φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



พาชมโรงพิมพ์จีนแบบยุคเก่าแห่งสุดท้ายในไต้หวัน รื่อซิงจู้จื้อหาง
เขียนเมื่อ 2017/05/05 23:50
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
วันนี้คาบเรียนวิชาภาษาจีนซึ่งเราเรียนอยู่นั้นได้พานักเรียนไปทัศนศึกษาทั้งวัน หัวข้อวัตถุประสงค์ของการไปเที่ยวนั้นคือการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของตัวอักษรจีน

สถานที่ไปมี ๒ ที่ ที่แรกคือ ตอนเช้าไป พิพิธภัณฑ์แห่งชาติกู้กง (國立故宮博物院, กั๋วลี่กู้กงปั๋วอู้ย่วน)

อีกที่ซึ่งไปตอนบ่ายคือโรงพิมพ์อักษรจีนแบบเก่า รื่อซิงจู้จื้อหาง (日星鑄字行) พาไปเรียนรู้ว่าผู้คนในยุคที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้เขาพิมพ์อักษรกันยังไง

สำหรับพิพิธภัณฑ์กู้กงนั้นจะเขียนถึงเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเพราะเป็นที่เที่ยวที่มีชื่อเสียง คนเขียนถึงเยอะอยู่แล้ว ในที่นี้จะเน้นที่โรงพิมพ์เป็นหลัก



รื่อซิงจู้จื้อหาง เป็นโรงงานสำหรับพิมพ์อักษรโดยใช้วิธีการแบบสมัยเก่า นั่นคือใช้แท่นพิมพ์ ตั้งอยู่ในย่านเมืองเก่ากลางเมืองไทเป

ปัจจุบันแทบไม่มีใครใช้แท่นพิมพ์ในการพิมพ์อักษรแล้ว ตั้งแต่ยุคที่คอมพิวเตอร์เริ่มแพร่หลายขึ้นมา ดังนั้นโรงพิมพ์แบบนี้ก็ค่อยๆสูญหายไปจนหมด เหลือเพียงแห่งนี้เป็นแห่งเดียวในไต้หวัน เป็นเหมือนของโบราณที่ถูกอนุรักษ์ไว้ ไม่หายไปตามกระแสของเวลา

ปัจจุบันโรงพิมพ์นี้นอกจากจะทำการพิมพ์อักษรแล้วก็ยังเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้วย โดยจะมีการให้ชมภายในเพื่อให้รู้ถึงวิธีการพิมพ์อักษรที่ใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ

รายละเอียดจะกล่าวถึงอีกทีหลังจากเล่าเรื่องตั้งแต่เริ่มต้นช่วงเช้าเสร็จ



เราออกเดินทางจากมหาวิทยาลัยชิงหัวตอน 9 โมงเช้า นั่งรถเมล์จากซินจู๋ไปไทเป แล้วก็ถึงตอน 10 โมง

รถเมล์ลงที่สถานีต้าเฉียวโถว (大橋頭站) จากนั้นก็นั่งรถไฟฟ้าไปลงที่สถานีซื่อหลิน (士林站) เพื่อนั่งรถเมล์ต่อไปจนถึงพิพิธภัณฑ์กู้กง ที่หมายแรก



พิพิธภัณฑ์แห่งชาติกู้กงนี้ที่จริงแล้วเดิมที่ตั้งอยู่ที่กู้กง (พระราชวังต้องห้าม) ในปักกิ่ง ดังที่เคยเล่าไปใน https://phyblas.hinaboshi.com/20170102

แต่หลังจากปี ​1949 สมบัติส่วนใหญ่จากกู้กงได้ถูกนำย้ายมาอยู่ไต้หวัน และในปี 1965 จึงได้สร้างพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ขึ้นมาแล้วเอาสมบัติมาจัดแสดง

แม้จะมีชื่อว่ากู้กงแต่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็เป็นลักษณะอาคารสมัยใหม่ ไม่ได้มีหน้าตาเหมือนกับกู้กงของจริงที่ปักกิ่ง เพียงแต่ของที่จัดแสดงอยู่เป็นของจริง มีอยู่มากกว่าที่แสดงอยู่ในกู้กงปักกิ่งจริงๆเสียอีก

ที่นี่มีจัดแสดงของอะไรเยอะมากจนดูทั้งวันก็ไม่มีทางดูหมด แต่ว่าที่เขาจะพาเรามาดูวันนี้เป็นส่วนเล็กๆที่จัดแสดงเกี่ยวกับตัวอักษรจีนโบราณเท่านั้น

คนนี้คืออาจารย์ที่เป็นคนคอยอธิบายและพาเดินชม



นี่เป็นอักษรจีนโบราณซึ่งเป็นอักษรภาพซึ่งต่างจากอักษรปัจจุบันมาก




ส่วนนี่คืออักษรจว้านซู (篆書) ทางขวา เขียนคู่กับลี่ซู (隸書) ทางซ้าย สามารถดูเปรียบเทียบกันได้



ลี่ซูเป็นอักษรที่เริ่มจะใกล้เคียงอักษรปัจจุบันมากแล้ว คนจีนส่วนใหญ่อ่านได้ ส่วนจว้านซูจะเก่าแก่กว่าหน่อยมีความแตกต่างจากอักษรปัจจุบันพอสมควร แต่ก็ยังพอจะอ่านได้อยู่บ้าง

น่าเสียดายที่ตอนที่อยู่ในนี้ไม่ค่อยได้ถ่ายรูปเพราะไปเป็นกลุ่มใหญ่และฟังตลอด เลยมีรูปมาให้ดูแค่นี้

ครั้งนี้ตั้งใจจะเล่าเรื่องประสบการณ์การเที่ยวมากกว่าเลยไม่ได้ใส่รายละเอียดเนื้อหาลงไปเท่าไหร่เพราะถ้าให้เล่าจริงๆจะยาวมากแน่ๆ ที่จริงเรื่องของประวัติอักษรจีนเป็นอะไรที่น่าสนใจ ไว้มีโอกาสก็อยากเขียนถึงเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน แต่ไว้โอกาสหน้า

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เท่าที่ดูแล้วมีอะไรให้เดินมากกว่านี้เยอะ ไว้อาจหาโอกาสแวะมาอีกเพื่อเดินให้รอบๆ แต่คงต้องหาเวลาสักวันเต็มๆวัน ถึงตอนนั้นก็คงจะได้มาเขียนแนะนำอย่างละเอียดกว่านี้



เดินในพิพิธภัณฑ์เสร็จก็ออกมาเดินเล่นในสวนข้างๆพิพิธภัณฑ์ ก็เป็นสวนที่ดูร่มรื่นสวยงามดี



ได้เวลาเที่ยงแล้ว เขามีเตรียมข้าวกล่องให้ด้วย



หลังจากนั้นก็นั่งรถเมล์กลับมาที่สถานีซื่อหลิน แวะซื้อเครื่องดื่มกันเล็กน้อย



ก่อนจะขึ้นรถไฟฟ้าเพื่อต่อรถไฟยังสถานีจงซาน (中山站) ซึ่งเป็นสถานที่ใกล้กับโรงพิมพ์อักษรโบราณมากที่สุด



โรงพิมพ์นั้นอยู่ในซอยนี้ ซอย 97 ถนนไท่หยวน (太原路97巷) เป็นซอยเล็กๆที่ดูเหมือนจะไม่มีอะไร



เดินเข้ามาก็จะเจอโรงพิมพ์เล็กๆ ดูจากหน้าทางเข้าแล้วก็ไม่ได้โดดเด่น ไม่ได้มีป้ายใหญ่อะไรให้สังเกต




เข้ามาด้านในก็พบแม่พิมพ์ของอักษรจำนวนมากมายวางเรียงรายเต็มไปหมด




อักษรจีนมีมากเป็นหมื่นตัวดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีแม่พิมพ์จำนวนมาก ในการจัดเรียงอักษรนั้นที่นี่จะจัดเรียงตามปู้โส่ว (部首) ซึ่งเป็นหลักในการเรียงอักษรในพจนานุกรมจีนโดยค้นตามส่วนประกอบ

เพียงแต่ว่าจะมีการแยกอักษรที่ใช้บ่อยกับใช้น้อยออกจากกัน โดยอักษรที่ใช้บ่อยจะมีอยู่ ๒๐๐๐ ตัว นี่เป็นอักษรที่คนจีนส่วนใหญ่เห็นปุ๊บก็รู้จักทั้งหมดเพราะต้องเจออยู่ตลอด

ส่วนอักษรที่ใช้น้อยก็จะถูกเก็บไว้ลึกหน่อยและจะเห็นได้ว่ามีร่องรอยการใช้งานน้อยกว่าด้วย

แล้วอักษรแต่ละตัวยังต้องทำหลายขนาดและหลายฟอนต์ด้วย แน่นอนว่าเราไม่สามารถเปลี่ยนฟอนต์และขนาดได้อิสระเหมือนในคอม ดังนั้นแม่พิมพ์จึงต้องเตรียมให้พร้อมทั้งหมด

อักษรที่มีที่นี่ไม่ได้มีแค่อักษรจีน ยังมีอักษรโรมันและอักษรฮิรางานะกับคาตาคานะของญี่ปุ่นด้วย

อันนี้เป็นอักษรแบบขนาดเล็กมาก ดูตาเปล่าแทบมองไม่เห็นว่าเป็นอักษรอะไร แต่เวลาพิมพ์ออกมาจึงจะเห็นชัด ขนาดเท่านี้เหมาะสำหรับพิมพ์นามบัตร



อักษรที่เห็นแยกเป็นตัวๆนี้พอเวลาจะพิมพ์ก็จะเอามาประกอบกันที่แท่นพิมพ์แล้วก็จิ้มหมึกแล้วประทับลงบนกระดาษ

ในบริเวณที่ทำงานก็จะเห็นว่ามีการใช้คอมด้วย ไม่ได้มีแต่อุปกรณ์สมัยเก่า



คนนี้คือจางเจี้ยกว้าน (張介冠) เป็นเถ้าแก่ของที่นี่ เขาทำงานนี้มาเป็นเวลานานมากโดยสืบทอดตำแหน่งจากพ่อของเขาซึ่งเป็นเถ้าแก่รุ่นก่อน



มีเพื่อนที่มาด้วยถามเถ้าแก่ว่าทำไมเขาถึงยังต้องใช้วิธีการพิมพ์แบบเก่านี้อยู่ เขาตอบว่าหากใช้คอมไม่อาจพิมพ์ออกมาได้สวยเท่า

แม่พิมพ์แต่ละอักษรที่เห็นนี้ไม่ได้แค่เอาไว้ใช้งานที่นี่แต่ยังขายให้คนที่ต้องการซื้อด้วย


เพียงแต่ว่าในการเข้าชมที่นี่มีกฎอยู่อย่างว่าหากใครหยิบอักษรอันไหนออกมาจากที่แล้วจะบังคับให้ต้องซื้อ เขาบอกเรื่องนี้ตั้งแต่ต้นเหมือนเป็นข้อตกลง ดังนั้นจะหยิบขึ้นมาเล่นมั่วๆไม่ได้

นี่คือที่ทำงานชั้นล่างซึ่งอยู่ใต้ดิน



ซึ่งก็มีแม่พิมพ์อักษรอยู่ไม่น้อยเช่นกัน



อันนี้เป็นแบบขนาดใหญ่หน่อย



รูปนี้ทางซ้ายเป็นเครื่องมือสำหรับพิมพ์ และทางขวาที่เห็นเก้าอี้เยอะๆนั่นเป็นที่สำหรับทำการเล็กเชอร์ โดยมีสไลด์มาบรรยายให้แขกที่เข้าชม



เขาทำการบรรยายสั้นๆเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเทคโนโลยีการพิมพ์


สมัยยุคแรกเริ่มนั้นคนทำเครื่องพิมพ์ด้วยการเอาตัวหนังสือทั้งหมดทั้งแผ่นมาสลักเป็นแป้นพิมพ์ การทำแบบนี้ยุ่งยากเพราะหากต้องการแก้แค่อักษรเดียวก็ต้องมาแกะใหม่ทั้งหมด ไม่สะดวกเป็นอย่างมาก

ต่อมาจึงมีการคิดค้นวิธีการแยกอักษรเป็นตัวๆแล้วค่อยเอามาประกอบรวมกันเป็นแม่พิมพ์ เรียกอักษรแบบนี้ว่า "หัวจื้อ" (活字) เริ่มคิดโดยนักประดิษฐ์ชื่อปี้เซิง (畢昇) ในยุคราชวงศ์ซ่ง (宋朝, ปี 960 - 1279) คำว่า "หัว" (
) ในที่นี้หมายถึงขยับไปมาได้



แต่ว่าในตอนแรกวิธีนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในจีนเนื่องจากอักษรจีนเยอะทำให้ต้องเตรียมแม่พิมพ์อักษรจำนวนมากๆจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆสำหรับในสมัยนั้น

แต่วิธีนี้กลับเริ่มเป็นที่นิยมในยุโรปโดยที่มีโยฮันเนส กูเทินแบร์ก (Johannes Gutenberg, 1398 - 1468) เป็นคนริเริ่ม เพราะยุโรปใช้อักษรโรมันซึ่งมีอักษรแค่หลักสิบตัวเท่านั้น ใช้วิธีนี้ง่ายกว่าเยอะ



แต่ต่อมาวิธีนี้ก็เริ่มแพร่หลายในจีนแล้วก็ใช้แพร่หลายต่อมาเรื่อยๆจนถึงยุคที่มีคอมพิวเตอร์เข้ามาแทนที่

บรรยายเสร็จเขาก็ให้พวกเราไปลองค้นอักษรส่วนหนึ่งจากหิ้งเพื่อลองมาพิมพ์จริงๆดู

พวกเราในที่นี้ส่วนใหญ่ไม่เคยเรียนหลักการเรียงอักษรปู้โส่วดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆนัก ใช้เวลาพอสมควร

พอหาอักษรที่จะประกอบเป็นคำที่ต้องการได้ครบแล้วเขาจึงสาธิตการเอาอักษรมาประกอบเป็นแท่นพิมพ์แล้วก็พิมพ์เป็นตัวอย่างให้ดู





และทั้งหมดนี้ก็คือการพิมพ์ด้วยวิธีการสมัยก่อน กว่าจะพิมพ์ได้ต้องมาหยิบเลือกอักษรที่ต้องการจากหิ้งซึ่งเต็มไปด้วยอักษรมากขนาดนั้น หยิบทีละตัวแล้วเอามาประกอบกัน จากนั้นจึงนำหมึกมาป้ายแล้วจึงพิมพ์ลงบนกระดาษ

ซึ่งมันต่างจากการใช้คอมพิวเตอร์ที่แค่ใช้นิ้วกดแป้นพิมพ์ตัวอักษรก็ออกมาแล้ว ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดนี้จึงทำให้ไม่แปลกที่วิธีการพิมพ์แบบโบราณนี้จะเลือนหายไปตามยุคสมัย

แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังเป็นเรื่องดีที่เขายังอนุรักษ์เอาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชม เพราะมันทำให้เราได้รู้ว่าคนสมัยก่อนเขาลำบากกันแค่ไหน ในยุคที่เทคโนโลยีไม่ได้สะดวกสบายเหมือนดั่งตอนนี้

ยุคสมัยเปลี่ยนแปรไป เทคโนโลยีต่างๆของมนุษย์ก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ การได้ศึกษาได้เห็นถึงเรื่องของความเปลี่ยนแปลงนั้นก็เป็นอะไรที่สนุกไม่น้อยเลยเหมือนกัน



มีคนญี่ปุ่นที่เคยไปเที่ยวมาได้เขียนเล่าอธิบายอย่างละเอียดกว่านี้มาก ไปเจอมา หากสนใจสามารถลองไปอ่านดูในนี้ได้ http://www.taipeinavi.com/shop/479
ส่วนอันนี้เป้น facebook ของที่นี่ https://www.facebook.com/rixingtypefoundry



-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

หมวดหมู่

-- ประเทศจีน >> ไต้หวัน >> ไทเป
-- ประวัติศาสตร์ >> ประวัติศาสตร์จีน

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文