φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



สอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น ระดับ N1 (4 กรกฎาคม 2010)
เขียนเมื่อ 2010/07/05 00:40
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
初めての新制度の日本語能力試験~

今日は朝からちょっと具合が悪いながらも、午後に新制度の日本語能力試験のN1級を受けて来た。今年は12月だけではなく、初めて七月の試験も行われる特別な年。それに、今年の試験はやはり新制度になっている。ここは今回の新制度の試験に対する私の意見について語ろう。

新制度になると複雑になって、大部分はその前よりろくになると思う。それは、日常に使われる聴解と読解の分は増えたから。漢字と語彙の分のほうは少なくなって、しかも難しさは悔しいくらいに上がって、普通ならこれはもっとも容易な分なのに。

読解の分は私の一番下手な分だと思って、やってみたら絶望感が襲ってきて 、本当に難しかったね。時間のことも問題だし。要するに、読解の分は110分の時間で漢字・語彙と文法の分と共に受けるが、読解の分だけでは全ての時間の3分の2がかかる。それでもまだ時間は足りない気がする。だから完全に失敗した。

でも文章の内容は面白かったね。例えば、「消費」っていう言葉の使い方を批判する文章とか、「学歴は就職に必要かどうか」って評論の文章とか。

あと聴解の分については案外に容易だと思って。聴解の分は5分と割れて、第1分と第2分はやはり難しかった。でも、第3分と第4分だとしたら意外と易しいからよくできた。

そういえば、 聴解はとても楽しい分ね。それはナレーターの言い方は面白いから。ナレーターたちはエモーションを一杯に入れて、アニメを見ているみたいな雰囲気で、アニメの好きな人はきっとこの試験も好きになると感じている。でも、ナレーターたちは声優もやっているのかなっても思っている。

今回は試験場を試してみるつもりだけだから、うまくいかなかったのは普通のことだと思うが、やはりできなかったことは悔しいね。今年の12月はまたやると思う。今度は本番にするつもりだから一生懸命頑張る。


 

วันนี้เหมือนไม่ค่อยสบายแต่เช้า แต่ก็ได้ไปลองข้อสอบ N1 ระบบใหม่มาเป็นครั้งแรก ปีนี้เป็นปีแรกที่เปิดให้สอบตอนเดือนกรกฎาคมด้วย จากที่ปีที่ผ่านๆมามีแค่สอบธันวาคมแถมครั้งนี้ยังเปลี่ยนระบบใหม่ด้วย ข้อสอบระบบใหม่มีรายละเอียดดังที่เขียนไว้ในนี้ http://www.tpa.or.th/tpapress/upload/files/New_JLPT2010.pdf

ถือเป็นระบบที่ดูซับซ้อนขึ้นกว่าเดิมพอควร แต่โดยรวมแล้วคิดว่าวัดอะไรได้มากขึ้น เพราะเขาเพิ่มสัดส่วนของส่วนการฟังกับการอ่านให้มากขึ้น ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้งานในชีวิตจริง

ในแต่ละส่วนมีการเปลี่ยนแปลงยังไงบ้าง ลองมาดูกัน จากประสบการณ์ที่ได้ไปสอบมา เริ่มจากส่วน คันจิกับคำศัพท์ จะพบว่านอกจากจำนวนข้อจะลดลงกว่าเดิมแล้ว ยังรู้สึกว่ามันยากขึ้นด้วย ปกติคะแนนส่วนนี้เราจะทำได้ดีสุด แต่ครั้งนี้ยอมรับว่ายากจริงๆ

ส่วนไวยากรณ์ก็เปลี่ยนแปลงโดยเอารูปประโยคสองเรื่องมาไว้ในข้อเดียว ซึ่งก็แปลก เพราะมันทำให้ดูง่ายลงกว่าเดิม คือเดามั่วคำตอบได้ง่ายขึ้น แต่ว่าจำนวนข้อมันก็น้อยจนน่าใจหาย

 

ส่วนที่หนักที่สุดก็คือส่วนของการอ่าน โดยที่เขาให้เวลา 110 นาที ในการทำทั้งส่วน คำศัพท์ คันจิ ไวยากรณ์ รวมทั้งการอ่าน แต่โดยทั่วไปไม่เกิน 40 นาทีแรกทุกคนก็ทำส่วน คำศัพท์ คันจิ ไวยากรณ์ เรียบร้อยแล้ว ที่เหลือมีไว้ทำการอ่านอย่างเดียวเลย แต่่วาแค่ 70 นาทีมันไม่มีทางที่จะทำทันได้ง่ายๆเลย สำหรับข้อสอบการอ่านที่มีจำนวนมากขนาดนั้น (จำไม่ได้ว่ากี่ข้อ แต่เยอะมาก)

ส่วนการอ่านนี่ล้มเหลวมากที่สุด เพราะเป็นเรื่องที่ไม่ถนัดที่สุดอยู่แล้ว ก็หมดเวลาไปโดยที่ยังไม่เสร็จ เหลือเยอะพอควร และข้อที่ทำไปก็ทำแบบรีบๆ เพราะพยายามอ่านแบบผ่านๆสุดๆ เลยไม่มั่นใจเลย

แต่ว่าเรื่องที่เขานำมาให้อ่านค่อนข้างน่าสนใจ เรื่องนึงนี่เป็นบทความเกี่ยวกับการใช้คำศัพท์คำว่า 消費 (อุปโภคบริโภค) ซึ่งคนเขียนเขาบ่นว่าคำนี้เป็นศัพท์ที่ใช้กันอย่างไม่เหมาะสม เพราะตีความหมายตามตัวอักษรแล้วเหมือนกับว่าเป็นการใช้แล้วหมดไป แต่ความจริงการอุปโภคบริโภคนั้นแม้จะใช้สิ่งของในรูปเดิมให้หมดไปแต่ก็เป็นการสร้างสิ่งใหม่ด้วย อะไรประมาณนั้น ถือว่าเป็นการบ่นที่ฟังดูมีสาระดี ยังไงก็เถอะการใช้คำศัพท์เป็นค่านิยม ถึงบ่นไปก็คงเปลี่ยนไม่ได้อยู่ดี และคำศัพท์นี้ก็รับมาจากภาษาจีนด้วย คงต้องตามไปบ่นถึงจีนกันเลยทีเดียว ฮาๆ

อีกเรื่องเกี่ยวกับว่าการสมัครงานควรใช้ผลการเรียนเป็นตัวพิจารณาหรือไม่ ก็มีบทความจากสองคนมาให้อ่านแล้วเทียบกันดู คนนึงเห็นด้วย คนนึงไม่เห็นด้วยกับการใช้ผลการเรียนมาตัดสินรับสมัครคนเข้าทำงาน ก็ถือว่ามีสาระน่าคิดดีทีเดียว

แต่ไม่ชอบตรงที่ข้อนึงเขาให้อ่านยาวมากแล้วมาถามแค่คำถามไม่กี่ข้อ กล่าวคือถ้าบทความยาวเต็มหน้า ก็ถามแค่สามข้อ ถ้าบทความยาวครึ่งหน้านี่ก็คือถามแค่ข้อเดียว พอเป็นแบบนี้แล้วรู้สึกขี้เกียจอ่านขึ้นมาทันที

 

สุดท้ายคือส่วนการฟัง ส่วนนี้เป็นส่วนที่รู้สึกว่าง่ายขึ้นกว่าระบบเก่า เพราะเขาเพิ่มส่วนที่ง่ายๆเข้ามาด้วย

ข้อสอบการฟังนี่แบ่งเป็น ๕ ส่วน สำหรับส่วนที่ ๑-๒ จะเหมือนกับในระบบเก่า ก็คือให้ฟังคนคุยแล้วก็ถามข้อมูลบางอย่างที่ได้จากการคุย หรือให้ตอบว่าผลลัพธ์เป็นยังไง ซึ่งส่วนนี้ค่อนข้างยาก เราก็ทำได้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เล่นเอาหมดความมั่นใจไปเลย

แต่พอถึงส่วนที่ ๓ ส่วนนี้ต้องบอกว่าง่ายสุดๆแล้ว เพราะเป็นคนเดียวอ่านเรื่องแล้วถามเนื้อหาโดยสรุป ตรงนี้มี ๖ ข้อ ทำได้หมดเลย (แม้บางข้อจะยังไม่ถึงกับแน่ใจเต็มที่)

และส่วนที่ ๔ ก็ง่ายเช่นกัน คือเป็นข้อความที่คนนึงแค่พูดมาสั้นๆ แล้วถามว่าควรจะตอบรับต่อข้อความนี้ว่ายังไง อันนี้เราก็ทำได้ค่อนข้างดี เพราะข้อความพูดมาสั้นๆ ไม่ต้องใช้ไหวพริบอะไรมาก

ดังนั้นโดยรวมแล้วต้องถือว่าง่ายขึ้น เพราะมีส่วนที่ ๓-๔ ซึ่งง่ายกว่าระบบเก่า

แต่ว่าชอบเสียงคนพูดในส่วนการฟังจริงๆ เขาพูดได้อารมณ์ดี และพูดชัดมาก บางทีได้อารมณ์มากจนรู้สึกฮา เกือบหัวเราะออกมา เสียงแบบนี้คออนิเมะทั้งหลายชอบแน่นอน และเสียงคนพูดก็เพราะมากจนสงสัยว่าเขาไปเอานักพากย์ที่ไหนมาพูดหรือเปล่านะ

 

สรุปโดยรวมก็คือ ยังไงก็คงไม่น่าจะผ่าน ยังไงปลายปีนี้ก็คงต้องมาสอบใหม่ ซึ่งครั้งต่อไปนี้จะยิ่งพยายามเต็มที่ หวังว่าจะผ่าน สำหรับครั้งนี้ที่ทำไม่ได้ก็ไม่แปลกเลย เพราะไม่ได้มีการเตรียมตัว ไม่ได้ทำข้อสอบเก่าเลย อ่านทวนไปนิดเดียว ตั้งใจไปสอบแค่ลองสนาม แต่ครั้งหน้าตั้งใจว่าจะเป็นของจริง ถึงตอนนั้นก็หวังว่าจะสามารถผ่านได้


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- บันทึก

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2025年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文