φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ความหมายของดาวบนธงชาติบราซิล
เขียนเมื่อ 2012/10/01 15:50
แก้ไขล่าสุด 2022/01/30 13:26


พูดถึงธงชาติต่างๆบนโลกนี้ก็มีอยู่หลากหลายรูปแบบ แต่ละประเทศก็มีแนวคิดในการออกแบบธงชาติต่างกันออกไป บางประเทศก็เรียบง่ายใช้เป็นแค่แถบสีต่างๆ ในขณะที่บางประเทศก็พิถีพิถันใส่รายละเอียดลงไปมากมาย

ธงบราซิลนั้นดูเผินๆแล้วอาจเหมือนเป็นแค่ธงเรียบง่ายที่ประกอบไปด้วยสามสี ด้านนอกสีเขียว แล้วแทรกด้วยสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนสีเหลือง และวงกลมสีน้ำเงินตรงกลาง

แต่เมื่อมองในรายละเอียดภายในวงกลมตรงกลางแล้วก็จะพบว่าไม่ได้เป็นเพียงวงกลมโล่งๆ แต่มีรายละเอียดที่น่าสนใจพอสมควร ทำให้อาจมองว่าบราซิลเป็นชาติหนึ่งที่พิถีพิถันในการออกแบบธงมากที่สุดเลยก็ว่าได้

วงกลมตรงกลางนั้นประกอบไปด้วยดวงดาวสีขาว และแถบคาดตรงกลางที่มีเขียนคำว่า "Ordem e Progresso" เป็นภาษาโปรตุเกส แปลว่า "ความเป็นระเบียบและความก้าวหน้า"



สำหรับดาวภายในธงชาติบราซิลนั้นเป็นดาวบางส่วนที่ปรากฏบนท้องฟ้าเมืองรีอูจีฌาเนย์รู (Rio de Janeiro) ตอนเช้า 8:30 น. วันที่ 15 พฤศจิกายน 1889

ซึ่งวันนั้นเป็นวันก่อตั้งประเทศบราซิลขึ้น โดยในขณะนั้นเมืองรีอูจีฌาเนย์รูเป็นเมืองหลวง และเวลา 8 โมงครึ่งนั้นเป็นเวลาที่กลุ่มดาวกางเขนใต้ปรากฏสูงสุดบนท้องฟ้าในลักษณะที่ระนาบไม้กางเขนตั้งฉากเส้นของฟ้าพอดี

ดาวที่ถูกคัดเลือกมาใส่ในธงชาตินั้นมีด้วยกันทั้งหมด ๒๗ ดวง จากทั้งหมด ๙ กลุ่มดาว เนื่องจากบราซิลแบ่งการปกครองออกเป็น ๒๗ รัฐ แต่ละดวงเป็นตัวแทนของรัฐต่างๆ

กลุ่มดาวทั้ง ๙ ตามหมายเลขในรูป

1. ดาวโพรคีออน (Procyon) แห่งกลุ่มดาวหมาเล็ก
2. กลุ่มดาวหมาใหญ่ ๕ ดวง รวมถึงดาวสว่างที่สุดคือดาวซิริอุส (ดาวโจร, Sirius)
3. ดาวคาโนปุส (Canopus) แห่งกลุ่มดาวกระดูกงูเรือ
4. ดาวรวงข้าว (สปิกา, Spica) แห่งกลุ่มดาวหญิงสาว
5. กลุ่มดาวไฮดรา ๒ ดวง
6. กลุ่มดาวกางเขนใต้
7. ดาวซิกมาแห่งกลุ่มดาวออกแทนส์ (Sigma Octantis) ดาวที่ประจำอยู่ขั้วฟ้าใต้
8. กลุ่มดาวสามเหลี่ยมทางใต้ ๓ ดวง
9. กลุ่มดาวแมงป่อง ๘ ดวง รวมถึงดาวสว่างที่สุดคือดาวปาริชาต (อันทาเรส, Antares)

นี่เป็นภาพดาวบนท้องฟ้าในขณะนั้นซึ่งจำลองโดยใช้โปรแกรม stellarium



ภาพนี้วงตำแหน่งของดาวและกลุ่มดาวที่ถูกคัดเลือกมาใส่ในธง



ข้อสังเกต
- ทิศเหนือใต้ออกตกจะกลับทางกับการมองแผนที่บนโลก เพราะนี่เป็นการมองไปบนท้องฟ้า ลองจินตนาการว่าเรานอนหงายแล้วหันหัวไปทางทิศเหนือ เราจะจบว่าทางขวาคือทิศตะวันตกและทางซ้ายคือทิศตะวันออกตามภาพ

- ภาพตำแหน่งดาวบนธงนั้นจะกลับด้านกันกับท้องฟ้าจริงๆ เนื่องจากออกแบบโดยเสมือนว่ามองออกมาจากด้านนอกทรงกลมท้องฟ้า (ซึ่งไม่มีใครออกไปส่องได้จริงๆ ได้แค่จินตนาการ) จึงเห็นตำแหน่งดาวกลับจากมองจากพื้นดิน


- 8 โมงครึ่งนั้นเป็นเวลากลางวัน ดวงอาทิตย์ย่อมส่องสว่างอยู่บนฟ้าซึ่งก็คือก้อนสีขาวใหญ่สุดตรงกลางค่อนไปทางซ้ายของภาพ ที่จริงแล้วจึงไม่สามารถเห็นดาวได้แม้แต่นิดเดียว ดังนั้นจึงเป็นเพียงแค่แนวคิด ไม่มีใครไปสังเกตดาวตอนนั้นจริงๆแน่นอน

- ขนาดของดาวนั้นแสดงตามความสว่างจริงๆของดาวนั้น ยิ่งสว่างเด่นชัดก็ยิ่งใหญ่

- ดาวที่เลือกมาส่วนใหญ่เป็นดาวสว่างเด่นบนท้องฟ้า เช่น ซิริอุสแห่งกลุ่มดาวหมาใหญ่ คาโนปุสแห่งกลุ่มดาวกระดูกงูเรือ และกลุ่มดาวกางเขนใต้ แต่บางดวงที่สว่างและเด่นชัดในขณะนั้นอย่างดาวอัลฟาม้าครึ่งคนกลับไม่ถูกเลือกมาใส่ ในขณะที่ดาวบางดวงไม่ได้สว่างเด่นนักก็มีการนำมาใส่

- ดาวหมายเลข 7 ที่อยู่ล่างสุดของภาพคือดาวซิกมาออกแทนส์ เป็นดาวที่อยู่ประจำตรงขั้วฟ้าใต้ เช่นเดียวกับดาวเหนือที่อยู่ประจำขั้วเหนือ เพียงแต่มันไม่สว่างเด่นเลย มีลำดับสว่างคือ 5.70 จางจนแทบมองไม่เห็น มืดกว่าดาวดวงอื่นทั้งหมดที่อยู่บนธง แต่สำคัญเพราะดาวดวงอื่นในซีกฟ้าใต้ล้วนโคจรรอบมัน ดังนั้นจึงได้เป็นสัญลักษณ์แทนเขตการปกครองพิเศษซึ่งเป็นที่ตั้งของกรุงบราซีเลีย เมืองหลวงของบราซิล

- มีดาวดวงเดียวที่อยู่เหนือเส้นคาดตรงกลาง นั่นคือดาวรวงข้าว เป็นดาวดวงเดียวในนี้ที่อยู่ในซีกฟ้าเหนือ ดาวดวงอื่นเป็นดาวในซีกฟ้าใต้ทั้งหมด ดาวรวงข้าวนี้แทนรัฐปารา (Pará) ซึ่งเป็นรัฐหนึ่งที่อยู่ซีกโลกเหนือ แต่ความจริงแล้วมีอีกหลายรัฐที่อยู่ซีกโลกเหนือ แต่ดาวอื่นกลับอยู่ทางใต้หมด





รายชื่อรัฐต่างๆทั้ง ๒๗ รัฐ พร้อมกับดาวที่แสดงถึงรัฐนั้นๆ
- อามาโซนัส (Amazonas) ดาวโพรคีออน (Alpha Canis Minoris, Procyon)
- มาตูโกรซู (Mato Grosso) ดาวซิริอุส (Alpha Canis Majoris, Sirius)
- อามาปา (Amapá) ดาวเบตา หมาใหญ่ (Beta Canis Majoris)
- รงโดเนีย (Rondônia) ดาวแกมมา หมาใหญ่ (Gamma Canis Majoris)
- โรไรมา (Roraima) ดาวเดลตา หมาใหญ่ (Delta Canis Majoris)
- โตกังชีนส์ (Tocantins) ดาวเอปซิลอน หมาใหญ่ (Epsilon Canis Majoris)
- ปารา (Pará) ดาวรวงข้าว (Alpha Virginis, Spica)
- ปีเอาอี (Piauí) ดาวปาริชาต (Alpha Scorpii, Antares)
- มาราญาง (Maranhão) ดาวเบตา แมงป่อง (Beta Scorpii)
- เซอารา (Ceará) ดาวเอปซิลอน แมงป่อง (Epsilon Scorpii)
- อาลาโกอัส (Alagoas) ดาวเธตา แมงป่อง (Theta Scorpii)
- แซร์ฌีปี (Sergipe) ดาวอิโอตา แมงป่อง (Iota Scorpii)
- ปาราอีบา (Paraíba) ดาวแคปปา แมงป่อง ( Kappa Scorpii)
- รีอูกรังจีดูนอร์ชี (Rio Grande do Norte) ดาวแลมบ์ดา แมงป่อง ( Lambda Scorpii)
- แปร์นังบูโก (Pernambuco) ดาวมิว แมงป่อง (Mu Scorpii)
- มาโตโกรโซดูซูล (Mato Grosso do Sul) ดาวอัลฟา งูไฮดรา ( Alpha Hydrae)
- อากรี (Acre) ดาวแกมมา งูไฮดรา (Gamma Hydrae)
- ซางเปาลู (São Paulo) ดาวอัลฟา กางเขนใต้ (Alpha Crucis, Acrux)
- รีอูจีฌาเนย์รู (Rio de Janeiro) ดาวเบตา กางเขนใต้ (Beta Crucis, Mimosa)
- บาเอีย (Bahia) ดาวแกมมา กางเขนใต้ (Gamma Crucis, Gacrux)
- มีนัสเฌไรส์ (Minas Gerais) ดาวเดลตา กางเขนใต้ (Delta Crucis)
- อิสปีรีตูซังตู (Espírito Santo) ดาวเอปซิลอน กางเขนใต้ (Epsilon Crucis)
- รีอูกรังจีดูซูล (Rio Grande do Sul) ดาวอัลฟา สามเหลี่ยมทางใต้ (Alpha Trianguli Australis)
- ซังตากาตารีนา(Santa Catarina) ดาวเบตา สามเหลี่ยมทางใต้ (Beta Trianguli Australis)
- ปารานา (Paraná) ดาวแกมมา สามเหลี่ยมทางใต้ (Gamma Trianguli Australis)
- โกยาส (Goiás) ดาวคาโนปุส (Alpha Carinae Canopus)
- ดิสตรีตู เฟเดราล (Distrito Federal) หรือเมืองหลวงบราซีเลีย (Brasília) ดาวซิกมา ออกแทนส์ (Sigma Octantis)

นอกจากบราซิลแล้วยังมีอีกหลายประเทศที่ใส่กลุ่มดาวลงไปในธงชาติ เช่นประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ซึ่งมีการใส่กลุ่มดาวกางเขนใต้ลงในธง แต่ก็ไม่มีประเทศไหนที่ใส่ดาวลงบนท้องฟ้าจริงลงไปเยอะเท่า ธงชาติบางชาติอย่างสหรัฐอเมริกาอาจใส่ดาวลงไปเยอะมากถึง ๕๐ ดวง แต่นั่นไม่ได้มีอะไรเกี่ยวพันกับดาวบนฟ้า

ดังนั้นธงชาติบราซิลจึงเป็นธงที่มีความเกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์มากที่สุด และน่าสนใจศึกษา



ข้อมูลเรียบเรียงจาก : wikipedia



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประวัติศาสตร์

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文