φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
สอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น ระดับ N1 (4 ธันวาคม 2011) ที่จีน
เขียนเมื่อ 2011/12/05 01:13
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
และแล้วก็ถึงช่วงสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นเช่นเคย ปีนี้เราก็ยังคงสอบ N1 อีก แต่แปลกกว่าปีก่อนๆตรงที่ครั้งนี้สอบที่จีน
การสอบที่จีนนั้นก็ต่างจากสอบที่ไทยในหลายๆด้าน แต่ที่เหมือนกันแน่ๆคือข้อสอบ ดังนั้นไม่ว่าจะสอบที่ไหนก็มาตรฐานเดียวกันทั้งโลก
การสมัครสอบของที่จีนนั้นเขาใช้ระบบลงทะเบียนออนไลน์ล้วนๆ และจ่ายเงินก็ต้องจ่ายผ่านทางออนไลน์เช่นกัน
ศูนย์สอบในจีนมีอยู่เกือบร้อยแห่ง กระจายอยู่ตามเมืองหลักๆแต่ละมณฑล เพราะประเทศทั้งใหญ่และประชากรก็มาก
รายชื่อศูนย์สอบทั้งหมด
http://jlpt.etest.net.cn/kdinfo.do?kdid=info
เวลาสมัครต้องรีบจองสถานที่สอบเพราะแต่ละที่มีจำนวนจำกัด ถ้าเต็มแล้วก็ต้องเปลี่ยนเป็นไปเลือกที่อื่นทันที
ปัญหาก็คือคนมักจะสอบที่เมืองใหญ่อย่างปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้กันเยอะมาก แม้ว่าทั้งสองเมืองนี้จะมีจำนวนศูนย์สอบมากกว่าที่อื่น แต่ก็มักจะเต็มอย่างเร็วมาก
เราไม่ได้รีบจองตั้งแต่วันแรกที่เปิดรับสมัคร ดังนั้นศูนย์สอบในปักกิ่งเต็มไปเรียบร้อย สุดท้ายก็เลยเลือกสมัครสอบในเทียนจิน
เพราะฉะนั้น เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาเราจึงได้เดินทางมาที่เทียนจินเพื่อดูสถานที่สอบ ดังที่เล่าไปใน
https://phyblas.hinaboshi.com/20111202
ในวันนั้นเราได้มาดูสถานที่สอบแล้วจริงๆ สถานที่สอบอยู่ที่
มหาวิทยาลัยเทียนจิน (天津大学)
ซึ่งได้มีเล่าถึงไปใน
https://phyblas.hinaboshi.com/20111218
และแล้วก็มาถึงวันนี้ ๔ ธันวาคม วันที่สอบ เราเดินทางไปเทียนจิน ถึงสถานีรถไฟตอนประมาณแปดโมงครึ่ง หลังจากนั้นก็หาป้ายรถเมล์ แต่ทว่า...
มาเที่ยวนี้เราพลาดตรงที่
- รอบที่แล้วเราไปเที่ยวก่อนค่อยตรงไป ม. เทียนจิน ดังนั้นเราไม่รู้สายรถเมล์ที่ตรงจากสถานีรถไฟไป ม. เทียนจิน
- ขากลับตรงจาก ม. เทียนจิน กลับมาสถานีรถไฟโดยตรงก็จริง แต่เราลืมไปว่าตัวเองนั่งสายไหนและขึ้นจากป้ายไหน คือชื่อป้ายรถเมล์ที่อยู่หน้ามหาวิทยาลัยมันไม่ได้ใช้เป็นชื่อมหาวิทยาลัย
- แผนที่เทียนจินที่เรามีอยู่ละเอียดน้อยกว่าแผนที่ของปักกิ่งมาก ไม่ได้บอกข้อมูลเรื่องสายรถเมล์เลย
- ผังเมืองของเทียนจินเรียงไม่เป็นระเบียบเลย ผิดกับของปักกิ่งที่วางไว้อย่างเข้าใจง่าย
ผลเป็นยังไงน่ะหรือ...
สุดท้ายเราก็ต้องเดินเท้าจาหสถานีรถไฟไปยัง ม. เทียนจิน ด้วยตัวเอง
ระยะทางเท่าไหร่...? หลังจากกลับมาถึงก็ลองใช้เครื่องมือวัดระยะทางของ google earth วัดดูพบว่าเราเดินทางไกลถึง... ๕ กิโลเมตร!
จากรูปเป็นเส้นทางที่เดิน จากสถานีรถไฟทางขวาบน ไปยังมหาวิทยาลัยเทียนจินด้านซ้ายล่าง
เรื่องราวทั้งหมดเริ่มจากที่หน้า
สะพานเจี่ยฟ่าง (解放桥)
ซึ่งเป็นสะพานที่ตั้งอยู่หน้าสถานีรถไฟ
เราไปถามคุณลุงคนขับรถแท็กซีที่กำลังยืนมองหาผู้โดยสารอยู่ว่าป้ายรถเมล์ ที่จะไป ม. เทียนจิน ได้อยู่ที่ไหน
คุณลุงตอบมาว่า ม. เทียนจิน มันไกลนะ เดี๋ยวไปส่งให้ ๓๐ หยวน เราตอบไปว่าไม่เป็นไรอยากขึ้นรถเมล์ เขาก็เซ้าซี้ต่อว่า รู้เหรอรถเมล์ไปไง เราก็ตอบไม่รู้หรอก (พร้อมคิดในใจว่าเพราะไม่รู้เลยมาถามไง) เขาบอกว่าแท็กซี่ง่ายกว่านะ ต่อเดียวถึงเลย ไม่ต้องกลัวหลง เราเลยบอกว่าไม่เอาแท็กซี่มันแพงอะ รถเมล์แค่ ๒ หยวนเอง เขาเลยบอกลดเหลือ ๒๕ หยวนก็ได้ เราก็ยังคงไม่ยอม พอเดินออกไปเขาก็ตามมาตื๊อแล้วบอกว่า ๒๐ หยวนก็ได้... สรุปว่าจะเอาให้ได้เลยใช่มั้ยเนี่ย... เราพยายามปฏิเสธจนในที่สุดเขาก็เลิกไป
จากนั้นก็มีคนขับสามล้อรับจ้างมาถามเราว่าจะไปไหน เราก็เลยลองถามดู คนนี้ตอบดีหน่อย เขาตอบดีๆเลยทันทีว่า มีรถเมล์สาย 8 ที่สามารถไปถึงได้ แต่พอถามว่าขึ้นป้ายที่ไหนเขาก็กลับตอบว่าป้ายมันอยู่ไกลนะ ขึ้นรถมาสิเดี๋ยวไปส่งให้ ๑๐ หยวนเอง... สรุปว่าก็ไม่วายจะเอาเงินจากเราอยู่ดี เราปฏิเสธไปเขาก็บอกว่างั้น ๗ หยวนก็ได้ เราก็ยืนยันหนักแน่นว่าจะเดินไป
อนึ่ง ในจีนพยายามอย่าไปใช้บริการรถแท็กซี่ประเภทที่ไม่ยอมเก็บเงินตามมิเตอร์ พวกนี้จะเก็บค่าโดยสารแพงเกินควร แม้จะต่อราคาได้ขนาดนี้ก็ยังแพงอยู่ดี พวกนี้ช่างตื๊อมากอย่าใจอ่อนเชียว
สุดท้ายเราเลยถามให้เขาชี้ทางไปให้ เขาบอกว่าต้องข้ามสะพานไปฝั่งโน้นแล้วก็เลี้ยวขวาแล้วก็ บลาๆๆ... เราก็ลองไปตามนั้น แต่ปรากฏว่า...
หลง... หาป้ายรถเมล์ที่ว่าไม่เจอเลย พลาดแล้ว
เริ่มรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านหลงทางซะแล้ว คือไปไหนมาเยอะหลงทางมาบ่อยจนชิน เพราะฉะนั้นจึงไม่เคยกลัวหลงทางเลย เพราะสุดท้ายก็หาทางได้ทุกครั้ง แล้วหลังหลงทางมักจะรู้ทางมากขึ้นอีกเยอะเลย
ระหว่างที่กำลังเดินหาป้ายรถเมล์ เราก็เดินเข้าใกล้ ม. เทียนจิน ไปเรื่อยๆทีละนิดๆ หวังว่าต่อให้ไม่เจอรถเมล์ที่ขึ้นได้ก็ขอให้เข้าใกล้ที่หมายมากขึ้นทีละนิดก็ประหยัดเวลาไปได้
ดูจากแผนที่มีถนนสายหนึ่งที่น่าจะตรงไปยังมหาวิทยาลัยได้ เราเลยเดินไปตามถนนสายนั้นเรื่อยๆ คิดว่าถ้ามรถเมล์มันก็คงตรงไปถึงที่หมายได้ แต่เดินไปเรื่อยๆเดินไปเท่าไหร่ก็ไม่เจอสักที
แล้วเราเลยตัดสินใจลองถามคุณลุงที่เจอข้างทาง ว่าแถวนี้ไม่มีป้ายรถเมล์เลยเหรอ เขาก็บอกมาว่าไม่มีหรอก เดินไปสะดวกกว่านะ ใกล้นิดเดียวเอง
สรุปไม่ต้องหาป้ายรถเมล์แล้ว เดินไปเลยหมดเรื่อง ตอนนั้นเราเดินมาจนระยะทางเหลือแค่ ๑.๕ กม. แล้วโดยไม่รู้ตัว แบบนี้เดินอีกไม่ถึงครึ่งชั่วโมงก็ถึง
นั่นเป็นเรื่องของการเดินทาง... เอาเป็นว่าสุดท้ายก็มาถึงสนามสอบ ม. เทียนจิน การมาครั้งนี้เป็นรอบที่สอง ที่จริงกะจะเขียนถึงตอนที่มารอบแรก แต่ยังไม่มีเวลาจึงขอเขียนถึงภายหลัง
ประตูตะวันออก ม. เทียนจิน
ลองมองน้ำในคลองข้างหน้านี่จะรู้สึกว่ามันเริ่มแข็งเป็นน้ำแข็งแล้ว ด้วยอุณหภูมิตอนนั้นที่อยู่ประมาณศูนย์องศา
เราไปถึงก่อนเวลาพอสมควรเลยได้มีไปเดินเล่นใน
มหาวิทยาลัยหนานไค (南开大学)
ซึ่งอยู่ข้างๆกัน
https://phyblas.hinaboshi.com/20111222
หลังจากนั้นก็รีบกลับมาตอนเที่ยงกว่าๆ เพื่อไปรอสอบ ตอนที่ไปถึงเห็นคนเยอะแยะเต็มไปหมด ไม่ต่างจากสอบที่ไทย แต่ก็ดูไม่แออัดเท่า
และนี่คืออาคารที่สอบ
ภาพในห้องสอบ (ยังอุตส่าห์ถ่ายอีก)
บรรยากาศในอาคารที่สอบหลังสอบเสร็จ
หลังสอบเสร็จก็เย็นแล้ว ภายใน ม. เริ่มเปิดไฟ ดูบรรยากาศแล้วก็สวยทีเดียว
แต่ผลการสอบนี่สิไม่ดีเลย เราทำพลาดอย่างมหันต์ คือว่าข้อสอบแบ่งเป็นสองช่วงคือช่วงการอ่าน กับช่วงการฟัง ช่วงการอ่านสามารถไปเข้าห้องน้ำเมื่อไหร่ก็ได้ สวนช่วงสอบการฟังไม่สามารถออกไประหว่างสอบได้เลย
ที่พลาดก็คือคิดว่าช่วงระหว่างสอบสองอย่างนี้จะมีแวะพัก ๑๐ นาทีเหมือนกับตอนสอบที่ไทย แต่มันไม่มี!
แล้วเราดันปวดฉี่ตอนช่วงก่อนที่จะสอบการอ่านเสร็จไม่นาน ซึ่งตอนนั้นก็คิดว่ายังไงเดี๋ยวสอบเสร็จก็มีพักเลยไม่ได้ขอไปเข้าห้องน้ำ
สุดท้ายพอรู้ว่าไม่มีพัก ผลก็คือเราต้องทนอย่างนั้นไปตลอดช่วงสอบการฟัง ซึ่งยาวถึงหนึ่งชั่วโมง จะออกก็ไม่ได้ สมาธิก็ไม่มี
ก็เลยทำสอบการฟังแทบจะไม่ได้เลย ทั้งที่ปกติมันควรเป็นส่วนที่ทำคะแนนได้ดี การสอบครั้งนี้จบลงอย่างสลดใจ เป็นความทรงจำที่ไม่ดีเลย
แต่ก็ไม่เป็นไร อย่างน้อยก็ได้มาลองสอบยังต่างแดนครั้งแรก เป็นประสบการณ์ที่ดีทีเดียว ครั้งหน้าก็ตั้งใจว่าจะยังคงสอบอยู่ และจำไม่ยอมพลาดแบบนี้แล้ว
แต่ปัญหายังไม่จบแค่นั้น (เป็นวันที่เรื่องเยอะจริงๆ) พอสอบเสร็จกลับมาถึงสถานีรถไฟ เรากลับมาถึงราวๆ ๖ โมง เข้าไปจะซื้อตั๋วรถไฟกลับปักกิ่งปรากฏว่า...
ตั๋วที่ออกในเวลาใกล้ๆนี้เต็มหมดแล้ว เหลือตั๋วเร็วสุด ๘ โมงครึ่ง แถมเป็นตั๋วยืนไม่มีที่นั่งด้วย แต่ถ้าซื้อรอบ ๘ โมง ๕๕ จะได้ที่นั่ง แต่มันรอต่างกันตั้ง ๒๕ นาทีเลยเชียว แถมไม่ว่าจะมีที่นั่งหรือเปล่าราคาก็เท่ากันคือ ๕๕ หยวน ไม่มีความแตกต่างเลย
คิดว่าเราตัดสินใจยังไง... จะเอาที่นั่ง... หรือจะรอเพิ่มอีก ๒๕ นาที... ลองทายดู...
...แน่นอนอยู่แล้ว ดึกออกขนาดนี้ให้รอคงไม่ไหวแล้วล่ะ แล้วระยะเวลาเดินทางในรถไฟมันก็แค่ครึ่งชั่วโมง ไม่ได้นั่งก็ไม่เห็นเป็นไรเลย สุดท้ายก็เลือกกลับ ๘ โมงครึ่ง โดยยืนตลอดทางกลับ
ถึงอย่างนั้นก็ช้ามากอยู่ดี ตั้งสองชั่วโมงครึ่งจะไปทำอะไรดีล่ะ
ก่อนอื่นก็กินข้าวก่อนเลย
บะหมี่ซุปเห็ด (香菇汤面)
จานนี้กินที่ร้านข้างสถานีรถไฟ ราคาตั้ง ๑๕ หยวนแน่ะ แพงแต่ไม่มีทางเลือก นี่ถูกสุดในร้านแล้ว
แต่กินเสร็จแล้วก็ยังเหลือเวลา ไปทำไรดีล่ะ ใช่แล้วลองใช้เวลาที่เหลืออยู่เที่ยวกลางคืนดูสักหน่อยเป็นไง
นั่นจึงเป็นที่มาของหน้าบล็อกหน้าต่อไป
"ยามราตรีในเทียนจิน"
https://phyblas.hinaboshi.com/20111206
เป็นแผนการเที่ยวแบบเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจ แต่ก็ให้ความรู้สึกดีเกินคาดทีเดียว
เทียนจินตอนกลางคืนนั้นสวยไปอีกแบบ
ส่วนเรื่องสอบครั้งนี้เราคงไม่มีหวังแล้ว แต่ก็ขอให้คนอื่นโชคดีสอบผ่านกัน
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
บันทึก
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
เทียนจิน
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
การทำให้ comfyui ตรวจจับภาพไม่เหมาะสม (NSFW) แล้วทำการเซนเซอร์โดยอัตโนมัติ
การสร้างภาพพาโนรามาทรงกลม ๓๖๐ องศาโดยใช้ comfyui
การทำให้ comfyui บันทึกภาพเป็น .jpg หรือ .webp พร้อมทั้งยังฝังข้อมูลอภิพันธุ์ของกระแสงาน
การทำให้ comfyui สามารถเขียนข้อความสั่งเป็นภาษาไทยได้
แก้ปัญหาที่บางครั้งภาพที่อ่านใน python ถูกหมุนหรือพลิกกลับด้าน
บทความแนะนำ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2020年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文