φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



คนขายหมากที่ไต้หวัน
เขียนเมื่อ 2011/05/07 10:47
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
ระหว่างที่ใช้ชีวิตตามปกติในไต้หวัน วันหนึ่งไปเข้าห้องน้ำที่สถานีรถไฟและก็เจอป้ายนี้เข้า
 
 
拒嚼檳榔
愛你清新好口氣
อย่าเคี้ยวหมาก
เพื่อลมปากที่สะอาดสดใส

ป้ายนี้นำไปสู่คำถามตามมาว่า ทำไมต้องห้ามเคี้ยวหมาก? ที่นี่มีคนเคี้ยวหมากเยอะเลยหรือ?

จึงไปถามอาจารย์ดูก็ได้ความว่าใช่จริงๆ ที่นี่คนนิยมเคี้ยวหมากกันมากแม้แต่คนหนุ่มสาว ซึ่งต่างจากบ้านเราที่เลิกเคี้ยวหมากกันไปนานแล้ว แถมการขายของเขายังไม่ธรรมดาเอามากเลยด้วย

ไม่ธรรมดายังไง? คือคนที่นี่เวลาขายหมากเขาต้องให้คนสาวๆมาเป็นคนขาย เพื่อล่อลูกค้า (?)
เราถามเพื่อนว่าทำไมแค่ขายหมากต้องถึงกับลงทุนเอาสาวซึ่งแต่งกายค่อนข้างบางๆมาขาย ทำอย่างกับขายอย่างอื่นมากกว่านั้นเลย... (ไม่ได้ล้อเล่น เขาขายแต่หมากจริงๆ) เพื่อนตอบว่า
ระหว่างคนขายแก่กับคนขายสาว เราจะอยากซื้อกับใครมากกว่ากัน? เราตอบไปว่า ถ้าของมันดีไม่ว่าคนขายคือใครมันก็เหมือนกันไม่ใช่หรือ ขายหมากนะเฟ้ย ไม่ได้ขายอย่างอื่น...

โดยเฉพาะเมืองที่เราเรียนอยู่คือเมืองจงลี่ (中壢市) เนี่ย มีร้านมีชื่อเสียงมากอยู่ร้านหนึ่งชื่อ tiffany เรานั่งรถผ่านเพื่อนก็ชี้ให้ดู ก็เห็นว่าร้านนี้ใหญ่พอดู หน้าร้านมีตู้กระจก มีสาวๆอยู่ข้างในนั้น ถ้าไม่บอกว่าเป็นร้านขายหมากนี่นึกว่าขายอย่างอื่นนะเนี่ย...

สาวขายหมากที่นี่เขามีชื่อเรียกว่า 檳榔西施 (ปิงหลางซีซือ) คำว่า 檳榔 (ปิงหลาง) หมายถึงหมาก ส่วนคำว่า 西施 (ซีซือ) นี่คนไทยรู้จักในชื่อว่า ไซซี ตามสำเนียงแต้จิ๋ว คือชื่อสาวงามคนหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน เพราะงั้น 檳榔西施 เลยหมายถึงสาวสวยที่ขายหมาก
 
 
สำหรับป้ายที่เราเห็นนี่ก็คือแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลเขาก็รณรงค์ให้เลิกหมากกันพอสมควร แต่ไม่ค่อยได้ผล

เพราะหมากมันมีผลเสียมากมาย ทั้งทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปาก ทั้งยังมีกลิ่นติดซึ่งไม่ค่อยดีเวลาพูดกับคนอื่น

เห็นเขาบอกว่าคนที่นี่กินหมากกันเยอะเพราะว่าทำงานกันดึกเลยนำมาเคี้ยวแก้ง่วง เราถามว่าถ้าแบบนั้นใช้หมากฝรั่งไม่ดีกว่าหรือ เขาก็บอกว่าข้างในหมากมันมีสารที่ทำให้ไม่ง่วงอยู่ด้วย (เราคิดในใจ แบบนั้นดื่มกาแฟแล้วตามด้วยเคี้ยวหมากฝรั่งแทนไม่ดีกว่าหรือ)
 
ไต้หวันมีคนเคี้ยวหมากมากถึง 7.6% ของประชากร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย (เพราะคนขายเป็นผู้หญิง?) ผู้ชายเคี้ยวหมากถึง 14.3% ในขณะที่ผู้หญิงเคี้ยวหมากมีแค่ 1.0%
อ้างอิง http://zh.wikipedia.org/wiki/檳榔
 
เห็นสัดส่วนคนเคี้ยวหมากแล้วน่ากลัวมากทีเดียว ก็ยังดีว่าคนที่เรารู้จักไม่เห็นมีใครเคี้ยวหมากเลย เราก็เลยไม่รู้ว่าคนที่นี่นิยมเคี้ยวหมากแค่ไหน

ถ้าหากว่าใครเอาคำว่าหมากในภาษาจีนคือ 檳榔 (ปิงหลาง) ไปถามหารูปกับอากู๋ละก็ ภาพที่จะเห็นส่วนใหญ่มันไม่ใช่ภาพห่อเขียวๆหมากพลูที่เราคุ้นเคย แต่เป็น...

นับเป็นเรื่องแปลกๆอีกเรื่องของไต้หวัน


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文