φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas
ทวีต
วัดลี่ไต้ตี้หวาง สถานที่บูชาจักรพรรดิในสมัยอดีต
เขียนเมื่อ 2015/03/24 10:14
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#พฤหัส 19 มี.ค. 2015
หลังจากที่เดินชม
พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาจีน (中国地质博物馆)
เสร็จ
https://phyblas.hinaboshi.com/20150322
ก็เดินต่อมาเพื่อชม
วัดลี่ไต้ตี้หวาง (历代帝王庙)
ซึ่งอยู่ใกล้กัน อยู่ห่างไปทางตะวันตกประมาณ ๕๐๐ เมตร
ลี่ไต้ตี้หวาง (历代帝王) แปลว่าจักรพรรดิหรือราชาในสมัยอดีต
ที่นี่เป็นวัดที่ใช้สำหรับบูชาจักรพรรดิที่สำคัญในประวัติศาสตร์ และยังรวมถึงสามราชาห้าจักรพรรดิ (三皇五帝) ซึ่งเป็นหมู่เทพที่เชื่อว่าคอยปกครองอาณาจักรจีนในสมัยช่วงก่อนเข้าสู่ยุคราชวงศ์เซี่ยซึ่งเป็นราชวงศ์แรกของจีนด้วย
เดิมทีวัดลี่ไต้ตี้หวางถูกสร้างขึ้นที่เมืองหนานจิง (南京) ก่อนตั้งแต่ปี 1373 ในสมัยของจักรพรรดิหงอู่ (洪武, ปี 1368 - 1398) ซึ่งตอนนั้นเมืองหลวงอยู่ที่หนานจิงก่อนจะย้ายมาปักกิ่งในปี 1403 ต่อมาในปี 1530 สมัยจักรพรรดิเจียจิ้ง (嘉靖, ปี 1521 - 1567) จึงสร้างวัดนี้ขึ้นใหม่ที่ปักกิ่ง ที่นี่มีพื้นที่ในบริเวณ ๒๑,๕๐๐ ตร.ม. โดยเป็นพื้นที่อาคาร ๖,๐๐๐ ตร.ม.
ถึงด้านหน้าทางเข้าวัดแล้ว ตรงนี้จะเห็นป้ายชี้ว่าสถานีรถไฟฟ้าซีซื่ออยู่ห่างออกไปจากตรงนี้ ๕๐๐ เมตร แสดงว่าเดินมาไกลแค่ ๕๐๐ เมตรเท่านั้นเพื่อมาที่นี่
ประตูทางเข้าด้านหน้า ค่าเข้าชม ๒๐ หยวน มีบัตรครึ่งราคา ๑๐ หยวนแต่ว่านักศึกษาปริญญาโทขึ้นไปไม่สามารถซื้อได้ จึงต้องซื้อเต็มราคาไป
เมื่อเข้ามาถึงที่เห็นอยู่ตรงหน้าทางโน้นไม่ใช่อาคารแต่เป็นป้อมประตูชื่อประตูจิ่งเต๋อ (景德门)
บริเวณลานส่วนด้านหน้าสุดนี้มีพวกป้ายอธิบายเกี่ยวกับวัดนี้ มีป้ายนี้ป้ายเดียวที่มีเขียนถึง ๕ ภาษา จีน, อังกฤษ, ญี่ปุ่น, เกาหลี และรัสเซีย เท่าที่สังเกตสถานที่เที่ยวหลายแห่งในปักกิ่งถ้าหากจะมีการเขียนหลายภาษาก็มักจะเป็น ๕ ภาษาหลักนี้ ภาษาญี่ปุ่น, เกาหลี และรัสเซีย ถือเป็นภาษาที่สำคัญในปักกิ่งด้วยเพราะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ที่อาศัยอยู่ในปักกิ่งก็มีไม่น้อย ทั้งสามภาษานี้เป็นภาษาที่สามที่คนปักกิ่งนิยมเรียนมากที่สุดด้วย
เดินเข้ามาตรงป้อมประตูจิ่งเต๋อ
ตรงประตูมีตั้งแสดงแบบจำลองของที่นี่อยู่ ด้านล่างสุดคือประตูทางเข้าที่เราเดินเข้ามา ส่วนตรงกลางคือประตูจิ่งเต๋อที่ยืนอยู่ตอนนี้ และถัดไปด้านในสุดอาคารใหญ่สุดนั้นคืออาคารหลักของที่นี่ซึ่งพอผ่านประตูตรงนี้เข้าไปก็จะเห็นทันที
ว่าแล้วก็ผ่านประตูเข้ามาเลย ก็จะเห็นอาคารหลัก
อยู่ตรงหน้า
มีชื่อว่าอาคารจิ่งเต๋อฉงเซิ่งเตี้ยน (景德崇圣殿) นี่เป็นอาคารที่ใหญ่เด่นสุดอยู่ด้านในสุด กว้าง ๒๗ เมตร ยาว ๕๑ เมตร
ก่อนอื่นเดินในบริเวณด้านหน้าอาคาร จะเห็นพวกแผ่นป้ายที่อธิบายเกี่ยวกับที่นี่วางเรียงอยู่ยาว
ทางขวาเป็นอาคารขนาบข้างฝั่งตะวันออก (东配殿, ตงเพ่ย์เตี้ยน) ซึ่งปิดปรับปรุงอยู่
ทางซ้ายมีอาคารขนาบข้างฝั่งตะวันตก (西配殿) ก็ปิดปรับปรุงอยู่เช่นกัน ก็เลยไม่อาจเข้าไปดูได้เลยทั้งคู่ ในนี้ก็มีจัดแสดงอะไรอยู่เหมือนกัน
ที่เห็นเขียวสวยๆนี่คือเตาเหลียวหลูตะวันออก (东燎炉) ตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกของวัด นี่เป็นเตาสำหรับเผาพวกกระดาษหรือผ้าต่างๆที่ใช้ในพิธี
ส่วนฝั่งตรงข้ามคือทางตะวันตกก็มีเตาเหลียวหลูตะวันตก (西燎炉) หน้าตาคล้ายกันแต่เป็นสีเทา
ใกล้ๆกันตรงนี้มีพวกของโบราณที่ไม่ได้เอาไปตั้งแสดงวางกองอยู่
ด้านข้างของอาคารจิ่งเต๋อฉงเซิ่งมีศาลาเล็กๆตั้งอยู่ ๔ แห่ง คือศาลาแผ่นจารึกด้านข้างฝั่งตะวันออก (正东碑亭) ศาลาแผ่นจารึกด้านข้างฝั่งตะวันตก (正西碑亭) ศาลาแผ่นจารึกฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ (东南碑亭) ศาลาแผ่นจารึกฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ (西南碑亭) แต่ละศาลาก็จะมีเต่าแบกแผ่นหินอยู่ภายใน หน้าตาต่างกันออกไป ขนาดแผ่นหินก็ไม่เท่ากัน และจารึกต่างกันออกไป
นี่คือในศาลาฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ มีจารึกเป็นภาษาจีนและภาษาแมนจูอยู่ด้วยกัน แผ่นศิลาจารึกสูง ๗.๕๓ เมตร
ศาลาฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ แผ่นศิลาจารึกสูง ๖ เมตร มีจารึกเป็นภาษาจีนและภาษาแมนจู
ศาลาฝั่งตะวันตก แผ่นศิลาจารึกสูง ๗.๘๓ เมตร ไม่มีการเขียนจารึกใดๆไว้
ศาลาฝั่งตะวันออก มีจารึกภาษาจีนและภาษาแมนจู แผ่นศิลาจารึกสูง ๗.๕๔ เมตร
หลังจากดูรอบๆเสร็จก็ขึ้นมาที่อาคารจิ่งเต๋อฉงเซิ่ง ข้างในไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพจึงไม่ได้ถ่ายด้านในมาให้ดู ภายในนี้เป็นที่เก็บแผ่นจารึกของจักรพรรดิ ๑๘๘ คนที่ถูกบูชาอยู่ที่นี่
จากนั้นวกไปด้านหลังอาคารหลักก็เจอที่รกร้างที่เหมือนจะเอาไว้เก็บพวกอุปกรณ์
และด้านหลังสุดเป็นอาคารเก็บอุปกรณ์ในพิธี แต่ว่าที่เห็นนี้ไม่ใช่ของเก่าดั้งเดิมแต่ถูกสร้างใหม่เมื่อปี 2003 อาคารนี้ปิดอยู่ไม่ได้เปิดให้เข้า
ตอนนี้เดินจนสุดแล้ว แต่ว่าเมื่อกลับมายังตรงด้านหน้าก่อนที่จะเข้าผ่านประตูจิ่งเต๋อตอนแรกสุดยังมีอีกส่วนหนึ่งที่ยังไม่ได้เข้าไป ซึ่งอยู่ทางตะวันออก
ที่นี่เรียกว่าครัวศักดิ์สิทธิ์ (神厨) เป็นสถานที่สำหรับเอาไว้ทำของไหว้
ตอนนี้ภายในใช้สำหรับจัดแสดงรายชื่อและของเกี่ยวกับจักรพรรดิจีน ในนี้เล็กนิดเดียวไม่มีอะไรมาก
ดูตรงนี้เสร็จก็ไม่มีอะไรแล้ว ที่นี่ว่าไปแล้วก็ไม่มีอะไรมากจริงๆ ใช้เวลาข้างในนี้ประมาณครึ่งชั่วโมงเท่านั้น ยังไงก็ถือว่าแวะมาเยี่ยมชมสถานที่โบราณอีกแห่งเพลินๆไป ปักกิ่งมีสถานที่แบบนี้อยู่หลายแห่ง ถ้าไม่เบื่อไปเสียก่อนก็มีที่ให้เดินชมได้เรื่อยๆไม่ซ้ำที่
ถัดจากที่นี่ไปหากเดินไปทางตะวันตกอีกละก็ยังมีสถานที่เที่ยวอีกแห่งคือ
วัดไป๋ถ่า (白塔寺)
เป็นวัดชื่อดังแห่งหนึ่งในปักกิ่ง ถ้าจะไปก็สามารถเดินต่อไปได้จากตรงนี้ อย่างไรก็ตามตอนนี้เหนื่อยแล้ว แล้วก็เย็นแล้วด้วย วัดไป๋ถ่าเป็นที่เที่ยวที่ตั้งใจว่าจะแวะมาอยู่แล้วแต่ยังไม่ใช่ตอนนี้ ไว้มีโอกาสได้ไปก็จะกลับมาเล่าต่ออีก
{{s.chue}}
〇
✖
ทวีต
-----------------------------------------
囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧
ดูสถิติของหน้านี้
หมวดหมู่
--
ท่องเที่ยว
>>
ศาสนสถาน
>>
วัด
--
ประเทศจีน
>>
จีนแผ่นดินใหญ่
>>
ปักกิ่ง
--
ประวัติศาสตร์
>>
ประวัติศาสตร์จีน
ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ
三
~ เกี่ยวกับเรา ~
สารบัญ
รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
ภาษา python
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib
-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ
บทความแบ่งตามหมวด
==เลือกหมวด==
ดาราศาสตร์
คณิตศาสตร์
-ความน่าจะเป็น
คอมพิวเตอร์
-เขียนโปรแกรม
--python
---numpy
---scipy
---matplotlib
---pandas
---manim
---pyqt
---sklearn
---pytorch
---mayapython
--ruby
--javascript
--dart
--MATLAB
--SQL
--regex
--opencv
-shell
-3D
--maya
--MMD
-microsoft_office
-pdf
-ปัญญาประดิษฐ์
--โครงข่ายประสาทเทียม
--สเตเบิลดิฟฟิวชัน
---comfyui
-การสุ่ม
ภาษาศาสตร์
-ตัวอักษร
-เรียนภาษา
-หลักเกณฑ์การทับศัพท์
-ภาษาจีน
--ภาษาจีนกลาง
-ภาษาญี่ปุ่น
-ภาษามองโกล
-ภาษาลาว
-ภาษาเขมร
ประวัติศาสตร์
-ประวัติศาสตร์จีน
-ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น
ปรัชญา
ประเทศจีน
-จีนแผ่นดินใหญ่
--ปักกิ่ง
--เทียนจิน
--เหลียวหนิง
--เหอเป่ย์
--เหอหนาน
--ซานตง
--ซานซี
--อานฮุย
--เจ้อเจียง
--หูเป่ย์
--หูหนาน
--ฝูเจี้ยน
--กวางตุ้ง
---แต้จิ๋ว
--ยูนนาน
--ซินเจียง
-ฮ่องกง
-มาเก๊า
-ไต้หวัน
--ไทเป
--จีหลง
--เถาหยวน
--ซินจู๋
--เหมียวลี่
--ไถจง
--จางฮว่า
--หยวินหลิน
--เจียอี้
--ไถหนาน
--เกาสยง
--ผิงตง
--อี๋หลาน
ประเทศญี่ปุ่น
-ฮกไกโด
-อาโอโมริ
-อิวาเตะ
-มิยางิ
-อากิตะ
-ยามางาตะ
-ฟุกุชิมะ
-อิบารากิ
-โทจิงิ
-กุมมะ
-ไซตามะ
-จิบะ
-โตเกียว
-คานางาวะ
-นีงาตะ
-โทยามะ
-อิชิกาวะ
-ฟุกุอิ
-ยามานาชิ
-นางาโนะ
-กิฟุ
-ชิซึโอกะ
-ไอจิ
-มิเอะ
-ชิงะ
-เกียวโต
-โอซากะ
-เฮียวโงะ
-นาระ
-วากายามะ
-โอกายามะ
-ฮิโรชิมะ
-ยามางุจิ
-ฟุกุโอกะ
ต่างแดน
-อุษาคเนย์
--กัมพูชา
--พม่า
--สิงคโปร์
-ยุโรป
--สวีเดน
--เดนมาร์ก
--ฟินแลนด์
ท่องเที่ยว
-มหาวิทยาลัย
-พิพิธภัณฑ์
--พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
--หอศิลป์
-สวนสัตว์
--พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
-ท้องฟ้าจำลอง
-ตึกระฟ้า
-ปราสาท☑
--ปราสาทญี่ปุ่น
--ปราสาทขอม
--ปราสาทยุโรป
-ศาสนสถาน
--วัด
--ศาลเจ้า
--โบสถ์
--มัสยิด
-สุสาน
-มรดกโลก
-ทะเล
-ทะเลสาบ
-ภูเขา
-หิมะ
-ดอกซากุระ
-แมว
-รถไฟ
-เรือ
-ตลาดกลางคืน
-งานเทศกาล
-ที่ระลึกภัยพิบัติ
-ตามรอย
บันเทิง
-เกม
--อาเตอลีเย
--โปเกมอน
--caligula
--vn
-อนิเมะ
-มังงะ
-นิยาย
-เพลง
--เพลงอนิเมะ
--เพลงเกม
เรื่องแต่ง
บันทึก
ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ
ค้นหาบทความ
บทความล่าสุด
เที่ยววัดนันโซวอิง เดินเล่นย่านเทนจิง แล้วนั่งรถไฟไปเมืองคุรุเมะ
นั่งชิงกันเซงจากฟุกุโอกะเดินทางไปทำงานที่โตเกียวแล้วค้างที่โยโกฮามะคืนนึงก่อนกลับ
เที่ยวเมืองกิ๊กเอี๊ย หนึ่งในสี่เมืองใหญ่แห่งดินแดนแต้จิ๋ว
บันทึกช่วงที่พักอยู่บ้านญาติที่ตำบลหับซัวในซัวเถาในเดือนมีนาคม 2024
เยี่ยมญาติที่ซัวเถาเดือนมีนาคม 2024 โดยลงเครื่องที่กว่างโจวแล้วนั่งรถไฟความเร็วสูงไป
บทความแนะนำ
ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
บทความแต่ละเดือน
2024年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2023年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2022年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2021年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
2020年
1月
2月
3月
4月
5月
6月
7月
8月
9月
10月
11月
12月
ค้นบทความเก่ากว่านั้น
ไทย
日本語
中文