φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



(ข้อสอบ) เลือกสิ่งที่ไม่เข้าพวก
เขียนเมื่อ 2010/03/04 22:46
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42

หลังจากที่ดองมาครบสัปดาห์ ช่วงนี้แม้จะยังไม่ถึงกับว่างเพราะยังมีสอบ แต่ก็มีเรื่องที่ทำให้รู้สึกอยากเขียนอีกจนได้

พอดีว่าช่วงนี้มีโอกาสได้อ่านแนวข้อสอบของทุนกพ. วิชาความสามารถทั่วไป ที่จะสอบวันที่ ๗ นี้ แล้วก็เจอคำถามบางส่วนที่มีความรู้สึกว่าคลุมเครือก็เลยจะยกมาให้ดูกันสักหน่อย

 

สำหรับหลายคนช่วงนี้ก็คงจะได้ยินข่าวเรื่องข้อสอบโอเนทไม่ได้มาตรฐานกันมาบ้างแล้ว ดูเหมือนจะกำลังดังพอควร

ข้อสอบแนวที่จะมีปัญหาดังที่ว่ามานั้นก็คือแนวที่วัดการคิดวิเคราะห์ เช่นเดียวกับในโอเนทที่มีปัญหาอยู่ตอนนี้ ซึ่งถ้าหากทำมาไม่ดีแล้วละก็ มันจะมีคำตอบไปได้หลายทางมากกว่าที่ควรจะเป็น กรณีเป็นข้อสอบชอยส์ มันก็จะกลายเป็นว่าต้องตอบให้ตรงกับความคิดของผู้ออกข้อสอบถึงจะถูกต้อง คิดตื้นไปหรือลึกไปก็คือผิด

 

ที่ยกมาเป็นส่วนข้อสอบสนุกๆที่ให้เลือกภาพที่ไม่เข้าพวกเพียงภาพเดียว

ลองมาดูข้อสอบกัน

 

ข้อ 1. หากลองดูเผินๆทีแรก ก็คิดว่าน่าจะตอบข้อ จ. เลย เนื่องจากเป็นรูปเดียวที่ไม่ใช่ด้านเท่า เป็นรูปที่ดูยาว ซึ่งต่างจากอันอื่น

แต่พอลองมาคิดดูดีๆแล้ว ถ้าคิดถึงสมมาตรในแนวนอนแล้ว ข้อ ง. เป็นรูปเดียวที่ตัดครึ่งแล้วได้บนล่างไม่เหมือนกัน ก็อาจจะตอบข้อนี้ก็ได้

อีกด้านหนึ่งหากลองคิดง่ายๆว่า ทุกรูปเป็นรูปเหลี่ยมหมด มีแค่ข้อ ก. ที่ไม่มีเหลี่ยม ก็ตอบข้อนี้ง่ายๆเลย

หรือหากคิดลึกๆ ข้อ ง. เป็นรูปที่ดูไม่สมดุล ถ้าปล่อยให้อิสระก็คงจะล้ม ดังนั้นน่าจะตอบข้อนี้

จะเห็นว่าพอไม่รู้จะเอาอะไรเป็นมาตรฐาน คำตอบก็มีได้หลายทางเต็มไปหมด

ข้อนี้พอดูในเฉลยก็พบว่าตอบข้อ ก. ด้วยเหตุผลง่ายๆดังที่บอกไป แบบนี้ก็แสดงว่าเราไม่ควรจะคิดอะไรลึกไปสินะ


ทีนี้ลองมาดูข้อต่อไปคือข้อ 5.

ข้อนี้ถ้าดูเผินๆจะเห็นเลยว่ามีรูปเดียวที่ลูกศรอยู่ในแนวนอนก็คือข้อ จ. งั้นถ้าเราไม่ควรคิดมาก ก็ควรตอบมันทันทีเลย

แต่พอดูเฉลยก็ต้องงงเพราะเขาเฉลยว่า ง. ด้วยเหตุผลว่า ข้ออื่น ลูกศรชี้เข้าสีดำ แต่ชี้ออกจากสีขาว แต่ข้อ ง. ลูกศรชี้เข้าสีขาว ดังนั้นจึงไม่เข้ากลุ่ม

เป็นคำเฉลยที่เล่นเอาถึงกับงงไปเลย การตอบข้อนี้ด้วยเหตุผลแบบนี้ ไม่ใช่แค่รู้สึกว่าคิดลึกเกินด้วย ยังรู้สึกว่าไม่สมเหตุสมผลนัก คือการที่เห็นว่ามีสองรูปที่ลูกศรชี้เข้าสีดำ แล้วอีกสองรูปลูกศรชี้ออกจากสีขาว มันทำให้สรุปได้เลยหรือว่านี่เป็นกฎโดยรวมของข้อนี้ การจะสรุปว่าอะไรอยู่นอกกลุ่มนั้น มันควรจะมีปัจจัยอะไรที่เห็นชัดกว่านี้

 

ลองดูข้อ 7.

ข้อนี้เห็นเผินๆทีแรกที่น่าจะสังเกตได้ง่ายสุดเลยคือข้อ ก. มีการขีดเส้นที่ตำแหน่งต่างจากรูปอื่น

แต่ลองนึกดูอีกที ข้อ ข. เป็นรูปเดียวที่เส้นขีดในแนวทแยง ก็น่าจะตอบได้เช่นกัน

และพอลองดูให้ดีๆอีกที ก็เริ่มสังเกตว่ามีแค่ จ. ที่มีการเขียนขีดในสองช่องไม่เหมือนกัน

แต่ เฉลยตอบ จ.

แต่คำตอบของข้อ ก. กับ ข. มันดูเด่นกว่ามาก และถ้าคนเข้ามาดูโดยไม่คิดอะไรมากก็คงตอบหนึ่งในสองข้อนี้ไปแล้ว ซึ่งมันก็ไม่น่าจะผิด เพราะมันมีปัจจัยที่จะจัดอยู่นอกกลุ่มด้วยเหมือนกัน แล้วอันไหนจะถูก... ก็คงขึ้นกับคนออกข้อสอบ

 

แต่ข้อต่อไปนี่สิ เป็นข้อที่รูปสึกมึนกับคำเฉลยมากที่สุด

คือข้อ 14. ซึ่งเฉลยบอกว่าตอบข้อ ง.

ด้วยเหตุผลว่า... จำนวนจุดภายในรูปเป็นเลขคู่ ส่วนรูปอื่นเป็นเลขคี่...

...เห็นคำเฉลยนี้แล้วอึ้งยิ่งกว่าข้อ 5. เสียอีก คือไม่เข้าใจว่าจะติดใจอะไรกับว่าเป็นเลขคู่หรือเลขคี่ ในเมื่อมันก็เป็นตัวเลขเหมือนกัน

แถมปัจจัยเรื่องอื่นเขาไม่พูดถึงเลย อย่างเช่นว่าข้อ จ. เป็นรูปเดียวที่ไม่มีเหลี่ยมอยู่เลย ถ้ามองง่ายๆก็ตอบข้อนี้ได้ทันทีเหมือนกัน

 

สุดท้าย ข้อ 22. ข้อนี้เฉลยตอบว่า จ. ด้วยเหตุผลว่ารูปอื่นก้อนสีดำมันอยู่ที่มุมหมดเลย

เป็นเฉลยที่งงอีกเช่นกัน เพราะข้อ ข. กับ ค. มันเป็นวงกลมกับวงรี ไม่มีมุมสักหน่อย หรือถ้าจะอ้างเรื่องความสมมาตร ข้อ ค. ก็ถือว่าไม่สมมาตรเช่นกัน

 

จากทั้งหมดที่ว่ามาจะเห็นว่าการจะจัดว่าอะไรอยู่นอกกลุ่มนั้นมันใช้เกณฑ์คิดได้หลายแบบ คำตอบก็จะมีได้หลากหลายตามแนวคิด บางข้อคำตอบอยู่แค่การคิดตื้นๆ ในขณะที่บางข้อก็ต้องคิดซะลึกเลย ทำให้รู้สึกว่ามันมีความไม่แน่นอน จะให้ทายใจว่าผู้ออกต้องการให้คิดลึกแค่ไหนในแต่ละข้อก็คงไม่ใช่ง่ายๆ และก็ไม่ควรเป็นแบบนั้น

 

อนึ่ง ไม่รู้ว่าที่เฉลยมานี่เป็นเฉลยจริงๆ หรือว่าคนที่ทำแจกเขาคิดคำตอบกันเอง ถ้าหากนี่ไม่ใช่เฉลยที่ผู้ออกข้อสอบเป็นคนทำขึ้น คาดว่าคงมีข้อที่ตอบไม่ถูกอยู่ล่ะ

ก็เป็นตัวอย่างของข้อสอบที่ดูแล้วคิดว่าไม่ได้มาตรฐานนัก

แล้วคนอื่นคิดยังไงกันบ้าง กับข้อสอบที่ยกมาให้ดูนี้?

 

-------------

 

แถมท้ายหน้า เนื่องจากช่วงนี้กระแสตราสัญลักษณ์ของเว็บดรามาแอ๊ดดิกต์ยังคงมาแรง

ดังที่ได้กล่าวไปในหน้า https://phyblas.hinaboshi.com/20100113

เลยลองทำ sig มาช่วยรณรงค์ดูเล่นๆสักหน่อย

แบบว่ากำลังไอเดียตีบตัน ทำแบบค่อนข้างลวกๆ มันก็เลยออกมาเรียบสุดๆ คงไม่กล้าเอาไปอวดใครที่ไหน นอกจากมาลงในบล็อก



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

ไทย

日本語

中文