φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



บ้านเก่าของหลี่ต้าเจา ผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน
เขียนเมื่อ 2015/07/10 23:35
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
#พุธ 24 มิ.ย. 2015

หลังจากที่ตอนที่แล้วไปเที่ยวสวนสนุกสือจิ่งซานมา กล้วก็กลับมาทานอาจิเซนราเมงที่ซีตาน https://phyblas.hinaboshi.com/20150708

เวลายังเพิ่งบ่ายๆอยู่ยังมีเวลาเที่ยวเราก็เลยแวะไปเที่ยวสถานที่เที่ยวที่อยู่ใกล้ๆแถวนั้นคือบ้านเก่าของหลี่ต้าเจา (李大钊故居)

ในปักกิ่งนี้มีบ้านเก่าของบุคคลสำคัญอยู่มากมายเพราะเป็นเมืองศูนย์กลางที่สำคัญ ช่วงที่ผ่านมาเรามีโอกาสได้แวะไปเยี่ยมมาหลายคน

สำหรับคราวนี้บุคคลที่เราไปเยี่ยมก็คือหลี่ต้าเจา หนึ่งในผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน (中国共产党)

หลี่ต้าเจาเกิดเมื่อปี 1889 ที่อำเภอเล่อถิง (乐亭) มณฑลเหอเป่ย์ เขามีโอกาสได้ไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นและเริ่มศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดทางการเมือง เขาสนใจในลัทธิมาร์กซ์ (马克思主义) ซึ่งเป็นแนวคิดสังคมนิยม พอกลับมาจีนเขาก็ทำงานเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยปักกิ่ง เขามีโอกาสได้รู้จักกับเฉินตู๋ซิ่ว (陈独秀) และในปี 1920 ทั้งคู่ก็ร่วมกันก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์

จากนั้นปี 1921 ได้มีการจัดประชุมกันครั้งแรกของสมาชิกพรรคยุคแรกที่เซี่ยงไฮ้และเจียซิง พรรคคอมมิวนิสต์จีนก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ ผู้ร่วมประชุมในครั้งนั้นมีบุคคลสำคัญต่างๆหลายคนรวมถึงเหมาเจ๋อตงด้วย แต่ตัวเป้งอย่างหลี่ต้าเจากับเฉินตู๋ซิ่วนั้นเนื่องจากมีเหตุเลยมาไม่ได้

พรรคคอมมิวนิสต์ในช่วงแรกๆนั้นมีอิทธิพลน้อยไม่อาจเทียบอะไรได้กับพรรคก๊กมินตั๋งหรือรัฐบาลเป่ย์หยางซึ่งมีอำนาจปกครองจีนอยู่ในขณะนั้น แต่ก็พยายามที่จะเผยแพร่แนวคิดของตัวเองไปเรื่อยๆ หาความสนับสนุนจากประชาชนจนเติบโตขึ้นมา

ในปี 1927 รัฐบาลเป่ย์หยางที่นำโดยจางจั้วหลิน (张作霖) ได้ส่งตำรวจบุกเข้าค้นสถานทูตโซเวียตแล้วจับกุมหลี่ต้าเจาพร้อมกับครอบครัวเขา พร้อมทั้งบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์

หลี่ต้าเจาและพวกถูกสอบสวนอย่างหนัก และหลังจากการพิจารณาแล้วจึงได้มีการตัดสินประหารชีวิตหลี่ต้าเจารวมทั้งบุคคลอื่นรวมแล้ว ๒๐ คนด้วยการแขวนคอ โดยหลี่ต้าเจาเป็นคนแรกที่ถูกประหาร เขาจบชีวิตลงในวันที่ 28 เม.ษ. 1927

ในยุคที่จีนถูกปกครองโดยรัฐบาลสาธารณรัฐจีนช่วงปี 1911 - 1949 นั้นแนวคิดคอมมิวนิสต์ยังไม่เป็นที่แพร่หลายและถูกมองว่าน่ากลัว เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ดังนั้นสมาชิกพรรคจึงต้องอยู่อย่างหลบๆซ่อนๆ หลายคนถูกออกหมายจับในฐานะอาชญากร

ต่อมาเมื่อปี 1949 พรรคคอมมิวนิสต์ได้รับชัยชนะและยึดครองแผ่นดินจีนแล้วทุกอย่างก็ได้กลับกัน ผู้คนที่เคยสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ได้ถูกเปลี่ยนฐานะเป็นวีรบุรุษ

หากชนะก็เป็นวีรบุรุษ หากแพ้ก็เป็นทรราช ผู้ชนะเป็นคนเขียนประวัติศาสตร์ นี่เป็นเรื่องธรรมดาของโลกเรา

หลี่ต้าเจาในฐานะหนึ่งในผู้ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์และต้องพลีชีพเพื่อปกป้องแนวคิดของตัวเอง จึงเป็นบุคคลหนึ่งที่ได้รับการยกย่องเป็นอย่างมากในแผ่นดินจีนภายใต้การปกครองของรัฐบาลคอมมิวนิสต์

ในไทยเองก็เคยมีความเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์เหมือนกัน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเหมือนอย่างในจีน ถ้าหากคอมมิวนิสต์ชนะในไทยด้วยอะไรๆหลายอย่างอาจเปลี่ยนแปรไปหมดก็เป็นได้



บ้านเก่าของหลี่ต้าเจาในปักกิ่งที่เราไปเยี่ยมนี้เป็นสถานที่ที่เขาอาศัยอยู่ในปี 1920 ถึง 1924 เป็นบ้านขนาดเล็กที่ดูธรรมดา ที่จริงแล้วหลี่ต้าเจาอยู่ปักกิ่งตั้งแต่ปี 1916 จนเสียชีวิตในปี 1927 แต่เขาย้ายบ้านบ่อย ที่นี่เป็นเพียงบ้านแห่งหนึ่งที่เคยอยู่ เขาอยู่ที่นี่นานกว่าบ้านหลังอื่นในปักกิ่ง ช่วงที่เขาเริ่มก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์และเผยแพร่แนวความคิดลัทธิมาร์กซ์ก็เป็นช่วงที่อยู่ที่นี่เอง

เดินจากซีตานไปทางตะวันตกไปตามถนนฟู่เฉิงเหมินเน่ย์ (复内大街) แล้วเลี้ยวเข้าซอยฉาย่วนหูท่ง (察院胡同)



เข้ามาแล้วก็จะเห็นป้ายที่ชี้บอกทาง ซอยค่อนข้างเล็กและทางเลี้ยวเยอะ แต่มีป้ายบอกเป็นช่วงๆทำให้สามารถไปถึงได้โดยไม่น่ากลัวหลงมาก






ถึงหน้าทางเข้าแล้ว



เข้ามาข้างใน รูปปั้นของหลี่ต้าเจาตั้งเด่นอยู่



แผนที่ภายใน ภายในบริเวณประกอบด้วยหลายอาคารย่อย มีอยู่ ๔ หลังที่เปิดให้เข้าชม ภายในจัดแสดงอะไรต่างๆที่เกี่ยวกับหลี่ต้าเจา



เริ่มจากหลังนี้ ซึ่งเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุด เป็นที่ตั้งห้องนอนของหลี่ต้าเจาและภรรยา แล้วก็ห้องรับแขก



เมื่อเข้ามาห้องที่เจอก่อนเลยคือห้องรับแขก



ภาพที่ติดอยู่นี้เป็นแผนที่ปักกิ่งแสดงตำแหน่งบ้านที่หลี่ต้าเจาเคยพักอาศัยอยู่ มีทั้งหมด ๘ แห่ง



โทรศัพท์ในห้องรับแขก



เตียงนอนในห้องนอนเล็กๆของหลี่ต้าเจาและภรรยา ชื่อเจ้าเริ่นหลาน (赵纫兰)



เดินถัดเข้ามาเป็นห้องนอนของลูกสองคนของหลี่ต้าเจา ลูกสาวคนรอง หลี่หยานหัว (李炎华) และลูกชายคนรอง หลี่กวางหัว (李光华) และฝั่งตรงข้ามก็เป็นห้องของลูกสาวคนโตหลี่ซิงหัว (李星华)



รูปหลี่ต้าเจากับภรรยา เจ้าเริ่นหลานนั้นถูกจับตัวไปพร้อมกับหลี่ต้าเจาในปี 1927 แต่ก็ได้รับการปล่อยตัวออกมา แต่ในปี 1933 ก็ล้มป่วยและเสียชีวิตลง



ต่อมาหลังนี้เป็นห้องนอนของลูกชายคนโต หลี่เป่าหัว (李葆华)



ภายใน




และหลังตรงข้ามกันนั้นเป็นห้องหนังสือ



ภายใน




จากนั้นหลังสุดท้ายซึ่งเป็นห้องขนาดใหญ่ ในนี้จัดแสดงเกี่ยวกับสิ่งที่หลี่ต้าเจาทำในช่วงปี 1920 - 1924 ซึ่งเขาอาศัยอยู่ที่นี่



กลางห้องมีรูปปั้นขนาดใหญ่กว่าตัวจริงนิดหน่อยของหลี่ต้าเจาอยู่ ขณะที่เข้าไปนั้นเห็นกลุ่มคณะที่มาพร้อมกับคนบรรยายด้วยก็เลยขโมยฟังไปบ้าง



ทางซ้ายเป็นรูปขณะเพิ่งกลับจากที่ไปศึกษาที่ญี่ปุ่นในปี 1916 และทางขวาคือขณะที่รับหน้าที่ในหอสมุดของมหาวิทยาลัยปักกิ่งในปี 1918 ดูแล้วเปลี่ยนไปมากเลย



ภาพหลี่ต้าเจาขณะกำลังบรรยายท่ามกลางฝูงชน



ภาพวาดหลี่ต้าเจาคู่กับซุนยัดเซนในปี 1922 แม้ว่าทั้งสองคนนี้จะมีอุดมการทางการเมืองต่างกัน แต่ทั้งคู่ก็ล้วนแล้วแต่อยากช่วยชาติ ซุนยัดเซนไม่ได้รังเกียจคอมมิวนิสต์แถมยังมีความคิดที่จะปรองดองด้วยเพื่อความสงบสุขของประเทศชาติ



รูปเหมาเจ๋อตงและโจวเอินไหลในปี 1920 และ 1921 ขณะนั้นที้งคู่ยังหนุ่มๆอยู่เลย เหมาเจ๋อตงนั้นเคยรับตำแหน่งในหอสมุดปักกิ่งและอยู่ใต้ความดูแลของหลี่ต้าเจา



แล้วก็อีกหลายอย่างภายในห้องนี้ ไม่ค่อยกว้างมากแต่ถ้าตั้งใจจะอ่านเนื้อหาที่เขียนอยู่ในนี้ให้หมดก็อาจใช้เวลาพอสมควร




หมดแค่นี้ ต้องถือว่าที่นี่เล็กมาก ถ้าเข้ามาแล้วดูผ่านๆไม่ได้อ่านอะไรเลยละก็ใช้เวลาชำเลืองมองแค่อึดใจเดียวก็ทั่ว แต่เราค่อยๆดูไปเรื่อยๆจึงใช้เวลาไปชั่วโมงนึงพอดี



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> จีนแผ่นดินใหญ่ >> ปักกิ่ง
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文