φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ฟังหูไว้หู โลกจะแตกง่ายๆจริงหรือ?
เขียนเมื่อ 2012/09/26 01:35
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
พอดีช่วงนี้เห็นข่าวเรื่อง ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ออกมาให้สัมภาษณ์เรื่องภาวะโลกร้อน โลกแตก ภัยพิบัติอะไรต่างๆนานา

อย่างล่าสุดออกมาบอกว่าพายุสุริยะจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวหนัก

http://news.mthai.com/headline-news/190442.html
http://news.sanook.com/1142100/ดร.อาจอง เตือน อาจเกิดสึนามิในอ่าวไทยครั้งแรก

ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายต่างก็ออกมาค้านเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่น่าเชื่อถือ เป็นเรื่องที่เว่อมากและเหมือนเป็นแค่การทำนายโดยไม่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์มากพอ



ปัญหาคือการที่แกมาออกสื่อมากมาย และด้วยชื่อเสียงของแกตอนนี้ซึ่งโด่งดังมากมายในฐานะ "นักวิทยาศาสตร์ผู้เคยทำงานให้กับองค์การนาซา"

เมื่อนานมาแล้วจำได้ว่าเคยดูโฆษณาปูนซีเมนต์ไทยที่ต้องการปลุกใจวาคนไทยทำอะไรก็ไม่แพ้ชาติใดในโลก โดยมีการอ้างถึงชื่อ ดร.อาจอง บอกว่าเป็นผู้ออกแบบแผงลงจอดบนดาวอังคารของยานไวกิง

(เกี่ยวกับยานไวกิง อ่านที่ http://www.artsmen.net/content/show.php?Category=spaceboard&No=5843
)



เราได้ไปหาข้อมูลต่อว่าเขาทำงานให้กับองค์การนาซาจริงๆหรือ ถ้าทำแล้วงานของเขามีความสำคัญแค่ไหน

แล้วก็ได้ข้อมูลมาดังนี้...

ความจริงแล้ว ดร.อาจอง ไม่ได้ทำงานให้กับนาซาโดยตรง แต่ทำให้กับบริษัท Martin Marietta ซึ่งบริษัทนี้รับงานจากนาซามาอีกที ในส่วนของระบบลงจอดสำหรับโปรเจกต์ยานอวกาศไวกิง ซึ่งตัวเขาเป็นคนคิดในส่วนของระบบเซนเซอร์เท่านั้น ไม่ใช่ทั้งระบบ ซึ่งก็แน่นอนว่าโปรเจกต์ใหญ่ๆอย่างไวกิงนี้คนที่ทำงานในนั้นต้องมีมากมายเป็นหมื่นๆคน แต่ละคนก็รับทำในส่วนของตัวเอง

ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร มันก็เป็นความจริงที่เขามีส่วนในงานของนาซา แม้จะไม่ใช่โดยตรงก็ตาม และเขาก็คิดส่วนอุปกรณ์ลงจอดบนดาวอังคารจริงๆ เพียงแต่มันเป็นแค่ส่วนย่อยส่วนหนึ่ง

แต่คนที่ฟังข้อมูลแค่นี้ก็ตีความไปใหญ่แล้ว กลายเป็นว่าเขาเคยทำงานในองค์การนาซา และเป็นคนคิดออกแบบแผงลงจองของยานไวกิงทั้งหมด

และตามแหล่งข่าวต่างๆก็จั่วหัวให้เขาว่า " ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา อดีตนักวิทยาศาสตร์ผู้คิดค้นระบบควบคุมการลงจอดบนดาวอังคารของยานไวกิ้ง ร่วมกับองค์การนาซ่า"

นั่นทำให้เขาดูมีความน่าเชื่อถือสูงมาก ดังนั้นพูดอะไรคนก็จะเชื่อได้ง่าย

ซึ่งที่จริงปัญหาคงจะไม่มี ถ้าหากสิ่งที่เขาพูดเป็นความจริง มีความน่าเชื่อถือ มีหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่อ้างอิงได้มากพอ

แต่การที่เขาออกมาพูดครั้งนี้เหมือนเป็นแค่อะไรลอยๆ ขาดหลักฐาน ขาดความน่าเชื่อถือ แบบนี้มันเหมือนกับกำลังใช้ชื่อเสียงบารมีเก่าของตัวเองเพื่อปลุกปั่นประชาชนให้แตกตื่นโดยใช่เหตุ ซึ่งเรื่องนี้น่ากลัวมาก

ปัญหาคือคนไทยนั้นเชื่อตามคนอื่นได้ง่ายโดยไม่ได้คิดไตร่ตรองให้ดี ตรงนี้เป็นเรื่องน่าเป็นห่วงมากทีเดียว

และอีกอย่างชื่อเสียงของ ดร.อาจอง มาจากทางด้านวิศวะ เขาไม่จำเป็นว่าจะต้องเก่งทางด้านธรณีวิทยาด้วย (แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นสำคัญ)



http://www.youtube.com/watch?v=F5ApxFrbLlE&feature=relmfu

นี่เป็นคลิปที่ ดร.อาจอง บรรยายเมื่อสองปีที่แล้ว (เป็นคลิปท่อนแรก สามารถกดเพื่อดูท่อนต่อๆไปต่อได้) เราเพิ่งมีโอกาสได้ดูตอนนี้ ก็พบว่ามันเว่อมากกว่าที่คิดไว้เยอะเลย เช่น
- แกนหมุนของโลกอยู่ดีๆไม่มีทางกลับทิศได้ง่ายๆขนาดนั้นหรอก สิ่งที่อาจมีโอกาสกลับทิศได้คือขั้วของแม่เหล็กโลก ซึ่งมีการกลับขั้วอยู่บ่อยๆในประวัติศาสตร์โลก แต่ยังไม่มีใครอธิบายกลไกนี้ได้แน่นอน แต่ถึงกลับทิศจริงๆก็ไม่ได้ส่งผลกระทบน่ากลัวเท่าการกลับแกนหมุนของโลก
- ภัยพิบัติที่เขาว่ามานั้นมันรุนแรงเกินไป ถึงขนาดรัฐแคลิฟอร์เนียหายไปหมด เกาะญี่ปุ่นและไต้หวันจมหายทั้งเกาะ ฟังดูร้ายแรงมาก และต่อให้เกิดขึ้นจริงเขาก็ไม่มีทางทำนายได้แม่นขนาดนั้น
และอื่นๆอีกมากมาย พอดีไม่มีเวลามากพอไม่งั้นคงนั่งฟังแล้วจับผิดออกมาทีละจุดให้หมดเลย คือฟังแล้วก็มีความรู้สึกประมาณว่าเราอ่านนิยายอยู่หรือนี่ อะไรแบบนั้นเลย



ตอนนี้ชื่อเสียงเขาในแวดวงวิทยาศาสตร์นับวันน่าจะยิ่งหาย กลายเป็นมีชื่อเสียงในวงการพลังจิตและศาสนาขึ้นมาแทน (ถ้าเขาพอใจจะอยู่กับวงการพลังจิตมากกว่าก็เท่ากับว่าเขาเปลี่ยนอาชีพจากนักวิทยาศาสตร์เป็นหมอดูไปแล้ว)

ก็ไม่รู้ว่าเขารู้ตัวอยู่แล้วว่าสิ่งที่เขาพูดนั้นไม่ถูกต้องแต่ก็ยังจะพูดเพื่อสร้างกระแสต่อไป หรือว่าเขาพูดเพราะเข้าใจว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ

แต่สุดท้ายแล้วตอนนี้เหมือนกับเขากำลังทำลายตัวเองไปเรื่อยๆ คำพูดของเขาตอนนี้ยิ่งพูดยิ่งน่าเชื่อถือน้อยลงเรื่อยๆ ผู้คนที่เคยศรัทธาเขา นับวันจะค่อยๆหมดศรัทธาลง

สร้างชื่อเสียงมามากเท่าใดมันก็หมดลงได้ หวังว่าเรื่องนี้จะเป็นอุทาหรณ์เตือนใจใครอีกหลายคน

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมที่เว็บดรามา (ไม่ค่อยชอบเว็บนี้ แต่บางทีข้อมูลเขาก็ดีจริงๆ) http://drama-addict.com/2011/04/26/หยุดโลกร้อนแก่นที่แผ่น/


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文