φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ของที่ระลึกจากไต้หวัน
เขียนเมื่อ 2011/08/06 11:07
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
จากที่ได้ไปอยู่ไต้หวันมา ๓ เดือน จนตอนนี้กลับมาแล้วก็มีของจากที่นั่นเก็บเหลือไว้กลับมาเล็กน้อย ตอนนี้ก็กลับมาจากที่นั่นได้นานระยะนึงแล้ว พอหยิบมาดูแล้วก็ให้ความรู้สึกคิดถึงขึ้นมาเลยทีเดียว
 
ที่จริงรู้สึกเสียดายที่ไม่ได้เอาอะไรกลับมามากเท่าไหร่เลย เพราะตอนที่จะกลับเนี่ยของมันเยอะก็เลยทิ้งอะไรไว้หลายอย่าง ไม่ได้เอากลับมา ที่พอจะพกกลับมาก็เลยเหลือแค่นี้


 

1. บัตรร้านอาหารใกล้ๆบ้าน
เป็นบัตรอาหารของร้านที่รู้จักแรกๆตั้งแต่ไปอยู่ที่นั่นเลย เพราะอยู่ใกล้ๆ แต่กินไม่กี่ครั้งก็ไม่ได้กินอีกเลย แม้ว่ามันจะอร่อยแต่มันก็แพงเกินไป ดูรายการแต่ละอย่าง ต่ำสุดคือข้าวผัดไข่เบคอนก็ 49 บาทเข้าไปแล้ว ด้านหลังบัตรเป็นช่องสะสมแต้ม ถ้าสะสมครบก็ได้กินฟรีอีกจาน แต่ก็ไม่ได้ตั้งใจสะสมเท่าไหร่หรอก เลยมีอยู่แค่สองช่องเท่านั้น
 


2. บัตรเติมเงินอเนกประสงค์
บัตรนี้ที่เรียกว่า โยวโหยวข่า (悠遊卡) หรือ easy card เอาไว้ใช้ทำอะไรได้หลายอย่างมาก ทำให้ตอนอยู่ที่นั่นยังไงก็ต้องมีติดตัวไวคือสามารถใช้ขึ้นรถไฟได้โดยไม่ต้องไปซื้อตั๋ว ใช้ขึ้นรถไฟฟ้าในไทเปได้ ใช้ขึ้นรถเมล์ในไทเปกับจีหลงได้ (แต่ในเถาหยวนที่เราอยู่ใช้ไม่ได้ ต้องมีอีกบัตร) นอกจากนี้ยังใช้ซื้อของในร้าน 7-eleven ได้ด้วย แต่เราไม่เคยใช้

การเติมบัตรก็ไปเติมได้ที่ 7-eleven ทุกสาขา หรือถ้าไปที่ไทเปก็จะมีเครื่องเติมเงินอัตโนมัติอยู่ที่สถานีรถไฟฟ้า
บัตรนี้ที่เห็นเป็นลายโดราเอมอนแบบนี้นี่คือไปซื้อที่ 7-eleven เลย มีหลายลายให้เลือกตามสบาย


3. บัตรรถเมล์เมืองเถาหยวน-จงลี่
เมื่อครู่เพิ่งบอกไปว่าบัตรโยวโหยวข่าใช้ได้แค่กับรถเมล์ในไทเปกับจีหลงเท่านั้น ถ้าหากไปเมืองอื่นก็ต้องซื้อบัตรรถเมล์ของเมืองนั้นใช้ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าทำไมเขาต้องแบ่งแยกกันให้ยุ่งยากด้วยเหมือนกัน

บัตรใบนี้สำหรับใช้กับรถเมล์ของเมืองเถาหยวนกับจงลี่ ซึ่งเท่านี้ก็คือครอบคลุมรถเมล์ส่วนใหญ่ที่วิ่งภายในจังหวัดเถาหยวน

แต่ไม่ใช่ว่ารถเมล์ทุกคันในจังหวัดเถาหยวนจะใช้บัตรนี้ได้หมด เพราะรถเมล์ของไทเปบางคันก็มีเส้นทางผ่านแถวนี้ ในกรณีนี้ก็ต้องกลับไปใช้โยวโหยวข่า
 


4. บัตรรถไฟความเร็วสูง
โยวโหยวข่าใช้ขึ้นรถไฟธรรมดาได้ แต่ใช้ขึ้นรถไฟความเร็วสูงไม่ได้ (แหงล่ะ) ถ้าหากจะนั่งรถไฟฟ้าความเร็วสูงก็ต้องซื้อบัตรเป็นเที่ยวๆ แต่ว่าแม้จะเป็นบัตรใช้ครั้งเดียวทิ้งแต่พอใช้เสร็จก็เก็บกลับบ้านไปเป็นที่ระลึกได้

เรามีโอกาสนั่งไปเที่ยวเมืองไถจงตอนช่วงที่ใกล้จะกลับแล้ว ตอนนั้นอยากนั่งดูสักครั้งเพราะถือว่าเป็นของแปลกไหนๆก็มีโอกาสแล้ว ซึ่งราคาก็อย่างที่เห็นว่าแพงมาก ขึ้นจากเถาหยวนไปไถจงซึ่งระยะทาง ๑๒๐ กม. ก็ ๕๒๐ บาทแล้ว แต่ก็คุ้มเพราะไปถึงที่หมายได้ในเวลาเพียง ๔๐ นาทีเท่านั้น



5. บัตรเข้าชมบริเวณแหลมเหยหลิ่ว
เคยเล่าไว้ใน
https://phyblas.hinaboshi.com/20110615

ค่าเข้าชม ๕๐ บาท ก็ถือว่าไม่แพงเลยเมื่อเทียบกับสิ่งที่ได้เข้าไปเห็น




6. ใบแผ่นพับของเหยหลิ่ว
อันนี้เป็นใบแผ่นพับแนะนำสถานที่ของเหยหลิ่ว ก็มีเก็บกลับมาด้วยเช่นกัน

 
7. เค้กสัปปะรด
เป็นของอร่อยมากของที่นั่นเลย ตอนรู้ว่าจะกลับก็เลยซื้อตุนกลับมาเยอะ จนป่านนี้ยังไม่หมดเลย ที่เห็นนี่เป็นชิ้นรองสุดท้ายแล้ว
 

8. กล้องถ่ายรูป BENQ
ของสำคัญที่สุดที่นำติดกลับมาด้วย ภาพถ่ายรูปอะไรต่างๆมากมายที่เขียนเป็นหน้าบล็อกมากมายในช่วงที่ผ่านมาก็มาจากกล้องนี้ซะส่วนใหญ่เลย ส่วนที่ไม่ใช่กล้องนี้ถ่ายก็คือมาจากกล้องมือถือซึ่งไม่ชัดเลย ดังภาพกล้องนี้ที่เห็น ภาพนี้แน่นอนว่าต้องใช้กล้องมือถือถ่ายเพราะกล้องถ่ายตัวมันเองไม่ได้

กล้องนี้เป็นยี่ห้อ BENQ ซึ่ง BENQ เนี่ยเป็นยี่ห้อของไต้หวัน ทำให้กล้องที่ขายในไต้หวันมี BENQ อยู่เยอะเป็นพิเศษ ในขณะที่ในไทยมี BENQ อยู่ไม่กี่รุ่นเอง และรุ่นที่ซื้อมาอันนี้ก็ไม่มีในไทยด้วย กล้องตัวนี้ราคา ๒๙๐๐ บาท ถือว่าไม่แพงแต่ประสิทธิภาพก็ล้นเหลือ
 
 
 
สุดท้ายขอปิดด้วยภาพที่ถ่ายวันสุดท้ายก่อนกลับ เป็นสิ่งที่ไม่ได้นำกลับมาด้วยแต่ได้ถ่ายไว้เป็นที่ระลึกก่อนทิ้ง สิ่งนั้นคือ...



ขวดชาที่ดื่มมาตลอด ๓ เดือน...
มีทั้งชาแดง ชาเขียว ชาอูหลง หลายชนิด แต่ที่ชอบมากสุดคือชาเขียวขวดสีเหลือง เป็นชาเขียวแบบไต้หวัน

นับรวมแล้วได้ ๔๕ ขวด เท่ากับดื่มเฉลี่ยราวๆสองวันต่อหนึ่งขวด


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文