φυβλαςのβλογ
บล็อกของ phyblas



ย้ายบล็อกเป็นรอบที่ ๒
เขียนเมื่อ 2017/07/15 21:50
แก้ไขล่าสุด 2021/09/28 16:42
หลังจากที่เมื่อปี 2013 ได้ย้ายบล็อกมาครั้งหนึ่งแล้ว จากเว็บ exteen ไปยัง livedoor ครั้งนี้ขอประกาศย้ายบล็อกอีกครั้ง

สถานที่ที่ย้ายมาครั้งนี้คือเว็บ hinaboshi.com ซึ่งก็คือเว็บที่ตัวเองเช่าโดเมนและเขียนขึ้นมาเอง ไม่ได้ใช้เว็บเฉพาะสำหรับเขียนบล็อกที่ไหน

สาเหตุเนื่องมาจากเริ่มเห็นข้อจำกัดของ livedoor อีกทั้งตอนนี้เริ่มจะเขียนเว็บเองเป็นแล้ว จึงอยากลองท้าทายด้วยการสร้างระบบบล็อกขึ้นมาด้วยตัวเอง

เว็บ hinaboshi.com นี้แรกเริ่มเดิมทีถูกเปิดขึ้นมาเพื่อเป็นเว็บรวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น ตอนแรกก็ยังไม่ได้คิดว่าจะนำมาใช้เขียนบล็อกด้วย เพราะ livedoor เป็นบล็อกที่ดีมากอยู่แล้ว

แต่ยิ่งเวลาผ่านไปก็ยิ่งมีแรงบันดาลใจที่คิดว่าควรจะย้ายไปมากขึ้น สาเหตุหากให้เขียนคร่าวๆก็มีดังนี้
- livedoor เป็นเว็บของญี่ปุ่น ในขณะที่ผู้อ่านเป็นคนไทย ทำให้มีปัญหาที่อาจทำให้ไม่สะดวก เช่นมีภาษาญี่ปุ่นปนอยู่มากเกินความจำเป็นอย่างเลี่ยงไม่ได้
- เว็บที่ให้บริการบล็อกฟรีแบบนี้มีแฝงโฆษณาอยู่ประปราย อาจทำให้ผู้อ่านรู้สึกลำบากใจได้
- ระบบการจัดหมวดหมู่บทความของ livedoor ไม่ค่อยดี
- พบบั๊กที่น่าลำบากใจอยู่บางส่วนในระบบจัดการบล็อก
- จากกรณีที่เคยเกิดขึ้นกับ exteen มาก่อน ทำให้รู้สึกระแวงที่จะใช้เว็บที่ให้บริการบล็อกฟรีไปตลอด
- หากเขียนเว็บด้วยตัวเองเราสามารถควบคุมดูแลข้อมูลทั้งหมดได้อย่างอิสระ

ที่จริงยังมีเหตุผลปลีกย่อยอีก แต่คงไม่พูดถึงทั้งหมด

เหตุผลข้อสุดท้ายขอขยายความอีกนิดหนึ่ง ก็คือว่าเช่นหากอยากจะค้นข้อมูลอะไรบางอย่างจากหน้าบล็อกทั้งหมดที่มีเราก็สามารถเขียนโค้ด ruby ให้มันรันค้นได้เลย จะกำหนดเงื่อนไขซับซ้อนยังไงก็เป็นอิสระ

โค้ดทั้งหมดถูกเขียนขึ้นด้วย ruby on rails ไม่ได้ใช้พวกโครงสร้างบล็อกสำเร็จรูปอย่าง wordpress

ข้อเสียก็คือต้องเสียเวลาเขียนระบบขึ้นมาเองใหม่ทั้งหมด ใช้เวลาไปพอสมควร ที่ช่วงนี้หายหน้าไปนานไม่ได้เขียนบทความอะไรใหม่เลยก็เนื่องจากซุ่มทำบล็อกใหม่อยู่นั่นเอง

ข้อดีของการเขียนเองแบบนี้ก็คือเมื่อทำออกมาได้เราจะเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างในตัวบล็อกเราเป็นอย่างดี และถ้าจะทำอะไรพลิกแพลงสักหน่อยก็ทำได้ทันที

ของสำเร็จรูปอย่าง exteen หรือ livedoor สะดวกสำหรับคนที่เริ่มหัดเขียน เพราะทุกอย่างถูกจัดเตรียมไว้ให้ ไม่ต้องมาทำเองใหม่ตั้งแต่ 0 แต่ก็เพราะอย่างนั้นความยืดหยุ่นจึงน้อยกว่า หากอยากทำอะไรที่ซับซ้อนขึ้นมาหน่อยก็จะยาก ข้อดีข้อเสียต่างกันไปอย่างที่เห็น



ในการย้ายมาครั้งนี้ ความเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นมาที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่งก็คือ มีให้เลือกภาษาได้ที่แถบทางขวา หากเลือกภาษาจีนหรือญี่ปุ่นแล้วการแสดงผลต่างๆในบล็อกก็จะเปลี่ยนไป ลองดูได้ แต่อย่างไรก็ตามไม่ได้มีผลต่อเนื้อหาในบทความ เป็นแค่ลูกเล่นที่ทำมาเผื่อในอนาคตจะเขียนบทความเป็นภาษาอื่นๆด้วย

ส่วนเรื่องการย้ายข้อมูลนั้น บทความจาก livedoor ทั้งหมดได้ถูกย้ายมาลงที่บล็อกใหม่โดย url จะสัมพันธ์กัน

เช่น http://phyblas.blog.jp/20170203.html จะกลายเป็น https://phyblas.hinaboshi.com/20170203

ในที่นี้ 20170203 เป็นชื่อของหน้าบทความ ส่วนใหญ่ชื่อจะตรงกับวันที่ที่เขียน

แต่สำหรับหน้าที่เป็นสารบัญจะพิเศษกว่าหน้าบทความธรรมดา ถูกทำขึ้นใหม่หมด ไม่ใช่แค่ย้าย สามารถดูหน้าสารบัญต่างๆได้ที่แถบทางขวา

ไม่ใช่แค่นั้น ในการย้ายบล็อกครั้งนี้ยังได้นำเอาบทความบางส่วนจาก exteen ซึ่งไม่เคยถูกย้ายมายัง livedoor มาด้วย

เมื่อครั้งย้ายจาก exteen มายัง livedoor เราไม่ได้ย้ายบทความทั้งหมดมา แถมยังมีการลงบทความใหม่ใน exteen อยู่บ้างด้วย ทำให้บางส่วนยังต้องไปอ่านใน exteen อยู่

แต่ในการย้ายมาบล็อกใหม่ครั้งนี้จะเป็นการสิ้นสุดการใช้ exteen อย่างสมบูรณ์ เพราะบทความที่สำคัญจะย้ายมาที่นี่หมด จะไม่มีการเขียนอะไรลงในบล็อกเก่าอีกแล้ว

บทความจาก exteen นั้นตอนนี้ยังไม่ได้ถูกย้ายมาทั้งหมดซะทีเดียว อาจต้องใช้เวลาในการทยอยย้าย เพราะมีเยอะมาก แต่หลักๆที่สำคัญได้ย้ายมาหมดแล้ว

หน้าเก่าบางส่วนถูกลบเนื้อหาแล้วใส่ลิงก์เปลี่ยนทางมายังบล็อกนี้ แต่บางส่วนก็แค่ซ่อน ในขณะที่บางส่วนอาจไม่ได้ลบทิ้ง ทำให้หากจะอ่านบทความเดิมใน exteen ก็ยังทำได้อยู่

ตอนนี้การจัดการบทความที่เหลืออยู่ใน exteen นั้นจะยังดูวุ่นวาย ไว้จะมาค่อยๆเก็บกวาดอีกที

เมื่อรวมบทความที่ย้ายมาจาก exteen ด้วยทำให้ตอนนี้มีหน้าบทความรวมแล้วถึง 1000

จากนี้ไปก็ยังจะเขียนบทความใหม่ๆต่อไปเรื่อยๆ



ขณะนี้อาจเรียกได้ว่าบล็อกยังอยู่ในช่วงทดลองใช้ จะมีบั๊กอะไรหรือเปล่าต้องรอดูกันสักพัก


-----------------------------------------

囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧囧

ดูสถิติของหน้านี้

ไม่อนุญาตให้นำเนื้อหาของบทความไปลงที่อื่นโดยไม่ได้ขออนุญาตโดยเด็ดขาด หากต้องการนำบางส่วนไปลงสามารถทำได้โดยต้องไม่ใช่การก๊อปแปะแต่ให้เปลี่ยนคำพูดเป็นของตัวเอง หรือไม่ก็เขียนในลักษณะการยกข้อความอ้างอิง และไม่ว่ากรณีไหนก็ตาม ต้องให้เครดิตพร้อมใส่ลิงก์ของทุกบทความที่มีการใช้เนื้อหาเสมอ

สารบัญ

รวมคำแปลวลีเด็ดจากญี่ปุ่น
มอดูลต่างๆ
-- numpy
-- matplotlib

-- pandas
-- manim
-- opencv
-- pyqt
-- pytorch
การเรียนรู้ของเครื่อง
-- โครงข่าย
     ประสาทเทียม
ภาษา javascript
ภาษา mongol
ภาษาศาสตร์
maya
ความน่าจะเป็น
บันทึกในญี่ปุ่น
บันทึกในจีน
-- บันทึกในปักกิ่ง
-- บันทึกในฮ่องกง
-- บันทึกในมาเก๊า
บันทึกในไต้หวัน
บันทึกในยุโรปเหนือ
บันทึกในประเทศอื่นๆ
qiita
บทความอื่นๆ

บทความแบ่งตามหมวด



ติดตามอัปเดตของบล็อกได้ที่แฟนเพจ

  ค้นหาบทความ

  บทความแนะนำ

ตัวอักษรกรีกและเปรียบเทียบการใช้งานในภาษากรีกโบราณและกรีกสมัยใหม่
ที่มาของอักษรไทยและความเกี่ยวพันกับอักษรอื่นๆในตระกูลอักษรพราหมี
การสร้างแบบจำลองสามมิติเป็นไฟล์ .obj วิธีการอย่างง่ายที่ไม่ว่าใครก็ลองทำได้ทันที
รวมรายชื่อนักร้องเพลงกวางตุ้ง
ภาษาจีนแบ่งเป็นสำเนียงอะไรบ้าง มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ทำความเข้าใจระบอบประชาธิปไตยจากประวัติศาสตร์ความเป็นมา
เรียนรู้วิธีการใช้ regular expression (regex)
การใช้ unix shell เบื้องต้น ใน linux และ mac
g ในภาษาญี่ปุ่นออกเสียง "ก" หรือ "ง" กันแน่
ทำความรู้จักกับปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ของเครื่อง
ค้นพบระบบดาวเคราะห์ ๘ ดวง เบื้องหลังความสำเร็จคือปัญญาประดิษฐ์ (AI)
หอดูดาวโบราณปักกิ่ง ตอนที่ ๑: แท่นสังเกตการณ์และสวนดอกไม้
พิพิธภัณฑ์สถาปัตยกรรมโบราณปักกิ่ง
เที่ยวเมืองตานตง ล่องเรือในน่านน้ำเกาหลีเหนือ
ตระเวนเที่ยวตามรอยฉากของอนิเมะในญี่ปุ่น
เที่ยวชมหอดูดาวที่ฐานสังเกตการณ์ซิงหลง
ทำไมจึงไม่ควรเขียนวรรณยุกต์เวลาทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ

บทความแต่ละเดือน

2024年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2023年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2022年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2021年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

2020年

1月 2月 3月 4月
5月 6月 7月 8月
9月 10月 11月 12月

ค้นบทความเก่ากว่านั้น

ไทย

日本語

中文