φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
สุสานปฏิวัติปาเป่าซาน ที่ฝังศพของนักการเมืองคนสำคัญของจีน
เขียนเมื่อ 2014/09/25 23:38
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#เสาร์ 6 ก.ย. 2014
มิตรสหายท่านหนึ่งได้มาทำงานอยู่ที่ปักกิ่ง เขาเป็นคนสนใจการเมืองอยู่ไม่น้อยจึงได้ไปค้นข้อมูลเจอแล้วพบว่ามีสถานที่แห่งหนึ่งที่เป็นที่ฝังศพของนักการเมืองจีนคนสำคัญตั้งอยู่ในปักกิ่ง เขาก็เลยชวนไปด้วยกัน
สถานที่นั้นคือ
สุสานปฏิวัติปาเป่าซาน (八宝山革命公墓)
ตั้งอยู่ชานเมืองปักกิ่ง เป็นสถานที่ที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อนเพราะไม่ใช่สถานที่เที่ยวที่คนทั่วไปจะรู้จักกันมากนัก แต่สำหรับคนที่สนใจประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของจีนแล้วนี่อาจเป็นสถานที่หนึ่งที่น่าสนก็เป็นได้
นอกจากจะมีเหล่านักการเมืองจีนแล้วก็ยังมีชาวต่างชาติฝังอยู่ด้วยส่วนหนึ่ง มีคนไทยคนหนึ่งที่เคยฝังอัฐิอยู่ที่นี่คือคุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือศรีบูรพา ซึ่งเป็นผู้แต่งนิยายเรื่องข้างหลังภาพ เขาเสียชีวิตอยู่ที่ปักกิ่งและอัฐิมาฝังที่นี่ แต่ว่าตอนหลังได้ถูกส่งกลับไปยังประเทศไทย
ที่นี่สามารถเดินทางไปได้สะดวกด้วยรถไฟฟ้า ลงที่
สถานีปาเป่าซาน (八宝山站)
ให้ออกมาที่ประตูตะวันออกเฉียงเหนือ วันที่ไปนี่หมอกบางๆบรรยากาศเหมาะแก่การมาสุสานเลย
เมื่อออกมาแล้วเดินไปทางตะวันออกจากนั้นก็เลี้ยวซ้ายเข้าไปยังถนนซ่างจวางตง (上庄东街)
เมื่อเดินไปก็จะเจอสถานที่สำหรับจัดงานศพขนาดใหญ่ซึ่งอยู่ด้านข้างตัวสุสาน
อาคารจัดพิธีศพ ด้านหน้าปลูกดอกไม้สวยงาม
ภายในสามารถเข้าไปดูได้
ตรงนี้ดูเหมือนเขาจะมางานศพใครสักคน น่าจะเป็นคนระดับใหญ่โตถึงจะมาจัดพิธีในที่แบบนี้ได้
นี่เป็นประตูห้องพักผ่อน (休息室) แต่ภาษาอังกฤษเขียนว่า rest room แปลตรงตัวไปมั้ยนี่...
ลงมาด้านล่างก็เป็นห้องจัดพิธี มีคนเอาพวงหรีดมาวางเต็มเลย
ร้านเช่าขายพวกหรีดก็อยู่ข้างๆ พวงหรีดในภาษาจีนใช้คำว่า 花圈 ซึ่งแปลตรงๆว่า "ห่วงดอกไม้"
แล้วก็ตรงนี้เป็นที่รับอัฐิ
เดินตรงที่จัดพิธีศพเรียบร้อยก็เดินต่อมาจึงเจอประตูหลังของสุสาน แต่สภาพข้างในบางส่วนกำลังก่อสร้างอยู่จึงรกหน่อย
นี่เป็นภาพของสวนที่เขาวางแผนจะสร้างขึ้นในบริเวณนี้ ตอนนี้ มันอยู่ด้านหลังของสวนสุสาน ตอนนี้เห็นว่าสร้างเสร็จไปส่วนหนึ่งแล้ว เรามาเร็วไปหน่อย ไม่งั้นคงได้เห็นสวย
ตามข้างทางก็จะเห็นแผ่นป้ายกั้นซึ่งมีรูปของสวนที่กำลังสร้าง ดูแล้วน่าจะสวยดีหากสร้างเสร็จขึ้นมา
ระหว่างที่เดินอยู่ในบริเวณนี้ก็มีคุณลุงคนหนึ่งเดินเข้ามาชวนคุย เขาแนะนำอะไรต่างๆมากมาย แต่ส่วนหนึ่งก็ชวนพูดไปเรื่อยแบบน้ำท่วมทุ่งเสียเวลาไปเยอะพอสมควร แต่ก็ได้ข้อมูลเกี่ยวกับที่นี่มาบ้างจากเขา
บันไดทางขึ้นนี่เป็นส่วนหนึ่งของสวนที่กำลังสร้าง มีติดป้ายว่าคนนอกห้ามขึ้น แต่คุณลุงเขาบอกว่าขึ้นไปได้ไม่มีอะไรเราจึงขึ้นไป
ขึ้นไปถึงก็เห็นว่าร้างๆดูจะยังสร้างไม่เสร็จ
ทิวทัศน์ที่มองลงจากตรงนี้ก็สวยดี บริเวณนี้เป็นสวนป่าก็จริงแต่ล้อมรอบไปด้วยตึกรามบ้านช่อง เพราะที่นี่ยังถือเป็นในเมือง เสียดายว่ามีหมอกเลยไม่ค่อยชัด
แล้วก็มาถึงบริเวณสวนสุสาน ในบริเวณนี้มีป้ายหลุมศพของบุคคลมากมายที่มีส่วนในการเมืองของจีน
พวกบุคคลที่สำคัญมากก็จะมีขนาดใหญ่ บางทีก็มีรูปปั้นด้วย หากใครอ่านประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของจีนก็น่าจะรู้จักชื่อคนที่สลักอยู่ที่หลุมศพไม่น้อย ในที่นี้ไม่ขออธิบายรายละเอียดอะไรเพราะมีหลายคน หากเขียนถึงคงจะยาว
เหรินปี้สือ (任弼时)
จางหลาน (张澜)
ปั๋วอีปัว (薄一波) และหูหมิง (胡明) ภรรยา
หลี่ฟู่ชุน (李富春) และไช่ช่าง (蔡畅) ภรรยา
หลัวหรงเหิง (罗荣恒) และหลินเยวี่ยฉิน (林月琴)
ที่ป้ายหลุมศพบางคนจะเห็นว่ามีดาวอยู่ด้วย นั่นแสดงว่าเป็นทหารยศระดับนายพล สี่ดาวคือพลเอก เช่น คนนี้คือสวีไห่ตง (徐海东)
สามดาวคือพลโท เช่น หยางเฉิงอู่ (杨成武)
ส่วนคนระดับที่ไม่สำคัญมากก็จะมีขนาดเล็กหน่อย
จะเห็นว่าหลายหลุมศพจะมีชื่อคนสองคนอยู่แต่ระบายสีแค่ฝั่งเดียว อีกฝั่งเป็นสีขาว นั่นแสดงว่าคนที่ระบายสีคือตายแล้ว ส่วนคนที่ชื่อสีขาวเป็นคู่ชีวิตซึ่งยังมีชีวิตอยู่แต่หากตายเมื่อไหร่ก็จะนำมาฝังคู่กัน และเมื่อนั้นจึงจะระบายสี
นอกจากนั้นแล้วก็มีป้ายหลุมศพอีกมากมาย แต่ละคนก็ออกแบบต่างกันออกไป บางคนมีภาพ บางคนก็ประดับอะไรต่างๆ
เดินถัดลงมาเรื่อยๆจนพ้นตรงที่มีหลุมศพอยู่หนาแน่นแล้วก็เจอกับสถานที่เก็บอัฐิ แต่ในนี้เขาไม่ให้คนนอกเข้า
ข้างๆมีวีดีทัศน์แนะนำสถานที่ด้วย
เดินถัดมาก็เจอที่เก็บอัฐิอีกแห่ง
ถัดลงมาอีกก็เจอกับสุสานอีกส่วนหนึ่ง แต่ป้ายหลุมศพบริเวณนี้ดูเล็กกว่า
แต่ก็มีอยู่อันหนึ่งที่ดูโดดเด่นไม่เหมือนใคร หยวีเสี่ยวหง (余晓红) จากการลองค้นดูก็พบว่าแม้แต่คนจีนที่ไปเที่ยวเองก็ตั้งคำถามกันพอสมควร ค้นข้อมูลก็ไม่เจอ มีคนบอกว่าเธอคือลูกของนักการเมืองชื่อหยวีชิวหลี่ (余秋里)
พอเดินผ่านสุสานส่วนสุดท้ายนี้ก็ออกมายังทางออก ซึ่งตรงนี้เป็นประตูหน้า ที่เราเดินนั้นเดินมาจากด้านหลังสุดไล่มาด้านหน้าก็เลยกลับกัน แต่ก็ไม่เป็นไร สุดท้ายก็ได้เดินจนทั่ว
นานๆมาเที่ยวสถานที่แบบนี้ก็เปลี่ยนบรรยากาศไปอีกแบบ ไม่เลวอยู่เหมือนกัน ต้องขอบคุณมิตรสหายท่านหนึ่งที่ชวนไปด้วยกัน
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
ปักกิ่ง
--
ประวัติศาสตร์
>>
ประวัติศาสตร์จีน
--
ท่องเที่ยว
>>
สุสาน
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
-ซางะ
-นางาซากิ
-คุมาโมโตะ
-โออิตะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
-ออสเตรเลีย
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-ภูเขาไฟ
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
-ราเมง
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
เดินเล่นแถวย่านจายามะและทาจิมะในเขตโจวนังใจกลางเมืองฟุกุโอกะในวันบรรลุนิติภาวะ
วันที่หิมะแรกตกในฟุกุโอกะ 10 มกราคม 2025
รอต่อแถวยาว ๒ วันเพื่อกินราเมงร้านดัง เมนยะคาเนโตระ ในย่านเทนจิงใจกลางเมืองฟุกุโอกะ
เดินหาร้านไปทั่วย่านเมย์โนฮามะและอุจิฮามะที่เงียบเหงาในวันปีใหม่ เจอแต่ความว่างเปล่า
วันปีใหม่ไปฮัตสึโมวเดะที่ศาลเจ้าวาชิโอะอาตาโงะในเขตนิชิของเมืองฟุกุโอกะ
บทความแนะนำ
รวมร้านราเมงในเมืองฟุกุโอกะ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2025年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文