φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



สนามบินออร์ลันดา ตามหาดาวพฤหัสที่หายไป
เขียนเมื่อ 2014/06/29 20:36
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#ศุกร์ 9 พ.ค. 2014

จากตอนที่แล้วที่เดินเล่นชมเมืองซิกทูนาเสร็จ https://phyblas.hinaboshi.com/20140627

ต่อมาเรากลับมานั่งรถเมล์เพื่อจะไปยังเป้าหมายต่อไปนั่นคือสนามบินออร์ลันดา (Arlanda)

การมาครั้งนี้ไม่ได้มีเป้าหมายที่จะมาขึ้นเครื่องบิน เพราะเรายังไม่ได้กำลังจะเดินทางกลับวันนี้ แต่ที่มาก็เพื่อตามหาดาวพฤหัสของระบบบสุริยะของสวีเดน (รายละเอียด http://daejeonastronomy.wordpress.com/2013/10/15/the-astronomical-place-01-sweden-solar-system)

ตามข้อมูลบอกว่าดาวพฤหัสเคยตั้งอยู่ที่สนามบินแห่งนี้แต่ว่าเอาออกไปแล้ว อย่างไรก็ตามเราก็ขอลองแวะมาดูเผื่อว่าจริงๆอาจจะยังพอมีร่องรอยเหลืออยู่หรืออาจจะนำกลับมาใหม่แล้วก็ได้ อีกอย่างคือซิกทูนาอยู่ใกล้กับสนามบินแห่งนี้มากอยู่แล้วจะแวะมาก็ไม่ยากเลย

สนามบินออร์ลันดาเป็นสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในสวีเดน เป็นสนามบินนานาชาติแห่งหลักของสตอกโฮล์ม ตั้งอยู่ภายในอำเภอซิกทูนาซึ่งอยู่ในเขตปริมณฑลของสตอกโฮล์ม เป็นหนึ่งในสนามบินสี่แห่งของสตอกโฮล์ม

จากเมืองซิกทูนามีรถเมล์ไปถึงสนามบินออร์ลันดาได้โดยตรง เราออกเดินทางโดยรถเมล์จากซิกทูนาก่อนเก้าโมงก็เลยทำให้ไม่ต้องจ่ายค่าโดยสารเพิ่มเพื่อเดินทาง

ไม่นานก็ถึงบริเวณสนามบิน



แต่ว่าภายในบริเวณสนามบินก็มีอยู่หลายป้ายรถเมล์ให้เลือกลง เรามาลงที่อาคาร ๕



ฝนยังตกอยู่เลย



ภายในอาคารสนามบิน




ที่นี่เป็นสนามบินเดียวในสวีเดนที่มีการบินไทยมาลง



เราลองถามคนที่ตรงส่วนให้ข้อมูลดูโดยเอาภาพสถานที่ที่เป็นที่ตั้งแบบจำลองดาวพฤหัสให้ดูแล้วถามว่าน่าอยู่ตรงไหนก็ไม่มีใครตอบได้ แต่ตามข้อมูลบอกว่าอยู่แถวบริเวณสกายซิตี (sky city) ซึ่งอยู่ระหว่างอาคาร ๔ กับ ๕ ดังนั้นเขาจึงชี้ให้ไปทางนั้น



ระหว่างทางเห็นร้านซูชิด้วย แต่ปิดอยู่



เครื่องบินของสายการบินนอร์วีเจียน



เครื่องบินสวยดี



ตรงบริเวณนี้มีส่วนที่จัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์อยู่ แต่ไม่ได้เข้าไปดู



จากตรงนี้ก็อยู่แถวสกายซิตีแล้ว หาทางเพื่อออกไปยังด้านนอก



หน้าประตูทางเข้าสกายซิตี



เดินหาอยู่ด้านนอกอาคารสักพักก็ยังไม่เห็นทุ่งหญ้าที่น่าจะใช่






หาไปหามาก็มาถึงจุดที่เห็นอาคาร ๔ ซึ่งตรงนี้ก็คือบริเวณที่เห็นในภาพจากในเว็บ



ลองเดินหาไปมาก็เจอมุมที่ตรงกับภาพจนได้ ซึ่งก็ทำให้แน่ใจได้ว่าแปลงดอกไม้ที่เป็นแบบจำลองดาวพฤหัสไม่อยู่แล้วจริงๆ เดิมทุ่งหญ้าตรงข้างหน้าในรูปนี้ควรจะมีแปลงดอกไม้ประดับลายสวยงามขนาด ๗.๓ เมตร ซึ่งเป็นตัวแทนของดาวพฤหัสตั้งอยู่ โดยที่นี่ห่างจากอาคารอีริคสันโกลบไป ๔๐ กม. ทางเหนือ



ก็ผิดหวังอยู่เหมือนกัน แต่ก็ไม่เป็นไร อย่างน้อยก็ถือว่าได้มาแล้ว หลังจากนั้นเราก็เข้าไปด้านในเพื่อจะหาตั๋วรถสำหรับเดินทางไปที่หมายถัดไป




นี่เป็นจุดขายตั๋วรถไฟและรถเมล์ เป้าหมายที่จะไปต่อไปนั้นก็คือเมืองอุปซอลา (Uppsala) ซึ่งเป็นที่ตั้งของแบบจำลองดาวเสาร์ การไปนั้นไปได้สองทางคือรถไฟและรถเมล์ ถ้าไปด้วยรถไฟจะเร็วกว่าแต่แพงกว่า ส่วนรถเมล์จะถูกกว่าแต่ช้ากว่า เราตัดสินใจไปด้วยรถเมล์จึงต้องยอมช้าสักหน่อย



รถเมล์ที่จะไปอุปซอลานั้นมาทุกครึ่งชั่วโมงซึ่งตอนนั้นจังหวะไม่ค่อยดีเท่าไหร่เลยต้องรอนาน ระหว่างนั้นก็เดินเล่นภายในสนามบินดูอะไรเรื่อยเปื่อยต่ออีกหน่อย





แล้วก็ออกมาด้านนอกตรงจุดขึ้นรถเมล์



คันต่อไปมาตอน 10:14 ต้องรอสักพัก



แล้วรถเมล์ที่จะไปอุปซอลาก็มาตามเวลา



ตอนนี้สั้นไปหน่อยเพราะว่าไม่มีอะไรให้เดินมาก ส่วนตอนต่อไปจะไปชมเมืองอุปซอลากันต่อ https://phyblas.hinaboshi.com/20140701


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ต่างแดน >> ยุโรป >> สวีเดน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文