ (บีเทลจุส) ซึ่งเห็นเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ก็ไม่เคยเบื่อ พร้อมดาวสว่างในกลุ่มดาวนายพราน นอกนั้นก็พอลลุกซ์ อัลเดบาราน คาเพลลา ฯลฯ ซึ่งก็เห็นบ่อยรองลงมา

 

จากการเดินสำรวจโรงเรียนมาก็พบว่าเปลี่ยนแปลงไปพอดูเลย หลังจากที่ไม่ได้มานาน เพราะงานคืนสู่เหย้าปีที่แล้วมันมีเหตุให้เลื่อนเวลา แล้วสุดท้ายก็ไม่ได้ตามว่ามันไปจัดกันภายหลังตอนไหนเลยอดไป

ปีหน้าหากมีโอกาสคงไปอีก หวังว่าจะยังคงได้เจอเพื่อนเก่าต่อไป แม้จบจากไปแล้ว เรายังคงผูกพันต่อโรงเรียนเสมอมา

ปล. เนื่องจากปวดหัวและเหนื่อยมาก หลังกลับจากงานถึงบ้านก็ทานพาราแล้วนอน


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- บันทึก

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文