φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



เสียงอ่านคันจิในภาษาไทย
เขียนเมื่อ 2010/09/13 15:48
แก้ไขล่าสุด 2021/11/30 18:13

ชื่อหัวเรื่องอาจทำให้สับสนเล็กน้อย เสียงอ่านคันจิในภาษาไทยที่จะพูดถึงนี้ไม่ได้หมายถึงคันจิที่ใช้ในภาษาไทยจริงๆ แต่เป็นคำภาษาจีนซึ่งใช้ทับศัพท์อยู่ในภาษาไทย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นจีนแต้จิ๋วซึ่งคนไทยคุ้นเคยดีอยู่แล้ว ดังนั้นจึงขอเรียกว่าเป็นเสียงอ่านคันจิในภาษาไทย

ที่เขียนหัวข้อนี้ขึ้นเพราะมีโอกาสได้ไปอ่านหนังสือเข้า และก็ได้เห็นและมารู้ว่า แท้จริงอักษรที่เราเรียนมาจนคุ้นเคยเนี่ย ก็มีเสียงอ่านในภาษาไทยเหมือนกัน ถ้าเราจำไปเทียบมันก็ช่วยให้จำได้ง่ายมากขึ้นเยอะเลย

สำหรับเสียงอ่านในภาษาญี่ปุ่นกับในภาษาแต้จิ๋วนั้นจะมีส่วนคล้ายกันมากพอสมควรเลย (แต่ที่ต่างกันสิ้นเชิงเลยก็มี) แต่เสียงที่คล้ายก็คือเสียงอง (เสียงเลียนจีน) เท่านั้น จึงขอยกเสียงองมาเปรียบเทียบ

คำไทยที่เอามาจากแต้จิ๋วมาเยอะมาก ซึ่งโดยส่วนใหญ่พอนำมาใช้แล้วคำเรียกเปลี่ยนไปหมดเลย เช่นเสียงวรรณยุกต์เปลี่ยน หรือ ตัวสะกด "ง" กลายเป็น "น" บ้างก็สระเปลี่ยน แต่ก็ยังใกล้เคียงกันจนพอให้รู้ว่าทับศัพท์กันมา

อย่างไรก็ตามบางคำอาจจะแค่เหมือนกันโดยบังเอิญก็เป็นได้ (ซึ่งก็ไม่อาจแยกได้แน่ชัด) เพราะภาษาไทยกับจีนเป็นภาษาตระกูลเดียวกันอยู่แล้ว คำที่ใกล้เคียงกันตั้งแต่โบราณก็มีอยู่ไม่น้อย

บางคำก็ยกมาใช้ในความหมายที่ต่างไปจากเดิมก็มีมาก ซึ่งจะยกไว้ข้างล่าง

 

คำทับศัพท์ไทยที่เอามาจากภาษาแต้จิ๋วนั้นมีอยู่มากมาย ในที่นี้จะขอยกมาพอที่รู้จักและเท่าที่ได้อ่านมา

- 国 คำว่าประเทศ อ่านเสียงองว่า "โคกุ" คำนี้แต้จิ๋วอ่านว่า "กก" คนไทยเรียกว่า "ก๊ก" นั่นเอง

- 館 คำนี้เป็นคำลงท้ายหมายถึงอาคารที่พักอะไรต่างๆ เสียงองว่า "คัง" คำไทยก็คือ "ก๊วน" นั่นเอง มาจากแต้จิ๋วว่า "ก้วง"

- 肥 อ่านเสียงองว่า "ฮิ" คำนี้ก็หมายถึง "ปุ๋ย" นั่นเอง แต้จิ๋วเรียกว่า "ปุ๊ย"

- 税 คำว่าภาษี อ่านเสียงองว่า "เซย์" ในภาษาไทยก็คือ "ส่วย" นั่นเอง ถอดมาจากแต้จิ๋วตรงๆ

- 仮 (จีนเขียน 假) อ่านเสียงองว่า "คะ" หมายถึงของปลอมหรือสมมุติขึ้น ในภาษาไทยคือคำว่า "เก๊" มาจากแต้จิ๋วว่า "แก้"

- 牌 เสียงองอ่านว่า "ไฮ" หมายถึงป้าย ในภาษาไทยก็คือคำว่า "ป้าย" นั่นเอง มาจากคำแต้จิ๋วว่า "ไป๊"

- 尾 อ่านเสียงองว่า "บิ" หมายถึงหาง คำนี้ในแต้จิ๋วอ่านว่า "บ้วย" คนไทยเอามาใช้อ่านว่า "บ๊วย" ในความหมายที่ว่าอยู่ท้ายแถว

- 道 คำว่าถนนหรือวิถีทาง อ่านเสียงองว่า "โดว" ซึ่งคำนี้ยังหมายถึงลัทธิเต๋าได้ด้วย คำนี้ในแต้จิ๋วอ่านว่า "เต๋า" ในภาษาไทยก็นำมาใช้ในความหมายของลัทธิเต๋า (ไม่เกี่ยวกับลูกเต๋า)

- 骰 อักษรนี้คนทั่วไปน่าจะไม่คุ้นนักเพราะมาจากคำว่า 骰子 ซึ่งปกติจะเขียนเป็นฮิรางานะว่า さいころ "ไซโกโระ" ซึ่งแปลว่าลูกเต๋า คำนี้ในแต้จิ๋วอ่านว่า "เต๊า" เป็นที่มาของคำว่า "เต๋า" ในภาษาไทยนั่นเอง

- 卓 อ่านเสียงองว่า "ทากุ" แปลว่า "โต๊ะ" แต้จิ๋วอ่านว่า "เตาะ" คำนี้ที่จริงต้องเขียนว่า 桌 ถึงจะแปลว่าโต๊ะ ส่วน 卓 จริงๆจะหมายถึงความโดดเด่น แต่ในภาษาญี่ปุ่นเขียนเป็นตัวเดียวกัน

- 交 + 椅 อ่านเสียงองว่า "โคว" กับ "อิ" เมื่อเขียนรวมกันเป็น 交椅 ในภาษาจีนหมายถึง "เก้าอี้" นั่นเอง ในแต้จิ๋วอ่านว่า "เกาอี้"

- 字 + 号 อ่านเสียงองว่า "จิ" กับ "โกว" เมื่อเขียนรวมกันเป็น 字号 อ่านแบบแต้จิ๋วว่า "หยี่ห่อ" ซึ่งก้หมายถึง "ยี่ห้อ" นั่นเอง

- 興 อ่านเสียงองว่า "โคว" หมายถึงรุ่งเรือง แต้จิ๋วอ่านว่า "เฮง" หมายถึงรุ่งเรือง หรือ โชคดี

- 衰 อ่านเสียงองว่า "ซึย" หมายถึงถดถอย แต้จิ๋วอ่านว่า "ซวย" หมายถึงเสื่อมถอย หรือ โชคร้าย ถ้ารวมกันเป็น 興衰 ก็คือ "เฮงซวย"

- 先生 อ่านว่า "เซนเซย์" หมายถึงอาจารย์ คุณหมอ หรือใช้เรียกอาชีพที่มีเกียรติทั้งหลาย คำนี้แต้จิ๋วก็ใช้เช่นเดียวกัน อ่านว่า "ซิงแซ" แต่ไทยเรียกเป็น "ซินแส" แต่คำนี้ในจีนกลางใช้ในความหมายต่างไปคนละเรื่องเลย โดยเป็นแค่คำลงท้ายแบบให้เกียรติธรรมดา (เหมือน "ซัง" ในภาษาญี่ปุ่น)

ชื่อพืชหรืออาหาร

- 仙 "เซง" ในภาษาไทยก็คือ "เซียน" นั่นเอง ในแต้จิ๋วอ่านว่า "เซียง" ส่วนคำว่า 水仙 คือดอก "จุ๊ยเซียน" ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า "ซึยเซง" (แต่บางทีก็ทับศัพท์เป็น ナルキッソス(narkissos,Νάρκισσος)) คำนี้เรียกตามแต้จิ๋วจริงๆต้องเป็น "จุยเซียง"

- 牡丹 "โบตัง" ที่คนไทยเรียกว่าดอก "โบตั๋น" มาจากแต้จิ๋วว่า "โบ๋วตัว"

- 梅 เสียงองอ่านว่า "ไบ" คำนี้ที่แปลว่าดอกบ๊วยนั่นเอง คำว่า "บ๊วย" นี้ในแต้จิ๋วก็อ่านว่า "บ๊วย" จริงๆ คนละคำกับคำว่าบ๊วยที่แปลว่าท้ายแถว แต่คนไทยชอบเอามาล้อกัน

- 韮 เป็นอักษรที่แทบไม่ใช้กันเนื่องจากปกติใช้เป็นคาตาคานะว่า ニラ "นิระ" หมายถึงผัก "กุยช่าย" ในภาษาจีนเขียนว่า 韭菜 แต้จิ๋วอ่านว่า "กู๋ฉ่าย"

- 豆腐 "โทวฟุ" ที่คนไทยเรียกว่า "เต้าหู้" นั่นเอง ในแต้จิ๋วอ่านว่า "เต่าหู่"

- 餅 ขนมโมจินั่นเอง เสียงองอ่านว่า "เบย์" อย่างเช่นในคำว่า 煎餅 "เซมเบย์" (ขนมเซมเบ้) คำนี้ในภาษาไทยก็คือขนม "เปี๊ยะ" มาจากแต้จิ๋วว่า "เปี้ย"

- 麺 (麵) คือคำว่า "เมง" หมายถึงอาหารประเภทเส้น ซึ่งก็คือคำว่า "หมี่" นั่นเอง ถ้ารวมกับคำว่า 肉 "นิกุ" ก็จะเป็น "บ๊ะหมี่" หรือที่คนไทยเรียก "บะหมี่" นั่นเอง

- 餃 จากคำว่า 餃子 "เกียวซะ" ก็คือ "เกี๊ยวซ่า" นั่นเอง คำว่า "เกี๊ยว" ก็คือเกี๋ยวที่เรารู้จักกันดีนั่นเอง คำนี้เป็นคำที่มาจากแต้จิ๋วซึ่งอ่านว่า "เกี้ยว"

คนในครอบครัว

- 姉 (จีนเขียน 姐) อ่านเสียงองว่า "ชิ" คำนี้ในภาษาไทยก็คือคำว่า "เจ้" นั่นเอง แต่บางคนเรียกเพี้ยนเป็น "เจ๊" ซึ่งฟังดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่ แต่ในแต้จิ๋วจริงๆต้องอ่านว่า "แจ้" (ไม่เกี่ยวกับไก้แจ้นะ)

- 兄 อ่านเสียงองว่า "เคียว" หมายถึงพี่ชาย คำนี้ในภาษาไทยก็คือคำว่า "เฮีย" นั่นเอง

- 叔 จากคำว่า 叔父 "โอจิ" หมายถึงคุณอาหรือคุณน้าผู้ชาย อ่านเสียงองว่า "ชุกุ" คำนี้ในแต้จิ๋วอ่านว่า "เจ็ก" ความหมายแคบกว่าคือหมายถึงคุณอาผู้ชายเท่านั้น (ถ้าน้าผู้ชายต้องใช้อีกคำ) แต่คำนี้คนไทยมักเอาไปเรียกว่า "เจ๊ก" ในความหมายไม่ค่อยจะดีนัก

- 伯 จากคำว่า 伯父 "โอจิ" ที่แปลว่าลุง (ทั้งฝั่งพ่อและฝั่งแม่) อ่านเสียงองว่า "ฮากุ" ในแต้จิ๋วอ่านว่า "แปะ" ใช้่ในความหมายแคบกว่าคือใช้เรียกลุงฝั่งพ่อเท่านั้น คำนี้คนไทยชอบเรียกว่า "แป๊ะ" ในความหมายที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่

คำที่นำมาใช้ในความหมายต่างจากเดิม

- 角 อ่านเสียงองว่า "คากุ" หมายถึงมุม ในภาษาไทยคือ "กั๊ก" มาจากแต้จิ๋วที่อ่านว่า "กัก" ภาษาไทยใช้ในความหมายที่ค่อนข้างต่างไป

- 鬼 ปกติคำนี้คุ้นเคยว่าอ่านว่า "โอนิ" ซึ่งเป็นเสียงคุง ส่วนเสียงองอ่านว่า "คิ" ความหมายก็คือยักษ์ผีปีศาจ คำนี้ในแต้จิ๋วอ่านว่า "กุ้ย" แต่ภาษาไทยใช้เอามาใช้ในความหมายที่ต่างไปนิดหน่อยคือเรียกว่า "กุ๊ย"

- 格 เสียงองอ่านว่า "คากุ" มักใช้ในคำประกอบ หมายถึงเกี่ยวกับโครงสร้าง ในภาษาไทยก็คือคำว่า "เก๊ะ" แต้จิ๋วอ่านว่า "แกะ"

- 承 เสียงองอ่านว่า "โชว" หมายถึงการยอมรับ ยอมตาม คำนี้ในภาษาแต้จิ๋วอ่านว่า "เซ้ง" ส่วนความหมายที่ภาษาไทยใช้กันกลายเป็นว่าโอนกิจการ

- 行 อ่านเสียงองว่า "โคว" หรือ "เกียว" ในแต้จิ๋วอ่านว่า "ฮั้ง" คนไทยเรียกว่า "ห้าง" อาคารร้าน

- 硬 คำว่าแข็ง เสียงองอ่านว่า "โคว" แต้จิ๋วอ่านว่า "แหง" ในภาษาไทยเอามาใช้หมายถึงว่าแน่นอน

- 和 เสียงองอ่านว่า "วะ" หมายถึงความสงบสุข ในภาษาไทยคือคำว่า "ฮั้ว" หมายถึงร่วมหัวกันทำอะไรที่ไม่ดี ทั้งที่คำนี้ทั้งในภาษาญี่ปุ่นหรือจีนล้วนมีความหมายดีทั้งนั้นเลย

- 死 อ่านว่า "ชิ" แปลว่าตาย แต้จิ๋วอ่านว่า "ซี่" คนไทยอ่านว่า "ซี้" ใช้ในความหมายว่าสนิทกันมาก มีที่มาจากคำว่าเพื่อนซี้ ซึ่งหมายถึงเพื่อนตาย พอถูกตัดสั้นเลยกลายเป็นความหมายนี้ไป

- 分 เสียงองอ่านว่า "ฟุง" มีความหมายว่า นาที หรือ ส่วนแบ่ง ภาษาไทยใช้ในความหมายว่า "หุ้น" มาจากแต้จิ๋วว่า "ฮุง"

- 乱 อ่านเสียงองว่า "รัง" หมายถึงยุ่งวุ่นวาย แต่ในภาษาไทยใช้เป็นคำว่า "หยวน" หมายถึงผ่อนปรน มาจากแต้จิ๋วว่า "หยวง"

- 玩 อ่านเสียงองว่า "กัง" แต่ปกจิเจอในรูปเสียงคุงคำว่า "โมเตอาโซบุ" หมายถึงเล่น ในภาษาไทยใช้เป็นคำว่า "ง่วน" หมายถึงมัวแต่จ่ดจ่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ แต้จิ๋วอ่านว่า "ง่วง"

- 忍 อ่านเสียงองว่า "นิง" หมายถึงอดทน หรือ ลักลอบ ภาษาไทยใช้เป็นคำว่า "ลุ้น" หมายถึงเฝ้ารออย่างจดจ่อ มาจากแต้จิ๋วคำว่า "ลุ่ง"

 

ตาราง สรุปทั้งหมด มีเพิ่มเสียงอ่านจีนกลางเข้ามาด้วย สำหรับภาษาญี่ปุ่นนั้นจะเขียนเสียงอ่านแบบองและวงเล็บเสียงอ่านแบบคุงหรือ เสียงอ่านพิเศษเอาไว้

อักษร

ไทย

แต้จิ๋ว

จีนกลาง

ญี่ปุ่น เสียงอง (คุง)

ก๊ก

กก

กั๋ว

โคกุ (คุนิ)

ก๊วน

ก้วง

กว่าน

คัง

ปุ๋ย

ปุ๊ย

เฝย์

ฮิ (โคเอะ)

ส่วย

ส่วย

ซุ่ย

เซย์

()

เก๊

แก้

เจี่ย, เจี้ย

คะ (คาริ)

ป้าย

ไป๊

ไผ

ไฮ

บ๊วย

บ้วย

เหว่ย์

บิ (โอะ)

เต๋า

เต๋า

เต้า

โดว (มิจิ)

เต๋า

เต๊า

โถว

(ไซโกโระ)

()

โต๊ะ

เตาะ

จัว

ทากุ

交椅

เก้าอี้

เกาอี้

เจียวอี่

โคว + อิ

字号

ยี่ห้อ

หยี่ห่อ

จื้อเฮ่า

จิ + โกว

興衰

เฮงซวย

เฮงซวย

ซิงไซว่

โคว + ซึย

先生

ซินแส

ซิงแซ

เซียนเซิง

เซนเซย์

水仙

จุ๊ยเซียน

จุยเซียง

สุ่ยเซีย

ซึยเซง

牡丹

โบตั๋น

โบ๋วตัว

หมู่ตาน

โบตัง

บ๊วย

บ๊วย

เหมย์

ไบ (อุเมะ)

(韭菜)

กุยช่าย

กู๋ฉ่าย

จิ่วไช่

(นิระ)

豆腐

เต้าหู้

เต่าหู่

โต้วฝุ

โทวฟุ

เปี๊ยะ

เปี้ย

ปิ่ง

เบย์ (โมจิ)

肉麺 ()

บะหมี่

บ๊ะหมี่

โร่วเมี่ยน

นิกุ + เมง

เกี๋ยว

เกี้ยว

เจี่ยว

เกียว

()

เจ้, เจ๊

แจ้

เจี่ย

ชิ (อาเนะ)

เฮีย

เฮีย

ซยง

เคียว (อานิ)

เจ็ก, เจ๊ก

เจ็ก

ซู

ชุกุ (โอจิ)

แปะ, แป๊ะ

แปะ

ปั๋ว

ฮากุ (โอจิ)

กั๊ก

กัก

เจี่ยว

คากุ (คาโดะ)

กุ๊ย

กุ้ย

กุ่ย

คิ (โอนิ)

เก๊ะ

แกะ

เก๋อ

คากุ

เซ้ง

เซ้ง

เฉิง

โชว (อุเกตามาวารุ)

ห้าง

ฮั้ง

หาง

โคว, เกียว (อิกุ)

แหง

แหง

อิ้ง

โคว (คาไต)

ฮั้ว

ฮั้ว

เหอ

วะ (นาโงมุ)

ซี้

ซี่

สื่อ

ชิ (ชินุ)

หุ้น

ฮุง

เฟิน, เฟิ่น

ฟุง (วาเครุ)

หยวน

หยวง

ลว่าน

รัง (มิดาสึ)

ง่วน

ง่วง

หวาน

กัง (โมเตอาโซบุ)

ลุ้น

ลุ่ง

เหริ่น

นิง (ชิโนบุ)

 

อ้างอิงเพิ่มเติม : หนังสือ ลูกหลานคนแต้จิ๋ว ของ เหล่าตั๊ง



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ภาษาศาสตร์ >> เรียนภาษา

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文