φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



แท่นบูชาศตวรรษแห่งจีน
เขียนเมื่อ 2011/11/11 22:24
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#ศุกร์ 11 พ.ย. 2011

วันนี้เพิ่งสอบเสร็จ ก็เลยไปหาที่เที่ยวผ่อนคลายสักหน่อย ไหนๆช่วงนี้ก็เป็นช่วงที่ใบไม้กำลังสวยเลยคิดว่าไปหาที่เที่ยวที่เป็นธรรมชาติเดินคงจะดี

ครั้งนี้เราเลือกไปเดินที่สวนสาธารณะยวี่ยวนถาน (玉渊潭公园) ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยที่เราอยู่นัก

แต่เมื่อลงรถไฟฟ้าแล้วจะเดินไปทางผ่านจะต้องเจอกับ จงหัวซื่อจี้ถาน (中华世纪坛) แปลว่า แท่นบูชาศตวรรษแห่งจีน ซึ่งเป็นสถานที่ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งก่อน ดังนั้นจึงจะขอมาเล่าถึง

รายละเอียดคร่าวๆ

แท่นบูชาศตวรรษแห่งจีนตั้งอยู่ในเขตไห่เตี้ยน ห่างจากใจกลางเมืองมาทางตะวันตก ใกล้กับรถไฟฟ้าสถานีพิพิธภัณฑ์การทหาร (地铁军事博物馆站) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อต้อนรับศตวรรษที่ ๒๑ โดยประกอบด้วยส่วนต่างๆดังนี้


1. ลานกว้างไฟศักดิ์สิทธิ์ (圣火广场) เป็นลานกว้างเล็กๆติดถนนฟู่ซิง ตรงกลางมีไฟศักดิ์สิทธิ์ตั้งอยู่
2. ระเบียงสำริด (青铜甬道) เป็นทางเดินยาวทอดจากทิศใต้ไปเหนือซึ่งเขียนสลักประวัติศาสตร์ของจีนเอาไว้
3. หอศิลปะโลก (世纪艺术馆) เป็นตัวอาคารรูปนาฬิกาแดด ข้างในจัดแสดงศิลปะต่างชาติ
4. สวนสาธารณะบริเวณรอบ เป็นสวนเล็กๆที่ต่อเชื่อมกับสวนสาธารณะยวี่ยวนถาน
5.ระฆังศตวรรษแห่งจีน (中华世纪钟) ระฆังขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในสวนสาธารณะ



เริ่มแรกนั่งรถไฟฟ้ามาลงที่สถานีพิพิธภัณฑ์การทหาร ซึ่งเป็นที่เดียวกับที่ต้องมาลงเมื่อครั้งที่ไปสถานีรถไฟตะวันตกของปักกิ่ง https://phyblas.hinaboshi.com/20111005



ซึ่งก็อยู่ใกล้กับสวนสาธารณะยวี่ยวนถานและแท่นบูชาศตวรรษมากที่สุด อาคารที่เห็นอยู่นี้ก็คือพิพิธภัณฑ์การทหาร (军事博物馆, จวินซื่อปั๋วอู้กว่าน) ซึ่งอยู่หน้่าสถานีที่ลง ที่นี่เป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ น่าสนใจเหมือนกัน แต่สำหรับวันนี้มันไม่ใช่เป้าหมายหลัก เราจะผ่านมันไปเฉยๆ ไว้มีโอกาสได้แวะมาชมก็จะอธิบายถึงสถานที่แห่งนี้โดยละเอียดอีกที





ภาพถ่ายจากด้านหน้า แต่ไม่สวยเท่ามุมในรูปข้างบน



เป้าหมายของเราตอนนี้ต้องเดินไปทางตะวันตก จะเจอกับแท่นบูชาศตวรรษ




ส่วนแรกที่เจอจากตรงนี้เรียกว่า เซิ่งหั่วกว๋างฉ่าง (圣火广场) แปลว่า ลานกว้างไฟศักดิ์ศิทธิ์ อย่างที่เห็นคือเป็นลานกว้าง (ที่เล็กนิดเดียว) และมีไฟจุดอยู่ตรงกลาง มีรั้วล้อม



ไฟนี้ส่องสว่างตลอดทั้งกลางวันกลางคืนไม่เคยดับ ลานนี้ปูด้วยกระเบื้องหินแกรนิต ๙๖๐ ชิ้น ตามขนาดพื้นที่อาณาเขตของจีนที่กว้าง ๙๖๐ ตารางกิโลเมตร





ทางเดินนี้เรียกว่าชิงถงถ่งเต้า (青铜甬道) แปลว่าระเบียงสำริด จะเห็นเป็นทางเดินยาวที่ผู้คนต่างเดินไปเรื่อยๆ




พื้นสีดำๆนั้นถ้ามองผ่านๆก็เหมือนกับพื้นธรรมดาแต่ว่า...




เมื่อมองลงไปดีๆจะเห็นว่ามันเป็นพื้นแกะสลักที่ทำจากสำริดซึ่งบรรจุประวัติศาสตร์เอาไว้ โดยเริ่มจากกำเนิดมนุษย์ จนสร้างอารยธรรม แล้วก็เข้าสู้ยุคประวัติศาสตร์ ยิ่งเราเดินไปข้างหน้าเรื่อยๆก็เหมือนประวัติศาสตร์เดินหน้าไปเรื่อยๆ ตัวถนนกว้าง ๓ เมตร ยาว ๒๖๒ เมตร



น่าเสียดายมีแต่ภาษาจีน นักท่องเที่ยวต่างชาติถ้าไม่มีไกด์มาด้วยก็คงไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคืออะไรแล้วก็ผ่านไปโดยไม่ได้สนใจ แต่ต่อให้อ่านออกก็เถอะ ใครจะมาเดินไล่อ่านทีละนิดล่ะเนอะ กลับไปบ้านเปิดหนังสือดีกว่า แต่ก็ถือว่าเป็นความคิดที่สร้างสรรค์ดีมาก

ถนนสายนี้มาสุดตรงหน้าอาคารตรงหน้า



ยิ่งใกล้ปัจจุบัน ปีนึงยิ่งเขียนรายละเอียดเยอะและยาว พอเข้าช่วงปี 1900 เป็นต้นมา แต่ละปีก็เป็นช่องใหญ่และมีรูปราศีนักษัตรด้วย



แล้วก็มาสุดที่ปีมังกรปี 2000 ซึ่งก็ไม่ใช่ปีที่มีอะไรเดิ่นเลย เพียงแต่สถานที่แห่งนี้ถูกสร้างขึ้นตอนปี 2000 ปี 1999 อ่านดูแล้วกลับสำคัญกว่าเพราะเป็นปีที่มาเก๊ากลับสู่การปกครองของจีน



สำหรับตึกที่อยู่ตรงสุดทางของถนนก็คือ พิพิธภัณฑ์ศิลปะโลก (世界艺术馆, ซื่อเจี้ยอี้ซู่กว่าน) ตัวอาคารออกแบบเป็นรูปนาฬิกาแดด ข้างในจัดแสดงศิลปะต่างประเทศ



เราไม่ได้เข้าไปข้างใน จึงเดินต่อมาด้านข้าง เจอสวนที่มีระฆังขนาดใหญ่อยู่ เรียกว่า จงหัวซื่อจี้จง (中华世纪钟) แปลว่าระฆังศตวรรษแห่งจีน



ระฆังนี้สูง ๖.๘ เมตร หนัก ๕๐ ตัน หนักและใหญ่กว่าระฆังหย่งเล่อ (永乐大钟) ในวัดระฆังใหญ่ (大钟寺) ซึ่งมีชื่อเสียงเสียอีก แต่เทียบกันไม่ได้เพราะระฆังนี้เพิ่งถูกสร้างขึ้น ไม่ใช่ของโบราณ




บนแท่นระฆังมองออกไปจากตรงนี้เห็นพิพิธภัณฑ์การทหารอยู่ไกลด้านโน้นด้วย



สวนบริเวณนี้สวยมากเลย



มองกลับไปเห็นด้านหลังของพิพิธภัณฑ์ศิลปะโลก



ด้านซ้ายไกลๆก็เห็นพิพิธภัณฑ์การทหารด้วย



จากนั้นก็เดินผ่านสวนมา และแล้วก็มาถึงบริเวณทางเข้าสวนสาธารณะยวี่ยวนถานตามเป้าหมาย ใช้เวลาไปพอควรทีเดียว แผ่นหินข้างหน้านี้สลักคำว่า ยวี่ยวนถาน (玉渊潭) เป็นสัญลักษณ์แสดงว่าเรามาถึงแล้ว



อนึ่ง อันที่จริงตอนแรกหน้านี้กะเล่าถึงสวนสาธารณะยวี่ยวนถานที่ว่านี้เป็นหลัก แต่เขียนไปเขียนมากว่าจะเล่าถึงจงหัวซื่อจี้จงเสร็จก็จบก็ยาวมากแล้วจึงขอตัดแบ่ง หน้านี้เล่าถึงจงหัวซื่อจี้ถานเป็นหลัก

สำหรับหน้านี้ก็คงจบเพียงเท่านี้ ไว้ต่อไปจะพูดถึงสวนสาธารณะยวี่ยวนถาน ซึ่งไปเดินชมมาจนทั่ว สวยงามมากทีเดียว

>> อ่านต่อ สวนสาธารณะยวี่ยวนถาน และหอคอยที่สูงที่สุดในปักกิ่ง https://phyblas.hinaboshi.com/20111114



อ้อ วันนี้เป็นวันที่ ๑๑ เดือน ๑๑ ปี ๒๐๑๑ สำหรับที่จีนแล้วเขาถือว่าเป็นวันคนโสด เขาเรียกว่ากวางกุ้นเจี๋ย (光棍节) ที่ถือเป็นวันคนโสดก็เนื่องจากมีแต่เลข ๑ เต็มไปหมด

ดังนั้นขอทิ้งท้ายหน้านี้ด้วย... สวัสดีวันคนโสด




-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文