φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



การจัดการกับจำนวนเชิงซ้อนใน python
เขียนเมื่อ 2016/06/08 23:34
แก้ไขล่าสุด 2022/07/16 19:42
ในเนื้อหาภาษาไพธอนเบื้องต้นบทที่ ๓ ซึ่งกล่าวถึงเรื่องตัวแปรและชนิดของข้อมูลไปนั้นได้แนะนำไปว่าภาษาไพธอนมี ชนิดข้อมูลชนิดจำนวนเชิงซ้อนอยู่ด้วย นั่นคือ complex

เพียงแต่ว่าตลอดเนื้อหาหลักนั้นแทบจะไม่มีการพูดถึงจำนวนเชิงซ้อนเลย นั่นเป็นเพราะว่าในการใช้งานโดยส่วนใหญ่นั้นมักจะไม่จำเป็นต้องใช้

อย่างไรก็ตามสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์แล้วบ่อยครั้งที่เราอาจต้องยุ่งกับ จำนวนเชิงซ้อน แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่เข้าใจยากแต่ก็ไม่อาจเลี่ยงได้ ดังนั้นก็จำเป็นต้องมาเรียนรู้ไว้สักหน่อย

จำนวนเชิงซ้อนคือจำนวนที่ประกอบไปด้วยส่วนจริงและส่วนจินตภาพ

ในภาษาไพธอนส่วนจินตภาพถูกเขียนแทนด้วยตัว j ตามหลังตัวเลข


การสร้างจำนวนเชิงซ้อน
การสร้างข้อมูลชนิดจำนวนเชิงซ้อนขึ้นมาทำได้โดยพิมพ์ตัวเลขในรูปแบบส่วนจริงบวกส่วนจินตภาพ เช่น
z = 1+3j
print(z) # ได้ (1+3j)
print(type(z)) # ได้ <type 'complex'>

ให้ระวังไว้ด้วยว่าแม้ส่วนจินตภาพจะมีค่า 1 ก็ไม่อาจละเลข 1 หน้าตัว j ได้ เพราะถ้าไม่มีเลขนำหน้าตัว j จะถูกตีความเป็นตัวแปรธรรมดาตัวหนึ่ง

ในไพธอน 3 จำนวนเชิงซ้อนยังสามารถสร้างขึ้นจากการนำจำนวนจริงติดลบมายกกำลังด้วย
print((-20)**0.5) # ได้ (2.7383934913210134e-16+4.47213595499958j)

แต่ถ้าทำแบบนี้ในไพธอน 2 จะขึ้นว่า ValueError: negative number cannot be raised to a fractional power

อีกวิธีในการสร้างคือใช้ฟังก์ชัน complex โดยใส่อาร์กิวเมนต์ตัวแรกเป็นส่วนจริง ตัวหลังเป็นส่วนจินตภาพ หรือถ้าใส่แค่ตัวเดียวก็จะได้ส่วนจินตภาพเป็น 0
print(complex(4,6.1)) # ได้ (4+6.1j)
print(complex(4)) # ได้ (4+0j)
print(complex(0,6.1)) # ได้ 6.1j



แอตทริบิวต์และเมธอดภายในจำนวนเชิงซ้อน
จำนวนเชิงซ้อนประกอบด้วยส่วนจริงและส่วนจินตภาพ ซึ่งสามารถดูค่าได้โดยดูที่แอตทริบิวต์ real กับ imag
print((1+13j).real) # ได้ 1
print((1+13j).imag) # ได้ 13

สำหรับการสังยุค (การกลับค่าความเป็นบวกลบของส่วนจินตภาพ) ทำได้โดยใช้เมธอด conjugate
print((1+13j).conjugate()) # ได้ (1-13j)



การแสดงจำนวนเชิงซ้อนในรูปพิกัดเชิงขั้ว
จำนวนเชิงซ้อนนอกจากจะแสดงในรูป x+yi แล้วยังสามารถแสดงได้ในรูปของพิกัดเชิงขั้วดังนี้


โดยที่ r คือค่าสัมบูรณ์และ θ คือมุมเฟส

การจะแปลงเป็นพิกัดเชิงชั้วต้องใช้ฟังก์ชันจากมอดูล cmath ซึ่งเป็นมอดูลสำหรับจัดการกับจำนวนเชิงซ้อนโดยเฉพาะ

เราสามารถแปลงจำนวนเชิงซ้อนให้เขียนอยู่ในรูปของ r และ θ ได้โดยใช้ฟังก์ชัน polar ใน cmath
import cmath
print(cmath.polar(5+12j)) # ได้ (13.0, 1.176005207095135)

จะได้ทูเพิลที่มีสมาชิกตัวแรกเป็น r และตัวหลังเป็น θ โดยหน่วยมุมในที่นี้เป็นเรเดียน

ภาพแสดงจำนวนเชิงซ้อนในระบบพิกัดเชิงขั้ว (วาดโดย matplotlib)



นอกจากนั้นเราอาจหาค่า r ด้วยฟังก์ชัน abs ซึ่งเป็นฟังก์ชันมาตรฐานก็ได้
print(abs(5+12j)) # ได้ 13.0

ส่วน θ หาได้ด้วยฟังก์ชัน phase ใน cmath
print(cmath.phase(5+12j)) # ได้ 1.1760052071

และในทางกลับกันสามารถแปลงค่าที่เป็นพิกัดเชิงขั้วกลับเป็นรูป x+yi ได้ด้วยฟังก์ชัน rect ใน cmath
print(cmath.rect(13,1.176005271)) # ได้ (4.99999923314+12.0000003195j)



ฟังก์ชันอื่นๆใน cmath
มอดูล cmath นั้นประกอบไปด้วยฟังก์ชันที่เหมือนกันกับในมอดูล math มากมาย เช่น exp, log, sqrt, sin, asin, sinh เป็นต้น

ฟังก์ชันเหล่านี้สามารถทำงานได้เหมือนกับใน math เพียงแต่ว่าจะให้ผลลัพธ์เป็นข้อมูลชนิดจำนวนเชิงซ้อนเสมอ แม้ว่าจะไม่มีส่วนจินตภาพเกิดขึ้นเลยก็ตาม
print(math.sin(1.3)) # ได้ 0.9974949866040544
print(cmath.sin(1.3)) # ได้ (0.9974949866040544+0j)

ฟังก์ชันใน math นั้นโดยทั่วไปไม่สามารถใช้กับจำนวนเชิงซ้อนได้ หรือแม้แต่ฟังก์ชันที่ใช้จำนวนจริงแต่ควรให้ผลเป็นจำนวนเชิงซ้อนก็จะเกิดข้อ ผิดพลาด

เช่นฟังก์ชัน sqrt นั้นถ้าเป็นของ math จะไม่สามารถถอดรากจำนวนลบได้ ในขณะที่ใน cmath จะถอดรากแล้วได้จำนวนเชิงซ้อน
print(math.sqrt(-3)) # ได้ ValueError: math domain error
print(cmath.sqrt(-3)) # ได้ 1.7320508075688772j



อ้างอิง


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- คอมพิวเตอร์ >> เขียนโปรแกรม >> python

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文