φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ครัวเซ ชุมทางวงกต ณ ต่างแดน ตอนที่ 3-7
เขียนเมื่อ 2011/08/16 06:54
แก้ไขล่าสุด 2022/10/08 19:03
ikoku meiro no croisée ตอนที่ 3-7

เขียนต่อจากหน้าที่แล้ว
https://phyblas.hinaboshi.com/20110717 ที่เขียนถึงตอนที่ ๑-๒ ไป ครั้งนี้มาต่อทีรวดเดียวถึง ๕ ตอน

ที่เขียนแค่สองตอนแรกแล้วก็หายไปนี่เพราะว่าเนื้อหาตอนที่ ๑-๒ มันเยอะมากหากเทียบกับตอน ๓-๔ และตอนถัดๆไป ดังนั้นจึงรอรวบรวมเนื้อหาให้ได้ปริมาณใกล้เคียงกับตอนที่ ๑-๒ แล้วค่อยนำมาลงทีเดียว
ฉะนั้นรอบหน้าน่าจะเขียนถึงตอนตั้งแต่ ๘ ไปจนจบ

สำหรับในนี้จะมีพูดถึงภาษาญี่ปุ่นด้วยเล็กน้อย จากที่ตอนที่แล้วพูดถึงแต่ฝรั่งเศสอย่างเดียว ทั้้งนี้เพื่อไม่ให้เนื้อหาน้อยเกินไป

ถ้าอ่านมาตั้งแต่ตอนที่แล้วคิดว่าคงจะพอเริ่มชินกับการอ่านในแบบของภาษาฝรั่งเศสขึ้นมาไม่น้อยแล้ว มีอย่างหนึ่งที่อยากเพิ่มเติมก็คือเสียงอ่านตัว r ในภาษาฝรั่งเศสจะค่อนข้างพิเศษ คืออ่านยากมาก ไม่ใช่เสียง "ร" ตามที่เราคุ้นเคยกันแค่คล้ายๆเท่านั้น และยิ่งในกรณีที่เป็นตัวสะกดท้ายพยางค์จะไปคล้ายๆกับเสียง "ค" ซะมากกว่า แต่ก็ไม่ใช่เสียง "ค" จริงๆแค่ใกล้ๆ หนังสือบางเล่มแทนเสียง r ด้วย "ฆ" ก็มี

ยกตัวอย่างเช่นคำว่า partie ซึ่งแปลว่า "ตอนที่" จะมีพูดในช่วงตอนหลังเพิ่งเปิดก่อนเริ่มแต่ละตอนเสมอ ซึ่งจะได้ยินชัดเลยว่ามันออกเสียงเป็น "ปัคตี" ไม่ใช่ "ปาร์ตี"

อย่างไรก็ตามราชบัณฑิตกำหนดให้เขียนทับศัพท์เป็น "ร" เสมอ ดังนั้นเวลาเขียนจะเขียนแทนด้วย "ร" ตลอด ทั้งนี้เพื่อไม่ให้วุ่นวายและสับสนด้วย





14. 火熨斗 (hinoshi)

ยุเนะกำลังรีดผ้าด้วยเตารีดอยู่ที่บ้านโกล๊ดอยู่ และก็พูดถึงที่ญี่ปุ่นว่าที่ญี่ปุ่นเองก็มีของคล้ายๆกันแบบนี้อยู่เหมือนกัน ใช้ความร้อนมาช่วยลดรอยยับของผ้าเหมือนกัน

ฮิโนชิ (火熨斗) เป็นเตารีดแบบญี่ปุ่น รูปร่างคล้ายกระบวยยาว มักทำจากทองเหลือง ใช้จุดถ่านไว้ด้านในแล้วกดทับผ้าเหมือนเตารีด



15. baba
คุณปู่ออสการ์ให้ยุเนะลองกินขนมแปลกใหม่ชนิดหนึ่ง นั่นคือ บาบา (baba) เป็นเค้กชนิดหนึ่ง มีต้นกำเนิดมาจากยุโรปตะวันออก แต่ที่ฝรั่งเศสมีการนำมาดัดแปลงจนเกิดเป็น บาบาโอรอม (baba au rhum หรือ รัมบาบา rum baba ในภาษาอังกฤษ) อย่างที่ยุเนะกิน

ส่วนบาบาของแบบดั้งเดิมนิยมเรียกว่า babka ซึ่งมาจากคำเรียกชื่อขนมนี้ในภาษาโปแลนด์ มีความหมายว่าคุณยาย ลักษณะจะเป็นทรงกระบอกสูงใหญ่
http://en.wikipedia.org/wiki/Rum_baba


16. 湯音 (yune)
โกล๊ด เห็นยุเนะกำลังเขียนจดหมายอยู่และได้เห็นอักษรญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกก็รู้สึก ประหลาดใจ ยุเนะเขียนชื่อตัวเองเป็นภาษาญี่ปุ่นให้โกล๊ดดู

ชื่อยุเนะ (湯音) มาจากอักษรจีนสองตัวคือ 湯 (ยุ) หมายถึงน้ำร้อน และ 音 (เนะ) หมายถึงเสียง

ส่วนชื่อพี่สาวของยุเนะก็คือชิโอเนะ (汐音) อักษรตัวหน้าคือ 汐 (ชิโอะ) ตัวนี้หมายถึงคลื่นลม

โกล๊ด ซึ่งกำลังออกแบบป้ายหน้าร้านให้ลูกค้าอยู่จึงปิ๊งขึ้นมาว่าสามารถนำอักษร นี้ไปใช้เป็นป้ายหน้าร้านได้ เพราะอักษรจีนนั้นมีความสวยงามในตัวของมันอยู่แล้ว



17. Passage du Caire
โกล๊ดพายุเนะไปเดินเที่ยวชมปารีสท่ามกลางสายฝน ได้ชี้กาเลอรี (ปาซาฌ) อีกแห่งหนึ่งให้ดู กาเลอรีแห่งนั้นมีชื่อว่า ปาซาฌดูว์แกร์ (Passage du Caire)

สถานที่แห่งนี้มีอยู่จริงในปารีสด้วย เป็นกาเลอรีที่ตกแต่งเป็นแบบอียิปต์ มีเทพธิดาแห่งอียิปต์ประดับอยู่อย่างที่เห็น คำว่า Caire นี่ก็เป็นชื่อเรียกเมืองไคโรเมืองหลวงของอียิปต์ในภาษาฝรั่งเศสนั่นเอง ฉะนั้นปาซาฌดูว์แกร์ ก็หมายถึง ปาซาฌแห่งไคโร
http://fr.wikipedia.org/wiki/Passage_du_Caire


18. bourgeois
โกล๊ดพูดถึงอลิสว่าเป็นพวกบูร์ฌัว (bourgeois) คำนี้เป็นภาษาฝรั่งเศสที่มีการนำมาใช้ในภาษาอังกฤษด้วย แปลเป็นไทยจะตรงกับคำว่า กระฎุมพี ซึ่งต้องมาแปลไทยอีกที คำนี้เป็นชื่อเรียกชนชั้นหนึ่งในสังคมแบบศักดินา ปกติหมายถึงชนชั้นกลางซึ่งเป็นกลุ่มของพ่อค้านายทุนซึ่งมักจะมั่งคั่งร่ำรวย

ในภาษาญี่ปุ่นก็มีการใช้คำนี้ทับศัพท์เหมือนกัน (เขียนว่า ブルジョア) บางครั้งก็เคยเจอในอนิเมะหรือในเกมเหมือนกัน
http://en.wikipedia.org/wiki/Bourgeois
http://th.wikipedia.org/wiki/กระฎุมพี


19. théâtre

อลิสชี้ให้ยุเนะดูอาคารแห่งหนึ่งของท่านพี่เธอ เธอเรียกมันว่าเตอัทร์ (théâtre) ซึ่งถ้าไม่มีแอกเซนต์ กับ เครื่องหมายหมวกเจ๊ก ก็ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า theatre เลย ความหมายก็เหมือนกัน แปลว่าโรงละคร แต่เสียงอ่านต่างกันมากพอสมควรดังนั้นระวังอย่าอ่านผิด
http://fr.wikipedia.org/wiki/théâtre


20. salon

อลิสชี้ให้ยุเนะดูอาคารแห่งหนึ่งแล้วพูดว่านั่นคือซาลง (salon)

คำว่า salon เป็นภาษาฝรั่งเศสที่ใช้ทั้งในภาษาอังกฤษและเยอรมันด้วย (ในภาษาอังกฤษอ่านว่าแซลอน) ถ้าเปิดหาความหมายของมันละก็ จะเจอหลากหลายทีเดียว อาจหมายถึง งานแสดงศิลปะ ห้องรับแขกขนาดใหญ่ ร้านเสริมสวย

แต่ความหมายที่คิดว่าน่าจะใช่สำหรับที่อลิสพูดในเรื่องนี่น่าจะหมายถึง สมาคมที่ชุมนุมของชนชั้นสูง ภายในนั้นสุภาพสตรีค่อนข้างมีบทบาทสำคัญมาก (เป็นที่น่าสังเกตว่าสังคมฝรั่งเศสนั้นผู้หญิงมีบทบาทมากมาตั้งแต่สมัยนั้นแล้ว อลิสเองยังเคยพูดถึงเมื่อตอน ๔ ว่าปารีสมีไว้สำหรับผู้หญิง)
http://en.wikipedia.org/wiki/Salon_(gathering)


21. Marianne
โกล๊ดเห็นว่ายุเนะไม่ยอมไปไหนมาไหนหรือทำอะไรตามใจตัวเองเลย ก็เลยรู้สึกอยากให้ยุเนะเป็นอิสระบ้าง จึงชูเหรียญเงินซึ่งมีรูปเทพีมารียาน (Marianne) ให้ดู

มารียาน เป็นเทพีแห่งอิสรภาพ และเป็นสัญลักษณ์ของฝรั่งเศส มีการนำมาใช้เป็นรูปในเหรียญเงินสมัยก่อนของฝรั่งเศส เทพีเสรีภาพของอเมริกาซึ่งสร้างโดยกุสตาฟ เอแฟล (Gustave Eiffel วิศวะกรชาวฝรั่งเศสที่สร้างหอไอเฟล) ก็ได้รับอิทธิพลมาจากมารียานนี้เหมือนกัน
http://en.wikipedia.org/wiki/Marianne


22. crinoline
ชื่อตอนที่ ๖ นี้มาแปลก เพราะชื่อตอนในภาษาญี่ปุ่นเขียนว่า 鳥籠 (โทริกาโงะ = กรงนก) แต่ชื่อตอนในภาษาฝรั่งเศสกลับเขียนว่า ครีโนลีน (crinoline) มันคือโครงเหล็กแข็งที่เอาไว้ใส่ใต้กระโปรงเพื่อให้กระโปรงพองออกใหญ่

ซึ่งตอนหลังมารู้เหตุผลเอาตอนยุเนะพูดถึงครีโนลีนตอนท้ายเรื่อง เธอรู้สึกว่าครีโนลีนนี่มันเหมือนกรงนกเลย เพิ่งรู้เหมือนกันว่าชุดกระโปรงที่เห็นฟูๆแบบนี้ได้ก็เพราะใส่ของแบบนี้เอาไว้ด้านในนี่เอง ในมังงะไม่มีพูดถึง

ครีโนลีนเป็นคำที่ใช้เหมือนกันทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส เสียงอ่านต่างกันไม่มาก เวลาเขียนเป็นภาษาไทยก็เขียนเหมือนกัน
http://en.wikipedia.org/wiki/Crinoline


23. carte de visite
อลิสเอาอัลบัมรูปที่เธอเคยและกามีย์เคยถ่ายไว้มาเปิดให้ยุเนะดู ในนั้นมีภาพที่ถ่ายเป็น การ์ตเดอวิซิต (carte de visite) ซึ่งเป็นรูปแบบภาพถ่ายอย่างหนึ่ง คิดขึ้นในปี 1854 โดย อ็องเดร อดอล์ฟ เออแฌน ดิสเดรี (André Adolphe Eugène Disdéri) ภาพถ่ายอยู่บนกระดาษขนาดเล็ก เป็นวิธีการที่ทำได้ทีละจำนวนมากจึงราคาประหยัด สามารถนำไปใช้เป็นนามบัตรแจกได้ตามสบาย มีชื่อเสียงมากหลังจากที่ได้ถ่ายภาพจักรพรรดินโปเลียนที่ 3
http://en.wikipedia.org/wiki/Carte_de_visite


24. 詫び寂び (wabisabi)
อลิสเข้ามาหายุเนะพร้อมกับบอกว่าสั่งของญี่ปุ่นเข้ามาอีกเยอะเลย แล้วก็ให้ดูของชิ้นหนึ่งที่เธอเอาไปปักผมเพราะเข้าใจว่าเป็นปิ่นปักผม (แท้จริงแล้วเป็นอุปกรณ์ชงชา) ตรงนี้เธอใช้คำพูดคำว่า วาบิซาบิ (詫び寂び) ด้วย เนื่องจากเห็นว่าน่าสนใจจึงขอเอามาพูดถึงสักหน่อย

ความจริงแล้วความหมายของคำนี้ค่อนข้างแปลเป็นไทยได้ยาก ต้องอธิบายยาวเหมือนกัน แต่ในซับที่ทำเราแปลไปโดยสรุปออกมาให้เข้าใจง่ายๆได้ว่าเป็น "วิถีความเป็นธรรมชาติและความสงบ"


25. bise
ตอนที่ ๗ อลิสมาหายุเนะที่ร้านดังเช่นเคยแต่กลับเรียกยุเนะอย่างสนิทสนมขึ้น จากเดิมเรียก "ซัง" (ในซับแปลเป็น "คุณยุเนะ") ตอนนี้เปลี่ยนมาเรียก "ยุเนะจัง" (ในซับแปลเป็น "ยุเนะ" เฉยๆ) ก่อนบอกลาครั้งนี้อลิสได้เข้ามาจูบยุเนะ อย่างไรก็ตามที่ญี่ปุ่นไม่มีธรรมเนียมเช่นนี้ ทำให้ยุเนะตกใจและหน้าแดงไปเลยทีเดียว
การจูบเพื่อทักทายแบบนี้ภาษาฝรั่งเศสเรียกว่า บีซ (bise) ใช้ได้ทั้งเวลาทักทาย ขอบคุณ บอกลา



(ภาพบนจากตอน ๓, ภาพล่างจากตอน ๗)
26. paris
ปิดท้ายตอนด้วยเรื่องของปารีส พอดีว่ามีประเด็นน่าสนใจอยู่เล็กน้อย

แม้ว่าสมัยนี้ญี่ปุ่นนิยมเขียนคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศที่ไม่ใช่ภาษาจีนกับเกาหลีด้วยตัวคาตาคานะหมดแล้ว แต่สมัยก่อนนั้นญี่ปุ่นมักจะเขียนชื่ออะไรต่างๆด้วยคันจิ เช่นเดียวกับภาษาจีน

ดังนั้นพวกชื่อเมืองดังๆที่ญี่ปุ่นรู้จักมาตั้งแต่สมัยก่อนๆแล้วก็จะมีวิธีการเขียนเป็นคันจิอยู่ ซึ่งเป็นการเขียนที่ค่อนข้างไม่มีหลักตายตัวเท่าไหร่ นอกจากนี้ยังไม่ตรงกับการเขียนในภาษาจีนด้วย เพราะเสียงอ่านของอักษรเดียวกันในภาษาญี่ปุ่นกับจีนก็ต่างกันอยู่แล้ว

มีเรื่องตลกว่าในขณะที่ญี่ปุ่นเขียนชื่อปารีสว่า
巴里 (อ่านว่าปาริ) แบบนี้ ในภาษาจีนคำว่า 巴里 (
อ่านว่าปาหลี่) กลับหมายถึง เกาะบาหลี ซึ่งเป็นเกาะในอินโดนีเซีย ส่วนคำว่าปารีสเองในภาษาจีนจะเขียนว่า 巴黎 (อ่านว่าปาหลี)

อนึ่ง
เนื่องจากในภาษาฝรั่งเศสบ่อยครั้งที่ตัวสะกดท้ายคำไม่ออกเสียง (แต่บางครั้งมันก็ออกเสียงต้องระวังให้ดี)
คำอ่านที่แท้จริงของชื่อ paris ต้องอ่านว่า "ปารี" ไม่ใช่ "ปารีส"


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- บันเทิง >> อนิเมะ

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文