φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ปูเสฉวน เกี่ยวอะไรกับมณฑลเสฉวน ทำไมต้องเรียกแบบนี้ล่ะ?
เขียนเมื่อ 2012/05/25 01:45
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42


หากพูดถึงมณฑลเสฉวนของประเทศจีน หลายคนคงนึกถึงปูเสฉวน แต่ใครที่ได้ลองไปเที่ยวที่นั่นดูจะพบว่าที่นั่นไม่มีปูเสฉวนอยู่เลย มีแต่หมีแพนด้า


ชื่อมณฑลเสฉวนที่คนไทยเรียกกันนั้นเรียกให้ถูกตามสำเนียงจีนกลางว่า ซื่อชวาน (四川) มีความหมายว่าแม่น้ำสี่สาย มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ใครที่ศึกษาข้อมูลมาคงจะพอรู้ว่ามณฑลนี้อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน ดังแผนที่ที่เห็น ตำแหน่งสีแดง



แต่ว่าปูเสฉวนเป็นปูที่อาศัยอยู่ตามชายหาด ดังนั้นเราไม่มีทางพบปูเสฉวนได้ที่เสฉวนแน่นอน ดังนั้นชื่อปูเสฉวนไม่น่าจะมาจากชื่อมณฑลนี้

และปูเสฉวนภาษาจีนก็เรียกว่า จี้จวีเซี่ย (寄居蟹) ซึ่งแปลตรงๆว่าปูที่อาศัยบ้านคนอื่นอยู่ เป็นชื่อที่ตรงตัวมากทีเดียว ส่วนภาษาญี่ปุ่นก็เรียกว่ายาโดการิ (宿借、ヤドカリ) แปลว่าพวกที่เช่ายืมบ้านคนอื่นอยู่ ก็ตรงตัวเหมือนกัน


งั้นชื่อปูเสฉวนที่คนไทยเรียกกันนี้มาจากไหนล่ะ?





คำตอบของเรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปเมื่อสมัยราชวงศ์หมิง (明朝) ของจีนเลย เทียบแล้วก็คือสมัยกรุงศรีอยุธยาของไทยช่วงนั้นกองทัพเรือจีนยิ่งใหญ่มาก มีการส่งกองเรือขนาดใหญ่ซึ่งนำโดยเจิ้งเหอ (郑和) ขันทีชาวมุสลิมคนหนึ่งซึ่งได้ก้าวขึ้นมามีอำนาจและบทบาทอย่างมากในกองทัพเรือ

เจิ้งเหอได้ออกเรือ ๗ ครั้งในช่วงปี 1405 ถึง 1433 ได้ล่องเรือไปตามที่ต่างๆมากมายตั้งแต่แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง ไปจนไกลสุดถึงชายฝั่งแอฟริกาตะวันออก เขาได้พายีราฟจากแอฟริกากลับมาให้คนจีนทำให้คนจีนได้รู้จักยีราฟเป็นครั้งแรกด้วย กองเรือของเจิ้งเหอในยุคนั้นถือว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในโลกแล้วก็ว่าได้

กองเรือของเจิ้งเหอได้มีการแวะมาถึงอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน ในครั้งที่ ๒ ของการออกเรือ ซึ่งตรงกับช่วงยุคสมัยของสมเด็จพระรามราชาธิราช


ในบรรดากองเรือของเจิ้งเหอมีลำหนึ่งที่มีชื่อว่า เสอฉวาน (蛇船) คำว่าเสอแปลว่างู ฉวานแปลว่าเรือ เนื่องจากเรือลำนี้มีหัวเรือที่ประดับเป็นรูปงูสวยงาม

ตอนที่เรือลำนี้ขึ้นฝั่งบนดินแดนสยาม ก็พบว่ามีปูเสฉวนติดมาด้วย คนไทยเห็นก็ประหลาดใจว่าไม่เคยเห็นปูประหลาดที่ซ่อนตัวอยู่ในเปลือกหอย ก็เลยเรียกตามชื่อเรือลำนี้ว่าปูเสอฉวาน ต่อมาเวลาผ่านไปก็เรียกเพี้ยนกลายเป็นปูเสฉวน

นี่จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกปูเสฉวน



















สุดท้ายนี้...

อยากบอกว่าประโยคที่เขียนด้วยสีม่วงทั้งหมดนี้เป็นเรื่องแต่ง ไม่มีความเป็นจริงแม้แต่น้อย ใครอย่าได้จำติดหัวไปจริงๆเชียวล่ะ ส่วนปูเสฉวนทำไมถึงเรียกแบบนั้น ถึงตอนนี้ก็ยังไม่รู้เหมือนกัน เป็นปริศนาที่ไม่มีคำตอบ

(เรื่องกองทัพเรือของเจิ้งเหอเป็นเรื่องจริง แวะมากรุงศรีอยุธยาก็เป็นเรื่องจริง แต่ไม่มีเรือชื่อเสอฉวาน และไม่ได้มีการกล่าวถึงปูเสฉวนในการเดินทางของเจิ้งเหอเลย)

เครดิตข้อมูลและรูปจากวิกิพีเดีย



ปล. เจ้าของบล็อกขอตัวเผ่นก่อนล่ะ~~~


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文