φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



คนจีนชอบเรียนภาษาอะไรกันบ้าง? มาลองสำรวจดูจากร้านหนังสือขนาดใหญ่กลางเมืองปักกิ่ง
เขียนเมื่อ 2014/02/28 23:00
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
ตั้งแต่มาอยู่ปักกิ่งก็มีโอกาสแวะไปซื้อหนังสือที่ร้านหนังสือหลายครั้ง

ร้านหนังสือในจีนนั้นต่างจากในไทยมากตรงที่มักจะไม่ใช่แค่เป็นร้านเล็กๆอยู่ภายในห้างรวมกับร้านอื่นๆ แต่จะเป็นร้านใหญ่ซึ่งเป็นตึกหลายชั้น หรือถ้าอยู่ในห้างก็จะกินพื้นที่หลายชั้นทีเดียว

สำหรับร้านหนังสือใหญ่ในปักกิ่งนั้นมีที่เด่นๆอยู่สองแห่งคืออาคารใหญ่หอสมุดปักกิ่ง (北京图书大厦, เป่ย์จิงถูซูต้าซ่า) ซึ่งอยู่ที่ย่านซีตาน (西单) ซึ่งเป็นย่านร้านค้าขนาดใหญ่ใจกลางเมือง



และร้านหนังสือหวางฝูจิ่ง (王府井书店, หวางฝูจิ่งซูเตี้ยน) ซึ่งอยู่ที่ย่านหวางฝูจิ่ง (王府井) เป็นย่านใจกลางเมืองเช่นเดียวกัน อยู่ไม่ไกลจากซีตาน

หากเทียบกันดูแล้วสองร้านนี้ก็ใหญ่พอๆกัน แต่ดูเหมือนว่าของซีตานจะใหญ่กว่านิดหน่อย และจะเห็นได้ว่าหลังสือมีครบครันมากกว่า ดังนั้นคราวนี้จะขอพูดถึงร้านหนังสือที่ซีตาน ที่นี่เป็นอาคารสูงห้าชั้นและมีชั้นใต้ดินอีกชั้น ถือเป็นแหล่งรวมหนังสือที่สามารถค้นหาหนังสือได้มากที่สุดในปักกิ่ง

ปกติเวลาที่เดินร้านหนังสือ มีอยู่แผนกหนึ่งที่เรามักจะแวะไปประจำ นั่นก็คือแผนกหนังสือเรียนภาษา ซึ่งอยู่ชั้น ๓

ที่นี่มีหนังสือเรียนภาษาต่างๆขายมากมาย ทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีหนังสือเรียนภาษาจีนสำหรับชาวต่างชาติด้วย

วันก่อนเราได้ลองสำรวจดูตรงแถบชั้นหนังสือที่ขายพวกนั้นสือภาษาที่ ๓ อย่างละเอียด จากการสำรวจก็ทำให้รู้ว่าหนังสือเรียนแต่ละภาษามีจำนวนมากแค่ไหน

แต่ละภาษาจะแบ่งตู้กันออกอย่างเป็นระเบียบ ภาษาที่คนนิยมเรียนกันมากจะมีให้เลือกซื้อกันเยอะจนเลือกไม่ถูกเลยทีเดียว ส่วนภาษาที่คนเรียนน้อยก็มีขายเช่นกัน แม้ว่าจะมีให้เลือกไม่เยอะนักก็ตาม



ผลการสำรวจจำนวนตู้หนังสือเรียนแต่ละภาษาก็เป็นดังนี้

ภาษาญี่ปุ่น ๒๐ ตู้
ภาษาเกาหลี ๘ ตู้
ภาษารัสเซีย ๕ ตู้
ภาษาฝรั่งเศส ๔ ตู้
ภาษาเยอรมัน ๔ ตู้
ภาษาสเปน ๓ ตู้
ภาษาอิตาลี ๑ ตู้
ภาษาอาหรับ ๑ ตู้
ภาษาอื่นๆ รวม ๒ ตู้
ในจำนวนนั้นมีภาษาโปรตุเกสเยอะที่สุด รองลงมาเป็นภาษาไทย และพบภาษาอื่นๆอีกหลากหลายเช่น ลาว เขมร เวียดนาม มาเลย์ สันสกฤต สวาฮีลี ตุรกี สวีเดน ฯลฯ

จากจำนวนตู้หนังสือก็คงพอจะบอกความนิยมในการเรียนภาษาต่างประเทศของคนจีนได้เป็นอย่างดี

เช่นเดียวกับคนไทย ภาษาที่คนจีนนิยมเรียนที่สุดคือภาษาญี่ปุ่น ด้วยจำนวนที่ต่างจากภาษาอื่นอย่างขาดลอย รองลงมาก็คือเกาหลีซึ่งมีความนิยมอยู่ไม่น้อยเช่นกัน

แต่ภาษาที่คนจีนนิยมเรียนกันมากรองลงมาแต่กลับเป็นภาษาที่คนไทยไม่สนใจเลยก็คือภาษารัสเซีย ก็ไม่แปลกเพราะจีนมีอาณาเขตติดกับรัสเซียและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ในปักกิ่งมีคนรัสเซียอาศัยอยู่ไม่น้อยด้วย

ส่วนภาษาฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน อิตาลี แนวโน้มจำนวนคนเรียนก็ดูเหมือนจะพอๆกับในไทย สี่ภาษานี้เป็นภาษายุโรปที่คนนิยมเรียนกันเยอะไม่ว่าที่ไหนก็ตาม



ภาษาสเปนเป็นภาษาที่มีคนใช้เป็นภาษาราชการมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากภาษาจีน สามารถใช้ได้ในยี่สิบกว่าประเทศ คนพูดภาษาสเปนมีจำนวนสี่ร้อยกว่าล้านคน เป็นภาษาที่มีความสำคัญมากทีเดียว แต่ก็น่าแปลกที่ความนิยมในการเรียนสู้ภาษาเยอรมันฝรั่งเศสไม่ได้ ทั้งๆที่มีความเป็นสากลกว่า และที่สำคัญคือง่ายกว่ามาก

ในภาษาจีนเรียกสเปนว่าซีปันหยา (西班牙) ซึ่งน่าจะเลียนเสียงมาจากคำว่าเอสปันญา (España) ซึ่งเป็นคำในภาษาสเปนใช้เรียกประเทศสเปน



อีกภาษาหนึ่งที่มีคนเรียนเยอะในจีนแต่กลับแทบไม่พบคนเรียนในไทยก็คือภาษาอาหรับ ความจริงแล้วภาษาอาหรับเป็นภาษานานาชาติที่มีความสำคัญมากเหมือนกัน จำนวนคนพูดภาษานี้มีสองร้อยกว่าล้านคน เป็นอันดับที่ห้าของโลก โดยเฉพาะคนที่นับถือศาสนาอิสลาม จีนเองก็มีคนนับถือศาสนาอิสลามอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยบางกลุ่ม นอกจากนี้ยังมีอาณาเขตติดกับประเทศอิสลามหลายประเทศ

นอกจากภาษาที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ภาษาอื่นๆถูกวางคละๆกันอยู่ในตู้หนังสือรวมสองตู้ ซึ่งจะเห็นว่าในนั้นมีภาษาโปรตุเกสปนอยู่เยอะที่สุด



นอกเรื่องเล็กน้อย คำว่าโปรตุเกสนั้นในภาษาจีนจะเรียกว่า ผูเถาหยา (葡萄牙) ซึ่งคำว่า ผูเถา (葡萄) แปลว่าองุ่น และคำว่า หยา (牙) แปลว่าฟัน ดังนั้นโปรตุเกสจึงหมายถึง "ฟันองุ่น" ที่มาไม่แน่ชัดแค่คาดว่าเป็นเพราะโปรตุเกสผลิตองุ่นเยอะ และเสียงของคำว่าองุ่นในภาษาจีนก็คล้ายกับคำว่าโปรตุเกสด้วย

ภาษาโปรตุเกสดูเหมือนว่าในไทยจะไม่มีหนังสือขายเลย จะมีแต่ภาษาสเปนซะมากกว่า ความจริงแล้วเป็นภาษาที่มีความสำคัญมากเพราะเป็นภาษาที่มีจำนวนคนพูดมากเป็นอันดับที่หกของโลก จำนวนคนพูดสองร้อยกว่าล้าน และยังมีความสำคัญสำหรับในจีนตรงที่ว่ามาเก๊าเป็นดินแดนของโปรตุเกสมาก่อนและใช้ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการ

ภาษาอื่นนอกจากนี้มีจำนวนไม่มาก แต่ก็เรียกได้ว่ามีแทบจะทุกภาษาที่คนทั่วไปน่าจะเรียนกัน ถ้าอยากเรียนก็สามารถมาหาหนังสือได้ไม่ผิดหวัง แต่ถ้าภาษาแปลกๆที่ไม่ค่อยมีคนพูดกันเลยก็ไม่น่าจะหาได้เหมือนกัน

มาลองดูตัวอย่างหนังสือบางส่วนที่ลองถ่ายมาดีกว่า อันนี้หนังสือเรียนภาษาไทย รูปเล่มสวยดีฉากหลังก็เป็นศิลปะแบบไทย



หนังสือเรียนภาษาโปรตุเกส หน้าปกก็มีรูปสวยๆเช่นกัน



หนังสือเรียนภาษาสวีเดน



หนังสือเรียนภาษาสเปน





โดยรวมแล้วพอได้เห็นหนังสือมากมายขนาดนี้ทำให้รู้สึกว่าโชคดีที่ได้มาอยู่จีนและได้เป็นภาษาจีนด้วย ถ้าหากอยู่ในไทยและหาแต่หนังสืออ่านภาษาไทยละก็คงไม่มีหนังสือเรียนให้เลือกอ่านได้มากมายขนาดนี้ ตำราเรียนภาษาในไทยที่เขียนด้วยภาษาไทยมีจำกัดอยู่เพียงไม่กี่ภาษา และจำนวนก็ไม่ได้มากด้วย ในขณะที่ตำราเรียนในจีนเป็นภาษาจีนมีเยอะมาก ซึ่งก็คงไม่แปลกเพราะว่าประชากรจีนมีจำนวนมาก คนเขียนก็ต้องมากตาม และจำนวนหนังสือก็ต้องมากเพื่อรองรับตามจำนวนคนด้วย

ไม่ใช่แค่เรื่องเรียนภาษา แต่ตำราเรียนอะไรวิชาอะไรต่างๆก็มีเป็นภาษาจีนเป็นจำนวนมาก ทำให้คนจีนไม่ต้องไปพึ่งพาตำราภาษาอังกฤษมากนัก แม้จะเป็นหนังสือในระดับมหาวิทยาลัยก็ตาม พอคิดแบบนี้แล้วก็รู้สึกว่าน่าอิจฉาคนจีนอยู่เหมือนกัน
 



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง
-- ภาษาศาสตร์ >> เรียนภาษา

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文